รัฐสภาจะเปิดประชุมสมัยวิสามัญระหว่างวันที่ 15 – 23 มิถุนายน 2552
ในช่วงสัปดาห์แรกตั้งแต่วันจันทร์ที่ 15 ไปถึงวันศุกร์ที่ 19 เว้นวันอังคารที่ 16 ไว้วันหนึ่ง น่าจะเป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด เพื่อพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดกู้เงิน 4 แสนล้านบาท 1 วัน ในวันนี้อาจจะแถมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 4 แสนล้านบาทในวาระแรก เพราะเป็นเรื่องที่มีมีหลักการเดียวกันกับพระราชกำหนด ส่วนอีก 3 วันที่เหลือเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ในวาระแรก ส่วนสัปดาห์ต่อไปในวันจันทร์ที่ 22 จะเป็นการประชุมวุฒิสภา เพื่อพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดกู้เงิน 4 แสนล้านบาท พูดภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่าย ๆ ก็อย่างที่พาดหัวไว้นั่นแหละ
รัฐสภาจะมีมติผ่านงบประมาณกันรวมทั้งหมด 3.1 ล้านล้านบาท !
แบ่งเป็นอนุมัติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 เสียประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท
ส่วนนี้เป็นปกติประเพณีปฏิบัติทุกปี รัฐสภาสามารถควบคุมได้ตามกระบวนการ
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีนั้นมีกฎเกณฑ์การจัดทำละเอียด ต้องระบุโครงการโดยละเอียดไว้ในแต่ละมาตราของกฎหมาย แยกเป็นกระทรวงทบวงกรมและแผนยุทธศาสตร์ นอกจากสภาจะพิจารณาหลักการในวาระที่ 1 แล้ว ยังใช้เวลาอีกเป็นเดือนในการพิจารณาชั้นกรรมาธิการวาระที่ 2 เพื่อแก้ไขปรับปรุง ก่อนจะกลับเข้ามาพิจารณาในสภาใหญ่อีกครั้งเพื่อยกมือผ่านเป็นรายมาตราในวาระที่ 2 และยกมือผ่านทั้งฉบับในวาระที่ 3
แต่อีกส่วนหนึ่งจำนวนก้อนโต 1.4 ล้านล้านบาท ผ่านมาทางพระราชกำหนดกู้เงิน 4 แสนล้านบาท และร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 4 แสนล้านบาท แตกต่างกันออกไป
เพราะไม่ได้ทำเป็นรายละเอียดเหมือนร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ทั้งพระราชกำหนดและพระราชบัญญัติมีหลักการกว้าง ๆ เพียงให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินมาเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และให้อำนาจกู้ในลักษณะรีไฟแนนซ์
โครงการรวม 1.4 ล้านล้านบาทที่เรียกว่า “แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555” สภาไม่มีโอกาสพิจารณาโดยละเอียดและปรับแก้ได้เหมือนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
สภาแค่พิจารณาว่าจะอนุมติให้กู้เงิน 8 แสนล้านบาทหรือไม่เท่านั้น
โดย 4 แสนล้านบาทแรก รัฐบาลท่านก็ออกเป็นพระราชกำหนดไปแล้ว มีผลใช้บังคับไปแล้ว สภาแค่มีอำนาจอนุมติหรือไม่เท่านั้น ถ้าไม่อนุมัติก็ไม่กระทบการที่กระทำไปก่อนหน้าระหว่างที่พระราชกำหนดมีผลใช้บังคับ
ผมถึงได้บอกว่ารัฐบาลท่านเห็นสภาเป็นหัวหลักหัวตอ
ผมถึงจำเป็นต้องคัดค้าน
แม้จะรู้ว่าถึงอย่างไรก็แพ้ แต่ก็ต้องคัดค้านเพื่อแสดงจุดยืนบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การทำงานของตัวเองในฐานะสมาชิกวุฒิสภา หนึ่งในองค์กรทางด้านนิติบัญญัติ ที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร และหนึ่งในกระบวนการควบคุมตรวจสอบที่กระทำกันทั่วโลกก็คือกระทำผ่านการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ความเห็นของผมโดยสรุปแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 สมมติว่าผมเชื่อว่า “แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555” ดีเลิศประเสริฐศรี ผมก็ยังเห็นว่าวิธีการของรัฐบาลผิด
