“หลินฮุ่ย” ตกลูกแพนด้าตัวแรกในประเทศไทย หลังเพิ่งผสมเทียมได้เพียง 3 เดือน เบื้องต้นพบสุขภาพแข็งแรงดี น้ำหนักกว่า 200 กรัม ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญจีนจะบินด่วนถึงสวนสัตว์เชียงใหม่วันนี้(28 พ.ค.52) เพื่อช่วยฟูมฟัก เผยเตรียมติดตั้งโทรทัศน์ถ่ายทอดภาพจากกล้องวงจรปิดให้ชื่นชมใกล้ชิด ระหว่างที่แม่ลูกแพนด้ายังไม่สามารถออกมาโชว์ตัวได้
รายงานจากจังหวัดเชียงใหม่แจ้งว่า เมื่อเวลาประมาณ 10.39 น. วานนี้ (27 พ.ค.52) “หลินฮุ่ย” แพนด้าตัวเมีย ทูตสันถวไมตรีไทย-จีน ตามโครงการวิจัยและจัดแสดงแพนด้าในประเทศไทย ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ได้ให้กำเนิดลูกแพนด้าจำนวน 1 ตัว หลังจากที่ได้ทำการผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อของ “ช่วงช่วง” หมีแพนด้าตัวผู้ เมื่อวันที่ 18 ก.พ.52 ซึ่งเบื้องต้นยังไม่ทราบว่าลูกแพนด้ามีเพศใด เนื่องจาก “หลินฮุ่ย” มีอาการห่วงและกอดลูกไว้เกือบตลอดเวลาไม่ยอมให้เข้าใกล้ แต่ลูกแพนด้ามีสุขภาพแข็งแรงดี
นายโสภณ ดำนุ้ย ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า หลินฮุ่ย เริ่มมีการแสดงอาการให้เห็นตั้งแต่ช่วงกลางดึกที่ผ่านมา จนกระทั่งตกลูกออกมาเมื่อช่วงสายวันนี้ โดยเมื่อตกลูกออกมาหลินฮุ่ยได้คาบลูกมาไว้ในอ้อมกอดเป็นอย่างดี ซึ่งทำให้มีความมั่นใจในระดับหนึ่งว่า หลินฮุ่ยจะเป็นแม่ที่ดีและเลี้ยงลูกแพนด้าได้ แม้จะเป็นท้องแรกก็ตาม
อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไปว่าลูกแพนด้าได้กินนมจากแม่หรือไม่ หากได้กินก็จะให้หลินฮุ่ยเลี้ยงต่อไป แต่ถ้าไม่ก็ต้องพยายามแยกลูกออกมาเพื่อป้อนนม ซึ่งจากการสังเกตเบื้องต้นเชื่อว่าลูกน่าจะได้กินนมไปบ้างแล้ว
สำหรับลูกแพนด้าที่ถือกำเนิดขึ้นภายใต้ความดูแลของโครงการวิจัยและจัดแสดงแพนด้าในประเทศไทย นายโสภณ กล่าวว่า เป็นลูกแพนด้าที่เกิดขึ้นนอกประเทศจีนด้วยการผสมเทียมเป็นประเทศที่สาม ต่อจากสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งได้แจ้งข่าวนี้ให้ทางจีนทราบแล้ว และจะมีผู้เชี่ยวชาญจากจีนเดินทางมาถึงสวนสัตว์เชียงใหม่ ในวันนี้(28 พ.ค.52) เพื่อช่วยเหลือและให้คำแนะนำในการเลี้ยงดูลูกแพนด้า ร่วมกับทีมงานสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ ที่ได้ไปอบรมการเลี้ยงดูมาแล้วจากจีน
ทั้งนี้ตามสัญญาลูกแพนด้าตัวนี้จะอยู่ในความดูแลของไทย 24 เดือน จากนั้นจะถูกส่งกลับจีน อย่างไรก็ตาม อาจจะมีการเจรจาเพื่อขอขยายเวลาออกไปอีก ขณะที่การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ชื่นชมคงจะต้องปรึกษากับทางผู้เชี่ยวชาญจีนอีกครั้ง แต่น่าจะเป็นอีกประมาณ 6 เดือน และจะมีการประกวดตั้งชื่อในเร็วๆ นี้
