คณะกรรมการกฤษฎีกา เตรียมเสนอ ครม.13 พ.ค.เสนออนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.องค์กรปฏิรูปกฎหมาย ตั้งกรรมการที่เน้นอิสระ พัฒนา ประเมินกฎหมาย พร้อมกลั่นกรองกฎหมายของ ส.ส.-ประชาชน ก่อนเสนอความเห็นต่อ ครม.
วันนี้ (12 พ.ค.) แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 13 พ.ค.นี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้รวมหลักการของร่างพระราชบัญญัติองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ...ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม พ.ศ...และพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารด้านยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2549 เข้าเป็นกฎหมายฉบับเดียว
โดยมีสาระสำคัญให้มีคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายที่ดำเนินการเป็นอิสระคณะหนึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมการ รองประธาน และกรรมการอื่นอีก 9 คน ให้กรรมการจำนวน 8 คนมาจากกระบวนการสรรหาของคณะกรรมการสรรหากรรมการ และกรรมการการที่มาจากกระบวนการสรรหา 8 คนนี้ จะดำเนินการสรรหากรรมการอีก 3 คน เพื่อมาเป็นกรรมการที่ปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลา ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้มีผลงาน หรือเคยปฏิบัติงานที่แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ประจักษ์ในด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นกรรมการมีวาระอยู่ในตำแหน่ง 6 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง เว้นแต่กรรมการที่ปฏิบัติงานเต็มเวลามีวาระอยู่ในตำแหน่ง 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการชุดนี้มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและของประธานกรรมการ
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า คณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่หลักในการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายของประเทศให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ทางวิชาการต่างๆ เพื่อวางเป้าหมาย นโยบาย พร้อมทั้งจัดทำแผนโครงการ และมาตรการต่างๆ ในการปฏิรูปกฎหมายอย่างเป็นระบบเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับแผนการตรากฎหมาย ให้ความเห็นหรือข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศาล องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
วันนี้ (12 พ.ค.) แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 13 พ.ค.นี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้รวมหลักการของร่างพระราชบัญญัติองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ...ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม พ.ศ...และพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารด้านยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2549 เข้าเป็นกฎหมายฉบับเดียว
โดยมีสาระสำคัญให้มีคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายที่ดำเนินการเป็นอิสระคณะหนึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมการ รองประธาน และกรรมการอื่นอีก 9 คน ให้กรรมการจำนวน 8 คนมาจากกระบวนการสรรหาของคณะกรรมการสรรหากรรมการ และกรรมการการที่มาจากกระบวนการสรรหา 8 คนนี้ จะดำเนินการสรรหากรรมการอีก 3 คน เพื่อมาเป็นกรรมการที่ปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลา ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้มีผลงาน หรือเคยปฏิบัติงานที่แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ประจักษ์ในด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นกรรมการมีวาระอยู่ในตำแหน่ง 6 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง เว้นแต่กรรมการที่ปฏิบัติงานเต็มเวลามีวาระอยู่ในตำแหน่ง 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการชุดนี้มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและของประธานกรรมการ
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า คณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่หลักในการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายของประเทศให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ทางวิชาการต่างๆ เพื่อวางเป้าหมาย นโยบาย พร้อมทั้งจัดทำแผนโครงการ และมาตรการต่างๆ ในการปฏิรูปกฎหมายอย่างเป็นระบบเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับแผนการตรากฎหมาย ให้ความเห็นหรือข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศาล องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง