ป้อมมหากาฬ เป็น 1 ใน 14 ป้อมปราการที่สร้างพร้อมกับกำแพงขนานไปกับคลองรอบกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในการป้องกันกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา เพราะนี่เป็นเส้นทางเข้าออกพระนครด้านทิศตะวันออก และเป็นพื้นที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในยุคนั้น
ชุมชนหน้าป้อมมหากาฬ ในยุคนั้นจึงเป็น ชุมชนด่านหน้า ไว้รับศึกเมื่อข้าศึกจะเข้าตีพระนคร อีกทั้งยังเป็น ชุมชนข้าราชบริพาร เมื่อครั้งสมัยเพิ่งก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีอีกด้วย ชุมชนหน้าป้อมมหากาฬ จึงเคยมีฐานะการดำรงอยู่ในพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ว่าเป็น ชุมชนผู้กล้า มาก่อน
แม้ว่าในยุคปัจจุบัน เมื่อป้อมมหากาฬและกำแพงเมืองได้ถูกทางการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานกลับทำให้สถานะของ ชุมชนผู้กล้า ในอดีตถูกเปลี่ยนไปเป็น “ชุมชนผู้บุกรุก” ก็ตาม เมื่อนั้นเองที่เกิด “การเมืองเรื่องพื้นที่ “เพื่อรักษาการดำรงอยู่ของพื้นที่ประวัติศาสตร์ในฐานะชุมชนผู้กล้าเอาไว้”...
ข้างต้นนี้คือ ประเด็นหลักของหนังสือ “การเมืองเรื่องพื้นที่-พลวัตทางสังคมของชุมชน (กรณีศึกษา : ชุมชนป้อมมหากาฬ” ของอาจารย์ธนภณ วัฒนกุล (มูลนิธิสถาบันวิชาการ 14 ตุลา 2550) ที่ได้นำเสนอว่า พื้นที่ทางประวัติศาสตร์เป็น พื้นที่ของการเมือง ชนิดหนึ่งในแง่ของการต้องเข้าไปช่วงชิงการตีความการให้ตัวตนให้ความรู้ ให้ความหมายแก่มัน โดยที่ชุมชนป้อมมหากาฬนี้ อาจารย์ธนภณได้ให้ความหมายแก่ชุมชนนี้ในอดีตว่าเป็น ชุมชนผู้กล้า ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ชานพระนคร เพื่อป้องกันข้าศึกเข้าตีพระนคร
จากกรณีของชุมชนป้อมมหากาฬข้างต้น ทำให้เราได้แง่คิดและมุมมองเรื่อง พื้นที่ของการเมือง (The Space of Politics) และ การเมืองของพื้นที่ (The Politics of Space) ไปทำความเข้าใจ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในฐานะที่เป็น ชุมชนผู้กล้าเชิงจินตนาการ ชุมชนหนึ่งในยุคปัจจุบัน
จากมุมมองแบบนี้ เราจะพบว่า พื้นที่ต่างๆ ที่ห้อมล้อมพวกเราอยู่ในสังคมนั้น มันเป็น พื้นที่ทางการเมือง แบบหนึ่งและก็เป็น การเมืองแห่งพื้นที่ ด้วยในเวลาเดียวกัน เพราะฉะนั้น “เมือง” จึงมิใช่เรื่องของพื้นที่ทางกายภาพอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันยังเป็นพื้นที่แห่งการช่วงชิงการนำในการกำหนดกฎเกณฑ์ กติกาในการสร้าง การควบคุม การตรวจตรา การระบุ การให้คุณค่า การให้ความหมาย และการกำหนดความสูงต่ำของสถานที่อีกด้วย