ขณะที่สัตว์แพทย์หญิงกรรณิการ์ นิ่มตระกุล สัตวแพทย์ประจำโครงการวิจัยและจัดแสดงแพนด้าในประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วง 2 สัปดาห์จากนี้จะต้องมีการติดตามดูแลหลินฮุ่ยและลูกแพนด้าตลอดเวลา ว่ามีการให้นมลูกหรือไม่อย่างไร โดยหากลูกแพนด้าได้รับนมจากแม่ตลอด 1 สัปดาห์ก็จะมีสุขภาพแข็งแรงดี ซึ่งเบื้องต้นนับว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่หลินฮุ่ยเลี้ยงและดูแลลูกตลอดเวลา จึงเชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหา
ส่วนการแยกลูกแพนด้านั้น หากเป็นแพนด้าที่เลี้ยงในประเทศจีน หากคลอดลูกแล้วจะทำการแยกจากแม่แพนด้าเมื่อลูกอายุได้ 6 เดือน โดยที่แม่แพนด้าก็จะกลับไปเป็นเหมือนแพนด้าสาวอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามในส่วนของหลินฮุ่ยและลูกนั้น เบื้องต้นทางทีมงานตั้งใจว่าจะปล่อยให้การเลี้ยงดูเป็นไปตามธรรมชาติ ที่ปกติแม่แพนด้าจะเลี้ยงดูลูกไปจนกว่าจะมีอายุประมาณ 1 ปี 6 เดือน ที่เริ่มกินไผ่ได้เองแล้ว
ด้านนายประเสริฐศักดิ์ บุญตระกูลพูนทวี หัวหน้าโครงการจัดแสดงและวิจัยแพนด้าในประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงนี้หลินฮุ่ย รวมทั้งลูกแพนด้า จะได้รับการดูแลอยู่แต่ภายในคอกกักเท่านั้น โดยจะยังไม่ปล่อยให้ออกมายังส่วนจัดแสดง อย่างไรก็ตามเตรียมที่จะทำการติดตั้งโทรทัศน์แล้วถ่ายทอดสัญญาณภาพจากกล้องวงจรปิดมาให้นักท่องเที่ยวและประชาชนที่สนใจได้ร่วมกันชื่นชมไปจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสมให้แพนด้าทั้งแม่และลูกออกมายังส่วนจัดแสดงได้
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ช่วงค่ำ เจ้าหน้าที่ได้นำลูกแพนด้าออกมาวัดขนาดตัวและชั่งน้ำหนัก พบว่ามีน้ำหนัก 235 กรัม ซึ่งหนักกว่ามาตรฐาน มีความยาวตั้งแต่หัวถึงหาง 17.5 เซนติเมตร รอบหัว 10 เซนติเมตร และรอบอก 17.5 เซนติเมตร ส่วนเพศยังไม่สามารถระบุแน่ชัดได้เพราะอวัยวะเพศมีขนาดเล็กมาก แต่มีแนวโน้มมากว่าน่าจะเป็นตัวเมีย ซึ่งจะต้องรอให้ผู้เชี่ยวชาญจีนมาตรวจอย่างละเอียด
อนึ่ง ที่ผ่านมาทางทีมงานสัตวแพทย์โครงการวิจัยและจัดแสดงหมีแพนด้าในประเทศไทย ได้พยายามทำการผสมพันธุ์แพนด้า “ช่วงช่วง” และ “หลินฮุ่ย” มาตั้งแต่ปี 2550 ที่เป็นครั้งแรก ด้วยการให้ผสมพันธุ์ด้วยวิธีการตามธรรมชาติ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ต่อมาในปี 2551 จึงได้มีการนำวิธีการผสมเทียมมาใช้ด้วย โดยการฉีดน้ำเชื้อของ “ช่วงช่วง” เข้าไปในรังไข่ของ “หลินฮุ่ย” แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอีกเช่นเคย จนกระทั่งในปี 2552 ที่มีการผสมเทียมอีกครั้งและประสบผลสำเร็จในที่สุด
