ปราชญ์จีนโบราณกล่าวไว้คมคายว่าการเขียนกฎหมายต้องเขียนให้ทั้งคนโง่และฉลาดเข้าใจได้ถ้วนทั่วทุกคน โดยเขียนให้กระจ่างแจ้ง มีความหมายชัดเจน ประชาชนเข้าใจได้ง่ายที่สุด เพราะกฎเกณฑ์ใดๆ ที่คนเฉลียวฉลาดหรือบุคคลที่มีคุณค่าเท่านั้นสามารถเข้าใจได้ กฎเกณฑ์นั้นๆ ไม่อาจใช้เป็นกฎหมายบ้านเมือง เนื่องจากประชาชนไม่ได้เฉลียวฉลาดหรือเป็นบุคคลที่มีคุณค่ากันทุกคน
ด้วยกฎหมายบังคับใช้กับทุกคนเหมือนกัน ไม่อาจอ้างความไม่รู้ไม่เข้าใจกฎหมายมาโต้แย้งได้ กฎหมายจึงควรเขียนขึ้นเพื่อประชาชน โดยประชาชน ด้วยภาษาเข้าใจง่ายแต่บิดเบือนยาก
ทว่าสำหรับเมืองไทย กฎหมายแต่ละวรรคแต่ละมาตราแต่ละฉบับนอกจากเขียนอย่างสลับซับซ้อนจนคนทั่วไปไม่สามารถเข้าใจได้โดยหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายที่หลายครั้งเข้าข่าย ‘เนติบริกร’ ให้บริการทางกฎหมายแก่กลุ่มกุมอำนาจแบบขาดมโนธรรมและหิริโอตตัปปะแล้ว ยังยากต่อการนำไปปฏิบัติใช้ด้วยขัดกับวิถีชีวิตวิถีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นเพราะขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนนับแต่ขั้นแรกเริ่มถึงท้ายสุด
นานมากแล้วที่การตัดภาคประชาชนออกจากการกำหนดกฎหมายโดยฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติสร้างผลผลิตผิดเพี้ยนสู่สังคมไทยไม่น้อยทั้งโดยรูปแบบและเนื้อหา ซุกวาระซ่อนเร้น (Hidden agenda) ทำลายหลักขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of interest) จนถึงขัดเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
กระทั่งฝั่งตุลาการต้องอภิวัฒน์ตรวจสอบสองอำนาจข้างต้นตามหลักการแบ่งแยกอำนาจที่เป็นพื้นฐานหลักนิติรัฐ (The Rule of Law) เพื่อคุ้มครองสิทธิปัจเจกบุคคลจากการใช้อำนาจมหาชนของรัฐ เท่าๆ กับหยุดยั้งห้วงยามคอร์รัปชันเฟื่องฟูจากรัฐบาลที่ได้อำนาจปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
อนึ่ง อีกหนึ่งทางออกของปรากฏการณ์ดังกล่าวคือการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน โดยมาตรา 163 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้แก้ไขจำนวนประชาชนที่จะเข้าชื่อเสนอกฎหมายจากเดิมที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 กำหนด 50,000 คนเหลือแค่ 10,000 คน เพื่อความสะดวกคล่องตัวยิ่งขึ้น รวมถึงกำหนดให้ในการพิจารณาร่างกฎหมายที่ประชาชนเสนอมานั้นจะต้องประกอบด้วยผู้แทนของประชาชนที่เข้าชื่อเสนอ พ.ร.บ.นั้นๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดด้วย
ทั้งนี้ กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 10,000 คนมีสิทธิเข้าชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมายที่จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐต่อประธานรัฐสภา และต้องจัดทำร่างกฎหมายที่ต้องการเสนอมาด้วย โดยอาจขอให้องค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายหรือขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองช่วยเหลือร่าง พ.ร.บ.ให้
ในห้วงปัจจุบันจึงน่าจะสัมฤทธิผลกว่า เพราะไม่เพียงมีหน่วยงานสนับสนุนชัดเจน ทว่ายังลดจำนวนพลเมืองผู้ตื่นตัวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงลง ตลอดจนลดเวลาและขั้นตอนยุ่งยากอย่างหลักฐานแสดงตนก็เหลือแค่เอกสารที่ออกโดยหน่วยงานราชการ เช่น บัตรประชาชน ใบขับขี่
นั่นน่าจะทำให้ได้ พ.ร.บ.จากการริเริ่ม (Initiative) ของภาคประชาชนมากกว่าทศวรรษผ่านมาที่ได้เพียง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ฉบับเดียวเท่านั้นจากความพยายามทั้งหมด 16 ครั้ง แยกเป็นการเข้าชื่อเสนอกฎหมายกันเอง 10 ฉบับ เช่น ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. .... และเสนอผ่านการจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 6 ฉบับ เช่น ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารหมู่บ้าน พ.ศ. ....
