“อภิสิทธิ์” สั่งตรวจสอบประมูลข้าวฉาว กังขาขาดทุนมโหฬาร “กอร์ปศักดิ์” ย้ำชัดพาณิชย์ต้องเสนอเรื่องประมูลขายข้าว 2.6 ล้านตัน ให้ กขช.และครม.อนุมัติก่อน ด้านพาณิชย์ไม่สนเร่งผู้ชนะประมูลทำสัญญาอ้างไม่จำเป็นต้องขออนุมัติแค่แจ้งให้ทราบเท่านั้น วุ่นเช็กสต็อกตรวจคุณภาพแก้เกมประมูลข้าวราคาต่ำเตรียมหาคำตอบให้นายกฯ พ่อค้ากลัวเสียใต้โต๊ะฟรี วิ่งเต้นลุยเอาข้าวออกจากโกดังจ้าละหวั่น โรงสีร้อง ครม.ล้มประมูลเหตุขายต่ำกว่าตลาดทำประเทศเจ๊งยับ จับตากระบวนการซื้อขายใบประทวนหลังรัฐบาลเพิ่มโควตาจำนำอีก 1.5 ล้านตัน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่โครงการรับจำนำสินค้าเกษตร ที่ส่อจะมีปัญหาว่า ประเด็นการระบายสินค้าเกษตรที่มีการแทรกแซงและอยู่ในสต็อกทั้งหมด คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มอบหมายให้ทางผู้ที่เกี่ยวข้องไปทำหลักเกณฑ์ในการระบาย ไม่ว่าจะเป็นข้าว มัน ข้าวโพด ก็อาจจะพิจารณาสัปดาห์นี้ หรือสัปดาห์หน้า เพราะอยู่ในเกณฑ์เดียวกันหมด ทั้งนี้ เราต้องดูแลให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม ในส่วนของข้าว ตนเข้าใจว่ายังไม่มีการอนุมัติในการระบาย
แหล่งข่าวกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หลังจากมีกระแสข่าวการประมูลข้าวในสต็อกของรัฐบาล 2.6 ล้านตันมีพิรุธในกระบวนการประมูลหลายประเด็นอีกทั้งยังทำให้รัฐฯขาดทุนย่อยยับกว่า 2 หมื่นล้านบาท นายกรัฐมนตรี ได้สอบถามเรื่องดังกล่าวมายังนางพรทิวา นาคาศัย รมว.กระทรวงพาณิชย์ และทางกระทรวงฯ ได้สั่งให้เชคสต็อก ตรวจคุณภาพข้าวเป็นการเร่งด่วน เพื่อเตรียมหาคำอธิบายสำหรับเรื่องดังกล่าวว่าเหตุใดจึงประมูลขายไปในราคาต่ำกว่าท้องตลาดมาก
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ปรากฏว่า มีการขนข้าวออกจากโกดังตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมาแล้ว เพราะพ่อค้าหวั่นเกรงว่า ผลการประมูลครั้งนี้อาจมีปัญหาไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ครม. ขณะที่พ่อค้ามีการจ่ายใต้โต๊ะให้นักการเมืองไปบางส่วนแล้ว เรื่องนี้ต้องตรวจสอบกันทั้งกระบวนการว่าใครเป็นผู้อนุมัติให้เอาข้าวออกไปจากโกดัง ทั้งที่ผลการประมูลยังไม่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และไม่ทราบว่าเอกสารค้ำประกันสัญญามีครบถ้วนแล้วหรือไม่
นอกจากนั้น เงื่อนไขประมูลที่กำหนดให้ต้องส่งออกภายใน 45 วัน ไม่เช่นนั้นจะโดนปรับ คำถามก็คือ จะส่งออกไปหมดทันเวลาได้อย่างไรแม้ว่าจะมีออเดอร์อยู่ในมือแล้วก็ตาม อาจมีข้าววกกลับเข้ามาไว้รอสวมเข้าโครงการรับจำนำข้าวนาปรัง 2552 ที่รัฐบาลเพิ่งอนุมัติเพิ่มจำนวน 1.5 ล้านตัน
กอร์ปศักดิ์ ย้ำครม.ต้องอนุมัติก่อน
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ดูแลด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า การประมูลสต็อกข้าวรัฐบาลที่กระทรวงพาณิชย์ กำลังดำเนินการอยู่นั้น พาณิชย์ต้องนำเรื่องเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อพิจารณาอนุมัติก่อน จากนั้นก็นำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติก่อนระบายหรือขายข้าวให้เอกชน ซึ่งมติครม.เมื่อวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา กำหนดหลักเกณฑ์เอาไว้อย่างชัดเจน
