เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พรรคฝ่ายค้านได้กล่าวหารัฐบาลเตรียมผ่านโครงการมหาโกงคือโครงการรถบัสใช้ก๊าซเอ็นจีวีจำนวน 4,000 คัน ซึ่งจะต้องใช้เงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 70,000 ล้านบาท ว่าเป็นโครงการที่ฉ้อฉลปล้นชาติถึง 60,000 ล้านบาท
แต่ฝ่ายค้านต้องเงื้อค้างเพราะว่าคณะรัฐมนตรีได้เด้งโครงการนี้ให้กลับไปทบทวนใหม่ เนื่องจากมีปัญหา โดยเฉพาะค่าซ่อมบำรุงและค่าเช่า โดยไม่ได้พูดถึงการล็อกสเป็ก ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ามีการล็อกสเป็กไว้ให้บริษัทจีนรายหนึ่ง ซึ่งจองโครงการนี้มา 5 รัฐบาลแล้ว
ฝ่ายค้านทำดีก็ต้องสนับสนุน ดังนั้นเมื่อฝ่ายค้านเปิดโปงโครงการนี้ในลักษณะที่คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ก็ต้องขอสดุดีและต้องให้กำลังใจให้ทำหน้าที่ดีๆ อย่างนี้ต่อไป แทนที่จะไปทำการใดๆ เพื่อประโยชน์ของคนเพียงคนเดียวเหมือนที่ผ่านมา
เมื่อคืนวันที่ 21 พฤษภาคม 2552 พลเรือเอกบรรณวิทย์ เก่งเรียน อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม และอดีตประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม ซึ่งติดตามเรื่องนี้มาอย่างใกล้ชิด ได้เปิดโปงผ่านสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งให้เห็นข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นอีก
พลเรือเอกบรรณวิทย์ เก่งเรียน นำหลักฐานมาแสดงว่าบริษัทจีนรายนี้เคยเสนอโครงการจัดหารถบัสใช้ก๊าซเอ็นจีวีให้กับ ขสมก. มาแล้ว เพื่อใช้ในโครงการดังกล่าวนี้ โดยเสนอลงทุนจัดหารถให้ทั้งหมดตามที่ต้องการ โดยที่ ขสมก. ไม่ต้องลงเงินเลยแม้แต่บาทเดียว
ฝ่ายจีนขอเพียงส่วนแบ่งกำไรในสัดส่วน 60:40 คือมีกำไร 100 บาท ฝ่ายจีนขอคืนเป็นค่ารถแค่ 60 บาท หากขาดทุนก็ไม่ต้องจ่าย กำไรน้อยลงก็จ่ายตามน้อย โดย ขสมก. มีแต่ได้ส่วนแบ่งกำไรอย่างเดียว ไม่ต้องเสี่ยงขาดทุนใดๆ ทั้งสิ้น แต่ฝ่ายการเมืองในยุคนั้นไม่เอา
มาถึงวันนี้ก็ต้องบอกรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าได้ทราบเรื่องนี้หรือไม่ และเมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ยังจะดึงดันใช้เงิน 70,000 ล้านบาท ต่อไป หรือว่าจะให้ดำเนินการตามที่ฝ่ายจีนเคยเสนอมา
ข้อเท็จจริงและรายละเอียดยิ่งกว่านี้ หากสนใจก็อาจติดต่อสอบถามได้จากพลเรือเอกบรรณวิทย์ เก่งเรียน ได้ทุกเวลา
นี่ก็ได้ข่าวว่าในวันอังคารที่จะถึงนี้ กระทรวงคมนาคมจะผลักดันโครงการนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง โดยยืนยันข้อเสนอเดิม ซึ่งประชาชนชาวไทยทั้งประเทศจะต้องติดตามจับตาดูกันอย่างใกล้ชิดว่าคณะรัฐมนตรีจะตัดสินใจในเรื่องนี้อย่างไร
เพราะจะเป็นการตัดสินใจที่สำคัญที่จะชี้ขาดว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลตามที่เขากล่าวหาว่าพายเรือให้โจรนั่งหรือไม่ อีกไม่กี่ชั่วโมงก็คงจะได้รู้กัน!