วิธีที่ควรจะเป็นในมุมมองของผมที่ได้หารือกับผู้เชี่ยวชาญการเงินการคลังหลากหลายแล้วมีสรุปดังนี้
1. รัฐบาลออกพระราชกำหนดกู้เงินเพียง 2 แสนล้านบาท เพื่อนำเข้าเงินคงคลัง ชดเชยการเก็บภาษีที่ไม่เข้าเป้าในปีนี้
2. นำการใช้เงินตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ไปแยกบรรจุไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553, 2554 และ 2555 ถ้าจำเป็นก็อาจมีร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมของปี 2553 เสนอเข้ามาราว ๆ เดือนมีนาคม-เมษายน 2553 ก็ได้
แน่นอนว่าวิธีตามข้อ 2 จะติดขัดเองสัดส่วนเงินกู้ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ และอาจจะพระราชบัญญัติหนี้สาธารณะ ก็สามารถแก้ปัญหาได้ ดังนี้
2.1 แก้ไขพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ เพิ่มสัดส่วนเงินกู้ โดยให้ใช้สัดส่วนใหม่เป็นการชั่วคราวไม่เกิน 3 ปี เขียนเป็นบทเฉพาะกาลก็ได้
2.2 แก้ไขพระราชบัญญัติหนี้สาธารณะในลักษณะเดียวกัน
วิธีการที่ควรจะเป็นในมุมมองของผมนี้ ผมไม่ได้คิดเป็นคนเดียว มีคนในกระทรวงการคลัง ทั้งในส่วนข้าราชการประจำและข้าราชการการเมืองเสนอขึ้นมาแล้ว แต่รัฐมนตรีท่านไม่เลือก
เหตุผลก็อาจจะมีทั้งความเชื่อโดยบริสุทธิ์ ขาดการพิจารณาผลเสียอย่างรอบด้าน
และก็อาจจะมีทั้งวาระแอบแฝง !
ที่ต้องการอนุมัติเงิน 1.4 ล้านล้านบาทที่ความจริงแบ่งใช้เป็นปี ๆ ในรอบ 3 ปี ให้เบ็ดเสร็จในวันนี้ เพื่อประโยชน์ทางการเมือง
ประโยชน์ทางการเมืองในที่นี้ตกเป็นของพรรคการเมืองทุกพรรคที่ร่วมกันเป็นรัฐบาล !!
ขั้นตอนที่ 2 เผอิญผมไม่เชื่อว่า “แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555” นี้ดีเลิศประเสริฐศรี เอาละ ผมไม่ปฏิเสธการลงทุนที่จะก่อให้เกิดการจ้างงาน
แต่นอกจากการลงทุนโดยรัฐแล้ว รัฐบาลไม่คิดกุศโลบายผลักดันในภาคเอกชนลงทุนเองเลย ซึ่งไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ ทำได้หลายวิธีด้วยกัน
ท่านผู้อ่านต้องทราบว่าเงินกู้ 8 แสนล้านบาทนี้ รัฐบาลกู้ในประเทศเป็นส่วนใหญ่
ก็แปลว่าประเทศไม่ได้ขาดเงิน แต่เงินไปกองอยู่ในสถาบันการเงินและธนาคาร ที่ไม่ปล่อยเงินกู้เพื่อให้เกิดการลงทุนโดยภาคเอกชน
ความเป็นจริงวันนี้คือผู้ฝากเงินได้ดอกเบี้ยน้อย แต่ผู้กู้เงินเสียดอกเบี้ยสูง แถมโอกาสได้กู้มีน้อยมาก
สังเกตอะไรอย่างหนึ่งมั้ยครับ
เมื่อวันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดกู้เงิน 4 แสนล้านบาทไม่ขัดรัฐธรรมนูญ หุ้นธนาคารและสถาบันการเงินขึ้นสูงทันทีเลย
เพราะรู้ว่าจะกำไรและมีรายได้อย่างมั่นคงจากการที่ปล่อยเงินให้รัฐบาลกู้ !!
เฉพาะเหตุผล 2 ขั้นตอนนี้ ผมก็เห็นของผมอย่างซื่อ ๆ ว่าการเอาแผนใช้เงิน 1.4 ล้านล้านบาทหลบการตรวจสอบโดยรัฐสภา โดยไม่นำไปบรรจุไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี แต่ออกกฎหมายกู้เงินกันดิบ ๆ เถื่อน ๆ รวม 2 ฉบับ 8 แสนล้านบาทนี้ มันจะไม่ทำให้ “ไทยเข้มแข็ง” โดยองค์รวมหรอก
คงจะเข้มแข็งเฉพาะกลุ่มส่วนน้อยของสังคมเท่านั้น !!