“ชีวิตประจำวัน” ของผู้คนในสังคมก็เช่นกัน ย่อมเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องของพื้นที่เป็นอย่างมาก คือ เป็นชีวิตที่เราต้องต่อสู้เพื่อช่วงชิงการนำในการนิยาม หรือการให้ความหมายกับพื้นที่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นความหมายทางจิตใจ หรือความหมายทางประวัติศาสตร์ก็ตาม ด้วยเหตุนี้ “พื้นที่ทางสังคม” (social space) จึงเป็นเรื่องของ พื้นที่ความรู้ และอำนาจ อย่างแยกกันไม่ออก และเป็นเรื่องที่ต้องตอกย้ำและผลิตซ้ำออกมาอยู่ตลอดเวลา พื้นที่ความรู้ และอำนาจ จึงเป็นสารัตถะของสิ่งที่เรียกว่า การเมืองของพื้นที่ และพื้นที่ของการเมือง
เพราะฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงในทางรูปแบบและหน้าที่ของพื้นที่ที่หนึ่ง จึงย่อมมีผลโดยตรงต่อการไปลบล้างความทรงจำในอดีตที่เคยเกิดขึ้นเหนือพื้นที่นั้นๆ การเมืองเรื่องพื้นที่ จึงเป็นการเมืองที่มีความหมายทางประวัติศาสตร์ เพราะประวัติศาสตร์ที่ “เป็นอื่น” นั้นมันเป็นรากฐานของปัจจุบันที่ “เป็นอื่น” การต่อสู้ทางการเองเรื่องพื้นที่ จึงกลายเป็นการต่อสู้ทางการเมืองที่มีผลโดยตรงต่อปัจจุบัน
พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นั้น แม้จะเป็น พื้นที่แห่งชุมชนผู้กล้า เหมือนชุมชนป้อมมหากาฬในอดีต แต่ก็มีความต่างอย่างเห็นได้ชัดตรงที่ในขณะที่ชุมชนป้อมมหากาฬ เป็นชุมชนผู้กล้าที่ตั้งอยู่บน สถานที่ (place) บริเวณชานพระนครเพื่อป้องกันข้าศึกเข้าตีพระนครในสมัยต้นยุครัตนโกสินทร์ ส่วน ชุมชนพันธมิตรฯ กลับเป็น ชุมชนผู้กล้าในเชิงจินตนาการ ที่มี พื้นที่ทางจิตใจ ร่วมกันเป็นหลัก แม้ว่าจะเคยปักหลักชุมนุมพักค้างใน สถานที่ อย่างถนนราชดำเนิน และทำเนียบรัฐบาลเพื่อปกป้องบ้านเมืองร่วมกันมาแล้วก็ตาม
พื้นที่ทางจิตใจ ของชุมชนพันธมิตรฯ นั้น เป็นพื้นที่ที่ตัวผมมองว่าได้สร้าง พลังแห่งอัตลักษณ์ ในการเอาชนะระบอบทักษิณขึ้นมา เนื่องเพราะระบอบทักษิณเป็นระบบทุนนิยมสามานย์ และเป็นเผด็จการรัฐสภาที่มีลักษณะครอบงำสูง และลดทอนความเป็นมนุษย์ของผู้คนให้ลดต่ำลงกลายเป็นแค่ผู้ขอหรือผู้ยอมจำนน
ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไรที่พี่น้องพันธมิตรฯ จากทั่วทั้งประเทศจะสำแดง และประกาศความเป็นเสรีชนของพวกตนออกมา ด้วยการลุกขึ้นมาแสดงตัวตนหรือแสดง อัตลักษณ์รวมหมู่ ของพวกตน โดยการประท้วงและต่อต้านคัดค้านคนโกงชาติ ขายชาติ และรัฐบาลหุ่นเชิด
อัตลักษณ์ คือการสร้างความหมายเชิงวัฒนธรรมให้แก่ตัวตนของปัจเจกหรือชุมชนเพื่อให้ตระหนักในคุณค่าของชีวิตตามความหมายที่ตนเองได้นิยามไว้ให้แก่ตนเอง โดยทั่วไปแล้ว อัตลักษณ์มี 3 ประเภทคือ
(1) อัตลักษณ์เพื่อความชอบธรรม (legitimizing identity) เป็นอัตลักษณ์ที่สร้างความชอบธรรมให้แก่ระบบที่ดำรงอยู่ โดยทั่วไปจะเป็นอัตลักษณ์ที่ประชาชนถูกยัดเยียดหรือถูกปลูกฝังจากสังคมนั้นตั้งแต่เกิด
