ASTVผู้จัดการรายวัน - อาศัยจังหวะบ้านเมืองวุ่น! บอร์ด ขสมก.เห็นชอบร่างทีโออาร์โครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน ทำเก๋สั่งทบทวนกรอบวงเงิน หลังตัดบางเงื่อนไขออก เปิดเชิญชวนใน เม.ย.นี้ เมินข้อท้วง กมธ.คมนาคมชี้เป็นเรื่องความเห็น
นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดขสมก.วานนี้ (30 มี.ค.) ว่า ที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบร่างการประกวดราคา (ทีโออาร์) โครงการเช่ารถโดยสารพร้อมอุปกรณ์และซ่อมแซมบำรุงรักษารถยนต์โดยสารปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติ (CNG) เป็นเชื้อเพลิง จำนวน 4,000 คัน ซึ่งคาดว่าภายในเดือนเม.ย.นี้จะสามรถดำเนินการประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมประมูลได้
ทั้งนี้บอร์ดได้ให้ฝ่ายบริหาร ขสมก.กลับไปทบทวนกรอบวงเงินของโครงการให้มีความชัดเจนอีกครั้ง จากที่มีการปรับกรอบวงเงินของโครงการปรับลดลงจากเดิม 4,843 ล้านบาทเหลือ 4,794 ล้านบาท แล้วเนื่องจากเมื่อวันที่ 23 ก.พ. ที่ผ่านมา บอร์ดได้เห็นชอบให้มีการตัดศูนย์จัดการควบคุมระบบตั๋วโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ทิกเก็ต) และระบบการเดินรถเขตลงเหลือ14 ศูนย์ จากเดิม 21 ศูนย์ รวมทั้งยกเลิกการติดตั้งระบบ CCTV และในส่วนของเครื่องช่วยฝึกสอนขับรถยนต์โดยสารด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (SIMULATOR) ออกไป
ส่วนกรณีที่ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร แสดงความเห็นว่า ควรยกเลิกโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันเนื่องจากโครงการดังกล่าวเสี่ยงต่อการทำให้ขสมก.ขาดทุนสะสมและอาจเป็นโครงการที่ล้มเหลวในอนาคต นั้น นายปิยะพันธ์ กล่าวว่า คงเป็นความเห็นที่ไม่ตรงกัน ซึ่ง ขสมก.จะต้องมีการชี้แจงอีกครั้ง เพราะโครงการดังกล่าวจะช่วยลดภาระหนี้สะสมของขสมก.กว่า 60,000 ล้านบาท
“การที่จะประกาศเชิญชวนเอกชนได้เมื่อไรนั้น อยู่ที่ความพร้อมของขสมก. เพราะต้องมีการทำร่างสัญญาแนบท้ายทีโออาร์ที่ประกาศด้วย โดยคาดว่าในเดือนเม.ย.นี้จะดำเนินการได้เรียบร้อยและก็คงจะประกาศเชิญชวนได้เลย” นายปิยะพันธ์ กล่าว
ด้านนายนเรศ บุญเปี่ยม รองผู้อำนวยการ (ฝ่ายบริหาร) ขสมก. ในฐานะประธานคณะกรรมการประกวดราคาโครงการเช่ารถโดยสาร ใช้ก๊าซธรรมชาติ 4,000 คัน กล่าวว่า จะหารือกับผู้อำนวยการ ขสมก.ถึงแนวทางการกำหนดกรอบระยะเวลาต่างๆ จากนั้นจะนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าการพิจารณาดังกล่าวจะนำเสนอพร้อมกับแผนฟื้นฟูองค์กร และขั้นตอนสุดท้ายจะต้องเสนอ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการดังกล่าวก่อนหน้านี้มีปัญหามาโดยตลอด ทั้งในเรื่องของจำนวนรถที่จะเช่าซื้อ วิธีการดำเนินการ และประเภทของรถที่จะใช้ ซึ่งล่าสุดเมื่อต้นเดือนมีนาคมนี้เอง ทางกระทรวงการคลังโดยนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีแนวคิดที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นเพื่อพิจารณาปรับเงื่อนไขหรือทีโออาร์ ในส่วนที่กำหนดให้ผู้ประกอบการนำเข้าทั้งหมด เป็นต้องใช้รถที่ประกอบในประเทศ 75% หรือประมาณ 2,800 คัน และให้นำเข้าเพียง 1,200 คัน รวมทั้งพิจารณาขยายเวลาส่งมอบ เพื่อลดผลกระทบของผู้ประกอบการ
ขณะที่นายชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ในฐานะคณะกรรมการ ขสมก.ก็เคยกล่าวไว้ว่า ขณะนี้คณะกรรมการขสมก. มีข้อมูลมากเพียงพอที่จะสรุปร่างทีโออาร์ก่อนที่จะเปิดประมูล ซึ่งคาดว่าจะเริ่มประกาศขายซองเดือนมีนาคม โดยทีโออาร์ล่าสุดนั้น กำหนดที่จะให้การจัดหารถเช่าต้องเป็นรถในประทศ 70% เพราะจะช่วยทำให้ผู้ประกอบการของคนไทยมีโอกาสการเข้าร่วมโครงการนี้มากขึ้นด้วย อีกทั้งการที่ได้ปรับหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่มีผู้เสนอมา ส่งผลดีต่อค่าเช่ารถเมล์เอ็นจีวีขณะนี้เหลือเพียง 4,700 บาท จากเดิมค่าเช่าอยู่ที่ 5,100 บาท และหากแก้ไขเรื่องอู่จอดรถ และการปรับอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ก็จะสามารถปรับอัตราค่าเช่าลงได้อีกด้วย
นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดขสมก.วานนี้ (30 มี.ค.) ว่า ที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบร่างการประกวดราคา (ทีโออาร์) โครงการเช่ารถโดยสารพร้อมอุปกรณ์และซ่อมแซมบำรุงรักษารถยนต์โดยสารปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติ (CNG) เป็นเชื้อเพลิง จำนวน 4,000 คัน ซึ่งคาดว่าภายในเดือนเม.ย.นี้จะสามรถดำเนินการประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมประมูลได้
ทั้งนี้บอร์ดได้ให้ฝ่ายบริหาร ขสมก.กลับไปทบทวนกรอบวงเงินของโครงการให้มีความชัดเจนอีกครั้ง จากที่มีการปรับกรอบวงเงินของโครงการปรับลดลงจากเดิม 4,843 ล้านบาทเหลือ 4,794 ล้านบาท แล้วเนื่องจากเมื่อวันที่ 23 ก.พ. ที่ผ่านมา บอร์ดได้เห็นชอบให้มีการตัดศูนย์จัดการควบคุมระบบตั๋วโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ทิกเก็ต) และระบบการเดินรถเขตลงเหลือ14 ศูนย์ จากเดิม 21 ศูนย์ รวมทั้งยกเลิกการติดตั้งระบบ CCTV และในส่วนของเครื่องช่วยฝึกสอนขับรถยนต์โดยสารด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (SIMULATOR) ออกไป
ส่วนกรณีที่ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร แสดงความเห็นว่า ควรยกเลิกโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันเนื่องจากโครงการดังกล่าวเสี่ยงต่อการทำให้ขสมก.ขาดทุนสะสมและอาจเป็นโครงการที่ล้มเหลวในอนาคต นั้น นายปิยะพันธ์ กล่าวว่า คงเป็นความเห็นที่ไม่ตรงกัน ซึ่ง ขสมก.จะต้องมีการชี้แจงอีกครั้ง เพราะโครงการดังกล่าวจะช่วยลดภาระหนี้สะสมของขสมก.กว่า 60,000 ล้านบาท
“การที่จะประกาศเชิญชวนเอกชนได้เมื่อไรนั้น อยู่ที่ความพร้อมของขสมก. เพราะต้องมีการทำร่างสัญญาแนบท้ายทีโออาร์ที่ประกาศด้วย โดยคาดว่าในเดือนเม.ย.นี้จะดำเนินการได้เรียบร้อยและก็คงจะประกาศเชิญชวนได้เลย” นายปิยะพันธ์ กล่าว
ด้านนายนเรศ บุญเปี่ยม รองผู้อำนวยการ (ฝ่ายบริหาร) ขสมก. ในฐานะประธานคณะกรรมการประกวดราคาโครงการเช่ารถโดยสาร ใช้ก๊าซธรรมชาติ 4,000 คัน กล่าวว่า จะหารือกับผู้อำนวยการ ขสมก.ถึงแนวทางการกำหนดกรอบระยะเวลาต่างๆ จากนั้นจะนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าการพิจารณาดังกล่าวจะนำเสนอพร้อมกับแผนฟื้นฟูองค์กร และขั้นตอนสุดท้ายจะต้องเสนอ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการดังกล่าวก่อนหน้านี้มีปัญหามาโดยตลอด ทั้งในเรื่องของจำนวนรถที่จะเช่าซื้อ วิธีการดำเนินการ และประเภทของรถที่จะใช้ ซึ่งล่าสุดเมื่อต้นเดือนมีนาคมนี้เอง ทางกระทรวงการคลังโดยนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีแนวคิดที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นเพื่อพิจารณาปรับเงื่อนไขหรือทีโออาร์ ในส่วนที่กำหนดให้ผู้ประกอบการนำเข้าทั้งหมด เป็นต้องใช้รถที่ประกอบในประเทศ 75% หรือประมาณ 2,800 คัน และให้นำเข้าเพียง 1,200 คัน รวมทั้งพิจารณาขยายเวลาส่งมอบ เพื่อลดผลกระทบของผู้ประกอบการ
ขณะที่นายชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ในฐานะคณะกรรมการ ขสมก.ก็เคยกล่าวไว้ว่า ขณะนี้คณะกรรมการขสมก. มีข้อมูลมากเพียงพอที่จะสรุปร่างทีโออาร์ก่อนที่จะเปิดประมูล ซึ่งคาดว่าจะเริ่มประกาศขายซองเดือนมีนาคม โดยทีโออาร์ล่าสุดนั้น กำหนดที่จะให้การจัดหารถเช่าต้องเป็นรถในประทศ 70% เพราะจะช่วยทำให้ผู้ประกอบการของคนไทยมีโอกาสการเข้าร่วมโครงการนี้มากขึ้นด้วย อีกทั้งการที่ได้ปรับหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่มีผู้เสนอมา ส่งผลดีต่อค่าเช่ารถเมล์เอ็นจีวีขณะนี้เหลือเพียง 4,700 บาท จากเดิมค่าเช่าอยู่ที่ 5,100 บาท และหากแก้ไขเรื่องอู่จอดรถ และการปรับอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ก็จะสามารถปรับอัตราค่าเช่าลงได้อีกด้วย