ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต
วันนี้ 17 พฤษภาคม 2552 ทำให้นึกถึงวันเดียวกันนี้ เมื่อ 17 ปีก่อน (17 พ.ค. 2535) และลำดับเทียบเคียงถึงวันเดียวกันนี้ เมื่อปีที่แล้ว (17 พ.ค. 2551)
วันนี้ เมื่อ 17 ปีที่แล้ว
17-19 พฤษภาคม 2535 ถูกจารึกในประวัติศาสตร์ ว่าเป็นเหตุการณ์ต่อสู้ขับไล่การสืบทอดอำนาจเผด็จการทหาร จนเกิดเหตุโศกนาฎกรรม “พฤษภาทมิฬ” ที่มีประชาชนถูกเข่นฆ่าจำนวนมาก
เหตุการณ์ดังกล่าว มีมูลเหตุมาจากความชั่วร้ายของการเมืองก่อนหน้านั้น ที่มีพฤติกรรมโกงกิน ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสื่อมศรัทธาในหมู่ประชาชน รัฐบาลพลเอกชาติชายถึงกับถูกขนานนามว่าเป็นรัฐบาลบุฟเฟต์คาบิเนต หรือ “กินตามอำเภอใจ” ในที่สุด คณะทหารในนาม “คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ” หรือ “รสช.” ก็ใช้เป็นเงื่อนไขทำรัฐประหาร ล้มล้างรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยมีพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ เป็นหัวหน้า รสช. อ้างเหตุที่ต้องทำรัฐประหาร เช่น
กล่าวว่า รัฐบาลมีพฤติกรรมฉ้อราษฎร์บังหลวง ใช้อำนาจทางการเมืองแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองและพรรคพวก รวมทั้งข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจระดับสูงบางคน แต่นายกฯ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลไม่แก้ไขอย่างจริงจัง กลับออกหน้าแทนนักการเมืองว่า หากพบผู้ใดประพฤติมิชอบให้เอาใบเสร็จมายืนยันด้วย
กล่าวว่า การเมืองเป็นเผด็จการทางรัฐสภา ใช้ผลประโยชน์เป็นตัวนำการเมือง การวางตัวบุคคลในตำแหน่งสำคัญทั้งทางการเมืองและข้าราชการประจำตกอยู่กับพรรคพวกนายกรัฐมนตรีทั้งสิ้น เป็นช่องทางที่ก่อให้เกิดการกอบโกยผลประโยชน์
กล่าวว่า มีการบิดเบือนคดีล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ปี 2525 (พลตรีมนูญ รูปขจร และคณะ)
กล่าวว่า มีการทำลายสถาบันทางทหาร เพราะทหารไม่ยอมตกอยู่ใต้อิทธิพลทางการเมืองของนักการเมือง รัฐบาลแสดงการเผชิญหน้ากับฝ่ายทหารมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นกรณีลิตเติลดั๊ก รถวิทยุสื่อสารเคลื่อนที่ การไม่ปลดร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง จากการเป็นรัฐมนตรีตามสัญญาสุภาพบุรุษ เป็นต้น
กล่าวว่า นักการเมืองใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงราชการประจำผู้ซื่อสัตย์สุจริต ผู้ไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือนักการเมืองรับราชการไม่เจริญก้าวหน้า ถูกข่มเหงรังแก
หลังการรัฐประหาร 23 ก.พ. 2534 คณะ รสช.ได้เลือกคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญใหม่
ระหว่างนั้น บรรดานักการเมืองที่ถูกทำรัฐประหาร แม้จะไม่เห็นด้วยหรือกระทั่งไม่ยอมรับ แต่นักการเมืองเหล่านั้นก็ไม่ออกมาเคลื่อนไหว ปลุกระดมประชาชนต่อต้าน ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ก่อจลาจลเผาบ้านเผาเมือง หรือนำมวลชนออกมาต่อสู้เพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนตัวด้วยความรุนแรง
หลังการรัฐประหารของ รสช. 2534 รสช.ได้แสดงออกถึงความต้องการจะอยู่ในอำนาจการเมืองต่อไป โดยตั้งพรรคสามัคคีธรรม ลงเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2535 กระทั่งได้เป็นแกนนำรัฐบาล ก่อนที่จะเสนอตัวพลเอกสุจินดา คราประยูร แกนนำ รสช. ซึ่งไม่ได้เป็น ส.ส. ให้เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นเหตุให้ถูกประชาชนต่อต้านอย่างหนัก นำโดยพลตรีจำลอง ศรีเมือง !
การเมืองหลังรัฐประหาร 2534 แตกต่างจากรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 โดยสิ้นเชิง !
หลังการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ปรากฏว่า ประชาชนจำนวนมาก แห่ออกไปให้กำลังใจทหาร นำดอกไม้ไปให้ นำข้าวปลาอาหารไปสนับสนุน ขอบอกขอบใจทหาร อันเป็นท่าทีสนับสนุนให้มีการแก้ปัญหาบ้านเมืองตามที่ยกเป็นข้ออ้างของการรัฐประหาร 4 ข้อ คือ 1.ปัญหารัฐบาลทักษิณทุจริตคอร์รัปชั่น 2.ปัญหาการหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมราชานุภาพ 3.ปัญหาการบริหารราชการแผ่นดินแทรกแซงองค์กรอิสระ และ 4.ปัญหาการสร้างความแตกแยกรุนแรงในสังคมอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
ในประการสำคัญ หลังการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไคยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้แสดงเจตนาชัดเจนว่าไม่ต้องการอยู่ในอำนาจการเมืองยาวนาน ไม่ต้องการยึดอำนาจมาเป็นของตนเอง เมื่อยึดอำนาจล้มล้างรัฐบาลทักษิณออกไปแล้ว ก็ขอให้พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ (ซึ่งดำรงตำแหน่งองคมนตรีอยู่ก่อนหน้านั้น) เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารประเทศ โดยยืนยันชัดเจนตั้งแต่ต้นว่าจะอยู่ในอำนาจเพียงช่วงสั้นๆ ระหว่างรอการเลือกตั้งให้มีรัฐบาลชุดใหม่เท่านั้น ส่วน คปค.ก็สลายตัวไป กลายเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ซึ่งไม่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารประเทศ ในขณะเดียวกัน ก็มีกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการสรรหาและแต่งตั้งจากหลากหลายสาขาอาชีพ จากทั่วประเทศ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วทุกภูมิภาค และร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็ผ่านการลงประชามติของประชาชนทั่วประเทศ (รัฐธรรมนูญ 2550)
คณะทหารที่ทำรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ไม่ได้เข้ามามีอำนาจการเมืองอีกต่อไป ดังจะเห็นได้จากที่ประชาชนไม่เคยต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหลังจากนั้น ว่าเป็นรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารเลย (แต่วิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นรัฐบาลหุ่นเชิดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)
การเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่หลังจากนั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้นายสมัครมีความผิดเกี่ยวกับการมีผลประโยชน์ขัดกันในการไปรับจ้างทำรายการโทรทัศน์ของบริษัทเอกชน ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อไป และในที่สุด เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิพากษายุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมา จากการกระทำความผิดทุจริตการเลือกตั้ง ส.ส.ที่เคยอยู่ในสังกัดพรรคเหล่านั้นก็เป็นอิสระ สามารถหาสังกัดพรรคใหม่ และลงคะแนนเลือกให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี จนถึงปัจจุบัน
วันนี้ เมื่อ 17 ปีที่แล้ว (17 พ.ค. 2535) เป็นวันที่การชุมนุมใหญ่เพื่อประท้วงขับไล่พลเอกสุจินดา คราประยูร อย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นขึ้น โดยการนำของ “พลตรีจำลอง ศรีเมือง” ก่อนที่พลตรีจำลองจะถูกจับกุม เกิดเหตุนองเลือด เกิดความรุนแรงในบ้านเมือง และพลเอกสุจินดา ต้องลาออกในที่สุด
แต่น่าเศร้าใจ เมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (2540) มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ประเทศไทยกลับได้นักการเมืองอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาบิดเบือนทำลายรัฐธรรมนูญ ก่อกำเนิดเผด็จการทุนนิยมสามานย์ สร้างวงจรอุบาทว์ทางการเมืองเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม
วันนี้ เมื่อปีที่แล้ว
วันนี้ เมื่อปีที่แล้ว เป็นวันที่แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 25 พ.ค. 2551 เพื่อประท้วงต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อผลประโยชน์ตนเองของนักการเมืองระบอบทักษิณ ซึ่งต้องการจะลบล้างรัฐธรรมนูญมาตรา 237 และ 309 เพื่อล้มล้างการกระทำผิดทุจริตเลือกตั้งของตนเอง และล้มคดีทุจริตโกงกินที่ คตส.กำลังดำเนินคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณและพวก โดยยกเอาการแก้ไขในมาตรอื่นๆ เป็นเครื่องบังหน้า
พูดง่ายๆ ว่า นักการเมืองต้องการแก้รัฐธรรมนูญให้ตนเองพ้นผิด !
วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เป็นวันที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้กลับมาชุมนุมใหญ่เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี (นับตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549) โดยเริ่มต้นชุมนุมกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภายใต้การนำของแกนนำพันธมิตร ประกอบด้วย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายสนธิ ลิ้มทองกุล, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข, นายพิภพ ธงไชย และนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
เป็นการชุมนุมต่อเนื่องยาวนานถึง 193 วัน !
แม้ในระหว่างนั้น ประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุมถูกเจ้าหน้าที่รัฐ และคนชั่วใช้อาวุธยิงเข้าเข่นฆ่าทำร้ายหลายครั้ง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้มีคนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก แต่ผู้ชุมนุมและแกนนำผู้ชุมนุม ก็ไม่เคยใช้เป็นเงื่อนไขหรือข้ออ้างในการใช้ความรุนแรงตอบโต้ ยังคงสามารถควบคุมดูแลผู้ชุมนุมให้ชุมนุมอย่างสงบต่อไป โดยไม่ลุกฮือก่อจลาจล เผาบ้านเผาเมืองแต่อย่างใด
วันนี้ ของปีนี้
จะเรียกว่า อดีตของอนาคต หรืออนาคตของอดีต ล้วนก็คือปัจจุบัน.. วันนี้ !
17 พ.ค.2552 ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับปัญหาเดิม เมื่อ ปีที่แล้ว คือ นักการเมืองละพรรคการเมืองบางกลุ่มพยายามจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตนเองและพรรคพวกรอดพ้นความผิด ล้มคดีทุจริตโกงกินที่อยู่ในชั้นศาลยุติธรรม โดยลบล้างบทบัญญัติมาตรา 237 และมาตรา 309 ออกไปจากรัฐธรรมนูญ อาศัยกลวิธีเสนอแก้มาตราอื่นๆ เพียงเพื่อกลบเกลื่อน บังหน้า
ในวันที่ 25 พ.ค. 2552 นี้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นัดหมายชุมนุมในโอกาสวันครบรอบ 1 ปีของการชุมนุมของพันธมิตรฯ ตลอดระยะเวลา 193 วัน โดยจะมีการจัดกิจกรรมร่วมกัน และจะมีการแถลงจุดยืนของพันธมิตรฯ ต่อปัญหาบ้านเมืองในขณะนี้
สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาบ้านเมืองของเรา ยังคงอยู่เหมือนเดิม
พันธมิตรฯ ยังต้องออกมาต่อต้านความเลวร้ายแบบเดิมอีก
แกนนำประชาชนอย่างพลตรีจำลอง ศรีเมือง และท่านอื่นๆ ยังต้องออกมาต่อต้านความเลวร้ายของการเมือง ที่รัฐประหารในอดีตไม่สามารถจัดการได้ !
น่าคิดว่า... การแก้วิกฤติการจลาจลในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา สะท้อนว่า ทหารได้เรียนรู้ที่จะจัดการกับปัญหาการเมืองด้วยความระมัดระวัง ตลอดมีสติสำนึกถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และคุณค่าของประชาธิปไตยมากขึ้นกว่า 17 ปีที่แล้ว ทำให้เหตุการณ์เมษายน 2552 ไม่มีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากเหมือนเช่นพฤษภาทมิฬ 2535 ใช่หรือไม่ ?
น่าคิดว่า... การพยายามแก้ไขล้มล้างรัฐธรรมนูญของนักการเมืองและพรรคการเมืองในช่วงนี้ เหมือนกับที่เคยออกมาเคลื่อนไหวในช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว สะท้อนว่า นักการเมืองพวกนี้ไม่เคยสำเหนียกถึงความเสียหายที่จะมีต่อผลประโยชน์ส่วนรวม ยังคงมุ่งรับใช้คนๆ เดียว มุ่งสร้างทุนนิยมสามานย์ โดยไม่เคยสำนึกที่จะลดละเลิกในกิเลสและผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่มีความละอายต่อความชั่วและเกรงกลัวต่อบาปเพิ่มขึ้นบ้างเลย ใช่หรือไม่ ?
น่าคิดว่า... ในเมื่อวันนี้ นักการเมืองยังเป็นอย่างนี้ อนาคตของบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร ?
ประชาชนได้เรียนรู้อะไร? พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะมีคำตอบบางส่วนมาให้หรือไม่ ?
25 พ.ค. นี้ คงได้รู้
ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต
วันนี้ 17 พฤษภาคม 2552 ทำให้นึกถึงวันเดียวกันนี้ เมื่อ 17 ปีก่อน (17 พ.ค. 2535) และลำดับเทียบเคียงถึงวันเดียวกันนี้ เมื่อปีที่แล้ว (17 พ.ค. 2551)
วันนี้ เมื่อ 17 ปีที่แล้ว
17-19 พฤษภาคม 2535 ถูกจารึกในประวัติศาสตร์ ว่าเป็นเหตุการณ์ต่อสู้ขับไล่การสืบทอดอำนาจเผด็จการทหาร จนเกิดเหตุโศกนาฎกรรม “พฤษภาทมิฬ” ที่มีประชาชนถูกเข่นฆ่าจำนวนมาก
เหตุการณ์ดังกล่าว มีมูลเหตุมาจากความชั่วร้ายของการเมืองก่อนหน้านั้น ที่มีพฤติกรรมโกงกิน ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสื่อมศรัทธาในหมู่ประชาชน รัฐบาลพลเอกชาติชายถึงกับถูกขนานนามว่าเป็นรัฐบาลบุฟเฟต์คาบิเนต หรือ “กินตามอำเภอใจ” ในที่สุด คณะทหารในนาม “คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ” หรือ “รสช.” ก็ใช้เป็นเงื่อนไขทำรัฐประหาร ล้มล้างรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยมีพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ เป็นหัวหน้า รสช. อ้างเหตุที่ต้องทำรัฐประหาร เช่น
กล่าวว่า รัฐบาลมีพฤติกรรมฉ้อราษฎร์บังหลวง ใช้อำนาจทางการเมืองแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองและพรรคพวก รวมทั้งข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจระดับสูงบางคน แต่นายกฯ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลไม่แก้ไขอย่างจริงจัง กลับออกหน้าแทนนักการเมืองว่า หากพบผู้ใดประพฤติมิชอบให้เอาใบเสร็จมายืนยันด้วย
กล่าวว่า การเมืองเป็นเผด็จการทางรัฐสภา ใช้ผลประโยชน์เป็นตัวนำการเมือง การวางตัวบุคคลในตำแหน่งสำคัญทั้งทางการเมืองและข้าราชการประจำตกอยู่กับพรรคพวกนายกรัฐมนตรีทั้งสิ้น เป็นช่องทางที่ก่อให้เกิดการกอบโกยผลประโยชน์
กล่าวว่า มีการบิดเบือนคดีล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ปี 2525 (พลตรีมนูญ รูปขจร และคณะ)
กล่าวว่า มีการทำลายสถาบันทางทหาร เพราะทหารไม่ยอมตกอยู่ใต้อิทธิพลทางการเมืองของนักการเมือง รัฐบาลแสดงการเผชิญหน้ากับฝ่ายทหารมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นกรณีลิตเติลดั๊ก รถวิทยุสื่อสารเคลื่อนที่ การไม่ปลดร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง จากการเป็นรัฐมนตรีตามสัญญาสุภาพบุรุษ เป็นต้น
กล่าวว่า นักการเมืองใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงราชการประจำผู้ซื่อสัตย์สุจริต ผู้ไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือนักการเมืองรับราชการไม่เจริญก้าวหน้า ถูกข่มเหงรังแก
หลังการรัฐประหาร 23 ก.พ. 2534 คณะ รสช.ได้เลือกคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญใหม่
ระหว่างนั้น บรรดานักการเมืองที่ถูกทำรัฐประหาร แม้จะไม่เห็นด้วยหรือกระทั่งไม่ยอมรับ แต่นักการเมืองเหล่านั้นก็ไม่ออกมาเคลื่อนไหว ปลุกระดมประชาชนต่อต้าน ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ก่อจลาจลเผาบ้านเผาเมือง หรือนำมวลชนออกมาต่อสู้เพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนตัวด้วยความรุนแรง
หลังการรัฐประหารของ รสช. 2534 รสช.ได้แสดงออกถึงความต้องการจะอยู่ในอำนาจการเมืองต่อไป โดยตั้งพรรคสามัคคีธรรม ลงเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2535 กระทั่งได้เป็นแกนนำรัฐบาล ก่อนที่จะเสนอตัวพลเอกสุจินดา คราประยูร แกนนำ รสช. ซึ่งไม่ได้เป็น ส.ส. ให้เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นเหตุให้ถูกประชาชนต่อต้านอย่างหนัก นำโดยพลตรีจำลอง ศรีเมือง !
การเมืองหลังรัฐประหาร 2534 แตกต่างจากรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 โดยสิ้นเชิง !
หลังการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ปรากฏว่า ประชาชนจำนวนมาก แห่ออกไปให้กำลังใจทหาร นำดอกไม้ไปให้ นำข้าวปลาอาหารไปสนับสนุน ขอบอกขอบใจทหาร อันเป็นท่าทีสนับสนุนให้มีการแก้ปัญหาบ้านเมืองตามที่ยกเป็นข้ออ้างของการรัฐประหาร 4 ข้อ คือ 1.ปัญหารัฐบาลทักษิณทุจริตคอร์รัปชั่น 2.ปัญหาการหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมราชานุภาพ 3.ปัญหาการบริหารราชการแผ่นดินแทรกแซงองค์กรอิสระ และ 4.ปัญหาการสร้างความแตกแยกรุนแรงในสังคมอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
ในประการสำคัญ หลังการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไคยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้แสดงเจตนาชัดเจนว่าไม่ต้องการอยู่ในอำนาจการเมืองยาวนาน ไม่ต้องการยึดอำนาจมาเป็นของตนเอง เมื่อยึดอำนาจล้มล้างรัฐบาลทักษิณออกไปแล้ว ก็ขอให้พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ (ซึ่งดำรงตำแหน่งองคมนตรีอยู่ก่อนหน้านั้น) เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารประเทศ โดยยืนยันชัดเจนตั้งแต่ต้นว่าจะอยู่ในอำนาจเพียงช่วงสั้นๆ ระหว่างรอการเลือกตั้งให้มีรัฐบาลชุดใหม่เท่านั้น ส่วน คปค.ก็สลายตัวไป กลายเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ซึ่งไม่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารประเทศ ในขณะเดียวกัน ก็มีกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการสรรหาและแต่งตั้งจากหลากหลายสาขาอาชีพ จากทั่วประเทศ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วทุกภูมิภาค และร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็ผ่านการลงประชามติของประชาชนทั่วประเทศ (รัฐธรรมนูญ 2550)
คณะทหารที่ทำรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ไม่ได้เข้ามามีอำนาจการเมืองอีกต่อไป ดังจะเห็นได้จากที่ประชาชนไม่เคยต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหลังจากนั้น ว่าเป็นรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารเลย (แต่วิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นรัฐบาลหุ่นเชิดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)
การเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่หลังจากนั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้นายสมัครมีความผิดเกี่ยวกับการมีผลประโยชน์ขัดกันในการไปรับจ้างทำรายการโทรทัศน์ของบริษัทเอกชน ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อไป และในที่สุด เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิพากษายุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมา จากการกระทำความผิดทุจริตการเลือกตั้ง ส.ส.ที่เคยอยู่ในสังกัดพรรคเหล่านั้นก็เป็นอิสระ สามารถหาสังกัดพรรคใหม่ และลงคะแนนเลือกให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี จนถึงปัจจุบัน
วันนี้ เมื่อ 17 ปีที่แล้ว (17 พ.ค. 2535) เป็นวันที่การชุมนุมใหญ่เพื่อประท้วงขับไล่พลเอกสุจินดา คราประยูร อย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นขึ้น โดยการนำของ “พลตรีจำลอง ศรีเมือง” ก่อนที่พลตรีจำลองจะถูกจับกุม เกิดเหตุนองเลือด เกิดความรุนแรงในบ้านเมือง และพลเอกสุจินดา ต้องลาออกในที่สุด
แต่น่าเศร้าใจ เมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (2540) มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ประเทศไทยกลับได้นักการเมืองอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาบิดเบือนทำลายรัฐธรรมนูญ ก่อกำเนิดเผด็จการทุนนิยมสามานย์ สร้างวงจรอุบาทว์ทางการเมืองเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม
วันนี้ เมื่อปีที่แล้ว
วันนี้ เมื่อปีที่แล้ว เป็นวันที่แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 25 พ.ค. 2551 เพื่อประท้วงต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อผลประโยชน์ตนเองของนักการเมืองระบอบทักษิณ ซึ่งต้องการจะลบล้างรัฐธรรมนูญมาตรา 237 และ 309 เพื่อล้มล้างการกระทำผิดทุจริตเลือกตั้งของตนเอง และล้มคดีทุจริตโกงกินที่ คตส.กำลังดำเนินคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณและพวก โดยยกเอาการแก้ไขในมาตรอื่นๆ เป็นเครื่องบังหน้า
พูดง่ายๆ ว่า นักการเมืองต้องการแก้รัฐธรรมนูญให้ตนเองพ้นผิด !
วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เป็นวันที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้กลับมาชุมนุมใหญ่เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี (นับตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549) โดยเริ่มต้นชุมนุมกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภายใต้การนำของแกนนำพันธมิตร ประกอบด้วย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายสนธิ ลิ้มทองกุล, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข, นายพิภพ ธงไชย และนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
เป็นการชุมนุมต่อเนื่องยาวนานถึง 193 วัน !
แม้ในระหว่างนั้น ประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุมถูกเจ้าหน้าที่รัฐ และคนชั่วใช้อาวุธยิงเข้าเข่นฆ่าทำร้ายหลายครั้ง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้มีคนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก แต่ผู้ชุมนุมและแกนนำผู้ชุมนุม ก็ไม่เคยใช้เป็นเงื่อนไขหรือข้ออ้างในการใช้ความรุนแรงตอบโต้ ยังคงสามารถควบคุมดูแลผู้ชุมนุมให้ชุมนุมอย่างสงบต่อไป โดยไม่ลุกฮือก่อจลาจล เผาบ้านเผาเมืองแต่อย่างใด
วันนี้ ของปีนี้
จะเรียกว่า อดีตของอนาคต หรืออนาคตของอดีต ล้วนก็คือปัจจุบัน.. วันนี้ !
17 พ.ค.2552 ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับปัญหาเดิม เมื่อ ปีที่แล้ว คือ นักการเมืองละพรรคการเมืองบางกลุ่มพยายามจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตนเองและพรรคพวกรอดพ้นความผิด ล้มคดีทุจริตโกงกินที่อยู่ในชั้นศาลยุติธรรม โดยลบล้างบทบัญญัติมาตรา 237 และมาตรา 309 ออกไปจากรัฐธรรมนูญ อาศัยกลวิธีเสนอแก้มาตราอื่นๆ เพียงเพื่อกลบเกลื่อน บังหน้า
ในวันที่ 25 พ.ค. 2552 นี้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นัดหมายชุมนุมในโอกาสวันครบรอบ 1 ปีของการชุมนุมของพันธมิตรฯ ตลอดระยะเวลา 193 วัน โดยจะมีการจัดกิจกรรมร่วมกัน และจะมีการแถลงจุดยืนของพันธมิตรฯ ต่อปัญหาบ้านเมืองในขณะนี้
สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาบ้านเมืองของเรา ยังคงอยู่เหมือนเดิม
พันธมิตรฯ ยังต้องออกมาต่อต้านความเลวร้ายแบบเดิมอีก
แกนนำประชาชนอย่างพลตรีจำลอง ศรีเมือง และท่านอื่นๆ ยังต้องออกมาต่อต้านความเลวร้ายของการเมือง ที่รัฐประหารในอดีตไม่สามารถจัดการได้ !
น่าคิดว่า... การแก้วิกฤติการจลาจลในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา สะท้อนว่า ทหารได้เรียนรู้ที่จะจัดการกับปัญหาการเมืองด้วยความระมัดระวัง ตลอดมีสติสำนึกถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และคุณค่าของประชาธิปไตยมากขึ้นกว่า 17 ปีที่แล้ว ทำให้เหตุการณ์เมษายน 2552 ไม่มีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากเหมือนเช่นพฤษภาทมิฬ 2535 ใช่หรือไม่ ?
น่าคิดว่า... การพยายามแก้ไขล้มล้างรัฐธรรมนูญของนักการเมืองและพรรคการเมืองในช่วงนี้ เหมือนกับที่เคยออกมาเคลื่อนไหวในช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว สะท้อนว่า นักการเมืองพวกนี้ไม่เคยสำเหนียกถึงความเสียหายที่จะมีต่อผลประโยชน์ส่วนรวม ยังคงมุ่งรับใช้คนๆ เดียว มุ่งสร้างทุนนิยมสามานย์ โดยไม่เคยสำนึกที่จะลดละเลิกในกิเลสและผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่มีความละอายต่อความชั่วและเกรงกลัวต่อบาปเพิ่มขึ้นบ้างเลย ใช่หรือไม่ ?
น่าคิดว่า... ในเมื่อวันนี้ นักการเมืองยังเป็นอย่างนี้ อนาคตของบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร ?
ประชาชนได้เรียนรู้อะไร? พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะมีคำตอบบางส่วนมาให้หรือไม่ ?
25 พ.ค. นี้ คงได้รู้