หลังจากคณะรัฐมนตรีเด้งโครงการนี้แล้ว นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการอันควรที่จะนำมาพินิจพิจารณากัน
ประเด็นแรก ระบุว่าเรื่องนี้สามารถอธิบายชี้แจงให้เข้าใจได้ จึงยืนยันที่จะนำกลับเข้ามาขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งกล่าวว่า “คนบางคนถึงจะอธิบายอย่างไรก็ไม่ยอมเข้าใจ” ซึ่งไม่รู้ว่าจะหมายถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หรือพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ที่ท้วงติงเรื่องนี้มาโดยตลอด หรือว่าจะหมายถึงนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ที่เข้มงวดกวดขันเรื่องการใช้เงินแผ่นดินอยู่เป็นนิตย์
ประเด็นที่สอง ระบุว่าค่าเช่ารถก็ดี จำนวนผู้โดยสารก็ดี เป็นผลจากการศึกษาของสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งได้ว่าจ้างให้ทำการศึกษาเรื่องนี้โดยที่ไม่เกี่ยวกับนายชัย ชิดชอบ ซึ่งเป็นประธานสถาบันพระปกเกล้าแต่ประการใด
ในประเด็นนี้ก็เป็นที่น่าสงสัยว่า สถาบันพระปกเกล้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ได้อย่างไร เพราะเป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาการเมือง ไม่มีหน้าที่ไปรับจ้างศึกษาวิจัยโครงการต่างๆ ทั้งไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องนี้ ผลการศึกษาจะน่าเชื่อถือหรือว่ามีอะไรโยงใยอยู่ข้างหลัง สังคมก็ต้องติดตามจับตาดูกันให้ดี
ประเด็นที่สาม ได้อ้างผลการศึกษาของสถาบันพระปกเกล้าว่า โครงการนี้รถบัสแต่ละคันจะมีผู้โดยสารมาก จึงสามารถหาเงินมาจ่ายค่าเช่ารถในอัตรา 4,780 บาท ต่อวันต่อคันได้อย่างแน่นอน
มีหลักประกันอะไรหรือไม่ว่าจะมีผู้โดยสารมากตามที่อ้าง? และสามารถหาเงินมาจ่ายค่าเช่าได้ในอัตราดังกล่าว และถ้าขาดทุนบักโกรกเหมือนโครงการซื้อเครื่องบินซึ่งเกิดขึ้นแล้วจะว่าอย่างไร?
ประเด็นที่สี่ ระบุว่าค่าซ่อมบำรุงซึ่ง ขสมก. คิดมากิโลเมตรละ 7.50 บาทต่อคันต่อวัน ซึ่งคณะรัฐมนตรีทักท้วงว่าสูงนั้น ขณะนี้ราคาต้นทุนการซ่อมบำรุงอยู่ที่กิโลเมตรละ 7.54 บาทต่อวันต่อคัน แต่จะคิดเพียงกิโลเมตรละ 7.50 บาทต่อวันต่อคันตามเดิม ทั้งพร้อมจะชี้แจงให้คณะรัฐมนตรีเข้าใจด้วย
ก็น่าสังเกตว่าโครงการนี้เป็นโครงการเช่ารถใหม่ ไยต้องจ่ายค่าซ่อมด้วย และตามกฎหมาย ตลอดจนประเพณีการเช่าเป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่าในการซ่อมบำรุงให้ทรัพย์ที่เช่าอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีอยู่เสมอ เพราะผู้เช่าต้องจ่ายค่าเช่าตอบแทนอยู่แล้ว ไฉนจะต้องรับภาระนี้มาให้ ขสมก. จ่ายอีกเล่า?
ทั้งอัตราค่าซ่อมบำรุงกิโลเมตรละ 7.50 บาทต่อวันต่อคันนั้นยังแพงกว่าค่าโดยสารที่คิดจากประชาชนเสียอีก ลองนึกดูเถิดถ้าประชาชนต้องเสียค่าโดยสารตามระยะกิโลเมตรในอัตรากิโลเมตรละ 7.50 บาทต่อวันต่อคันแล้วจะต้องจ่ายค่าโดยสารเท่าใด?