รายงานจากจังหวัดเชียงใหม่แจ้งว่า เมื่อเวลาประมาณ 10.39 น. วานนี้ (27 พ.ค.52) “หลินฮุ่ย” แพนด้าตัวเมีย ทูตสันถวไมตรีไทย-จีน ตามโครงการวิจัยและจัดแสดงแพนด้าในประเทศไทย ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ได้ให้กำเนิดลูกแพนด้าจำนวน 1 ตัว หลังจากที่ได้ทำการผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อของ “ช่วงช่วง” หมีแพนด้าตัวผู้ เมื่อวันที่ 18 ก.พ.52 ซึ่งเบื้องต้นยังไม่ทราบว่าลูกแพนด้ามีเพศใด เนื่องจาก “หลินฮุ่ย” มีอาการห่วงและกอดลูกไว้เกือบตลอดเวลาไม่ยอมให้เข้าใกล้ แต่ลูกแพนด้ามีสุขภาพแข็งแรงดี
นายโสภณ ดำนุ้ย ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า หลินฮุ่ย เริ่มมีการแสดงอาการให้เห็นตั้งแต่ช่วงกลางดึกที่ผ่านมา จนกระทั่งตกลูกออกมาเมื่อช่วงสายวันนี้ โดยเมื่อตกลูกออกมาหลินฮุ่ยได้คาบลูกมาไว้ในอ้อมกอดเป็นอย่างดี ซึ่งทำให้มีความมั่นใจในระดับหนึ่งว่า หลินฮุ่ยจะเป็นแม่ที่ดีและเลี้ยงลูกแพนด้าได้ แม้จะเป็นท้องแรกก็ตาม
อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไปว่าลูกแพนด้าได้กินนมจากแม่หรือไม่ หากได้กินก็จะให้หลินฮุ่ยเลี้ยงต่อไป แต่ถ้าไม่ก็ต้องพยายามแยกลูกออกมาเพื่อป้อนนม ซึ่งจากการสังเกตเบื้องต้นเชื่อว่าลูกน่าจะได้กินนมไปบ้างแล้ว
สำหรับลูกแพนด้าที่ถือกำเนิดขึ้นภายใต้ความดูแลของโครงการวิจัยและจัดแสดงแพนด้าในประเทศไทย นายโสภณ กล่าวว่า เป็นลูกแพนด้าที่เกิดขึ้นนอกประเทศจีนด้วยการผสมเทียมเป็นประเทศที่สาม ต่อจากสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งได้แจ้งข่าวนี้ให้ทางจีนทราบแล้ว และจะมีผู้เชี่ยวชาญจากจีนเดินทางมาถึงสวนสัตว์เชียงใหม่ ในวันนี้(28 พ.ค.52) เพื่อช่วยเหลือและให้คำแนะนำในการเลี้ยงดูลูกแพนด้า ร่วมกับทีมงานสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ ที่ได้ไปอบรมการเลี้ยงดูมาแล้วจากจีน
ทั้งนี้ตามสัญญาลูกแพนด้าตัวนี้จะอยู่ในความดูแลของไทย 24 เดือน จากนั้นจะถูกส่งกลับจีน อย่างไรก็ตาม อาจจะมีการเจรจาเพื่อขอขยายเวลาออกไปอีก ขณะที่การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ชื่นชมคงจะต้องปรึกษากับทางผู้เชี่ยวชาญจีนอีกครั้ง แต่น่าจะเป็นอีกประมาณ 6 เดือน และจะมีการประกวดตั้งชื่อในเร็วๆ นี้