(2) อัตลักษณ์ต่อต้าน (resistance identity) เป็นอัตลักษณ์ที่ยืนยันความเป็นตัวตนของตนด้วยการต่อต้าน อัตลักษณ์ประเภทที่สองนี้จะทรงพลังกว่าอัตลักษณ์ประเภทที่หนึ่ง เพราะมีลักษณะที่เป็น “ขบถ” ดำรงอยู่ ในขณะที่อัตลักษณ์ประเภทแรกจะมีลักษณะที่ “เชื่องกว่า”
(3) อัตลักษณ์มุ่งสู่ (project identity) เป็นอัตลักษณ์ที่พุ่งเป้าไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตัวตนของตนต้องการ จะเป็นหรือต้องการจะสังกัด อัตลักษณ์ประเภทนี้จะทรงพลังที่สุด และมีพลวัตมากกว่าอัตลักษณ์ประเภทที่สอง เนื่องจากอัตลักษณ์ประเภทที่สามนี้ ยอมรับความเปลี่ยนแปลง และเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง โดยพุ่งเป้าไปในทิศทางที่ตัวตนของตนได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะเป็นให้จงได้
ในการลุกขึ้นมาต่อสู้และโค่นล้มระบอบทักษิณของขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี 2549 นั้นจะเห็นได้ชัดว่า ฝ่ายพันธมิตรฯ จะหยุดยั้งอยู่แค่การธำรงรักษา อัตลักษณ์ประเภทแรก ที่เป็น อัตลักษณ์เพื่อความชอบธรรม ไม่ได้เป็นอันขาด เพราะ อัตลักษณ์ประเภทนี้ แท้ที่จริงแล้วต่างก็เป็นการเมืองของพื้นที่ และพื้นที่ของการเมืองที่ทั้งฝ่ายพันธมิตรฯ และฝ่ายระบอบทักษิณต่างก็พยายามช่วงชิงยึดครอง รวมทั้งต่อสู้ทางวาทกรรมกันอย่างดุเดือดเพื่อโจมตีหักล้างฝ่ายตรงข้ามเหมือนกันทั้งสิ้น
จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไรที่จุดเริ่มต้นของอัตลักษณ์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะเป็น อัตลักษณ์ประเภทที่สอง หรือ อัตลักษณ์ต่อต้าน ตั้งแต่เริ่มแรกในการลุกขึ้นมาทำ “สงคราม” กับระบอบทักษิณในปี 2549 แล้ว แต่เนื่องจากลำพังแค่การยืนยันตัวตนด้วย อัตลักษณ์ต่อต้าน ของพันธมิตรฯ แต่เพียงอย่างเดียวนั้น มันอาจจะพอมีพลังที่จะทำให้ระบอบทักษิณสั่นคลอนเสื่อมทรุดได้ก็จริง แต่มันยังไม่มีพลังมากพอที่จะ “ก้าวข้าม” ระบอบทักษิณไปได้
เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอีกเช่นกันที่ พลวัตแห่งอัตลักษณ์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในปี 2551 จะเติบใหญ่จากอัตลักษณ์ประเภทที่สองหรืออัตลักษณ์ต่อต้านในปี 2549 ไปสู่อัตลักษณ์ประเภทที่สามหรือ อัตลักษณ์มุ่งสู่ (“การเมืองใหม่”) ซึ่งเป็นการบูรณาการ อัตลักษณ์ต่อต้านที่อิงกับคติแบบราชาชาตินิยม โดยพยายามหลอมรวม อัตลักษณ์แบบราชาชาตินิยม นี้เข้ากับ อัตลักษณ์มุ่งสู่การเมืองใหม่ อย่างกลมกลืน ท่ามกลางการยืนหยัดชุมนุมต่อเนื่องถึง 193 วันในปี 2551 เพราะมีแต่ พลังอัตลักษณ์ประเภทที่สาม นี้เท่านั้น ถึงจะมีพลังมากพอที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง และสามารถ “ก้าวข้าม” ระบอบทักษิณได้
มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะเติบใหญ่จนมีพัฒนาการถึงระดับนี้ได้ภายในช่วงเวลาเพียง 3 ปีเท่านั้น แต่มันก็ได้เกิดขึ้นแล้ว ท่ามกลางการต่อสู้ที่ดุเดือดเข้มข้นอย่างถึงเลือดถึงเนื้อ โดยเฉพาะในปี 2551 ที่ได้ยกระดับจิตสำนึกทางการเมืองของมวลชนจำนวนมากที่กระโจนเข้าร่วมขบวนการพันธมิตรฯ อย่างก้าวกระโดด และขยายตัวออกไปเป็นวงกว้างอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
การผุดบังเกิด ปรากฏตัว และดำรงอยู่ของขบวนการพันธมิตรฯ โดยตัวของมันเองได้กลายเป็น “พื้นที่ใหม่” ทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมไปโดยปริยาย โดย พื้นที่ใหม่ ที่ว่านี้ พี่น้องพันธมิตรฯ เรียกมันว่า “มหาวิทยาลัยราชดำเนิน” ซึ่งได้กลายมาเป็น พื้นที่แห่งการเรียนรู้ การคิดค้น การแสดงออก และการสร้างความหมายใหม่ของพี่น้องพันธมิตรฯ จำนวนมากจากทั่วทั้งประเทศ ที่มารวมตัวชุมนุมกันที่พื้นที่แห่งนี้
เราจะเห็นได้ว่า พลังแห่งอัตลักษณ์ ของขบวนการพันธมิตรฯ ที่ได้เติบโตอย่างเข้มแข็งในปี 2551 จนกระทั่งสามารถ “เปิดพื้นที่” ทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมในการสร้างความหมายต่างๆ ขึ้นมาได้นั้น ย่อมเป็นนิมิตหมายอันดีต่อวิวัฒนาการของสังคมไทยในมิติต่างๆ หลังจากนี้ไปอย่างแน่นอน
เพราะการที่พี่น้องพันธมิตรฯ ซึ่งตื่นตัวและรู้ทันการโฆษณาชวนเชื่อ และการโกงชาติของระบอบทักษิณแล้วนั้น พี่น้องพันธมิตรฯ ก็ย่อมต้องหา “พื้นที่ใหม่” และสร้างความหมายแห่งชีวิตของพวกตนใหม่ขึ้นมาทดแทน และ พวกเขาก็ได้รู้จักตนเอง รู้จักความเป็นมนุษย์ที่แท้ของตน และค้นพบอัตลักษณ์ใหม่แบบรวมหมู่ของตนเองอีกครั้งในขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ณ ที่นี้เอง ที่พี่น้องพันธมิตรฯ จำนวนมากได้ค้นพบ และตระหนักถึง วิธีที่เรียบง่ายในการใช้ชีวิตให้มีความหมาย และมีความสุขอย่างไม่หวั่นไหวไปกับกระแสแห่งบริโภคนิยมที่รายล้อมอยู่รอบตัว และวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังคืบคลานเข้ามา
บัดนี้พี่น้องพันธมิตรฯ ได้เรียนรู้แล้วว่า จิตใจของคนเรานั้น สามารถเจริญขึ้นได้ด้วยความรักและความรู้ คนเราล้วนเกิดมาในโลกนี้เพื่อเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมรับทุกข์สุขด้วยกัน และเพื่อร่วมรับรู้ความงดงาม และความน่าอัศจรรย์ของชีวิต ด้วยเหตุนี้ คนเราจึงควรรู้จัก รู้รัก รู้สามัคคี เกื้อกูลช่วยเหลือกันและกันอย่างจริงใจ ไม่ควรเอาเปรียบเบียดเบียนข่มเหงเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
วัฒนธรรมของมนุษย์เรานั้น ควรมีไว้เพื่อบ่มเพาะน้ำใจไมตรี เมตตา กรุณา ปรานี และคุณธรรมแห่งการค้ำจุนให้เกื้อกูลกัน เพื่ออยู่ร่วมกันในโลกนี้อย่างอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งคุณสมบัติแห่งอัตลักษณ์เช่นข้างต้นนี้ พี่น้องพันธมิตรฯ ได้พิสูจน์ตนเองว่ามีพร้อมอย่างบริบูรณ์แล้ว มิหนำซ้ำยังได้เปิด “พื้นที่แห่งวัฒนธรรมพันธมิตรฯ” ออกไปอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองภาคประชาชนของประเทศนี้
ชุมชนหน้าป้อมมหากาฬ ในยุคนั้นจึงเป็น ชุมชนด่านหน้า ไว้รับศึกเมื่อข้าศึกจะเข้าตีพระนคร อีกทั้งยังเป็น ชุมชนข้าราชบริพาร เมื่อครั้งสมัยเพิ่งก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีอีกด้วย ชุมชนหน้าป้อมมหากาฬ จึงเคยมีฐานะการดำรงอยู่ในพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ว่าเป็น ชุมชนผู้กล้า มาก่อน
แม้ว่าในยุคปัจจุบัน เมื่อป้อมมหากาฬและกำแพงเมืองได้ถูกทางการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานกลับทำให้สถานะของ ชุมชนผู้กล้า ในอดีตถูกเปลี่ยนไปเป็น “ชุมชนผู้บุกรุก” ก็ตาม เมื่อนั้นเองที่เกิด “การเมืองเรื่องพื้นที่ “เพื่อรักษาการดำรงอยู่ของพื้นที่ประวัติศาสตร์ในฐานะชุมชนผู้กล้าเอาไว้”...
ข้างต้นนี้คือ ประเด็นหลักของหนังสือ “การเมืองเรื่องพื้นที่-พลวัตทางสังคมของชุมชน (กรณีศึกษา : ชุมชนป้อมมหากาฬ” ของอาจารย์ธนภณ วัฒนกุล (มูลนิธิสถาบันวิชาการ 14 ตุลา 2550) ที่ได้นำเสนอว่า พื้นที่ทางประวัติศาสตร์เป็น พื้นที่ของการเมือง ชนิดหนึ่งในแง่ของการต้องเข้าไปช่วงชิงการตีความการให้ตัวตนให้ความรู้ ให้ความหมายแก่มัน โดยที่ชุมชนป้อมมหากาฬนี้ อาจารย์ธนภณได้ให้ความหมายแก่ชุมชนนี้ในอดีตว่าเป็น ชุมชนผู้กล้า ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ชานพระนคร เพื่อป้องกันข้าศึกเข้าตีพระนคร
จากกรณีของชุมชนป้อมมหากาฬข้างต้น ทำให้เราได้แง่คิดและมุมมองเรื่อง พื้นที่ของการเมือง (The Space of Politics) และ การเมืองของพื้นที่ (The Politics of Space) ไปทำความเข้าใจ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในฐานะที่เป็น ชุมชนผู้กล้าเชิงจินตนาการ ชุมชนหนึ่งในยุคปัจจุบัน
จากมุมมองแบบนี้ เราจะพบว่า พื้นที่ต่างๆ ที่ห้อมล้อมพวกเราอยู่ในสังคมนั้น มันเป็น พื้นที่ทางการเมือง แบบหนึ่งและก็เป็น การเมืองแห่งพื้นที่ ด้วยในเวลาเดียวกัน เพราะฉะนั้น “เมือง” จึงมิใช่เรื่องของพื้นที่ทางกายภาพอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันยังเป็นพื้นที่แห่งการช่วงชิงการนำในการกำหนดกฎเกณฑ์ กติกาในการสร้าง การควบคุม การตรวจตรา การระบุ การให้คุณค่า การให้ความหมาย และการกำหนดความสูงต่ำของสถานที่อีกด้วย
“ชีวิตประจำวัน” ของผู้คนในสังคมก็เช่นกัน ย่อมเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องของพื้นที่เป็นอย่างมาก คือ เป็นชีวิตที่เราต้องต่อสู้เพื่อช่วงชิงการนำในการนิยาม หรือการให้ความหมายกับพื้นที่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นความหมายทางจิตใจ หรือความหมายทางประวัติศาสตร์ก็ตาม ด้วยเหตุนี้ “พื้นที่ทางสังคม” (social space) จึงเป็นเรื่องของ พื้นที่ความรู้ และอำนาจ อย่างแยกกันไม่ออก และเป็นเรื่องที่ต้องตอกย้ำและผลิตซ้ำออกมาอยู่ตลอดเวลา พื้นที่ความรู้ และอำนาจ จึงเป็นสารัตถะของสิ่งที่เรียกว่า การเมืองของพื้นที่ และพื้นที่ของการเมือง
เพราะฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงในทางรูปแบบและหน้าที่ของพื้นที่ที่หนึ่ง จึงย่อมมีผลโดยตรงต่อการไปลบล้างความทรงจำในอดีตที่เคยเกิดขึ้นเหนือพื้นที่นั้นๆ การเมืองเรื่องพื้นที่ จึงเป็นการเมืองที่มีความหมายทางประวัติศาสตร์ เพราะประวัติศาสตร์ที่ “เป็นอื่น” นั้นมันเป็นรากฐานของปัจจุบันที่ “เป็นอื่น” การต่อสู้ทางการเองเรื่องพื้นที่ จึงกลายเป็นการต่อสู้ทางการเมืองที่มีผลโดยตรงต่อปัจจุบัน
พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นั้น แม้จะเป็น พื้นที่แห่งชุมชนผู้กล้า เหมือนชุมชนป้อมมหากาฬในอดีต แต่ก็มีความต่างอย่างเห็นได้ชัดตรงที่ในขณะที่ชุมชนป้อมมหากาฬ เป็นชุมชนผู้กล้าที่ตั้งอยู่บน สถานที่ (place) บริเวณชานพระนครเพื่อป้องกันข้าศึกเข้าตีพระนครในสมัยต้นยุครัตนโกสินทร์ ส่วน ชุมชนพันธมิตรฯ กลับเป็น ชุมชนผู้กล้าในเชิงจินตนาการ ที่มี พื้นที่ทางจิตใจ ร่วมกันเป็นหลัก แม้ว่าจะเคยปักหลักชุมนุมพักค้างใน สถานที่ อย่างถนนราชดำเนิน และทำเนียบรัฐบาลเพื่อปกป้องบ้านเมืองร่วมกันมาแล้วก็ตาม
พื้นที่ทางจิตใจ ของชุมชนพันธมิตรฯ นั้น เป็นพื้นที่ที่ตัวผมมองว่าได้สร้าง พลังแห่งอัตลักษณ์ ในการเอาชนะระบอบทักษิณขึ้นมา เนื่องเพราะระบอบทักษิณเป็นระบบทุนนิยมสามานย์ และเป็นเผด็จการรัฐสภาที่มีลักษณะครอบงำสูง และลดทอนความเป็นมนุษย์ของผู้คนให้ลดต่ำลงกลายเป็นแค่ผู้ขอหรือผู้ยอมจำนน
ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไรที่พี่น้องพันธมิตรฯ จากทั่วทั้งประเทศจะสำแดง และประกาศความเป็นเสรีชนของพวกตนออกมา ด้วยการลุกขึ้นมาแสดงตัวตนหรือแสดง อัตลักษณ์รวมหมู่ ของพวกตน โดยการประท้วงและต่อต้านคัดค้านคนโกงชาติ ขายชาติ และรัฐบาลหุ่นเชิด
อัตลักษณ์ คือการสร้างความหมายเชิงวัฒนธรรมให้แก่ตัวตนของปัจเจกหรือชุมชนเพื่อให้ตระหนักในคุณค่าของชีวิตตามความหมายที่ตนเองได้นิยามไว้ให้แก่ตนเอง โดยทั่วไปแล้ว อัตลักษณ์มี 3 ประเภทคือ
(1) อัตลักษณ์เพื่อความชอบธรรม (legitimizing identity) เป็นอัตลักษณ์ที่สร้างความชอบธรรมให้แก่ระบบที่ดำรงอยู่ โดยทั่วไปจะเป็นอัตลักษณ์ที่ประชาชนถูกยัดเยียดหรือถูกปลูกฝังจากสังคมนั้นตั้งแต่เกิด
(2) อัตลักษณ์ต่อต้าน (resistance identity) เป็นอัตลักษณ์ที่ยืนยันความเป็นตัวตนของตนด้วยการต่อต้าน อัตลักษณ์ประเภทที่สองนี้จะทรงพลังกว่าอัตลักษณ์ประเภทที่หนึ่ง เพราะมีลักษณะที่เป็น “ขบถ” ดำรงอยู่ ในขณะที่อัตลักษณ์ประเภทแรกจะมีลักษณะที่ “เชื่องกว่า”