ประเด็นที่ห้า เกี่ยวข้องกับที่ฝ่ายค้านท้วงติงว่ารถบัสใช้ก๊าซเอ็นจีวีจำนวน 4,000 คัน หากซื้อก็ใช้เงินเพียง 10,000 ล้านบาท ควรที่จะต้องใช้วิธีซื้อ ไม่มีเหตุผลที่จะต้องใช้วิธีเช่า ซึ่งต้องใช้เงินถึง 70,000 ล้านบาท เรื่องนี้มีการระบุว่าที่ต้องกลายเป็นค่าเช่าวันละ 4,780 บาท เพราะมีการคิดต้นทุนจากดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10.25 ต่อปี เป็นเวลา 10 ปี
และยังอ้างอีกว่าสำนักบริหารหนี้สาธารณะทักท้วงว่าควรใช้อัตราร้อยละ 9 ต่อปี ซึ่งพร้อมที่จะใช้อัตราร้อยละ 9 ต่อปี ตามที่สำนักบริหารหนี้สาธารณะท้วงติง ประหนึ่งว่าตอบคำถามแทนบริษัทจีนไปเสียแล้ว
ประเด็นสำคัญมันอยู่ตรงที่ความไม่มีเหตุผลที่จะต้องไปยอมรับอัตราดอกเบี้ยเข้าเป็นต้นทุนของบริษัทจีน เพราะไม่ใช่กงการอะไรของ ขสมก. เนื่องจากต้นทุนของผู้ให้เช่าก็คือราคาทุนของรถ ซึ่งเขาเรียกเก็บค่าเช่าอยู่แล้ว และอัตราดอกเบี้ยนั้น รัฐวิสาหกิจสามารถหาเงินกู้ได้เพียงร้อยละ 3-5 ต่อปีเท่านั้น แล้วเหตุใดต้องไปยอมรับอัตราที่ธนาคารหน้าเลือดบางแห่งเรียกเอาจากอาตี๋อาแปะถึงร้อยละ 9 ต่อปีเล่า?
ตรงนี้ถ้าหากมีความคิดจิตใจเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน หรือเป็นธุรกิจของตนเอง จะยอมรับเงื่อนไขแบบนี้ได้หรือ?
ดังนั้นคณะรัฐมนตรีและประชาชนชาวไทยจึงไม่ควรไปให้ความสนใจกับเหตุผลที่ไม่ตั้งต้นอยู่กับผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเหล่านี้เป็นอันขาด
ข้อพิจารณาสำหรับรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เกี่ยวกับโครงการนี้อยู่ตรงที่ประเด็นดังต่อไปนี้
ข้อที่หนึ่ง โครงการนี้ดั้งเดิมเริ่มขึ้นในปี 2547 ซึ่งเศรษฐกิจกำลังบูม และยังไม่มีโครงการรถไฟฟ้าหลากสายดังที่เป็นอยู่ กำหนดจัดหารถเพียง 2,000 คันเท่านั้น ขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ และกำลังประสบปัญหาทางการเงิน ทั้งมีรถไฟฟ้าใต้ดินมากหลายอยู่แล้ว จำเป็นที่จะต้องมีโครงการนี้ต่อไปหรือไม่? ซึ่งวิญญูชนย่อมเห็นได้ว่าหมดความจำเป็นไปนานแล้ว
ข้อที่สอง ถ้าอยากจะจัดหารถบัสใช้ก๊าซเอ็นจีวีมาบริการประชาชน ก็สามารถเลือกวิธีให้บริษัทจีนมาลงทุนเองทั้งหมด แล้วแบ่งกำไรให้เขาไปแค่ 40% โดยไม่ต้องเสี่ยงกับการขาดทุน และไม่ต้องถูกครหาว่าขี้โกง จะไม่ดีกว่าที่จะต้องลงทุนเองแบบเสี่ยงขาดทุนมหาศาลและไม่มีอนาคตดอกหรือ?
ข้อที่สาม ถ้ายังดันทุรังจะจัดหารถบัสใช้ก๊าซเอ็นจีวีจำนวน 4,000 คันให้ได้ ก็ควรใช้วิธีซื้อทั้งจำนวน ก็จะใช้เงินเพียงหมื่นล้านบาทดังที่ฝ่ายค้านระบุ จะไม่ดีกว่าต้องใช้เงินแพงขึ้นถึง 60,000 ล้านบาทดอกหรือ
และถ้าจะให้ดีกว่านั้น เพียงแค่นำเข้าเครื่องจักรและชัชซีรถแล้วให้ผู้ประกอบการในประเทศต่อตัวถังรถเพื่อเพิ่มการจ้างงานภายในประเทศก็จะแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไปด้วย
ให้ดีกว่านั้นอีก ก็ให้รถร่วมทั้งหลายเป็นผู้ลงทุน โดย ขสมก. ไม่ต้องควักเงินให้เป็นภาระหนี้แผ่นดินก็จะยิ่งประเสริฐกว่าเป็นไหนๆ
ก็ต้องติดตามดูกันให้ดี เพราะอาจเป็นไปดังที่เขาว่ากันนั่นแหละว่า “กูจะโกงเสียอย่าง มึงจะทำอะไรกูได้!”