ในช่วงสัปดาห์แรกตั้งแต่วันจันทร์ที่ 15 ไปถึงวันศุกร์ที่ 19 เว้นวันอังคารที่ 16 ไว้วันหนึ่ง น่าจะเป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด เพื่อพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดกู้เงิน 4 แสนล้านบาท 1 วัน ในวันนี้อาจจะแถมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 4 แสนล้านบาทในวาระแรก เพราะเป็นเรื่องที่มีมีหลักการเดียวกันกับพระราชกำหนด ส่วนอีก 3 วันที่เหลือเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ในวาระแรก ส่วนสัปดาห์ต่อไปในวันจันทร์ที่ 22 จะเป็นการประชุมวุฒิสภา เพื่อพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดกู้เงิน 4 แสนล้านบาท พูดภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่าย ๆ ก็อย่างที่พาดหัวไว้นั่นแหละ
รัฐสภาจะมีมติผ่านงบประมาณกันรวมทั้งหมด 3.1 ล้านล้านบาท !
แบ่งเป็นอนุมัติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 เสียประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท
ส่วนนี้เป็นปกติประเพณีปฏิบัติทุกปี รัฐสภาสามารถควบคุมได้ตามกระบวนการ
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีนั้นมีกฎเกณฑ์การจัดทำละเอียด ต้องระบุโครงการโดยละเอียดไว้ในแต่ละมาตราของกฎหมาย แยกเป็นกระทรวงทบวงกรมและแผนยุทธศาสตร์ นอกจากสภาจะพิจารณาหลักการในวาระที่ 1 แล้ว ยังใช้เวลาอีกเป็นเดือนในการพิจารณาชั้นกรรมาธิการวาระที่ 2 เพื่อแก้ไขปรับปรุง ก่อนจะกลับเข้ามาพิจารณาในสภาใหญ่อีกครั้งเพื่อยกมือผ่านเป็นรายมาตราในวาระที่ 2 และยกมือผ่านทั้งฉบับในวาระที่ 3
แต่อีกส่วนหนึ่งจำนวนก้อนโต 1.4 ล้านล้านบาท ผ่านมาทางพระราชกำหนดกู้เงิน 4 แสนล้านบาท และร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 4 แสนล้านบาท แตกต่างกันออกไป
เพราะไม่ได้ทำเป็นรายละเอียดเหมือนร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ทั้งพระราชกำหนดและพระราชบัญญัติมีหลักการกว้าง ๆ เพียงให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินมาเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และให้อำนาจกู้ในลักษณะรีไฟแนนซ์
โครงการรวม 1.4 ล้านล้านบาทที่เรียกว่า “แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555” สภาไม่มีโอกาสพิจารณาโดยละเอียดและปรับแก้ได้เหมือนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
สภาแค่พิจารณาว่าจะอนุมติให้กู้เงิน 8 แสนล้านบาทหรือไม่เท่านั้น
โดย 4 แสนล้านบาทแรก รัฐบาลท่านก็ออกเป็นพระราชกำหนดไปแล้ว มีผลใช้บังคับไปแล้ว สภาแค่มีอำนาจอนุมติหรือไม่เท่านั้น ถ้าไม่อนุมัติก็ไม่กระทบการที่กระทำไปก่อนหน้าระหว่างที่พระราชกำหนดมีผลใช้บังคับ
ผมถึงได้บอกว่ารัฐบาลท่านเห็นสภาเป็นหัวหลักหัวตอ
ผมถึงจำเป็นต้องคัดค้าน
แม้จะรู้ว่าถึงอย่างไรก็แพ้ แต่ก็ต้องคัดค้านเพื่อแสดงจุดยืนบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การทำงานของตัวเองในฐานะสมาชิกวุฒิสภา หนึ่งในองค์กรทางด้านนิติบัญญัติ ที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร และหนึ่งในกระบวนการควบคุมตรวจสอบที่กระทำกันทั่วโลกก็คือกระทำผ่านการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ความเห็นของผมโดยสรุปแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 สมมติว่าผมเชื่อว่า “แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555” ดีเลิศประเสริฐศรี ผมก็ยังเห็นว่าวิธีการของรัฐบาลผิด
วิธีที่ควรจะเป็นในมุมมองของผมที่ได้หารือกับผู้เชี่ยวชาญการเงินการคลังหลากหลายแล้วมีสรุปดังนี้
1. รัฐบาลออกพระราชกำหนดกู้เงินเพียง 2 แสนล้านบาท เพื่อนำเข้าเงินคงคลัง ชดเชยการเก็บภาษีที่ไม่เข้าเป้าในปีนี้
2. นำการใช้เงินตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ไปแยกบรรจุไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553, 2554 และ 2555 ถ้าจำเป็นก็อาจมีร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมของปี 2553 เสนอเข้ามาราว ๆ เดือนมีนาคม-เมษายน 2553 ก็ได้
แน่นอนว่าวิธีตามข้อ 2 จะติดขัดเองสัดส่วนเงินกู้ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ และอาจจะพระราชบัญญัติหนี้สาธารณะ ก็สามารถแก้ปัญหาได้ ดังนี้
2.1 แก้ไขพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ เพิ่มสัดส่วนเงินกู้ โดยให้ใช้สัดส่วนใหม่เป็นการชั่วคราวไม่เกิน 3 ปี เขียนเป็นบทเฉพาะกาลก็ได้
2.2 แก้ไขพระราชบัญญัติหนี้สาธารณะในลักษณะเดียวกัน
วิธีการที่ควรจะเป็นในมุมมองของผมนี้ ผมไม่ได้คิดเป็นคนเดียว มีคนในกระทรวงการคลัง ทั้งในส่วนข้าราชการประจำและข้าราชการการเมืองเสนอขึ้นมาแล้ว แต่รัฐมนตรีท่านไม่เลือก
เหตุผลก็อาจจะมีทั้งความเชื่อโดยบริสุทธิ์ ขาดการพิจารณาผลเสียอย่างรอบด้าน
และก็อาจจะมีทั้งวาระแอบแฝง !
ที่ต้องการอนุมัติเงิน 1.4 ล้านล้านบาทที่ความจริงแบ่งใช้เป็นปี ๆ ในรอบ 3 ปี ให้เบ็ดเสร็จในวันนี้ เพื่อประโยชน์ทางการเมือง
ประโยชน์ทางการเมืองในที่นี้ตกเป็นของพรรคการเมืองทุกพรรคที่ร่วมกันเป็นรัฐบาล !!
ขั้นตอนที่ 2 เผอิญผมไม่เชื่อว่า “แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555” นี้ดีเลิศประเสริฐศรี เอาละ ผมไม่ปฏิเสธการลงทุนที่จะก่อให้เกิดการจ้างงาน
แต่นอกจากการลงทุนโดยรัฐแล้ว รัฐบาลไม่คิดกุศโลบายผลักดันในภาคเอกชนลงทุนเองเลย ซึ่งไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ ทำได้หลายวิธีด้วยกัน
ท่านผู้อ่านต้องทราบว่าเงินกู้ 8 แสนล้านบาทนี้ รัฐบาลกู้ในประเทศเป็นส่วนใหญ่
ก็แปลว่าประเทศไม่ได้ขาดเงิน แต่เงินไปกองอยู่ในสถาบันการเงินและธนาคาร ที่ไม่ปล่อยเงินกู้เพื่อให้เกิดการลงทุนโดยภาคเอกชน
ความเป็นจริงวันนี้คือผู้ฝากเงินได้ดอกเบี้ยน้อย แต่ผู้กู้เงินเสียดอกเบี้ยสูง แถมโอกาสได้กู้มีน้อยมาก
สังเกตอะไรอย่างหนึ่งมั้ยครับ
เมื่อวันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดกู้เงิน 4 แสนล้านบาทไม่ขัดรัฐธรรมนูญ หุ้นธนาคารและสถาบันการเงินขึ้นสูงทันทีเลย
เพราะรู้ว่าจะกำไรและมีรายได้อย่างมั่นคงจากการที่ปล่อยเงินให้รัฐบาลกู้ !!
เฉพาะเหตุผล 2 ขั้นตอนนี้ ผมก็เห็นของผมอย่างซื่อ ๆ ว่าการเอาแผนใช้เงิน 1.4 ล้านล้านบาทหลบการตรวจสอบโดยรัฐสภา โดยไม่นำไปบรรจุไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี แต่ออกกฎหมายกู้เงินกันดิบ ๆ เถื่อน ๆ รวม 2 ฉบับ 8 แสนล้านบาทนี้ มันจะไม่ทำให้ “ไทยเข้มแข็ง” โดยองค์รวมหรอก
คงจะเข้มแข็งเฉพาะกลุ่มส่วนน้อยของสังคมเท่านั้น !!