(3) อัตลักษณ์มุ่งสู่ (project identity) เป็นอัตลักษณ์ที่พุ่งเป้าไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตัวตนของตนต้องการ จะเป็นหรือต้องการจะสังกัด อัตลักษณ์ประเภทนี้จะทรงพลังที่สุด และมีพลวัตมากกว่าอัตลักษณ์ประเภทที่สอง เนื่องจากอัตลักษณ์ประเภทที่สามนี้ ยอมรับความเปลี่ยนแปลง และเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง โดยพุ่งเป้าไปในทิศทางที่ตัวตนของตนได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะเป็นให้จงได้
ในการลุกขึ้นมาต่อสู้และโค่นล้มระบอบทักษิณของขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี 2549 นั้นจะเห็นได้ชัดว่า ฝ่ายพันธมิตรฯ จะหยุดยั้งอยู่แค่การธำรงรักษา อัตลักษณ์ประเภทแรก ที่เป็น อัตลักษณ์เพื่อความชอบธรรม ไม่ได้เป็นอันขาด เพราะ อัตลักษณ์ประเภทนี้ แท้ที่จริงแล้วต่างก็เป็นการเมืองของพื้นที่ และพื้นที่ของการเมืองที่ทั้งฝ่ายพันธมิตรฯ และฝ่ายระบอบทักษิณต่างก็พยายามช่วงชิงยึดครอง รวมทั้งต่อสู้ทางวาทกรรมกันอย่างดุเดือดเพื่อโจมตีหักล้างฝ่ายตรงข้ามเหมือนกันทั้งสิ้น
จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไรที่จุดเริ่มต้นของอัตลักษณ์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะเป็น อัตลักษณ์ประเภทที่สอง หรือ อัตลักษณ์ต่อต้าน ตั้งแต่เริ่มแรกในการลุกขึ้นมาทำ “สงคราม” กับระบอบทักษิณในปี 2549 แล้ว แต่เนื่องจากลำพังแค่การยืนยันตัวตนด้วย อัตลักษณ์ต่อต้าน ของพันธมิตรฯ แต่เพียงอย่างเดียวนั้น มันอาจจะพอมีพลังที่จะทำให้ระบอบทักษิณสั่นคลอนเสื่อมทรุดได้ก็จริง แต่มันยังไม่มีพลังมากพอที่จะ “ก้าวข้าม” ระบอบทักษิณไปได้
เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอีกเช่นกันที่ พลวัตแห่งอัตลักษณ์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในปี 2551 จะเติบใหญ่จากอัตลักษณ์ประเภทที่สองหรืออัตลักษณ์ต่อต้านในปี 2549 ไปสู่อัตลักษณ์ประเภทที่สามหรือ อัตลักษณ์มุ่งสู่ (“การเมืองใหม่”) ซึ่งเป็นการบูรณาการ อัตลักษณ์ต่อต้านที่อิงกับคติแบบราชาชาตินิยม โดยพยายามหลอมรวม อัตลักษณ์แบบราชาชาตินิยม นี้เข้ากับ อัตลักษณ์มุ่งสู่การเมืองใหม่ อย่างกลมกลืน ท่ามกลางการยืนหยัดชุมนุมต่อเนื่องถึง 193 วันในปี 2551 เพราะมีแต่ พลังอัตลักษณ์ประเภทที่สาม นี้เท่านั้น ถึงจะมีพลังมากพอที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง และสามารถ “ก้าวข้าม” ระบอบทักษิณได้
มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะเติบใหญ่จนมีพัฒนาการถึงระดับนี้ได้ภายในช่วงเวลาเพียง 3 ปีเท่านั้น แต่มันก็ได้เกิดขึ้นแล้ว ท่ามกลางการต่อสู้ที่ดุเดือดเข้มข้นอย่างถึงเลือดถึงเนื้อ โดยเฉพาะในปี 2551 ที่ได้ยกระดับจิตสำนึกทางการเมืองของมวลชนจำนวนมากที่กระโจนเข้าร่วมขบวนการพันธมิตรฯ อย่างก้าวกระโดด และขยายตัวออกไปเป็นวงกว้างอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