แต่ฝ่ายค้านต้องเงื้อค้างเพราะว่าคณะรัฐมนตรีได้เด้งโครงการนี้ให้กลับไปทบทวนใหม่ เนื่องจากมีปัญหา โดยเฉพาะค่าซ่อมบำรุงและค่าเช่า โดยไม่ได้พูดถึงการล็อกสเป็ก ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ามีการล็อกสเป็กไว้ให้บริษัทจีนรายหนึ่ง ซึ่งจองโครงการนี้มา 5 รัฐบาลแล้ว
ฝ่ายค้านทำดีก็ต้องสนับสนุน ดังนั้นเมื่อฝ่ายค้านเปิดโปงโครงการนี้ในลักษณะที่คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ก็ต้องขอสดุดีและต้องให้กำลังใจให้ทำหน้าที่ดีๆ อย่างนี้ต่อไป แทนที่จะไปทำการใดๆ เพื่อประโยชน์ของคนเพียงคนเดียวเหมือนที่ผ่านมา
เมื่อคืนวันที่ 21 พฤษภาคม 2552 พลเรือเอกบรรณวิทย์ เก่งเรียน อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม และอดีตประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม ซึ่งติดตามเรื่องนี้มาอย่างใกล้ชิด ได้เปิดโปงผ่านสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งให้เห็นข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นอีก
พลเรือเอกบรรณวิทย์ เก่งเรียน นำหลักฐานมาแสดงว่าบริษัทจีนรายนี้เคยเสนอโครงการจัดหารถบัสใช้ก๊าซเอ็นจีวีให้กับ ขสมก. มาแล้ว เพื่อใช้ในโครงการดังกล่าวนี้ โดยเสนอลงทุนจัดหารถให้ทั้งหมดตามที่ต้องการ โดยที่ ขสมก. ไม่ต้องลงเงินเลยแม้แต่บาทเดียว
ฝ่ายจีนขอเพียงส่วนแบ่งกำไรในสัดส่วน 60:40 คือมีกำไร 100 บาท ฝ่ายจีนขอคืนเป็นค่ารถแค่ 60 บาท หากขาดทุนก็ไม่ต้องจ่าย กำไรน้อยลงก็จ่ายตามน้อย โดย ขสมก. มีแต่ได้ส่วนแบ่งกำไรอย่างเดียว ไม่ต้องเสี่ยงขาดทุนใดๆ ทั้งสิ้น แต่ฝ่ายการเมืองในยุคนั้นไม่เอา
มาถึงวันนี้ก็ต้องบอกรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าได้ทราบเรื่องนี้หรือไม่ และเมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ยังจะดึงดันใช้เงิน 70,000 ล้านบาท ต่อไป หรือว่าจะให้ดำเนินการตามที่ฝ่ายจีนเคยเสนอมา
ข้อเท็จจริงและรายละเอียดยิ่งกว่านี้ หากสนใจก็อาจติดต่อสอบถามได้จากพลเรือเอกบรรณวิทย์ เก่งเรียน ได้ทุกเวลา
นี่ก็ได้ข่าวว่าในวันอังคารที่จะถึงนี้ กระทรวงคมนาคมจะผลักดันโครงการนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง โดยยืนยันข้อเสนอเดิม ซึ่งประชาชนชาวไทยทั้งประเทศจะต้องติดตามจับตาดูกันอย่างใกล้ชิดว่าคณะรัฐมนตรีจะตัดสินใจในเรื่องนี้อย่างไร
เพราะจะเป็นการตัดสินใจที่สำคัญที่จะชี้ขาดว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลตามที่เขากล่าวหาว่าพายเรือให้โจรนั่งหรือไม่ อีกไม่กี่ชั่วโมงก็คงจะได้รู้กัน!