ถึงกระนั้นก็จำต้องเร่งบัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อ รวมทั้งการตรวจสอบรายชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายให้สอดคล้องรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แทน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 โดยวันนี้มีร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. .... แล้ว 3 ฉบับ ทั้งของรัฐบาล สถาบันพระปกเกล้า และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ที่ถึงจะมีจุดร่วมเดียวกัน คือ เปิดโอกาสภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนริเริ่มตรากฎหมาย (Right to initiate bills) เพื่อสร้างการเมืองภาคพลเมืองควบคู่กับการเมืองภาคนักการเมืองที่รวบอำนาจการปกครองมาเนิ่นนาน
หากทว่าฉบับผลผลิตของ มสช.จะมาจากรากความต้องการของประชาชนหลากหลายกลุ่ม คงให้น้ำหนักช่องทาง กกต. แทนรวมศูนย์สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาที่มีแค่กรุงเทพฯ และกำหนดกรอบเวลารวดเร็วแน่นอนทุกกระบวนการตั้งแต่ต้น ตรวจสอบรายชื่อ คัดค้านรายชื่อ จนถึงสุดท้ายการพิจารณาของรัฐสภา และที่สำคัญรัดกุมกับประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291(1) มากกว่า
เนื่องจากมาตราข้างต้นกำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน มีสิทธิเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ ตราบใดไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ โดยหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
แม้การเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะยึดหลักการแก้ไขได้ง่ายโดยประชาชนเข้าชื่อ 50,000 ชื่อ รวมถึงมีตัวแทนเข้าชี้แจงเหตุผลและร่วมเป็นกรรมาธิการเพื่อพิจารณาแก้ไข หากก็ไม่ควรง่ายดายขนาดจัดตั้งรวบรวมรายชื่อประชาชนแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อ ‘ฟอกผิดเป็นถูก-ถูกเป็นผิด’ ได้ เพราะต้องตระหนักเสมอว่าถ้าเพียงลิดกิ่งก้านความชั่วร้ายแต่ไม่โค่นต้นไม้นั้นลงเสีย ก็ย่อมจะเจริญเติบโตอีกครั้ง ดุจเดียวกับกฎหมายบ้านเมืองต้องกำจัดความชั่วร้ายสิ้นซาก หากไม่แล้วความหายนะจะกลับมาอีกครา
ประชาชนจึงต้องเปลี่ยนตนเองเป็นพลังพลเมืองทั้งนำเสนอและยับยั้งกฎหมายในห้วงเดียวกันเพื่อถ่วงดุลอำนาจการเมืองของนักการเมือง โดยต้องกระทำด้วยความรอบคอบว่ากฎหมายที่นำเสนอหรือคัดค้านนั้นมีสารัตถะที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมแท้จริงหรือไม่ก่อนลงรายมือชื่อ ขณะเดียวกันผู้แทนการเสนอกฎหมายก็ต้องศึกษากฎหมายตั้งแต่รัฐธรรมนูญลงมาจนถึงประกาศรัฐสภาเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เรียนรู้รูปแบบการนำเสนอกฎหมาย รวมถึงวิธีบันทึกสรุปสาระสำคัญและคำชี้แจงความมุ่งหมาย เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของรัฐสภา
มากกว่านั้นระยะเฉพาะหน้าต้องร่วมกันผลักดันร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายภาคประชาชนให้สามารถรวบรวมรายชื่อครบ 10,000 คน เพื่อจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาของรัฐสภาให้ได้ในเร็ววัน และมีสิทธิเสียงเจรจาต่อรองขึ้นมากจากการเป็นกรรมาธิการร่วม 1 ใน 3
ไม่เช่นนั้นเครื่องมือนี้จะพลังลดลงมหาศาลจากการขีดเขียนกฎหมายที่ขัดขวางการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน และหล่อเลี้ยงขวากหนามแหลมคมคอยทิ่มแทงพลเมืองผู้กระตือรือร้นต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องหลักฐานอย่างทะเบียนบ้านที่นำความยุ่งยากมาให้ทั้งประชาชนและผู้แทนเสนอกฎหมาย การตรวจสอบหลักฐานยืดเยื้อยาวนานมากขั้นตอน ตลอดจนกระบวนการยกร่างกฎหมายก็จำกัดสิทธิประชนเข้าร่วมดังเดิม
ทั้งๆ ที่ควรสนับสนุนประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมปฏิบัติการทางการเมืองเพื่อเรียนรู้สิทธิและเสรีภาพสูงสุด ฝึกฝนทักษะอำนาจการเรียกร้องให้ผู้อื่นกระทำการหรือละเว้นกระทำการอันใดอันหนึ่ง หรือใช้อำนาจตนเองตัดสินใจกระทำการหรือไม่กระทำการอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากการแทรกแซง
ด้วยอำนาจอธิปไตยจักเป็นของปวงชนแท้จริงได้ก็ต่อเมื่อประชาชนเตือนตนตลอดเวลาว่าการหย่อนบัตรเลือกตั้งมิใช่วิถีทางเดียวของระบบประชาธิปไตย แต่ต้องการการมีส่วนร่วมมากจากประชาชน โดยเฉพาะขณะประเทศท่วมท้นทุจริตคอร์รัปชันจากกลุ่มกุมอำนาจที่ไม่เพียงเพิกเฉยกลับกลบเกลื่อนความผิดเคยกระทำผ่านการพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยวาทกรรมความสมานฉันท์
ใช่ว่ารัฐธรรมนูญแก้ไขไม่ได้ ด้วยยุคสมัยผ่านพ้นไปก็ควรปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมกับสถานการณ์จริง การปกครองบ้านเมืองถ้าใช้กฎหมายตายตัวก็จะนำไปสู่การตัดสินที่ไม่ถูกต้องด้วยเหตุผล พอๆ กับการไม่ใช้กฎหมาย เพราะบ้านเมืองก็อยู่ไม่ได้ตามไปด้วยดังปราชญ์จีนเตือนสติไว้
ทางรอดของชาติบ้านเมืองจึงต้องสร้างสรรค์ประชาชนที่รู้เท่าทันการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญคู่เคียงกับปฏิบัติการทางอำนาจเข้าชื่อนำเสนอกฎหมายสม่ำเสมอเพื่อรักษาสิทธิและเสรีภาพตามระบบประชาธิปไตยไม่ให้ถูกลิดรอน.
เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
ด้วยกฎหมายบังคับใช้กับทุกคนเหมือนกัน ไม่อาจอ้างความไม่รู้ไม่เข้าใจกฎหมายมาโต้แย้งได้ กฎหมายจึงควรเขียนขึ้นเพื่อประชาชน โดยประชาชน ด้วยภาษาเข้าใจง่ายแต่บิดเบือนยาก
ทว่าสำหรับเมืองไทย กฎหมายแต่ละวรรคแต่ละมาตราแต่ละฉบับนอกจากเขียนอย่างสลับซับซ้อนจนคนทั่วไปไม่สามารถเข้าใจได้โดยหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายที่หลายครั้งเข้าข่าย ‘เนติบริกร’ ให้บริการทางกฎหมายแก่กลุ่มกุมอำนาจแบบขาดมโนธรรมและหิริโอตตัปปะแล้ว ยังยากต่อการนำไปปฏิบัติใช้ด้วยขัดกับวิถีชีวิตวิถีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นเพราะขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนนับแต่ขั้นแรกเริ่มถึงท้ายสุด
นานมากแล้วที่การตัดภาคประชาชนออกจากการกำหนดกฎหมายโดยฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติสร้างผลผลิตผิดเพี้ยนสู่สังคมไทยไม่น้อยทั้งโดยรูปแบบและเนื้อหา ซุกวาระซ่อนเร้น (Hidden agenda) ทำลายหลักขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of interest) จนถึงขัดเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
กระทั่งฝั่งตุลาการต้องอภิวัฒน์ตรวจสอบสองอำนาจข้างต้นตามหลักการแบ่งแยกอำนาจที่เป็นพื้นฐานหลักนิติรัฐ (The Rule of Law) เพื่อคุ้มครองสิทธิปัจเจกบุคคลจากการใช้อำนาจมหาชนของรัฐ เท่าๆ กับหยุดยั้งห้วงยามคอร์รัปชันเฟื่องฟูจากรัฐบาลที่ได้อำนาจปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
อนึ่ง อีกหนึ่งทางออกของปรากฏการณ์ดังกล่าวคือการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน โดยมาตรา 163 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้แก้ไขจำนวนประชาชนที่จะเข้าชื่อเสนอกฎหมายจากเดิมที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 กำหนด 50,000 คนเหลือแค่ 10,000 คน เพื่อความสะดวกคล่องตัวยิ่งขึ้น รวมถึงกำหนดให้ในการพิจารณาร่างกฎหมายที่ประชาชนเสนอมานั้นจะต้องประกอบด้วยผู้แทนของประชาชนที่เข้าชื่อเสนอ พ.ร.บ.นั้นๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดด้วย
ทั้งนี้ กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 10,000 คนมีสิทธิเข้าชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมายที่จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐต่อประธานรัฐสภา และต้องจัดทำร่างกฎหมายที่ต้องการเสนอมาด้วย โดยอาจขอให้องค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายหรือขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองช่วยเหลือร่าง พ.ร.บ.ให้
ในห้วงปัจจุบันจึงน่าจะสัมฤทธิผลกว่า เพราะไม่เพียงมีหน่วยงานสนับสนุนชัดเจน ทว่ายังลดจำนวนพลเมืองผู้ตื่นตัวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงลง ตลอดจนลดเวลาและขั้นตอนยุ่งยากอย่างหลักฐานแสดงตนก็เหลือแค่เอกสารที่ออกโดยหน่วยงานราชการ เช่น บัตรประชาชน ใบขับขี่
นั่นน่าจะทำให้ได้ พ.ร.บ.จากการริเริ่ม (Initiative) ของภาคประชาชนมากกว่าทศวรรษผ่านมาที่ได้เพียง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ฉบับเดียวเท่านั้นจากความพยายามทั้งหมด 16 ครั้ง แยกเป็นการเข้าชื่อเสนอกฎหมายกันเอง 10 ฉบับ เช่น ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. .... และเสนอผ่านการจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 6 ฉบับ เช่น ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารหมู่บ้าน พ.ศ. ....
ถึงกระนั้นก็จำต้องเร่งบัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อ รวมทั้งการตรวจสอบรายชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายให้สอดคล้องรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แทน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 โดยวันนี้มีร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. .... แล้ว 3 ฉบับ ทั้งของรัฐบาล สถาบันพระปกเกล้า และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ที่ถึงจะมีจุดร่วมเดียวกัน คือ เปิดโอกาสภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนริเริ่มตรากฎหมาย (Right to initiate bills) เพื่อสร้างการเมืองภาคพลเมืองควบคู่กับการเมืองภาคนักการเมืองที่รวบอำนาจการปกครองมาเนิ่นนาน
หากทว่าฉบับผลผลิตของ มสช.จะมาจากรากความต้องการของประชาชนหลากหลายกลุ่ม คงให้น้ำหนักช่องทาง กกต. แทนรวมศูนย์สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาที่มีแค่กรุงเทพฯ และกำหนดกรอบเวลารวดเร็วแน่นอนทุกกระบวนการตั้งแต่ต้น ตรวจสอบรายชื่อ คัดค้านรายชื่อ จนถึงสุดท้ายการพิจารณาของรัฐสภา และที่สำคัญรัดกุมกับประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291(1) มากกว่า
เนื่องจากมาตราข้างต้นกำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน มีสิทธิเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ ตราบใดไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ โดยหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
แม้การเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะยึดหลักการแก้ไขได้ง่ายโดยประชาชนเข้าชื่อ 50,000 ชื่อ รวมถึงมีตัวแทนเข้าชี้แจงเหตุผลและร่วมเป็นกรรมาธิการเพื่อพิจารณาแก้ไข หากก็ไม่ควรง่ายดายขนาดจัดตั้งรวบรวมรายชื่อประชาชนแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อ ‘ฟอกผิดเป็นถูก-ถูกเป็นผิด’ ได้ เพราะต้องตระหนักเสมอว่าถ้าเพียงลิดกิ่งก้านความชั่วร้ายแต่ไม่โค่นต้นไม้นั้นลงเสีย ก็ย่อมจะเจริญเติบโตอีกครั้ง ดุจเดียวกับกฎหมายบ้านเมืองต้องกำจัดความชั่วร้ายสิ้นซาก หากไม่แล้วความหายนะจะกลับมาอีกครา
ประชาชนจึงต้องเปลี่ยนตนเองเป็นพลังพลเมืองทั้งนำเสนอและยับยั้งกฎหมายในห้วงเดียวกันเพื่อถ่วงดุลอำนาจการเมืองของนักการเมือง โดยต้องกระทำด้วยความรอบคอบว่ากฎหมายที่นำเสนอหรือคัดค้านนั้นมีสารัตถะที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมแท้จริงหรือไม่ก่อนลงรายมือชื่อ ขณะเดียวกันผู้แทนการเสนอกฎหมายก็ต้องศึกษากฎหมายตั้งแต่รัฐธรรมนูญลงมาจนถึงประกาศรัฐสภาเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เรียนรู้รูปแบบการนำเสนอกฎหมาย รวมถึงวิธีบันทึกสรุปสาระสำคัญและคำชี้แจงความมุ่งหมาย เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของรัฐสภา
มากกว่านั้นระยะเฉพาะหน้าต้องร่วมกันผลักดันร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายภาคประชาชนให้สามารถรวบรวมรายชื่อครบ 10,000 คน เพื่อจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาของรัฐสภาให้ได้ในเร็ววัน และมีสิทธิเสียงเจรจาต่อรองขึ้นมากจากการเป็นกรรมาธิการร่วม 1 ใน 3
ไม่เช่นนั้นเครื่องมือนี้จะพลังลดลงมหาศาลจากการขีดเขียนกฎหมายที่ขัดขวางการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน และหล่อเลี้ยงขวากหนามแหลมคมคอยทิ่มแทงพลเมืองผู้กระตือรือร้นต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องหลักฐานอย่างทะเบียนบ้านที่นำความยุ่งยากมาให้ทั้งประชาชนและผู้แทนเสนอกฎหมาย การตรวจสอบหลักฐานยืดเยื้อยาวนานมากขั้นตอน ตลอดจนกระบวนการยกร่างกฎหมายก็จำกัดสิทธิประชนเข้าร่วมดังเดิม
ทั้งๆ ที่ควรสนับสนุนประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมปฏิบัติการทางการเมืองเพื่อเรียนรู้สิทธิและเสรีภาพสูงสุด ฝึกฝนทักษะอำนาจการเรียกร้องให้ผู้อื่นกระทำการหรือละเว้นกระทำการอันใดอันหนึ่ง หรือใช้อำนาจตนเองตัดสินใจกระทำการหรือไม่กระทำการอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากการแทรกแซง
ด้วยอำนาจอธิปไตยจักเป็นของปวงชนแท้จริงได้ก็ต่อเมื่อประชาชนเตือนตนตลอดเวลาว่าการหย่อนบัตรเลือกตั้งมิใช่วิถีทางเดียวของระบบประชาธิปไตย แต่ต้องการการมีส่วนร่วมมากจากประชาชน โดยเฉพาะขณะประเทศท่วมท้นทุจริตคอร์รัปชันจากกลุ่มกุมอำนาจที่ไม่เพียงเพิกเฉยกลับกลบเกลื่อนความผิดเคยกระทำผ่านการพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยวาทกรรมความสมานฉันท์
ใช่ว่ารัฐธรรมนูญแก้ไขไม่ได้ ด้วยยุคสมัยผ่านพ้นไปก็ควรปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมกับสถานการณ์จริง การปกครองบ้านเมืองถ้าใช้กฎหมายตายตัวก็จะนำไปสู่การตัดสินที่ไม่ถูกต้องด้วยเหตุผล พอๆ กับการไม่ใช้กฎหมาย เพราะบ้านเมืองก็อยู่ไม่ได้ตามไปด้วยดังปราชญ์จีนเตือนสติไว้
ทางรอดของชาติบ้านเมืองจึงต้องสร้างสรรค์ประชาชนที่รู้เท่าทันการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญคู่เคียงกับปฏิบัติการทางอำนาจเข้าชื่อนำเสนอกฎหมายสม่ำเสมอเพื่อรักษาสิทธิและเสรีภาพตามระบบประชาธิปไตยไม่ให้ถูกลิดรอน.
เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org