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า ตนยังไม่ทราบว่ากระทรวงพาณิชย์ เซ็นสัญญากับเอกชนในการขายข้าวดังกล่าวแล้วหรือไม่
นายกอร์ปศักดิ์ ตอบคำถามที่ว่า กรณีที่กระทรวงพาณิชย์ เร่งทำสัญญากับเอกชน เพื่อป้องกันตัวเองหากการประมูลดังกล่าวไม่ได้รับความเห็นชอบจากครม. เอกชนอาจใช้สิทธิ์ฟ้องร้องครม.เพราะทำให้เสียหายนั้นว่า เวลานี้ยังไม่ทราบว่าเซ็นสัญญากันไปแล้วหรือไม่ แต่การระบายสินค้าเกษตรใดๆ ก็ตาม หากทำหลังจากครม.มีมติเมื่อวันที่ 13 พ.ค. ก็ต้องยึดหลักเกณฑ์ที่กำหนดคือต้องให้ครม.อนุมัติเสียก่อน
มติครม.เมื่อวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา ให้กระทรวงพาณิชย์นำเรื่องการระบายสินค้าเกษตรทุกชนิด ที่อยู่ในโครงการรับจำนำ เสนอให้ครม.อนุมัติก่อนระบายหรือขายให้เอกชน เพราะเห็นว่าการระบายสินค้าเกษตรในโครงการรับจำนำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรช่วงที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานขาดทุนเป็นจำนวนมาก เงินที่นำมาไปใช้รับจำนำก็เป็นเงินภาษีของประชาชน เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น ครม.ต้องรับผิดชอบ ครม.จึงเห็นว่าการระบายสินค้าแต่ละชนิดควรต้องเสนอให้ ครม.พิจารณาก่อน
สำหรับสินค้าเกษตร 4 ชนิด ที่อยู่ในสต็อกรัฐบาลขณะนี้และกำลังระบายออกไปนั้นมีคณะกรรมการฯ เข้ามาดูแล คือ ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ขึ้นอยู่กับนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เรื่องข้าว อยู่ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะประธาน กขช. และยางพารา มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบ
พาณิชย์ไม่สน แค่แจ้งให้ทราบ
นายประพล มิลินทจินดา เลขานุการรมว.พาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงฯ จะรายงานผลการอนุมัติขายข้าวจำนวน 2 ล้านกว่าตัน ให้ กขช. ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กขช. รับทราบ ก่อนรายงาน ครม.รับทราบเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้องค์การคลังสินค้า (อคส.) สามารถทำสัญญาซื้อขายกับเอกชนผู้ชนะการประมูลได้เลย ไม่ต้องรอการอนุมัติ เพราะเป็นเพียงการแจ้งให้ กขช. และ ครม. รับทราบเท่านั้น
“ประเด็นที่ครม.มีมติให้การระบายสินค้าเกษตรทุกชนิดแล้วขาดทุน จะต้องแจ้งให้ครม.ทราบก่อนอนุมัติขายให้เอกชน เพื่อรับผิดชอบร่วมกัน เข้าใจว่าอาจเป็นหลักเกณฑ์ใหม่ ในการระบายสินค้าเกษตรครั้งต่อไป ไม่ใช่ครั้งนี้ เพราะการระบายข้าวทำอย่างถูกต้อง โดยได้รับการอนุมัติหลักเกณฑ์การระบายข้าวจากกขช.ก่อนหน้านี้แล้ว” นายประพลกล่าว