การผุดบังเกิด ปรากฏตัว และดำรงอยู่ของขบวนการพันธมิตรฯ โดยตัวของมันเองได้กลายเป็น “พื้นที่ใหม่” ทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมไปโดยปริยาย โดย พื้นที่ใหม่ ที่ว่านี้ พี่น้องพันธมิตรฯ เรียกมันว่า “มหาวิทยาลัยราชดำเนิน” ซึ่งได้กลายมาเป็น พื้นที่แห่งการเรียนรู้ การคิดค้น การแสดงออก และการสร้างความหมายใหม่ของพี่น้องพันธมิตรฯ จำนวนมากจากทั่วทั้งประเทศ ที่มารวมตัวชุมนุมกันที่พื้นที่แห่งนี้
เราจะเห็นได้ว่า พลังแห่งอัตลักษณ์ ของขบวนการพันธมิตรฯ ที่ได้เติบโตอย่างเข้มแข็งในปี 2551 จนกระทั่งสามารถ “เปิดพื้นที่” ทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมในการสร้างความหมายต่างๆ ขึ้นมาได้นั้น ย่อมเป็นนิมิตหมายอันดีต่อวิวัฒนาการของสังคมไทยในมิติต่างๆ หลังจากนี้ไปอย่างแน่นอน
เพราะการที่พี่น้องพันธมิตรฯ ซึ่งตื่นตัวและรู้ทันการโฆษณาชวนเชื่อ และการโกงชาติของระบอบทักษิณแล้วนั้น พี่น้องพันธมิตรฯ ก็ย่อมต้องหา “พื้นที่ใหม่” และสร้างความหมายแห่งชีวิตของพวกตนใหม่ขึ้นมาทดแทน และ พวกเขาก็ได้รู้จักตนเอง รู้จักความเป็นมนุษย์ที่แท้ของตน และค้นพบอัตลักษณ์ใหม่แบบรวมหมู่ของตนเองอีกครั้งในขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ณ ที่นี้เอง ที่พี่น้องพันธมิตรฯ จำนวนมากได้ค้นพบ และตระหนักถึง วิธีที่เรียบง่ายในการใช้ชีวิตให้มีความหมาย และมีความสุขอย่างไม่หวั่นไหวไปกับกระแสแห่งบริโภคนิยมที่รายล้อมอยู่รอบตัว และวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังคืบคลานเข้ามา
บัดนี้พี่น้องพันธมิตรฯ ได้เรียนรู้แล้วว่า จิตใจของคนเรานั้น สามารถเจริญขึ้นได้ด้วยความรักและความรู้ คนเราล้วนเกิดมาในโลกนี้เพื่อเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมรับทุกข์สุขด้วยกัน และเพื่อร่วมรับรู้ความงดงาม และความน่าอัศจรรย์ของชีวิต ด้วยเหตุนี้ คนเราจึงควรรู้จัก รู้รัก รู้สามัคคี เกื้อกูลช่วยเหลือกันและกันอย่างจริงใจ ไม่ควรเอาเปรียบเบียดเบียนข่มเหงเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
วัฒนธรรมของมนุษย์เรานั้น ควรมีไว้เพื่อบ่มเพาะน้ำใจไมตรี เมตตา กรุณา ปรานี และคุณธรรมแห่งการค้ำจุนให้เกื้อกูลกัน เพื่ออยู่ร่วมกันในโลกนี้อย่างอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งคุณสมบัติแห่งอัตลักษณ์เช่นข้างต้นนี้ พี่น้องพันธมิตรฯ ได้พิสูจน์ตนเองว่ามีพร้อมอย่างบริบูรณ์แล้ว มิหนำซ้ำยังได้เปิด “พื้นที่แห่งวัฒนธรรมพันธมิตรฯ” ออกไปอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองภาคประชาชนของประเทศนี้