ASTVผู้จัดการรายวัน-"โสภณ"บุกพบ"เทพเทือก" เข็นเช่ารถเอ็นจีวี 4 พันคันเข้าครม. หลังลดวงเงินเหลือ 6.4 หมื่นล้าน กร้าวขอเหตุผลหากไม่บรรจุเข้าพิจารณา อ้างเป็นโครงการดี แต่ถูกจับมาเป็นประเด็นการเมือง ใบ้กินเมื่อถูกถามหากขาดทุนจะทำอย่างไร เพราะทำสัญญาผูกมัด10 ปี ยันไม่ว่าจะได้รับอนุมัติหรือไม่ก็ไม่ถอนตัวจากรัฐบาล "เทพเทือก"ไม่เห็นเรื่องรถเมล์NGV เข้าครม.โบ้ยทุกอย่างอยู่ที่ครม.ตัดสิน "มาร์ค"ปิดปากเงียบหลังกลับจากเกาหลี จับพิรุธเงื่อนไขทีโออาร์เอื้อเอกชนสุดสุด ด้าน40 ส.ว.จวกโครงการปล้นกลางแดด ขู่ถอนถอนครม.ทั้งยวง- คว่ำพ.ร.บ.งบประมาณปี 53 หากยังขืนอนุมัติ
นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเข้าพบนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง เมื่อวานนี้ (2 มิ.ย.) ว่าได้หารือกับนายสุเทพ พร้อมกับเสนอโครงการเช่ารถโดยสารปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติ (CNG) เป็นเชื้อเพลิงพร้อมอุปกรณ์ และซ่อมแซมบำรุงรักษา จำนวนรถ 4,000 คัน เพื่อบรรจุเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในวันนี้ (3 มิ.ย.) เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งได้รับคำตอบจากนายสุเทพว่า จะหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีก่อน
"จะบรรจุเป็นวาระเข้าครม.วันนี้(3มิ.ย.) หรือไม่ก็แล้วแต่ หากไม่เข้าครม. ก็ต้องมีเหตุผลให้ผม ซึ่งผมได้เตรียมพร้อมที่จะชี้แจงข้อมูลและรายละเอียดต่างๆให้กับที่ประชุมเรียบร้อยแล้ว น่าเสียดายที่เรื่องเช่ารถเมล์เอ็นจีวีเป็นเรื่องการเมืองไปแล้ว ถ้าเข้าครม. และได้รับอนุมัติ คนก็มองว่าเป็นการตอบแทนบุญคุณให้พรรคภูมิใจไทย คนไม่ได้มองเนื้อหาของงานจริงๆ ที่ผ่านมาผมยืนยันมาตลอดว่า ไม่ได้ทำโครงการเพราะการเมือง การปรับลดต้นทุนลงก็ไม่ใช่การแต่งตัวเลข และโครงการ สภาพัฒน์ฯ ก็เห็นชอบมานานแล้วด้วย" นายโสภณกล่าว
**เชื่อไม่บานปลายทำให้การเมืองแตกหัก
นายโสภณ กล่าวว่ากรณีรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน ไม่ใช่การขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย แต่เป็นการถกเถียงเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ซึ่งที่ผ่านมา เรื่องดอกเบี้ยมีการปรับลดลงเพราะทางกระทรวงการคลัง ที่บริหารเรื่องการเงินของประเทศให้ความเห็นมา แต่เรื่องค่าซ่อมเป็นเรื่องเทคนิคที่ลดต้นทุนเรื่องนี้ไม่ได้ และยอมไม่ได้ที่รถที่ให้บริการสาธารณะใช้ยางหล่อดอก เครื่องยนต์มือสอง ตัวเลขที่มีการปรับเปลี่ยนเป็นไปตามข้อเท็จจริง การแก้ไขไม่ใช่เป็นไปตามกระแส ไม่มีการแต่งตัวเลข
ต่อข้อถามว่า กรณีเอ็นจีวี 4,000 คัน หากไม่ผ่านหรือมีปัญหา จะเป็นเหตุให้การเมืองแตกหักหรือมีการถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ นายโสภณ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ทำให้การเมืองแตกหัก และจะไม่ถอนตัวจากรัฐบาลแน่ เพราะยังอยากเป็นรัฐมนตรีอยู่
**โยนบอร์ด-ขสมก.ชี้แจงไม่ใช่หน้าที่รมต.
นอกจากนี้นายโสภณ ยังยืนยันว่าได้ให้นโยบายไปยังหน่วยปฎิบัติ คือ ขสมก.แล้วว่า ต้องเป็นผู้แถลงชี้แจงรายละเอียด ทั้งประธานบอร์ด ขสมก.และผู้บริหารขสมก. ในฐานะผู้กำกับนโยบายจะพูดเฉพาะหลักการเท่านั้น
ในขณะที่การแถลงข่าวเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมา ของนายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการขสมก. ระบุว่า หากขสมก.เสนอเรื่องนี้ไปแล้ว แต่ระดับนโยบาย คือคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไม่เห็นชอบ ตนก็ไม่เดือดร้อน เพราะผู้ขาดทุนคือ ขสมก. ไม่ใช่เงินในกระเป๋าของตน เพียงแต่ระดับนโยบายก็จะต้องรับผิดชอบที่ ขสมก.จะต้องขาดทุนเดือนละ 6 ล้านบาทต่อไป
นายโสภณ กล่าวว่า ล่าสุดโครงการได้ปรับลดวงเงินค่าเช่าลงเหลือ 64,885 ล้านบาท จากเดิม 67,992 ล้านบาท เนื่องจากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 6.725 % จาก 9 % ซึ่งเป็นไปตามข้อมูลของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สนบ.)ได้มีการจัดทำ โดยเหตุผลที่ได้ยอมให้มีการปรับลดวงเงินค่าเช่าลงนั้น เป็นเรื่องของกระทรวงการคลัง เมื่อได้มีการยืนยันตัวเลขดังกล่าวมาแล้วก็จำเป็นต้องรับฟัง พร้อมทั้งยังได้วอนให้สังคมอย่าเอาความรู้สึกส่วนตัวมาตัดสิน ขอให้ฟังคำชี้แจง เพราะเป็นการทำเพื่อส่วนรวม ให้ขสมก.ไม่ขาดทุน และเพื่อให้ผลประโยชน์ตกเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
**“สุเทพ”โบ้ยทุกอย่างอยู่ที่ครม.ตัดสิน
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯด้านความมั่นคง กล่าวถึงโครงการรถเมล์เช่า NGV 4 พันคัน ที่รมว.คมนาคม ยืนยันจะนำเข้าสู่การพิจารณาของครม.ในวันนี้ว่า ไม่มีอะไรที่จะต้องตื่นเต้น เพราะถึงอย่างไรก็จะต้องเข้าสู่การพิจารณาของครม. หลังจากที่ครม.ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไปทบทวน ก่อนเสนอกลับมาใหม่ ส่วน ครม.เมื่อพิจารณาแล้วจะมีความเห็นอย่างไร ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ต่อข้อถามว่า มีข่าวนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม จะเข้าพบนายกฯก่อนที่เรื่องจะเข้าที่ประชุมครม.นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่ถ้ามาก็คุยกัน ไม่มีปัญหาอะไร เมื่อถามว่าเรื่องนี้จะนำไปสู่ความขัดแย้งหรือไม่ เพราะกระแสไม่เห็นด้วยเพราะมีการโกงกัน จึงอยากให้ยกเลิก นายสุเทพ กล่าวว่า ความคิดเห็นของประชาชน รัฐบาลก็ต้องฟัง แต่ที่บอกว่ามีการโกงกัน เราก็ยังไม่เห็นว่าเขาทำอะไร และตนก็คงไม่ไปกล่าวหาเขาอย่างนั้น แต่ถ้าจะถามว่า ในฐานะที่เป็นสมาชิกคนหนึ่งในครม. เห็นอย่างไร อันนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และต้องขอไปพูดในที่ประชุม ครม.
มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีการซื้อแทนการเช่า รองนายกฯ กล่าวว่า โดยมารยาทคงไม่ตอบก่อนที่ ครม.จะตัดสินใจอย่างใด อย่างหนึ่ง เมื่อถามว่าในเรื่องของข้อมูลนั้นรัฐบาลจะยึดตัวเลขหลักเกณฑ์ของใครจากสภาพัฒน์ฯ หรือจากหน่วยงานที่บอกว่ามีการโกงกันนั้น เขามีการเสนอหลักฐานอะไรมาให้บ้างหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่มี ที่บอกว่ามีการโกงกันนั้น ตนยังไม่เห็นใครยื่นหลักฐานอะไรมาเลย ส่วนตัวเลขที่จะยึดนั้น รัฐบาลก็ต้องยึดรายงานที่คณะกรรมการ 2-3 ฝ่าย ที่เขาไปสรุปร่วมกัน และกระทรวงคมนาคม เขาก็คงจะต้องแนบบันทึกรายงานการประชุมของคณะกรรมการเหล่านั้นว่า มีการพิจารณากันอย่างไร มีตัวเลขอย่างไร แต่ตนยังไม่เห็นรายงานนี้ ซึ่งขณะนี้ตนรักษาการนายกรัฐมนตรีอยู่มา 2 วันแล้ว ยังไม่เห็นเรื่องนี้ที่จะเข้าสู่ ครม. แต่ปกติเรื่องที่จะเข้าสู่ ครม.หากมาผ่านตน ตนก็จะเซ็นให้ผ่านเข้าครม.หมด ส่วนครม.จะเห็นชอบหรือไม่ก็ไปว่ากัน แต่คิดว่า เรื่องนี้คงไม่นำมาพิจารณาในวาระจร หากเสนอมาวันนี้ อาจจะเป็นวาระเพิ่มเติม เพราะวาระจร ส่วนใหญ่มักจะเลี่ยง เพราะต้องการให้ รมต.อื่นๆ ได้อ่านทำความเข้าใจกันด้วย
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า การทำงานระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคร่วมรัฐบาล จะเป็นลักษณะหมูไป ไก่มา ในหลายๆเรื่อง นายสุเทพ กล่าวว่า ทั้งหมดเป็นโครงการตามนโยบายของรัฐบาลว่าเราจะทำอะไรให้บ้านเมืองบ้าง ตั้งแต่การสร้างถนนไร้ฝุ่น หรือการก่อสร้างรถไฟฟ้าบนดิน หรือใต้ดินทั้งหลาย เหล่านี้ล้วนเป็นนโยบายของรัฐบาล หรือ ระบบชลประทานทั่วประเทศ ซึ่งโครงการเหล่านี้จะต้องมีผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่เรื่องของการต่อรองอย่างที่วิพากษ์วิจารณ์กัน
**นายกฯยังปิดปากเงียบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 19.50น.วานนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางกลับจากการประชุมอาเซียนที่เกาหลี ถึงสนามบิน บน.6 โดยมี นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง นายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวนายกรัฐมนตรี และนายศิริโชค โสภา ไปรอรับ และได้มีการหารือกันที่ห้องรับรองวีไอพี กว่าครึ่งชั่วโมง โดยนายกรัฐมนตรีปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์นักข่าวที่ไปรอทำข่าวเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวพยายามถามว่า ในการประชุมครม.วันนี้มีการบรรจุวาระ เรื่องเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันเข้าสู่การพิจารณษหรือไม่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีตอบว่า ขอกลับไปดูที่บ้านก่อน
**จ้างมือที่สามฟอก"โปร่งใส"
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องของความจำเป็นที่เราต้องให้บริการประชาชน
"ราคาค่าเช่ารถเมล์จากเดิมที่ตั้งไว้คันละ 8 ล้านบาท ลดเหลือคันละ5 ล้านบาทถือว่าเป็นเรื่องสมเหตุสมผลแล้ว" นายชวรัตน์ กล่าว
เมื่อถามว่าหากนายกฯ ไม่นำโครงการดังกล่าวเข้าที่ประชุม ครม. จะเป็นสัญญาณความขัดแย้งระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคภูมิใจไทยบานปลาย หรือไม่ นายชวรัตน์ กล่าวว่า นายกฯต้องมีเหตุผล ถามต่อว่าหาก ยกเหตุผลเรื่องการทุจริต นายชวรัตน์ กล่าวว่า เราก็ต้องมีวิธีที่ทำให้ประชาชนเข้าใจว่า โปร่งใส ซึ่งอาจจ้างบุคคลที่ 3 มาทำแผนความเป็นไปได้ของโครงการ
เมื่อถามว่า มีการมองว่าพรรคภูมิใจไทย พยายามผลักดันโครงการนี้ เพื่อหาเงินทุนสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป นายชวรัตน์ กล่าวว่า ทำให้ประชาชน ไม่ได้ทำให้พรรค เพราะขณะนี้มีคนบริจาคเงินให้พรรคสำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้าอยู่แล้ว อีกทั้งการใช้จ่ายของพรรคยังมี กกต. คอยควบคุมอยู่
**แฉทีโออาร์เปิดช่องเอื้อเอกชนสุดๆ
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าโครงการเช่ารถโดยสารปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติ (CNG) เป็นเชื้อเพลิงพร้อมอุปกรณ์ และซ่อมแซมบำรุงรักษา จำนวนรถ 4,000 คัน ระยะเวลา 10 ปี ของขสมก.นั้น มีหลายประเด็นที่น่าสังเกตุ แต่ถูกละเลย ที่ผ่านมาส่วนใหญ่พุ่งเป้าไปที่ค่าซ่อม ค่าเช่า ซึ่งที่ผ่านมา นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ในฐานะผู้กำกับดูแล ขสมก.และเป็นผู้ผลักดันโครงการชี้แจงว่า โปร่งใส มีเหตุผลที่มาของตัวเลข
โดยเงื่อนไขในร่างทีโออาร์ โครงการเช่ารถโดยสารปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติ (CNG) เป็นเชื้อเพลิงพร้อมอุปกรณ์และซ่อมแซมบำรุงรักษา จำนวนรถ 4,000 คัน ระยะเวลา 10 ปี ในเงื่อนไขการเสนอราคา ข้อ 4.6.4.3 ระบุว่า กรณีที่ ขสมก.ไม่ได้ใช้รถจากกรณีที่ไม่ใช่ความผิดของผู้ให้เช่า เช่น ไม่มีคนขับ ไม่มีเชื้อเพลิง (CNG) ไม่มีอู่สำหรับจอดรถเพื่อรับมอบรถจากผู้ให้เช่า ขสมก.ยังคงต้องจ่ายค่าเช่าเต็มจำนวน 4,000 คัน
ในขณะที่ ข้อ 5.5 ตามเงื่อนไขผู้ให้เช่าต้องดูแลรักษาสีของรถยนต์ให้ใหม่ตลอดเวลา และเมื่อใช้งานครบ 5 ปี จะต้องทำสีใหม่อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยขสมก.จะงดใช้รถในช่วงปีที่ 5-6 ปี เพื่อให้ผู้ให้เช่าทำการปรับปรุงและซ่อมแซมตัวถัง เป็นเวลาไม่เกิน 60 วันในแต่ละคัน โดย ขสมก.จะงดจ่ายค่าเช่าเท่าระยะเวลาที่งดใช้รถ แต่จะขยายเวลาการเช่าออกไปเท่าระยะเวลาที่งดใช้รถ
กรณีที่รถเสียหรือไม่เต็มจำนวน 4,000 คันนั้น ผู้ให้เช่าต้องหารถมาทดแทนให้ครบจำนวนใน 3 ชั่วโมง แต่หากไม่สามารถหารถได้ตามกำหนด บทปรับของขสมก.คือ ลดค่าเช่าคิดเป็นรายชั่วโมง โดยคิดจากค่าเช่ารายวันหารด้วย 16 ชั่วโมง คิดเป็นค่าเสียโอกาสชั่วโมงละ313 บาทต่อคัน และหากเกิน16 ชั่วโมงขึ้นไป จะเพิ่มเป็น5,000 บาทต่อคัน และงดจ่ายค่าเช่าในวันนั้น
แหล่งข่าวกล่าวว่า เห็นได้ชัดว่าเงื่อนไขทีโออาร์ เปิดช่องเอื้อประโยชน์ให้เอกชนมากกว่ารักษาผลประโยชน์ของขสมก.เอง เพราะหากกรณีขสมก.มีคนขับรถไม่พอ หรือไม่มีอู่จอดรถ ไม่มีเชื้อเพลิง รถใช้งานได้ไม่เต็มจำนวน 4,000 คัน แต่ต้องจ่ายค่าเช่าเต็ม 4,000 คันในวันนั้น ในขณะที่กรณีที่ต้องปรับปรุงตัวถังและสีของรถในปีที่ 5 -6 ขสมก.เปิดช่องให้เวลาเอกชนถึง 60 วัน แม้ขสมก.ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าแต่ รถไม่ครบ 4,000 คันถือว่าขาดจำนวน ขสมก.เสียหาย มีรถวิ่งไม่ครบ และยังขยายเวลาเช่าให้เอกชนตามจำนวนวันที่ซ่อมอีกด้วย
“เป็นเงื่อนไขที่เพิ่มขึ้นในทีโออาร์ ที่มีการปรับปรุงใหม่ ครั้งที่ 11 หลังจากที่มีการปรับปรุงไปแล้ว 10 ครั้ง” แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า นอกจากนี้มีการพูดถึงรายละเอียดต้นทุนที่แท้จริงน้อยมาก โดยต้นทุนต่อคันต่อวัน ที่คิดเป็นค่าใช้จ่ายนอกจากค่าเช่า 2,082 บาท ค่าซ่อม 2,250 บาท แล้วยังมีค่า E-Ticket และ GPS 150 บาท ค่าประกันภัย 31 บาท ค่าภาษี 8 บาท ดอกเบี้ย 9% รวมในส่วนที่ต้องจ่ายให้เอกชน 4,657 บาท ต่อคันต่อวัน หรือ 67,992.20 ล้านบาทใน10ปี
ล่าสุดมีการปรับดอกเบี้ยเหลือ 6.725 % ค่าเช่าและซ่อมบำรุงรวมเหลือ 64,885 ล้านบาท และยังมีค่าใช้จ่ายในส่วน ขสมก.อีก 4,706 บาทต่อวัน ต่อคัน หรือ 68,707.6 ล้านบาทใน 10 ปี ประกอบด้วย ค่าสนับสนุน 490 บาท ค่าสวัสดิการ 203 บาท ค่าบำเหน็ญบำนาญ กองทุน 170 บาท ค่าเชื้อเพลิง 2,011 บาท อื่นๆ 139 บาท ค่าใช้จ่ายกองเขตเดินรถ 71 บาท ค่าใช้จ่ายสำนักงานใหญ่ 30 บาท และค่าพนักงานขับรถ 1,592 บาท
แหล่งข่าวกล่าวว่ารวมค่าใช้จ่าย 9,363 บาทต่อวันต่อคัน ในขณะที่ขสมก.และรมว.คมนาคม ยืนยันว่า รถเอ็นจีวี จะมีรายได้ 10,500 บาทต่อคันต่อวัน โดยประมาณว่าจะมีผู้โดยสารเฉลี่ย 350 คนต่อวันต่อคัน เก็บค่าโดยสารเฉลี่ยที่ 30 บาทต่อคน หรือมีกำไรประมาณ 1,100 บาทต่อคันต่อวัน แต่ในความเป็นจริง รายได้ทั้งขสมก.และรถร่วมฯขสมก.ที่ให้บริการในขณะนี้ มีรถให้บริการทั้งปรับอากาศ และรถร้อนรวมกัน ประมาณ 7,000 คัน มีรายได้ไม่ถึง 32 ล้านบาทต่อวัน
สาเหตุเนื่องจากมีระบบขนส่งอื่นๆ ทั้งรถไฟฟ้า รถตู้ ทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย จักรยานยนต์รับจ้าง เรือ และรถนอกระบบอื่นๆให้บริการ และรายได้ 32 ล้านบาทต่อวัน ก็มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ซึ่งขสมก.ทราบเรื่องนี้ดี ดังนั้นการทำสัญญาผูกมัดระยะยาว 10 ปี หากขาดทุนใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
**"โสภณ"ไม่มีแผนรองรับการขาดทุน
อย่างไรก็ตาม นายโสภณ ชี้แจงถึงปัญหาดังกล่าวว่า ไม่ทราบ เพราะผลศึกษาออกมาเช่นนั้น แต่มั่นใจว่าจะไม่ขาดทุนและจะไม่ขาดทุนไปกว่าที่ ขสมก.เป็นอยู่ทุกวันนี้ แย่ที่สุดของโครงการ ก็จะไม่เท่ากับที่ ขสมก.เป็นอยู่วันนี้แน่นอน
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการเอกชน ซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติมาให้บริการ มีต้นทุนคันละประมาณ 3.5-4 ล้านบาท โดยสเปกรถใกล้เคียงกับที่ ขสมก.กำลังจะจัดหา และหากประกอบในประเทศ จะเหลือประมาณ 3.2 ล้านบาทต่อคัน หากคิดอายุใช้งานไว้ที่ 4 ปี เพื่อขายซาก และซื้อใหม่เพื่อให้มีรถใหม่วิ่งตลอดเวลา จะมีค่าซ่อมบำรุงรวมประมาณ 1.2 ล้านบาทตลอด 4 ปี เพราะปีแรกๆรถใหม่ไม่ค่อยมีปัญหา รวมต้นทุนด้านตัวรถ และค่าซ่อมประมาณ 4.4 ล้านบาทเท่านั้น ในขณะที่โครงการเช่า10 ปี ราคาเช่าและค่าซ่อมกว่า 15 ล้านบาท
**40 ส.ว.ขู่ถอดถอนครม.-ล้มงบ53
ด้านกลุ่ม40 ส.ว. นำโดยนายไพบูลย์ นิติตะวัน นายสมชาย แสวงการ สว.สรรหา นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ร่วมกันแถลงข่าว คัดค้านโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4 พันคัน ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของครม. ในวันนี้ พร้อมขู่ว่า หากครม.ผ่านโครงการดังกล่าว เชื่อว่า ส.ว.ทั้ง 150คน จะโหวตไม่ผ่าน พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านบาท รวมทั้งจะมีประชาชนเข้าชื่อ 2 หมื่นชื่อ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา164 เพื่อยื่นถอดถอน คณะรัฐมนตรี
นางสาวรสนา กล่าวว่า โครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4 พันคัน ชัดเจนว่าส่อไปในทางทุจริต และเชื่อว่าส.ว. ทั้ง150 คน ไม่มีใครเห็นด้วยกับโครงการนี้ และในวันที่โครงการนี้เข้าสู่ที่ประชุมครม.จะมีประชาชนไปนอนรอฟังมติ ครม.ที่ทำเนียบรัฐบาลแน่นอน ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าสิ่งที่นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม กระทำนั้น เหมือนเป็นผู้รับสัมปทานเสียเอง เพราะมีการลดราคารายวัน ซึ่งเราอยากให้นายกรัฐมนตรี ตรวจสอบโครงการนี้อย่างจริงจัง ที่สำคัญคิดว่าเรื่องนี้เป็นการดำเนินการเพื่อเตรียมเสบียงกรังไว้สำหรับการเลือกตั้งแน่นอน
“จะเห็นได้ว่าพรรคภูมิใจไทยพยายามผลักดันโครงการนี้อย่างเต็มที่ หากมีการอนุมัติให้ผ่านจริง เรื่องนี้จะเป็นเรื่องใหญ่แน่นอน จะมีคนออกมาคัดค้าน และประชาชนจะเข้าชื่อ 2 หมื่นชื่อ เพื่อยื่นถอดถอนรัฐมนตรีทั้งคณะ ขอให้รัฐบาลมีความกล้าที่จะไม่ผ่านโครงการนี้ อย่ากลัวเรื่องพรรคร่วมจะถอนตัวจากรัฐบาล" นางสาวรสนากล่าว
นายสมชาย แสวงการ กล่าวว่า การเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญในวันที่ 15 มิ.ย.นี้ จะมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 ซึ่งแน่นอนว่า หากมีการอนุมัติโครงการเช่ารถเมล์ ส.ว.ทั้ง 150 คน ก็จะไม่ผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณให้แน่นอน และเมื่อ พ.ร.บ.งบประมาณไม่ผ่าน รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบด้วยการยุบสภาเช่นกัน ดังนั้นรัฐบาลต้องกล้าหาญในเรื่องนี้ ไม่ต้องสนในการต่อรองของพรรคร่วมรัฐบาล เพราะเขาไม่กล้าตีจากรัฐบาลแน่นอน เนื่องจากยังเตรียมเสบียงกรังไม่พร้อมต่อการเลือกตั้ง
นายไพบูลย์ กล่าวว่า นอกจากนี้ในส่วนของพ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านบาท ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาเป็นวาระแรกนั้น ก็เชื่อว่าส.ว.ทั้ง 150 คน จะไม่โหวตให้ผ่านไปแน่นอน หากโครงการเช่ารถเมล์ผ่านการพิจารณาของครม.
อย่างไรก็ตามกลุ่ม 40 ส.ว. ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4 พันคันโดยเปรียบเทียบตัวเลขค่าเช่ารถเมล์ระหว่างขสมก.กับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการประกอบรถยนต์ และบริษัทเดินรถ พบว่าตัวเลขของผู้เชี่ยวชาญต่ำกว่าตัวเลขของขสมก. ถึง 40% ส่วนค่าใช้จ่ายนั้นข้อมูลที่ขสมก.คำนวณค่าซ่อมรถได้ คือ 2,250 บาท/คัน/วัน ซึ่งเป็นการคิดจากค่าซ่อมกิโลเมตรละ 7.50 X 300 กิโลเมตร/วัน ซึ่งเป็นข้อมูลจากอายุรถใช้งาน10 ปีขึ้นไป และระยะทางที่กำหนดไว้ตามทีโออาร์ไม่เกิน 300 กิโลเมตร เป็นการกำหนดระยะทางที่สูงสุดตามทีโออาร์ แต่ข้อเท็จจริงแล้ว รถเมล์จะวิ่งเฉลี่ยวันละ 200 กิโลเมตร ดังนั้น การนำค่าซ่อมรถอายุ 10 ปีคูณกับระยะทางที่วิ่งเกินจริง จึงเป็นที่มาของค่าซ่อมรถที่สูงเกินจริง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดว่าค่าซ่อมในปีแรกไม่กี่ร้อยบาทต่อวัน เฉลี่ย 10 ปีไม่เกิน 1,200 บาท/คัน/วัน รวมทั้งโครงการจะมีผลต่างกับขสมก.อยู่ 15,330 ล้านบาท คิดเป็น 47% (ดูรายระเอียด ตาราง หน้า2 )
นายไพบูลย์ นิติตะวัน กล่าวต่อว่า เนื่องจากข้อมูลที่ ขสมก.นำเสนอเป็นข้อมูลด้านเดียว ตัวเลขแตกต่างกันหลายสิบเปอร์เซ็นต์ เกินกว่าที่จะปรับลดโดยให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา จึงเสนอให้ ครม.นำโครงการดังกล่าวส่งให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ศึกษาทั้งต้นทุนค่าเช่า, รายจ่าย, และ รายรับ และปัญหาหากกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาความเหมาะสมของโครงการอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดความรอบคอบ ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น โดยกลุ่ม 40 ส.ว. จะประชุมติดตามการพิจารณาของครม.ในวันนี้ด้วย
**กทม.งัดสเปกรถBRT สอนมวย “ปิยะพันธ์”
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงกรณีที่นายปิยะพันธ์ จำปาสุต ประธานคณะกรรมการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่ระบุว่า การจัดซื้อรถเมล์ด่วนพิเศษ(BRT) ของกทม. แพงกว่าการเช่ารถเมล์ NGV ของขสมก.ว่า จากการตรวจสอบรายละเอียดสเปกรถ BRT เบื้องต้นนั้นปรากฎว่าวัสดุตัวรถทุกอย่างต้องป้องกันไฟ ซึ่งต่างจากรถเมล์ทั่วไป มีระบบดิสก์เบรกป้องกันความปลอดภัย มีไฮฟลอร์สำหรับผู้พิการที่นั่งวีลแชร์ สามารถเข็นเข้ามาในตัวรถได้ มีกล้อง CCTV ติดตั้งภายในตัวรถ โครงสร้างตัวถังมาตรฐานเยอรมัน เครื่องยนต์ยูโรทรี บานประตูเปิด–ปิด กว้าง 1.5 เมตร ซึ่งต้องขึ้นรูปใหม่หมด ดังนั้นเมื่อเทียบสเปกกันแล้วมันเทียบกันไม่ได้เลยกับรถเมล์ทั่วไป กทม.ซื้อแพงไม่แพง เป็นเรื่องที่ต้องเอาสเปกมาเทียบกันซึ่งขณะนี้ทางสำนักการจราจร และขนส่ง(สจส.) ได้เตรียมเอกสารชี้แจงไว้หมดแล้ว
ขณะที่การบริหารงาน หากได้รับโอนขสมก.เข้ามาดูแล กทม.ยืนยันว่า พร้อมดำเนินการเพราะตลอด 4 ปีที่ผ่านมาตนได้ศึกษาแผนแม่บทการจราจรที่นายคำรบลักข์ สุรัสวดี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาผู้ว่าฯกทม. สมัยนายพิจิตต รัตตกุล ได้เขียนไว้มาอย่างละเอียด จึงเชื่อมั่นว่า กทม.บริหารได้
ด้านนายจุมพล สำเภาพล ผอ.สจส.กทม. กล่าวว่า การออกมาให้ข้อมูลเรื่องรถบีอาร์ทีแพงกว่ารถเมล์เอ็นจีวี ของขสมก.นั้น เป็นการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง กล่าวคือ กทม.มีโครงการจัดซื้อรถ BRT ทั้งสิ้น 45 คัน ในราคาคันละกว่า 7 ล้านบาท โดยมีค่าซ่อมบำรุงปีละกว่า 3 แสนบาทต่อคัน หรือเฉลี่ยคันละเพียง 900 บาทต่อวัน ซึ่ง กทม.ใช้ระบบเหมาจ่ายเป็นเวลา 3 ปี ขณะที่รถเมล์เอ็นจีวีต้องจ่ายค่าซ่อมบำรุงสูงถึงคันละกว่า 2,000 บาทต่อวัน ขณะเดียวกันได้กำหนดเงื่อนไขด้วยว่า หากไม่สามารถซ่อมเสร็จตามเวลาที่กำหนด จะมีโทษเสียค่าปรับสูงถึงวันละ 4 หมื่นบาท ซึ่งมากกว่ารถเมล์เอ็นจีวี ที่คิดค่าปรับเพียงวันละ 5,000 บาทเท่านั้น
ทั้งนี้ เหตุที่รถ BRT มีราคาสูงกว่ารถเมล์เอ็นจีวี เนื่องจากสั่งผลิตในจำนวนน้อยกว่า และมีคุณสมบัติสูงกว่ารถเมล์เอ็นจีวี ในทุกด้าน โดยรูปลักษณ์ภายนอกออกแบบให้มีความลู่ลมตามหลักกลศาสตร์ คล้ายกับรถไฟฟ้าบีทีเอส เพราะต้องขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูง และมีช่องทางวิ่งเฉพาะ และเครื่องยนต์ที่ใช้ในรถ BRT เป็นไปตามมาตรฐานยูโรทรี ซึ่งมีมลภาวะน้อยกว่ารถเมล์เอ็นจีวี ของ ขสมก.ที่ใช้เครื่องยนต์ยูโรทูเท่านั้น และมี 6 เกียร์ ไม่ใช่ 4 เกียร์เหมือนรถเมล์
นอกจากนี้ยังใช้แชสซีที่ผลิตจากประเทศเยอรมัน ซึ่งมีความแข็งแรงมากกว่า ส่วนระบบห้ามล้อจะใช้ทั้งระบบอีบีเอส (อิเล็กทรอนิกส์ เบรก ซิสเต็ม) ควบคู่กับระบเอบีเอส (แอนตี้ล็อก เบรก ซิสเต็ม) รวมทั้งระบบป้องกันล้อหมุนฟรี และใช้ระบบกันสะเทือนเป็นระบบไฟฟ้าอัตโนมัติ
สำหรับการออกแบบระบบความปลอดภัยภายในรถได้เลือกใช้วัสดุป้องกันการติดไฟ ทั้งหมด และมีกล้องบันทึกภาพที่เก็บข้อมูลย้อนหลังได้ถึง 72 ชั่วโมง อีกทั้งมีระบบนำทางอัตโนมัติ ทำให้รถ BRT สามารถจอดเทียบชานชาลาในระยะห่างไม่เกิน 7 เซนติเมตร จึงให้ความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้โดยสาร
**รถร่วมฯยันยังไม่ขึ้นราคา
นางภัทรวดี กล่อมจรูญ นายกสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง (รถร่วมฯ ขสมก.) กล่าวว่า กรณีที่มีกลุ่มผู้ประกอบการรถร่วมเอกชนส่วนหนึ่งยื่นหนังสือขอปรับขึ้นค่าโดยสาร โดยอ้างราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นมาเกินระดับ 24.59 บาท นั้น ยืนยันว่า กลุ่มผู้ประกอบการรถร่วมโดยสารส่วนใหญ่ยังไม่ต้องการปรับขึ้นค่าโดยสารในขณะนี้ ส่วนกลุ่มที่ต้องการขึ้นค่าโดยสารนั้นมีจำนวนไม่กี่ร้อยคัน จากผู้ประกอบการทั้งหมด3,500 คัน
โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า ราคาน้ำมันดีเซลปัจจุบันยังสามารถแบกรับต้นทุนได้ และอาจจะมีการเสนอขอปรับขึ้นค่าโดยสารเมื่อราคาน้ำมันถึงระดับ 26 บาทต่อลิตร และในการพิจารณาของคณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง จะต้องให้ราคาน้ำมันทรงตัวอยู่ในระดับนั้นอีกประมาณ 2 สัปดาห์อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ทำให้รถร่วมฯ ส่วนใหญ่แบกรับต้นทุนได้ เนื่องจากขณะนี้ มีการปรับเปลี่ยนจากเครื่องยนต์ดีเซลไปเป็นเครื่องยนต์เอ็นจีวีกันจำนวนหนึ่งแล้ว และเห็นว่า การออกมาเคลื่อนไหวเพื่อขอปรับค่าโดยสารครั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยนั้นอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ลดกระแสการคัดค้านโครงการรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันของขสมก. ของฝ่ายการเมืองด้วยหรือไม่
สำหรับข้อเสนอของรถร่วมฯ ขสมก.เป็นของสมาคมพัฒนารถร่วเอกชน ที่มีนายฉัตรชัย ชัยวิเศษ เป็นนายกฯ โดยขอปรับขึ้นค่าโดยสาร ในส่วนรถปรับอากาศ 2 บาท ต่อระยะ และรถร้อน 1 บาท
นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเข้าพบนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง เมื่อวานนี้ (2 มิ.ย.) ว่าได้หารือกับนายสุเทพ พร้อมกับเสนอโครงการเช่ารถโดยสารปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติ (CNG) เป็นเชื้อเพลิงพร้อมอุปกรณ์ และซ่อมแซมบำรุงรักษา จำนวนรถ 4,000 คัน เพื่อบรรจุเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในวันนี้ (3 มิ.ย.) เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งได้รับคำตอบจากนายสุเทพว่า จะหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีก่อน
"จะบรรจุเป็นวาระเข้าครม.วันนี้(3มิ.ย.) หรือไม่ก็แล้วแต่ หากไม่เข้าครม. ก็ต้องมีเหตุผลให้ผม ซึ่งผมได้เตรียมพร้อมที่จะชี้แจงข้อมูลและรายละเอียดต่างๆให้กับที่ประชุมเรียบร้อยแล้ว น่าเสียดายที่เรื่องเช่ารถเมล์เอ็นจีวีเป็นเรื่องการเมืองไปแล้ว ถ้าเข้าครม. และได้รับอนุมัติ คนก็มองว่าเป็นการตอบแทนบุญคุณให้พรรคภูมิใจไทย คนไม่ได้มองเนื้อหาของงานจริงๆ ที่ผ่านมาผมยืนยันมาตลอดว่า ไม่ได้ทำโครงการเพราะการเมือง การปรับลดต้นทุนลงก็ไม่ใช่การแต่งตัวเลข และโครงการ สภาพัฒน์ฯ ก็เห็นชอบมานานแล้วด้วย" นายโสภณกล่าว
**เชื่อไม่บานปลายทำให้การเมืองแตกหัก
นายโสภณ กล่าวว่ากรณีรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน ไม่ใช่การขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย แต่เป็นการถกเถียงเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ซึ่งที่ผ่านมา เรื่องดอกเบี้ยมีการปรับลดลงเพราะทางกระทรวงการคลัง ที่บริหารเรื่องการเงินของประเทศให้ความเห็นมา แต่เรื่องค่าซ่อมเป็นเรื่องเทคนิคที่ลดต้นทุนเรื่องนี้ไม่ได้ และยอมไม่ได้ที่รถที่ให้บริการสาธารณะใช้ยางหล่อดอก เครื่องยนต์มือสอง ตัวเลขที่มีการปรับเปลี่ยนเป็นไปตามข้อเท็จจริง การแก้ไขไม่ใช่เป็นไปตามกระแส ไม่มีการแต่งตัวเลข
ต่อข้อถามว่า กรณีเอ็นจีวี 4,000 คัน หากไม่ผ่านหรือมีปัญหา จะเป็นเหตุให้การเมืองแตกหักหรือมีการถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ นายโสภณ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ทำให้การเมืองแตกหัก และจะไม่ถอนตัวจากรัฐบาลแน่ เพราะยังอยากเป็นรัฐมนตรีอยู่
**โยนบอร์ด-ขสมก.ชี้แจงไม่ใช่หน้าที่รมต.
นอกจากนี้นายโสภณ ยังยืนยันว่าได้ให้นโยบายไปยังหน่วยปฎิบัติ คือ ขสมก.แล้วว่า ต้องเป็นผู้แถลงชี้แจงรายละเอียด ทั้งประธานบอร์ด ขสมก.และผู้บริหารขสมก. ในฐานะผู้กำกับนโยบายจะพูดเฉพาะหลักการเท่านั้น
ในขณะที่การแถลงข่าวเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมา ของนายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการขสมก. ระบุว่า หากขสมก.เสนอเรื่องนี้ไปแล้ว แต่ระดับนโยบาย คือคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไม่เห็นชอบ ตนก็ไม่เดือดร้อน เพราะผู้ขาดทุนคือ ขสมก. ไม่ใช่เงินในกระเป๋าของตน เพียงแต่ระดับนโยบายก็จะต้องรับผิดชอบที่ ขสมก.จะต้องขาดทุนเดือนละ 6 ล้านบาทต่อไป
นายโสภณ กล่าวว่า ล่าสุดโครงการได้ปรับลดวงเงินค่าเช่าลงเหลือ 64,885 ล้านบาท จากเดิม 67,992 ล้านบาท เนื่องจากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 6.725 % จาก 9 % ซึ่งเป็นไปตามข้อมูลของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สนบ.)ได้มีการจัดทำ โดยเหตุผลที่ได้ยอมให้มีการปรับลดวงเงินค่าเช่าลงนั้น เป็นเรื่องของกระทรวงการคลัง เมื่อได้มีการยืนยันตัวเลขดังกล่าวมาแล้วก็จำเป็นต้องรับฟัง พร้อมทั้งยังได้วอนให้สังคมอย่าเอาความรู้สึกส่วนตัวมาตัดสิน ขอให้ฟังคำชี้แจง เพราะเป็นการทำเพื่อส่วนรวม ให้ขสมก.ไม่ขาดทุน และเพื่อให้ผลประโยชน์ตกเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
**“สุเทพ”โบ้ยทุกอย่างอยู่ที่ครม.ตัดสิน
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯด้านความมั่นคง กล่าวถึงโครงการรถเมล์เช่า NGV 4 พันคัน ที่รมว.คมนาคม ยืนยันจะนำเข้าสู่การพิจารณาของครม.ในวันนี้ว่า ไม่มีอะไรที่จะต้องตื่นเต้น เพราะถึงอย่างไรก็จะต้องเข้าสู่การพิจารณาของครม. หลังจากที่ครม.ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไปทบทวน ก่อนเสนอกลับมาใหม่ ส่วน ครม.เมื่อพิจารณาแล้วจะมีความเห็นอย่างไร ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ต่อข้อถามว่า มีข่าวนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม จะเข้าพบนายกฯก่อนที่เรื่องจะเข้าที่ประชุมครม.นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่ถ้ามาก็คุยกัน ไม่มีปัญหาอะไร เมื่อถามว่าเรื่องนี้จะนำไปสู่ความขัดแย้งหรือไม่ เพราะกระแสไม่เห็นด้วยเพราะมีการโกงกัน จึงอยากให้ยกเลิก นายสุเทพ กล่าวว่า ความคิดเห็นของประชาชน รัฐบาลก็ต้องฟัง แต่ที่บอกว่ามีการโกงกัน เราก็ยังไม่เห็นว่าเขาทำอะไร และตนก็คงไม่ไปกล่าวหาเขาอย่างนั้น แต่ถ้าจะถามว่า ในฐานะที่เป็นสมาชิกคนหนึ่งในครม. เห็นอย่างไร อันนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และต้องขอไปพูดในที่ประชุม ครม.
มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีการซื้อแทนการเช่า รองนายกฯ กล่าวว่า โดยมารยาทคงไม่ตอบก่อนที่ ครม.จะตัดสินใจอย่างใด อย่างหนึ่ง เมื่อถามว่าในเรื่องของข้อมูลนั้นรัฐบาลจะยึดตัวเลขหลักเกณฑ์ของใครจากสภาพัฒน์ฯ หรือจากหน่วยงานที่บอกว่ามีการโกงกันนั้น เขามีการเสนอหลักฐานอะไรมาให้บ้างหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่มี ที่บอกว่ามีการโกงกันนั้น ตนยังไม่เห็นใครยื่นหลักฐานอะไรมาเลย ส่วนตัวเลขที่จะยึดนั้น รัฐบาลก็ต้องยึดรายงานที่คณะกรรมการ 2-3 ฝ่าย ที่เขาไปสรุปร่วมกัน และกระทรวงคมนาคม เขาก็คงจะต้องแนบบันทึกรายงานการประชุมของคณะกรรมการเหล่านั้นว่า มีการพิจารณากันอย่างไร มีตัวเลขอย่างไร แต่ตนยังไม่เห็นรายงานนี้ ซึ่งขณะนี้ตนรักษาการนายกรัฐมนตรีอยู่มา 2 วันแล้ว ยังไม่เห็นเรื่องนี้ที่จะเข้าสู่ ครม. แต่ปกติเรื่องที่จะเข้าสู่ ครม.หากมาผ่านตน ตนก็จะเซ็นให้ผ่านเข้าครม.หมด ส่วนครม.จะเห็นชอบหรือไม่ก็ไปว่ากัน แต่คิดว่า เรื่องนี้คงไม่นำมาพิจารณาในวาระจร หากเสนอมาวันนี้ อาจจะเป็นวาระเพิ่มเติม เพราะวาระจร ส่วนใหญ่มักจะเลี่ยง เพราะต้องการให้ รมต.อื่นๆ ได้อ่านทำความเข้าใจกันด้วย
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า การทำงานระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคร่วมรัฐบาล จะเป็นลักษณะหมูไป ไก่มา ในหลายๆเรื่อง นายสุเทพ กล่าวว่า ทั้งหมดเป็นโครงการตามนโยบายของรัฐบาลว่าเราจะทำอะไรให้บ้านเมืองบ้าง ตั้งแต่การสร้างถนนไร้ฝุ่น หรือการก่อสร้างรถไฟฟ้าบนดิน หรือใต้ดินทั้งหลาย เหล่านี้ล้วนเป็นนโยบายของรัฐบาล หรือ ระบบชลประทานทั่วประเทศ ซึ่งโครงการเหล่านี้จะต้องมีผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่เรื่องของการต่อรองอย่างที่วิพากษ์วิจารณ์กัน
**นายกฯยังปิดปากเงียบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 19.50น.วานนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางกลับจากการประชุมอาเซียนที่เกาหลี ถึงสนามบิน บน.6 โดยมี นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง นายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวนายกรัฐมนตรี และนายศิริโชค โสภา ไปรอรับ และได้มีการหารือกันที่ห้องรับรองวีไอพี กว่าครึ่งชั่วโมง โดยนายกรัฐมนตรีปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์นักข่าวที่ไปรอทำข่าวเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวพยายามถามว่า ในการประชุมครม.วันนี้มีการบรรจุวาระ เรื่องเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันเข้าสู่การพิจารณษหรือไม่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีตอบว่า ขอกลับไปดูที่บ้านก่อน
**จ้างมือที่สามฟอก"โปร่งใส"
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องของความจำเป็นที่เราต้องให้บริการประชาชน
"ราคาค่าเช่ารถเมล์จากเดิมที่ตั้งไว้คันละ 8 ล้านบาท ลดเหลือคันละ5 ล้านบาทถือว่าเป็นเรื่องสมเหตุสมผลแล้ว" นายชวรัตน์ กล่าว
เมื่อถามว่าหากนายกฯ ไม่นำโครงการดังกล่าวเข้าที่ประชุม ครม. จะเป็นสัญญาณความขัดแย้งระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคภูมิใจไทยบานปลาย หรือไม่ นายชวรัตน์ กล่าวว่า นายกฯต้องมีเหตุผล ถามต่อว่าหาก ยกเหตุผลเรื่องการทุจริต นายชวรัตน์ กล่าวว่า เราก็ต้องมีวิธีที่ทำให้ประชาชนเข้าใจว่า โปร่งใส ซึ่งอาจจ้างบุคคลที่ 3 มาทำแผนความเป็นไปได้ของโครงการ
เมื่อถามว่า มีการมองว่าพรรคภูมิใจไทย พยายามผลักดันโครงการนี้ เพื่อหาเงินทุนสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป นายชวรัตน์ กล่าวว่า ทำให้ประชาชน ไม่ได้ทำให้พรรค เพราะขณะนี้มีคนบริจาคเงินให้พรรคสำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้าอยู่แล้ว อีกทั้งการใช้จ่ายของพรรคยังมี กกต. คอยควบคุมอยู่
**แฉทีโออาร์เปิดช่องเอื้อเอกชนสุดๆ
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าโครงการเช่ารถโดยสารปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติ (CNG) เป็นเชื้อเพลิงพร้อมอุปกรณ์ และซ่อมแซมบำรุงรักษา จำนวนรถ 4,000 คัน ระยะเวลา 10 ปี ของขสมก.นั้น มีหลายประเด็นที่น่าสังเกตุ แต่ถูกละเลย ที่ผ่านมาส่วนใหญ่พุ่งเป้าไปที่ค่าซ่อม ค่าเช่า ซึ่งที่ผ่านมา นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ในฐานะผู้กำกับดูแล ขสมก.และเป็นผู้ผลักดันโครงการชี้แจงว่า โปร่งใส มีเหตุผลที่มาของตัวเลข
โดยเงื่อนไขในร่างทีโออาร์ โครงการเช่ารถโดยสารปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติ (CNG) เป็นเชื้อเพลิงพร้อมอุปกรณ์และซ่อมแซมบำรุงรักษา จำนวนรถ 4,000 คัน ระยะเวลา 10 ปี ในเงื่อนไขการเสนอราคา ข้อ 4.6.4.3 ระบุว่า กรณีที่ ขสมก.ไม่ได้ใช้รถจากกรณีที่ไม่ใช่ความผิดของผู้ให้เช่า เช่น ไม่มีคนขับ ไม่มีเชื้อเพลิง (CNG) ไม่มีอู่สำหรับจอดรถเพื่อรับมอบรถจากผู้ให้เช่า ขสมก.ยังคงต้องจ่ายค่าเช่าเต็มจำนวน 4,000 คัน
ในขณะที่ ข้อ 5.5 ตามเงื่อนไขผู้ให้เช่าต้องดูแลรักษาสีของรถยนต์ให้ใหม่ตลอดเวลา และเมื่อใช้งานครบ 5 ปี จะต้องทำสีใหม่อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยขสมก.จะงดใช้รถในช่วงปีที่ 5-6 ปี เพื่อให้ผู้ให้เช่าทำการปรับปรุงและซ่อมแซมตัวถัง เป็นเวลาไม่เกิน 60 วันในแต่ละคัน โดย ขสมก.จะงดจ่ายค่าเช่าเท่าระยะเวลาที่งดใช้รถ แต่จะขยายเวลาการเช่าออกไปเท่าระยะเวลาที่งดใช้รถ
กรณีที่รถเสียหรือไม่เต็มจำนวน 4,000 คันนั้น ผู้ให้เช่าต้องหารถมาทดแทนให้ครบจำนวนใน 3 ชั่วโมง แต่หากไม่สามารถหารถได้ตามกำหนด บทปรับของขสมก.คือ ลดค่าเช่าคิดเป็นรายชั่วโมง โดยคิดจากค่าเช่ารายวันหารด้วย 16 ชั่วโมง คิดเป็นค่าเสียโอกาสชั่วโมงละ313 บาทต่อคัน และหากเกิน16 ชั่วโมงขึ้นไป จะเพิ่มเป็น5,000 บาทต่อคัน และงดจ่ายค่าเช่าในวันนั้น
แหล่งข่าวกล่าวว่า เห็นได้ชัดว่าเงื่อนไขทีโออาร์ เปิดช่องเอื้อประโยชน์ให้เอกชนมากกว่ารักษาผลประโยชน์ของขสมก.เอง เพราะหากกรณีขสมก.มีคนขับรถไม่พอ หรือไม่มีอู่จอดรถ ไม่มีเชื้อเพลิง รถใช้งานได้ไม่เต็มจำนวน 4,000 คัน แต่ต้องจ่ายค่าเช่าเต็ม 4,000 คันในวันนั้น ในขณะที่กรณีที่ต้องปรับปรุงตัวถังและสีของรถในปีที่ 5 -6 ขสมก.เปิดช่องให้เวลาเอกชนถึง 60 วัน แม้ขสมก.ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าแต่ รถไม่ครบ 4,000 คันถือว่าขาดจำนวน ขสมก.เสียหาย มีรถวิ่งไม่ครบ และยังขยายเวลาเช่าให้เอกชนตามจำนวนวันที่ซ่อมอีกด้วย
“เป็นเงื่อนไขที่เพิ่มขึ้นในทีโออาร์ ที่มีการปรับปรุงใหม่ ครั้งที่ 11 หลังจากที่มีการปรับปรุงไปแล้ว 10 ครั้ง” แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า นอกจากนี้มีการพูดถึงรายละเอียดต้นทุนที่แท้จริงน้อยมาก โดยต้นทุนต่อคันต่อวัน ที่คิดเป็นค่าใช้จ่ายนอกจากค่าเช่า 2,082 บาท ค่าซ่อม 2,250 บาท แล้วยังมีค่า E-Ticket และ GPS 150 บาท ค่าประกันภัย 31 บาท ค่าภาษี 8 บาท ดอกเบี้ย 9% รวมในส่วนที่ต้องจ่ายให้เอกชน 4,657 บาท ต่อคันต่อวัน หรือ 67,992.20 ล้านบาทใน10ปี
ล่าสุดมีการปรับดอกเบี้ยเหลือ 6.725 % ค่าเช่าและซ่อมบำรุงรวมเหลือ 64,885 ล้านบาท และยังมีค่าใช้จ่ายในส่วน ขสมก.อีก 4,706 บาทต่อวัน ต่อคัน หรือ 68,707.6 ล้านบาทใน 10 ปี ประกอบด้วย ค่าสนับสนุน 490 บาท ค่าสวัสดิการ 203 บาท ค่าบำเหน็ญบำนาญ กองทุน 170 บาท ค่าเชื้อเพลิง 2,011 บาท อื่นๆ 139 บาท ค่าใช้จ่ายกองเขตเดินรถ 71 บาท ค่าใช้จ่ายสำนักงานใหญ่ 30 บาท และค่าพนักงานขับรถ 1,592 บาท
แหล่งข่าวกล่าวว่ารวมค่าใช้จ่าย 9,363 บาทต่อวันต่อคัน ในขณะที่ขสมก.และรมว.คมนาคม ยืนยันว่า รถเอ็นจีวี จะมีรายได้ 10,500 บาทต่อคันต่อวัน โดยประมาณว่าจะมีผู้โดยสารเฉลี่ย 350 คนต่อวันต่อคัน เก็บค่าโดยสารเฉลี่ยที่ 30 บาทต่อคน หรือมีกำไรประมาณ 1,100 บาทต่อคันต่อวัน แต่ในความเป็นจริง รายได้ทั้งขสมก.และรถร่วมฯขสมก.ที่ให้บริการในขณะนี้ มีรถให้บริการทั้งปรับอากาศ และรถร้อนรวมกัน ประมาณ 7,000 คัน มีรายได้ไม่ถึง 32 ล้านบาทต่อวัน
สาเหตุเนื่องจากมีระบบขนส่งอื่นๆ ทั้งรถไฟฟ้า รถตู้ ทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย จักรยานยนต์รับจ้าง เรือ และรถนอกระบบอื่นๆให้บริการ และรายได้ 32 ล้านบาทต่อวัน ก็มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ซึ่งขสมก.ทราบเรื่องนี้ดี ดังนั้นการทำสัญญาผูกมัดระยะยาว 10 ปี หากขาดทุนใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
**"โสภณ"ไม่มีแผนรองรับการขาดทุน
อย่างไรก็ตาม นายโสภณ ชี้แจงถึงปัญหาดังกล่าวว่า ไม่ทราบ เพราะผลศึกษาออกมาเช่นนั้น แต่มั่นใจว่าจะไม่ขาดทุนและจะไม่ขาดทุนไปกว่าที่ ขสมก.เป็นอยู่ทุกวันนี้ แย่ที่สุดของโครงการ ก็จะไม่เท่ากับที่ ขสมก.เป็นอยู่วันนี้แน่นอน
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการเอกชน ซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติมาให้บริการ มีต้นทุนคันละประมาณ 3.5-4 ล้านบาท โดยสเปกรถใกล้เคียงกับที่ ขสมก.กำลังจะจัดหา และหากประกอบในประเทศ จะเหลือประมาณ 3.2 ล้านบาทต่อคัน หากคิดอายุใช้งานไว้ที่ 4 ปี เพื่อขายซาก และซื้อใหม่เพื่อให้มีรถใหม่วิ่งตลอดเวลา จะมีค่าซ่อมบำรุงรวมประมาณ 1.2 ล้านบาทตลอด 4 ปี เพราะปีแรกๆรถใหม่ไม่ค่อยมีปัญหา รวมต้นทุนด้านตัวรถ และค่าซ่อมประมาณ 4.4 ล้านบาทเท่านั้น ในขณะที่โครงการเช่า10 ปี ราคาเช่าและค่าซ่อมกว่า 15 ล้านบาท
**40 ส.ว.ขู่ถอดถอนครม.-ล้มงบ53
ด้านกลุ่ม40 ส.ว. นำโดยนายไพบูลย์ นิติตะวัน นายสมชาย แสวงการ สว.สรรหา นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ร่วมกันแถลงข่าว คัดค้านโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4 พันคัน ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของครม. ในวันนี้ พร้อมขู่ว่า หากครม.ผ่านโครงการดังกล่าว เชื่อว่า ส.ว.ทั้ง 150คน จะโหวตไม่ผ่าน พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านบาท รวมทั้งจะมีประชาชนเข้าชื่อ 2 หมื่นชื่อ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา164 เพื่อยื่นถอดถอน คณะรัฐมนตรี
นางสาวรสนา กล่าวว่า โครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4 พันคัน ชัดเจนว่าส่อไปในทางทุจริต และเชื่อว่าส.ว. ทั้ง150 คน ไม่มีใครเห็นด้วยกับโครงการนี้ และในวันที่โครงการนี้เข้าสู่ที่ประชุมครม.จะมีประชาชนไปนอนรอฟังมติ ครม.ที่ทำเนียบรัฐบาลแน่นอน ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าสิ่งที่นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม กระทำนั้น เหมือนเป็นผู้รับสัมปทานเสียเอง เพราะมีการลดราคารายวัน ซึ่งเราอยากให้นายกรัฐมนตรี ตรวจสอบโครงการนี้อย่างจริงจัง ที่สำคัญคิดว่าเรื่องนี้เป็นการดำเนินการเพื่อเตรียมเสบียงกรังไว้สำหรับการเลือกตั้งแน่นอน
“จะเห็นได้ว่าพรรคภูมิใจไทยพยายามผลักดันโครงการนี้อย่างเต็มที่ หากมีการอนุมัติให้ผ่านจริง เรื่องนี้จะเป็นเรื่องใหญ่แน่นอน จะมีคนออกมาคัดค้าน และประชาชนจะเข้าชื่อ 2 หมื่นชื่อ เพื่อยื่นถอดถอนรัฐมนตรีทั้งคณะ ขอให้รัฐบาลมีความกล้าที่จะไม่ผ่านโครงการนี้ อย่ากลัวเรื่องพรรคร่วมจะถอนตัวจากรัฐบาล" นางสาวรสนากล่าว
นายสมชาย แสวงการ กล่าวว่า การเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญในวันที่ 15 มิ.ย.นี้ จะมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 ซึ่งแน่นอนว่า หากมีการอนุมัติโครงการเช่ารถเมล์ ส.ว.ทั้ง 150 คน ก็จะไม่ผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณให้แน่นอน และเมื่อ พ.ร.บ.งบประมาณไม่ผ่าน รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบด้วยการยุบสภาเช่นกัน ดังนั้นรัฐบาลต้องกล้าหาญในเรื่องนี้ ไม่ต้องสนในการต่อรองของพรรคร่วมรัฐบาล เพราะเขาไม่กล้าตีจากรัฐบาลแน่นอน เนื่องจากยังเตรียมเสบียงกรังไม่พร้อมต่อการเลือกตั้ง
นายไพบูลย์ กล่าวว่า นอกจากนี้ในส่วนของพ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านบาท ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาเป็นวาระแรกนั้น ก็เชื่อว่าส.ว.ทั้ง 150 คน จะไม่โหวตให้ผ่านไปแน่นอน หากโครงการเช่ารถเมล์ผ่านการพิจารณาของครม.
อย่างไรก็ตามกลุ่ม 40 ส.ว. ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4 พันคันโดยเปรียบเทียบตัวเลขค่าเช่ารถเมล์ระหว่างขสมก.กับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการประกอบรถยนต์ และบริษัทเดินรถ พบว่าตัวเลขของผู้เชี่ยวชาญต่ำกว่าตัวเลขของขสมก. ถึง 40% ส่วนค่าใช้จ่ายนั้นข้อมูลที่ขสมก.คำนวณค่าซ่อมรถได้ คือ 2,250 บาท/คัน/วัน ซึ่งเป็นการคิดจากค่าซ่อมกิโลเมตรละ 7.50 X 300 กิโลเมตร/วัน ซึ่งเป็นข้อมูลจากอายุรถใช้งาน10 ปีขึ้นไป และระยะทางที่กำหนดไว้ตามทีโออาร์ไม่เกิน 300 กิโลเมตร เป็นการกำหนดระยะทางที่สูงสุดตามทีโออาร์ แต่ข้อเท็จจริงแล้ว รถเมล์จะวิ่งเฉลี่ยวันละ 200 กิโลเมตร ดังนั้น การนำค่าซ่อมรถอายุ 10 ปีคูณกับระยะทางที่วิ่งเกินจริง จึงเป็นที่มาของค่าซ่อมรถที่สูงเกินจริง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดว่าค่าซ่อมในปีแรกไม่กี่ร้อยบาทต่อวัน เฉลี่ย 10 ปีไม่เกิน 1,200 บาท/คัน/วัน รวมทั้งโครงการจะมีผลต่างกับขสมก.อยู่ 15,330 ล้านบาท คิดเป็น 47% (ดูรายระเอียด ตาราง หน้า2 )
นายไพบูลย์ นิติตะวัน กล่าวต่อว่า เนื่องจากข้อมูลที่ ขสมก.นำเสนอเป็นข้อมูลด้านเดียว ตัวเลขแตกต่างกันหลายสิบเปอร์เซ็นต์ เกินกว่าที่จะปรับลดโดยให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา จึงเสนอให้ ครม.นำโครงการดังกล่าวส่งให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ศึกษาทั้งต้นทุนค่าเช่า, รายจ่าย, และ รายรับ และปัญหาหากกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาความเหมาะสมของโครงการอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดความรอบคอบ ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น โดยกลุ่ม 40 ส.ว. จะประชุมติดตามการพิจารณาของครม.ในวันนี้ด้วย
**กทม.งัดสเปกรถBRT สอนมวย “ปิยะพันธ์”
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงกรณีที่นายปิยะพันธ์ จำปาสุต ประธานคณะกรรมการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่ระบุว่า การจัดซื้อรถเมล์ด่วนพิเศษ(BRT) ของกทม. แพงกว่าการเช่ารถเมล์ NGV ของขสมก.ว่า จากการตรวจสอบรายละเอียดสเปกรถ BRT เบื้องต้นนั้นปรากฎว่าวัสดุตัวรถทุกอย่างต้องป้องกันไฟ ซึ่งต่างจากรถเมล์ทั่วไป มีระบบดิสก์เบรกป้องกันความปลอดภัย มีไฮฟลอร์สำหรับผู้พิการที่นั่งวีลแชร์ สามารถเข็นเข้ามาในตัวรถได้ มีกล้อง CCTV ติดตั้งภายในตัวรถ โครงสร้างตัวถังมาตรฐานเยอรมัน เครื่องยนต์ยูโรทรี บานประตูเปิด–ปิด กว้าง 1.5 เมตร ซึ่งต้องขึ้นรูปใหม่หมด ดังนั้นเมื่อเทียบสเปกกันแล้วมันเทียบกันไม่ได้เลยกับรถเมล์ทั่วไป กทม.ซื้อแพงไม่แพง เป็นเรื่องที่ต้องเอาสเปกมาเทียบกันซึ่งขณะนี้ทางสำนักการจราจร และขนส่ง(สจส.) ได้เตรียมเอกสารชี้แจงไว้หมดแล้ว
ขณะที่การบริหารงาน หากได้รับโอนขสมก.เข้ามาดูแล กทม.ยืนยันว่า พร้อมดำเนินการเพราะตลอด 4 ปีที่ผ่านมาตนได้ศึกษาแผนแม่บทการจราจรที่นายคำรบลักข์ สุรัสวดี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาผู้ว่าฯกทม. สมัยนายพิจิตต รัตตกุล ได้เขียนไว้มาอย่างละเอียด จึงเชื่อมั่นว่า กทม.บริหารได้
ด้านนายจุมพล สำเภาพล ผอ.สจส.กทม. กล่าวว่า การออกมาให้ข้อมูลเรื่องรถบีอาร์ทีแพงกว่ารถเมล์เอ็นจีวี ของขสมก.นั้น เป็นการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง กล่าวคือ กทม.มีโครงการจัดซื้อรถ BRT ทั้งสิ้น 45 คัน ในราคาคันละกว่า 7 ล้านบาท โดยมีค่าซ่อมบำรุงปีละกว่า 3 แสนบาทต่อคัน หรือเฉลี่ยคันละเพียง 900 บาทต่อวัน ซึ่ง กทม.ใช้ระบบเหมาจ่ายเป็นเวลา 3 ปี ขณะที่รถเมล์เอ็นจีวีต้องจ่ายค่าซ่อมบำรุงสูงถึงคันละกว่า 2,000 บาทต่อวัน ขณะเดียวกันได้กำหนดเงื่อนไขด้วยว่า หากไม่สามารถซ่อมเสร็จตามเวลาที่กำหนด จะมีโทษเสียค่าปรับสูงถึงวันละ 4 หมื่นบาท ซึ่งมากกว่ารถเมล์เอ็นจีวี ที่คิดค่าปรับเพียงวันละ 5,000 บาทเท่านั้น
ทั้งนี้ เหตุที่รถ BRT มีราคาสูงกว่ารถเมล์เอ็นจีวี เนื่องจากสั่งผลิตในจำนวนน้อยกว่า และมีคุณสมบัติสูงกว่ารถเมล์เอ็นจีวี ในทุกด้าน โดยรูปลักษณ์ภายนอกออกแบบให้มีความลู่ลมตามหลักกลศาสตร์ คล้ายกับรถไฟฟ้าบีทีเอส เพราะต้องขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูง และมีช่องทางวิ่งเฉพาะ และเครื่องยนต์ที่ใช้ในรถ BRT เป็นไปตามมาตรฐานยูโรทรี ซึ่งมีมลภาวะน้อยกว่ารถเมล์เอ็นจีวี ของ ขสมก.ที่ใช้เครื่องยนต์ยูโรทูเท่านั้น และมี 6 เกียร์ ไม่ใช่ 4 เกียร์เหมือนรถเมล์
นอกจากนี้ยังใช้แชสซีที่ผลิตจากประเทศเยอรมัน ซึ่งมีความแข็งแรงมากกว่า ส่วนระบบห้ามล้อจะใช้ทั้งระบบอีบีเอส (อิเล็กทรอนิกส์ เบรก ซิสเต็ม) ควบคู่กับระบเอบีเอส (แอนตี้ล็อก เบรก ซิสเต็ม) รวมทั้งระบบป้องกันล้อหมุนฟรี และใช้ระบบกันสะเทือนเป็นระบบไฟฟ้าอัตโนมัติ
สำหรับการออกแบบระบบความปลอดภัยภายในรถได้เลือกใช้วัสดุป้องกันการติดไฟ ทั้งหมด และมีกล้องบันทึกภาพที่เก็บข้อมูลย้อนหลังได้ถึง 72 ชั่วโมง อีกทั้งมีระบบนำทางอัตโนมัติ ทำให้รถ BRT สามารถจอดเทียบชานชาลาในระยะห่างไม่เกิน 7 เซนติเมตร จึงให้ความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้โดยสาร
**รถร่วมฯยันยังไม่ขึ้นราคา
นางภัทรวดี กล่อมจรูญ นายกสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง (รถร่วมฯ ขสมก.) กล่าวว่า กรณีที่มีกลุ่มผู้ประกอบการรถร่วมเอกชนส่วนหนึ่งยื่นหนังสือขอปรับขึ้นค่าโดยสาร โดยอ้างราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นมาเกินระดับ 24.59 บาท นั้น ยืนยันว่า กลุ่มผู้ประกอบการรถร่วมโดยสารส่วนใหญ่ยังไม่ต้องการปรับขึ้นค่าโดยสารในขณะนี้ ส่วนกลุ่มที่ต้องการขึ้นค่าโดยสารนั้นมีจำนวนไม่กี่ร้อยคัน จากผู้ประกอบการทั้งหมด3,500 คัน
โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า ราคาน้ำมันดีเซลปัจจุบันยังสามารถแบกรับต้นทุนได้ และอาจจะมีการเสนอขอปรับขึ้นค่าโดยสารเมื่อราคาน้ำมันถึงระดับ 26 บาทต่อลิตร และในการพิจารณาของคณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง จะต้องให้ราคาน้ำมันทรงตัวอยู่ในระดับนั้นอีกประมาณ 2 สัปดาห์อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ทำให้รถร่วมฯ ส่วนใหญ่แบกรับต้นทุนได้ เนื่องจากขณะนี้ มีการปรับเปลี่ยนจากเครื่องยนต์ดีเซลไปเป็นเครื่องยนต์เอ็นจีวีกันจำนวนหนึ่งแล้ว และเห็นว่า การออกมาเคลื่อนไหวเพื่อขอปรับค่าโดยสารครั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยนั้นอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ลดกระแสการคัดค้านโครงการรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันของขสมก. ของฝ่ายการเมืองด้วยหรือไม่
สำหรับข้อเสนอของรถร่วมฯ ขสมก.เป็นของสมาคมพัฒนารถร่วเอกชน ที่มีนายฉัตรชัย ชัยวิเศษ เป็นนายกฯ โดยขอปรับขึ้นค่าโดยสาร ในส่วนรถปรับอากาศ 2 บาท ต่อระยะ และรถร้อน 1 บาท