หลังจากคณะรัฐมนตรีเด้งโครงการนี้แล้ว นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการอันควรที่จะนำมาพินิจพิจารณากัน
ประเด็นแรก ระบุว่าเรื่องนี้สามารถอธิบายชี้แจงให้เข้าใจได้ จึงยืนยันที่จะนำกลับเข้ามาขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งกล่าวว่า “คนบางคนถึงจะอธิบายอย่างไรก็ไม่ยอมเข้าใจ” ซึ่งไม่รู้ว่าจะหมายถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หรือพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ที่ท้วงติงเรื่องนี้มาโดยตลอด หรือว่าจะหมายถึงนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ที่เข้มงวดกวดขันเรื่องการใช้เงินแผ่นดินอยู่เป็นนิตย์
ประเด็นที่สอง ระบุว่าค่าเช่ารถก็ดี จำนวนผู้โดยสารก็ดี เป็นผลจากการศึกษาของสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งได้ว่าจ้างให้ทำการศึกษาเรื่องนี้โดยที่ไม่เกี่ยวกับนายชัย ชิดชอบ ซึ่งเป็นประธานสถาบันพระปกเกล้าแต่ประการใด
ในประเด็นนี้ก็เป็นที่น่าสงสัยว่า สถาบันพระปกเกล้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ได้อย่างไร เพราะเป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาการเมือง ไม่มีหน้าที่ไปรับจ้างศึกษาวิจัยโครงการต่างๆ ทั้งไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องนี้ ผลการศึกษาจะน่าเชื่อถือหรือว่ามีอะไรโยงใยอยู่ข้างหลัง สังคมก็ต้องติดตามจับตาดูกันให้ดี
ประเด็นที่สาม ได้อ้างผลการศึกษาของสถาบันพระปกเกล้าว่า โครงการนี้รถบัสแต่ละคันจะมีผู้โดยสารมาก จึงสามารถหาเงินมาจ่ายค่าเช่ารถในอัตรา 4,780 บาท ต่อวันต่อคันได้อย่างแน่นอน
มีหลักประกันอะไรหรือไม่ว่าจะมีผู้โดยสารมากตามที่อ้าง? และสามารถหาเงินมาจ่ายค่าเช่าได้ในอัตราดังกล่าว และถ้าขาดทุนบักโกรกเหมือนโครงการซื้อเครื่องบินซึ่งเกิดขึ้นแล้วจะว่าอย่างไร?
ประเด็นที่สี่ ระบุว่าค่าซ่อมบำรุงซึ่ง ขสมก. คิดมากิโลเมตรละ 7.50 บาทต่อคันต่อวัน ซึ่งคณะรัฐมนตรีทักท้วงว่าสูงนั้น ขณะนี้ราคาต้นทุนการซ่อมบำรุงอยู่ที่กิโลเมตรละ 7.54 บาทต่อวันต่อคัน แต่จะคิดเพียงกิโลเมตรละ 7.50 บาทต่อวันต่อคันตามเดิม ทั้งพร้อมจะชี้แจงให้คณะรัฐมนตรีเข้าใจด้วย
ก็น่าสังเกตว่าโครงการนี้เป็นโครงการเช่ารถใหม่ ไยต้องจ่ายค่าซ่อมด้วย และตามกฎหมาย ตลอดจนประเพณีการเช่าเป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่าในการซ่อมบำรุงให้ทรัพย์ที่เช่าอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีอยู่เสมอ เพราะผู้เช่าต้องจ่ายค่าเช่าตอบแทนอยู่แล้ว ไฉนจะต้องรับภาระนี้มาให้ ขสมก. จ่ายอีกเล่า?
ทั้งอัตราค่าซ่อมบำรุงกิโลเมตรละ 7.50 บาทต่อวันต่อคันนั้นยังแพงกว่าค่าโดยสารที่คิดจากประชาชนเสียอีก ลองนึกดูเถิดถ้าประชาชนต้องเสียค่าโดยสารตามระยะกิโลเมตรในอัตรากิโลเมตรละ 7.50 บาทต่อวันต่อคันแล้วจะต้องจ่ายค่าโดยสารเท่าใด?
ประเด็นที่ห้า เกี่ยวข้องกับที่ฝ่ายค้านท้วงติงว่ารถบัสใช้ก๊าซเอ็นจีวีจำนวน 4,000 คัน หากซื้อก็ใช้เงินเพียง 10,000 ล้านบาท ควรที่จะต้องใช้วิธีซื้อ ไม่มีเหตุผลที่จะต้องใช้วิธีเช่า ซึ่งต้องใช้เงินถึง 70,000 ล้านบาท เรื่องนี้มีการระบุว่าที่ต้องกลายเป็นค่าเช่าวันละ 4,780 บาท เพราะมีการคิดต้นทุนจากดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10.25 ต่อปี เป็นเวลา 10 ปี
และยังอ้างอีกว่าสำนักบริหารหนี้สาธารณะทักท้วงว่าควรใช้อัตราร้อยละ 9 ต่อปี ซึ่งพร้อมที่จะใช้อัตราร้อยละ 9 ต่อปี ตามที่สำนักบริหารหนี้สาธารณะท้วงติง ประหนึ่งว่าตอบคำถามแทนบริษัทจีนไปเสียแล้ว
ประเด็นสำคัญมันอยู่ตรงที่ความไม่มีเหตุผลที่จะต้องไปยอมรับอัตราดอกเบี้ยเข้าเป็นต้นทุนของบริษัทจีน เพราะไม่ใช่กงการอะไรของ ขสมก. เนื่องจากต้นทุนของผู้ให้เช่าก็คือราคาทุนของรถ ซึ่งเขาเรียกเก็บค่าเช่าอยู่แล้ว และอัตราดอกเบี้ยนั้น รัฐวิสาหกิจสามารถหาเงินกู้ได้เพียงร้อยละ 3-5 ต่อปีเท่านั้น แล้วเหตุใดต้องไปยอมรับอัตราที่ธนาคารหน้าเลือดบางแห่งเรียกเอาจากอาตี๋อาแปะถึงร้อยละ 9 ต่อปีเล่า?
ตรงนี้ถ้าหากมีความคิดจิตใจเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน หรือเป็นธุรกิจของตนเอง จะยอมรับเงื่อนไขแบบนี้ได้หรือ?
ดังนั้นคณะรัฐมนตรีและประชาชนชาวไทยจึงไม่ควรไปให้ความสนใจกับเหตุผลที่ไม่ตั้งต้นอยู่กับผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเหล่านี้เป็นอันขาด
ข้อพิจารณาสำหรับรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เกี่ยวกับโครงการนี้อยู่ตรงที่ประเด็นดังต่อไปนี้
ข้อที่หนึ่ง โครงการนี้ดั้งเดิมเริ่มขึ้นในปี 2547 ซึ่งเศรษฐกิจกำลังบูม และยังไม่มีโครงการรถไฟฟ้าหลากสายดังที่เป็นอยู่ กำหนดจัดหารถเพียง 2,000 คันเท่านั้น ขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ และกำลังประสบปัญหาทางการเงิน ทั้งมีรถไฟฟ้าใต้ดินมากหลายอยู่แล้ว จำเป็นที่จะต้องมีโครงการนี้ต่อไปหรือไม่? ซึ่งวิญญูชนย่อมเห็นได้ว่าหมดความจำเป็นไปนานแล้ว
ข้อที่สอง ถ้าอยากจะจัดหารถบัสใช้ก๊าซเอ็นจีวีมาบริการประชาชน ก็สามารถเลือกวิธีให้บริษัทจีนมาลงทุนเองทั้งหมด แล้วแบ่งกำไรให้เขาไปแค่ 40% โดยไม่ต้องเสี่ยงกับการขาดทุน และไม่ต้องถูกครหาว่าขี้โกง จะไม่ดีกว่าที่จะต้องลงทุนเองแบบเสี่ยงขาดทุนมหาศาลและไม่มีอนาคตดอกหรือ?
ข้อที่สาม ถ้ายังดันทุรังจะจัดหารถบัสใช้ก๊าซเอ็นจีวีจำนวน 4,000 คันให้ได้ ก็ควรใช้วิธีซื้อทั้งจำนวน ก็จะใช้เงินเพียงหมื่นล้านบาทดังที่ฝ่ายค้านระบุ จะไม่ดีกว่าต้องใช้เงินแพงขึ้นถึง 60,000 ล้านบาทดอกหรือ
และถ้าจะให้ดีกว่านั้น เพียงแค่นำเข้าเครื่องจักรและชัชซีรถแล้วให้ผู้ประกอบการในประเทศต่อตัวถังรถเพื่อเพิ่มการจ้างงานภายในประเทศก็จะแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไปด้วย
ให้ดีกว่านั้นอีก ก็ให้รถร่วมทั้งหลายเป็นผู้ลงทุน โดย ขสมก. ไม่ต้องควักเงินให้เป็นภาระหนี้แผ่นดินก็จะยิ่งประเสริฐกว่าเป็นไหนๆ
ก็ต้องติดตามดูกันให้ดี เพราะอาจเป็นไปดังที่เขาว่ากันนั่นแหละว่า “กูจะโกงเสียอย่าง มึงจะทำอะไรกูได้!”