ASTVผู้จัดการรายวัน- สมอ.เตรียมปรับมาตรฐานมอก. โต๊ะ-เก้าอี้นักเรียนใหม่ให้เหมาะสมกับเด็กไทยที่ตัวโตขึ้น พร้อมทั้งลดค่าตรวจสอบมาตรฐานลงเอื้อผู้ประกอบการรายเล็ก เร่งให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นพัฒนาสินค้าก้าวสู่มผช.
นางรัตนาภรณ์ จึงสงวนสิทธิ์ ลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ) เปิดเผยว่า เตรียมปรับปรุงมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) โต๊ะและเก้าอี้เรียนหนังสือของโรงเรียนทั่วประเทศใหม่ให้ทันสมัยและแข็งแรงมากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กนักเรียนเสียบุคลิกภาพ และประหยัดงบประมาณในการซ่อมแซมหรือจัดซื้อจัดจ้างบ่อยครั้ง เนื่องจากมาตรฐานบังคับประเภทนี้ใช้มานานถึง 10 ปี เบื้องต้นกระทรวงศึกษาธิการเห็นด้วยที่จะเน้นทบทวนขนาดโต๊ะเก้าอี้ให้สอดคล้องกับสัดส่วนเด็กที่ร่างกายขนาดใหญ่และสูงกว่าในอดีต และไม่เน้นประเภทวัสดุในการผลิตด้วย โดยมาตรฐานดังกล่าวจะใช้สำหรับสินค้าใหม่เท่านั้น
ขณะเดียวกันนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม ยังได้ลงนามเปลียนแปลงค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการทำมอก. ให้จากเดิมที่กำหนดให้โรงงานต้องจ่ายค่าตรวจสอบ 1 หมื่นบาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อการตรวจสอบต่อครั้ง เป็น 3,000 บาทต่วันแต่ไม่เกิน 9,000 บาทต่อครั้ง มีผลตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 52 เพื่อลดรายจ่ายแก่โรงงานขนาดเล็กที่เข้าร่วมโครงการกว่า 1 หมื่นราย เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการหลายรายระบุว่าอัตราการเก็บการตรวจสอบอยู่ในอัตราสูงส่งผลให้เอสเอ็มอีประสบปัญหาเดือดร้อน โดยเฉพาะช่วงวิกฤติเศรษฐกิจที่จำหน่ายสินค้าลำบากมาก
สำหรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.) ได้เร่งให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการท้องถิ่นเพื่อพัฒนาสินค้าพื้นเมือง และสินค้าโอท็อป เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ที่ผลิตสินค้ายังไม่มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานมากนัก เพราะมีผู้ผ่านเกณฑ์เพียง 40% เท่านั้นหรือ 3.7 หมื่นราย ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มผช. ส่วนใหญ่เป็นอาหารพื้นเมือง เช่น น้ำพริก ปลาร้า น้ำผลไม้ ขนมหวาน เป็นต้น โดยในปีนี้มีคำขอมผช. กว่า 3,000 คำขอ เป็นระดับใกล้เคียงกับปีก่อน ซึ่งการขอมผช.นี้จะไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่รัฐบาลจะเป็นผู้ออกเงินให้ทั้งหมด โดยในปีที่ผ่าน มา สมอ.รับงบประมาณในการออกมาตรฐานมผช. กว่า 30 ล้านบาท แต่ในปี’53 นี้จะขอเพิ่มเป็น 60 ล้านบาท เนื่องจากต้องการนำเงินส่วนหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างผู้ที่จะมาให้คำปรึกษากับโอท็อปที่ต้องการมผช.
นางรัตนาภรณ์ จึงสงวนสิทธิ์ ลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ) เปิดเผยว่า เตรียมปรับปรุงมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) โต๊ะและเก้าอี้เรียนหนังสือของโรงเรียนทั่วประเทศใหม่ให้ทันสมัยและแข็งแรงมากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กนักเรียนเสียบุคลิกภาพ และประหยัดงบประมาณในการซ่อมแซมหรือจัดซื้อจัดจ้างบ่อยครั้ง เนื่องจากมาตรฐานบังคับประเภทนี้ใช้มานานถึง 10 ปี เบื้องต้นกระทรวงศึกษาธิการเห็นด้วยที่จะเน้นทบทวนขนาดโต๊ะเก้าอี้ให้สอดคล้องกับสัดส่วนเด็กที่ร่างกายขนาดใหญ่และสูงกว่าในอดีต และไม่เน้นประเภทวัสดุในการผลิตด้วย โดยมาตรฐานดังกล่าวจะใช้สำหรับสินค้าใหม่เท่านั้น
ขณะเดียวกันนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม ยังได้ลงนามเปลียนแปลงค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการทำมอก. ให้จากเดิมที่กำหนดให้โรงงานต้องจ่ายค่าตรวจสอบ 1 หมื่นบาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อการตรวจสอบต่อครั้ง เป็น 3,000 บาทต่วันแต่ไม่เกิน 9,000 บาทต่อครั้ง มีผลตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 52 เพื่อลดรายจ่ายแก่โรงงานขนาดเล็กที่เข้าร่วมโครงการกว่า 1 หมื่นราย เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการหลายรายระบุว่าอัตราการเก็บการตรวจสอบอยู่ในอัตราสูงส่งผลให้เอสเอ็มอีประสบปัญหาเดือดร้อน โดยเฉพาะช่วงวิกฤติเศรษฐกิจที่จำหน่ายสินค้าลำบากมาก
สำหรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.) ได้เร่งให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการท้องถิ่นเพื่อพัฒนาสินค้าพื้นเมือง และสินค้าโอท็อป เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ที่ผลิตสินค้ายังไม่มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานมากนัก เพราะมีผู้ผ่านเกณฑ์เพียง 40% เท่านั้นหรือ 3.7 หมื่นราย ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มผช. ส่วนใหญ่เป็นอาหารพื้นเมือง เช่น น้ำพริก ปลาร้า น้ำผลไม้ ขนมหวาน เป็นต้น โดยในปีนี้มีคำขอมผช. กว่า 3,000 คำขอ เป็นระดับใกล้เคียงกับปีก่อน ซึ่งการขอมผช.นี้จะไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่รัฐบาลจะเป็นผู้ออกเงินให้ทั้งหมด โดยในปีที่ผ่าน มา สมอ.รับงบประมาณในการออกมาตรฐานมผช. กว่า 30 ล้านบาท แต่ในปี’53 นี้จะขอเพิ่มเป็น 60 ล้านบาท เนื่องจากต้องการนำเงินส่วนหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างผู้ที่จะมาให้คำปรึกษากับโอท็อปที่ต้องการมผช.