ขณะที่สัตว์แพทย์หญิงกรรณิการ์ นิ่มตระกุล สัตวแพทย์ประจำโครงการวิจัยและจัดแสดงแพนด้าในประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วง 2 สัปดาห์จากนี้จะต้องมีการติดตามดูแลหลินฮุ่ยและลูกแพนด้าตลอดเวลา ว่ามีการให้นมลูกหรือไม่อย่างไร โดยหากลูกแพนด้าได้รับนมจากแม่ตลอด 1 สัปดาห์ก็จะมีสุขภาพแข็งแรงดี ซึ่งเบื้องต้นนับว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่หลินฮุ่ยเลี้ยงและดูแลลูกตลอดเวลา จึงเชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหา
ส่วนการแยกลูกแพนด้านั้น หากเป็นแพนด้าที่เลี้ยงในประเทศจีน หากคลอดลูกแล้วจะทำการแยกจากแม่แพนด้าเมื่อลูกอายุได้ 6 เดือน โดยที่แม่แพนด้าก็จะกลับไปเป็นเหมือนแพนด้าสาวอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามในส่วนของหลินฮุ่ยและลูกนั้น เบื้องต้นทางทีมงานตั้งใจว่าจะปล่อยให้การเลี้ยงดูเป็นไปตามธรรมชาติ ที่ปกติแม่แพนด้าจะเลี้ยงดูลูกไปจนกว่าจะมีอายุประมาณ 1 ปี 6 เดือน ที่เริ่มกินไผ่ได้เองแล้ว
ด้านนายประเสริฐศักดิ์ บุญตระกูลพูนทวี หัวหน้าโครงการจัดแสดงและวิจัยแพนด้าในประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงนี้หลินฮุ่ย รวมทั้งลูกแพนด้า จะได้รับการดูแลอยู่แต่ภายในคอกกักเท่านั้น โดยจะยังไม่ปล่อยให้ออกมายังส่วนจัดแสดง อย่างไรก็ตามเตรียมที่จะทำการติดตั้งโทรทัศน์แล้วถ่ายทอดสัญญาณภาพจากกล้องวงจรปิดมาให้นักท่องเที่ยวและประชาชนที่สนใจได้ร่วมกันชื่นชมไปจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสมให้แพนด้าทั้งแม่และลูกออกมายังส่วนจัดแสดงได้
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ช่วงค่ำ เจ้าหน้าที่ได้นำลูกแพนด้าออกมาวัดขนาดตัวและชั่งน้ำหนัก พบว่ามีน้ำหนัก 235 กรัม ซึ่งหนักกว่ามาตรฐาน มีความยาวตั้งแต่หัวถึงหาง 17.5 เซนติเมตร รอบหัว 10 เซนติเมตร และรอบอก 17.5 เซนติเมตร ส่วนเพศยังไม่สามารถระบุแน่ชัดได้เพราะอวัยวะเพศมีขนาดเล็กมาก แต่มีแนวโน้มมากว่าน่าจะเป็นตัวเมีย ซึ่งจะต้องรอให้ผู้เชี่ยวชาญจีนมาตรวจอย่างละเอียด
อนึ่ง ที่ผ่านมาทางทีมงานสัตวแพทย์โครงการวิจัยและจัดแสดงหมีแพนด้าในประเทศไทย ได้พยายามทำการผสมพันธุ์แพนด้า “ช่วงช่วง” และ “หลินฮุ่ย” มาตั้งแต่ปี 2550 ที่เป็นครั้งแรก ด้วยการให้ผสมพันธุ์ด้วยวิธีการตามธรรมชาติ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ต่อมาในปี 2551 จึงได้มีการนำวิธีการผสมเทียมมาใช้ด้วย โดยการฉีดน้ำเชื้อของ “ช่วงช่วง” เข้าไปในรังไข่ของ “หลินฮุ่ย” แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอีกเช่นเคย จนกระทั่งในปี 2552 ที่มีการผสมเทียมอีกครั้งและประสบผลสำเร็จในที่สุด