ASTVผู้จัดการรายวัน - “โสภณ” ยันค่าซ่อมบำรุงเช่าเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน 7.50 บาทต่อ กม. เป็นฐานแต่คุณภาพอาจไม่ปลอดภัย ยัน ขสมก.เสนอตัวเลขค่าซ่อมบำรุงตามมาตรฐานการบริการสาธารณะ โต้ข้อมูลสถาบันพระปกเกล้าคนละมาตรฐาน ยางหล่อดอก เครื่องยนต์มือสอง ขณะที่ ขสมก.ใช้ของใหม่หมด เผยราคาทั้งโครงการลดจาก 69,788 ล้านบาท เหลือ 67,900 ล้านบาท หลังลดค่าดอกเบี้ยลงเหลือ 9% แจ้นรายงาน ”อภิสิทธิ์” ปูทางเข็นเข้า ครม.ใหม่สัปดาห์หน้า
วานนี้ (21 พ.ค.) คณะกรรมการพิเศษร่วม 3 ฝ่าย ประกอบด้วย กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง ได้ประชุมเพื่อทบทวนราคา โครงการเช่ารถโดยสารปรับอากาศที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง หรือ รถเมล์เอ็นจีวีจำนวน 4,000 คัน ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ตามความเห็นของคณะรัฐมนตรี ซึ่งนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ได้หารือถึงประเด็นค่าซ่อมบำรุงที่ ขสมก.เสนอ 7.50 บาทต่อกม.ขณะที่ผลศึกษาของสถาบันพระปกเกล้าเสนอ 4.50 บาทต่อกม.นั้นเกิดจากฐานการคิดที่ต่างกัน โดยยืนยันว่าราคาที่ขสมก.เสนออ้างอิงมาจากราคาที่ทำได้จริงในอดีต
นายโสภณกล่าวว่า ที่ประชุมยอมรับราคาค่าซ่อมที่ 7.50 บาทต่อกม. ซึ่งตนพร้อมยอมรับความเห็นของทุกฝ่าย และหากสรุปผลครั้งนี้แล้วหวังว่าจะจบได้ และสังคมคงต้องรับฟังเหตุผลของขสมก.ด้วย โดยเฉพาะค่าซ่อมบำรุง รถบริการสาธารณะที่วิ่ง 300 กม.ทุกวัน ค่าซ่อมสูงกว่าค่าเช่าเป็นเรื่องปกติ การเสนอตัวเลขของขสมก.ใช้พื้นฐานข้อเท็จจริงพิจารณาว่าอีก 10 ปีข้างหน้าต้องซ่อมอะไรบ้าง และโครงการนี้ไม่ได้ใช้งบประมาณรัฐไปดำเนินการ แต่เป็นการกำหนดทีโออาร์ให้เอกชนเข้ามาลงทุน แต่หากตั้งราคากลางที่เอกชนเข้ามาทำแล้วขาดทุน จะมีเอกชนประเทศไหนเข้ามาลงทุน
“ผมรายงานการหารือของที่ประชุม 3 ฝ่ายตามที่ครม.ให้มาดำเนินการต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แล้ว ข้อเสนอของขสมก.เพื่อต้องการให้คนกรุงเทพฯ ได้ใช้บริการรถที่ดีมีคุณภาพ และเชื่อว่า จะสรุปเรื่องทั้งหมดได้ เพื่อเสนอครม.พิจารณาในสัปดาห์หน้าแน่นอน และจะเสนอแผนฟื้นฟูการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เข้าไปพร้อมกันด้วย”นายโสภณกล่าว
ทั้งนี้ ค่าซ่อมบำรุงขสมก. 7.50 บาทต่อกม.นั้น ใช้มาตรฐานยางใหม่ทั้งหมดในการปรับเปลี่ยนหลังครบอายุการใช้งาน รวมถึงเครื่องยนต์ก็เป็นของใหม่ ขณะที่ราคาที่สถาบันพระปกเกล้าเสนอ 4.50บาทต่อกม.นั้น ใช้ยางหล่อดอก และใช้เครื่องยนต์มือสอง
นายโสภณกล่าวว่า ขสมก.ใช้ยางใหม่ เครื่องยนต์ใหม่เปลี่ยนเมื่อครบกำหนดการใช้งานนั้น เพื่ดลดภาระค่าเชื้อเพลิง ค่าซ่อมบำรุง และต้องการรักษามาตรฐานความปลอดภัย เพราะรถดังกล่าวนำมาให้บริการสาธารณะต่อประชาชนจะต้องให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัย และทีโออาร์ยังกำหนดให้มีรถสำรองอีก 10% กรณีที่รถเสีย ต้องมีรถใหม่เข้ามาให้บริการแทนภายใน 3 ชั่วโมง โดยจะมีคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานของเอกชนตามเงื่อนไขในทีโออาร์ด้วย
โดยกรอบวงเงินค่าเช่ารถเอ็นจีวี 4,000 คัน ล่าสุดปรับลดจาก 69,788 ล้านบาทเหลือ 67,900 ล้านบาทเนื่องจากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก9.875% เหลือ 9% ส่วนราคากลางเฉลี่ยของรถปรับลดจากคันละ 6 ล้านบาทเหลือ 5 ล้านบาท ตามเงื่อนไขที่ปรับจากรถนำเข้าเป็นรถผลิตในประเทศไม่ต่ำกว่า 70% ขณะที่เงื่อนไขการเช่าอู่ที่ถูกสงสัยว่าไม่โปร่งใสนั้นก็ปรับให้ใช้วิธีการเช่าใช้ที่ดินของส่วนราชการก่อน หากไม่มีก็ให้ซื้อก็ได้ เพื่อความโปร่งใส
“ราคาค่าซ่อมบำรุงที่ขสมก.ใช้อ้างอิงเป็นค่าซ่อมที่ขสมก.ทำมาในอดีต เช่น รถยูโรทู ค่าซ่อมบำรุงเฉลี่ยที่ 9 บาทต่อกม. ดังนั้นถ้าไม่ยอมรับราคานี้ก็คงไม่ได้ เพราะการจัดซื้อจัดจ้างที่ผ่านมาของขสมก.ทำตามระเบียบพัสดุสำนักนายกรัฐมนตรี ต้องให้ความเป็นธรรมกับขสมก.ด้วย จะไปบอกว่าแพง ก็เท่ากับที่ผ่านมา ขสมก.ซ่อมแพง
ก็คงต้องกลับไปรื้อเรื่องในอดีตด้วย”นายโสภณกล่าว.
วานนี้ (21 พ.ค.) คณะกรรมการพิเศษร่วม 3 ฝ่าย ประกอบด้วย กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง ได้ประชุมเพื่อทบทวนราคา โครงการเช่ารถโดยสารปรับอากาศที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง หรือ รถเมล์เอ็นจีวีจำนวน 4,000 คัน ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ตามความเห็นของคณะรัฐมนตรี ซึ่งนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ได้หารือถึงประเด็นค่าซ่อมบำรุงที่ ขสมก.เสนอ 7.50 บาทต่อกม.ขณะที่ผลศึกษาของสถาบันพระปกเกล้าเสนอ 4.50 บาทต่อกม.นั้นเกิดจากฐานการคิดที่ต่างกัน โดยยืนยันว่าราคาที่ขสมก.เสนออ้างอิงมาจากราคาที่ทำได้จริงในอดีต
นายโสภณกล่าวว่า ที่ประชุมยอมรับราคาค่าซ่อมที่ 7.50 บาทต่อกม. ซึ่งตนพร้อมยอมรับความเห็นของทุกฝ่าย และหากสรุปผลครั้งนี้แล้วหวังว่าจะจบได้ และสังคมคงต้องรับฟังเหตุผลของขสมก.ด้วย โดยเฉพาะค่าซ่อมบำรุง รถบริการสาธารณะที่วิ่ง 300 กม.ทุกวัน ค่าซ่อมสูงกว่าค่าเช่าเป็นเรื่องปกติ การเสนอตัวเลขของขสมก.ใช้พื้นฐานข้อเท็จจริงพิจารณาว่าอีก 10 ปีข้างหน้าต้องซ่อมอะไรบ้าง และโครงการนี้ไม่ได้ใช้งบประมาณรัฐไปดำเนินการ แต่เป็นการกำหนดทีโออาร์ให้เอกชนเข้ามาลงทุน แต่หากตั้งราคากลางที่เอกชนเข้ามาทำแล้วขาดทุน จะมีเอกชนประเทศไหนเข้ามาลงทุน
“ผมรายงานการหารือของที่ประชุม 3 ฝ่ายตามที่ครม.ให้มาดำเนินการต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แล้ว ข้อเสนอของขสมก.เพื่อต้องการให้คนกรุงเทพฯ ได้ใช้บริการรถที่ดีมีคุณภาพ และเชื่อว่า จะสรุปเรื่องทั้งหมดได้ เพื่อเสนอครม.พิจารณาในสัปดาห์หน้าแน่นอน และจะเสนอแผนฟื้นฟูการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เข้าไปพร้อมกันด้วย”นายโสภณกล่าว
ทั้งนี้ ค่าซ่อมบำรุงขสมก. 7.50 บาทต่อกม.นั้น ใช้มาตรฐานยางใหม่ทั้งหมดในการปรับเปลี่ยนหลังครบอายุการใช้งาน รวมถึงเครื่องยนต์ก็เป็นของใหม่ ขณะที่ราคาที่สถาบันพระปกเกล้าเสนอ 4.50บาทต่อกม.นั้น ใช้ยางหล่อดอก และใช้เครื่องยนต์มือสอง
นายโสภณกล่าวว่า ขสมก.ใช้ยางใหม่ เครื่องยนต์ใหม่เปลี่ยนเมื่อครบกำหนดการใช้งานนั้น เพื่ดลดภาระค่าเชื้อเพลิง ค่าซ่อมบำรุง และต้องการรักษามาตรฐานความปลอดภัย เพราะรถดังกล่าวนำมาให้บริการสาธารณะต่อประชาชนจะต้องให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัย และทีโออาร์ยังกำหนดให้มีรถสำรองอีก 10% กรณีที่รถเสีย ต้องมีรถใหม่เข้ามาให้บริการแทนภายใน 3 ชั่วโมง โดยจะมีคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานของเอกชนตามเงื่อนไขในทีโออาร์ด้วย
โดยกรอบวงเงินค่าเช่ารถเอ็นจีวี 4,000 คัน ล่าสุดปรับลดจาก 69,788 ล้านบาทเหลือ 67,900 ล้านบาทเนื่องจากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก9.875% เหลือ 9% ส่วนราคากลางเฉลี่ยของรถปรับลดจากคันละ 6 ล้านบาทเหลือ 5 ล้านบาท ตามเงื่อนไขที่ปรับจากรถนำเข้าเป็นรถผลิตในประเทศไม่ต่ำกว่า 70% ขณะที่เงื่อนไขการเช่าอู่ที่ถูกสงสัยว่าไม่โปร่งใสนั้นก็ปรับให้ใช้วิธีการเช่าใช้ที่ดินของส่วนราชการก่อน หากไม่มีก็ให้ซื้อก็ได้ เพื่อความโปร่งใส
“ราคาค่าซ่อมบำรุงที่ขสมก.ใช้อ้างอิงเป็นค่าซ่อมที่ขสมก.ทำมาในอดีต เช่น รถยูโรทู ค่าซ่อมบำรุงเฉลี่ยที่ 9 บาทต่อกม. ดังนั้นถ้าไม่ยอมรับราคานี้ก็คงไม่ได้ เพราะการจัดซื้อจัดจ้างที่ผ่านมาของขสมก.ทำตามระเบียบพัสดุสำนักนายกรัฐมนตรี ต้องให้ความเป็นธรรมกับขสมก.ด้วย จะไปบอกว่าแพง ก็เท่ากับที่ผ่านมา ขสมก.ซ่อมแพง
ก็คงต้องกลับไปรื้อเรื่องในอดีตด้วย”นายโสภณกล่าว.