ASTVผู้จัดการรายวัน- "นช.แม้ว"หนีได้หนีไป"ครม.มาร์ค" เคาะยืดอายุกฎหมายอาญา มาตรา 98 ขยายเวลารับโทษผู้ถูกดำเนินคดีอาญา หากยังไม่ได้รับโทษตามความผิดที่ศาลพิพากษาถึงที่สุด หากเกินเวลาตามมาตรา 98 ก็ไม่ให้ถือว่าล่วงเลยเวลาให้เอาผิดถึงที่สุดตามคำพิพากษา
วานนี้ (26 พ.ค.) นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมครม.อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ในหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอายุความ ซึ่งต่อไปนี้ผู้ใดกระทำความผิด แต่ผู้นั้นยังไม่มารับโทษนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่วันที่หลบหนี ไม่ถือว่าล่วงเลยเวลาการลงโทษ ต้องลงโทษผู้นั้นในโทษที่ยังไม่ได้รับ หรือที่รับยังไม่ครบถ้วน
นายศุภชัย กล่าวด้วยว่า สารสำคัญของร่างพ.ร.บ.เป็นการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา เพื่อให้การดำเนินคดีเกี่ยวกับการทุจริตของเจ้าพนักงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 1. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 96 แห่งประมวลกฎหมายอาญาในกรณีความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายใน 6 เดือน (เดิมภายใน 3 เดือน) นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ
2.เพิ่มเติมความเป็นมาตรา 98 วรรค1แห่งประมวลกฎหมายอาญาโดยบัญญัติให้
2.1 กรณีได้ตัวผู้กระทำความผิดมาแล้ว ให้พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาดำเนินการให้มีการฟ้องผู้นั้นต่อศาลภาย ใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้ตัวมา เว้นแต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลา
2.2 กรณีมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นยังมิได้รับโทษ หรือได้รับโทษยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนี ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมารับโทษนั้น มารับโทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่วันที่หลบหนี แม้จะเกินกำหนดเวลาในมาตรา 98 ก็ไม่ถือว่าเป็นอันล่วงเลยเวลาการลงโทษ ให้ลงโทษผู้นั้นในโทษที่ยังมิได้รับหรือที่ได้รับยังไม่ครบถ้วน ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวต้องผ่านขั้นตอนการตรวจของกฤษฎีกาก่อนเข้าสู่การพิจารณาของสภาต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า ที่มาในการร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวอันเนื่องมาจากกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หลบหนีคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินย่านรัชดา ซึ่งศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสั่งจำคุกเป็นเวลา 2 ปี แต่ปรากฏว่า จนถึงขณะนี้อดีตนายกฯยังคงหนีคดีอยู่ที่ต่างประเทศ
วานนี้ (26 พ.ค.) นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมครม.อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ในหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอายุความ ซึ่งต่อไปนี้ผู้ใดกระทำความผิด แต่ผู้นั้นยังไม่มารับโทษนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่วันที่หลบหนี ไม่ถือว่าล่วงเลยเวลาการลงโทษ ต้องลงโทษผู้นั้นในโทษที่ยังไม่ได้รับ หรือที่รับยังไม่ครบถ้วน
นายศุภชัย กล่าวด้วยว่า สารสำคัญของร่างพ.ร.บ.เป็นการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา เพื่อให้การดำเนินคดีเกี่ยวกับการทุจริตของเจ้าพนักงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 1. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 96 แห่งประมวลกฎหมายอาญาในกรณีความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายใน 6 เดือน (เดิมภายใน 3 เดือน) นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ
2.เพิ่มเติมความเป็นมาตรา 98 วรรค1แห่งประมวลกฎหมายอาญาโดยบัญญัติให้
2.1 กรณีได้ตัวผู้กระทำความผิดมาแล้ว ให้พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาดำเนินการให้มีการฟ้องผู้นั้นต่อศาลภาย ใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้ตัวมา เว้นแต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลา
2.2 กรณีมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นยังมิได้รับโทษ หรือได้รับโทษยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนี ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมารับโทษนั้น มารับโทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่วันที่หลบหนี แม้จะเกินกำหนดเวลาในมาตรา 98 ก็ไม่ถือว่าเป็นอันล่วงเลยเวลาการลงโทษ ให้ลงโทษผู้นั้นในโทษที่ยังมิได้รับหรือที่ได้รับยังไม่ครบถ้วน ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวต้องผ่านขั้นตอนการตรวจของกฤษฎีกาก่อนเข้าสู่การพิจารณาของสภาต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า ที่มาในการร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวอันเนื่องมาจากกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หลบหนีคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินย่านรัชดา ซึ่งศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสั่งจำคุกเป็นเวลา 2 ปี แต่ปรากฏว่า จนถึงขณะนี้อดีตนายกฯยังคงหนีคดีอยู่ที่ต่างประเทศ