นายประพล กล่าวต่อว่า ขณะนี้ กระทรวงฯ อยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณภาพข้าวโกดังในพื้นที่ภาคกลาง หลังพบว่า มีการเสนอซื้อข้าวในราคาต่ำกว่าราคาตลาดตันละหลายพันบาท รวมถึงตรวจสอบบริษัทผู้ตรวจสอบข้าวที่รับผิดชอบการตรวจสอบโกดังต่างๆ ด้วย เนื่องจากมีเบาะแสว่าคุณภาพข้าวในหลายโกดังที่รัฐบาลรับจำนำมา มีคุณภาพต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
แหล่งข่าวจากวงการค้าข้าว กล่าวว่า ที่ผ่านมา การตรวจสอบคุณภาพข้าวตามโครงการรับจำนำค่อนข้างหละหลวม จนอาจมีผลกระทบต่อราคาระบายข้าวในอนาคต เพราะสามารถมองได้ว่าการที่ผู้ส่งออกเสนอซื้อข้าวในราคาต่ำมาก เพราะข้าวคุณภาพไม่ดีจริง หรืออีกกรณีหนึ่งต้องการซื้อราคาต่ำ แล้วได้รับความร่วมมือจากผู้มีอำนาจ และใช้ข้ออ้างว่าข้าวคุณภาพไม่ดี เพื่อกดราคาข้าวจึงอยากให้ กขช. ตรวจสอบด่วน รวมถึงขอให้ตรวจสอบขบวนการซื้อสิทธิใบประทวนล่วงหน้าโครงการรับจำนำระหว่างชาวนากับนายทุนท้องถิ่น เพื่อเก็งกำไรตันละ 2 พันบาท หลังจากที่รัฐบาลอนุมัติให้เพิ่มการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง 2552 อีก 1.5 ล้านตัน
นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ที่ประชุมการเปิดตลาดข้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟตา) ในวันที่ 22 พ.ค.นี้ จะพิจารณาแนวทางและมาตรการปกป้องการเปิดเสรีข้าว ที่จะกระทบกับราคาข้าวภายในประเทศ ต่อจากนั้นจะนำข้อสรุปไปรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ก่อนนำเสนอให้ที่ประชุมครม. เห็นชอบเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดเสรีข้าวอาฟตาที่จะเริ่มตั้งเดือนม.ค.2553
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า มาตรการที่จะใช้ในการเปิดเสรีข้าวอาฟตา จะพิจารณาว่าจะออกมาตรการดูแลข้าวประเภทใดระหว่างข้าวเปลือกและข้าวสาร รวมถึงพิจารณาว่าจะต้องใช้โควตานำเข้าหรือไม่ และการใช้มาตรการอื่นๆ เช่น การควบคุมด้านโรคพืช เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
โรงสีจี้ล้มประมูล
แหล่งข่าวจากสมาคมโรงสีข้าวไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ ต้องการให้ครม.พิจารณายกเลิกผลการประมูลสต็อกข้าวรัฐบาลที่กระทรวงพาณิชย์ เปิดระบายจำนวน 2.6 ล้านตัน เนื่องจากราคาข้าวที่อนุมัติขายให้กับผู้ชนะการประมูลนั้น ต่ำกว่าราคาตลาด และสร้างความเสียหายให้กับประเทศหลายหมื่นล้านบาท
ยกตัวอย่าง เช่น ข้าวขาว 5% ที่มีการอนุมัติในราคา 1.4 หมื่นบาท/ตัน เมื่อแปลงกลับมาเป็นข้าวเปลือกอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาท/ตัน เท่านั้น ต่ำกว่าราคารับจำนำที่อยู่ที่ตันละ 1.2-1.4 หมื่นบาท/ตัน ขณะที่ ข้าวหอมมะลิ ก็มีการอนุมัติขายในราคาต่ำกว่าราคาตลาดเช่นกัน โดยอนุมัติที่ราคาตันละ 2.6-2.7 หมื่นบาท เมื่อแปลงเป็นข้าวเปลือกอยู่ที่เฉลี่ยที่ 1.4 หมื่นบาท/ตัน ต่ำกว่าราคารับจำนำที่เคยแทรกแซง 1.5-1.6 หมื่นบาท ยังไม่นับรวมข้าวเหนียวที่อนุมัติขายในราคาต่ำกว่าราคา เมื่อแปลงเป็นข้าวเปลือกตกตันละ 4,000 กว่าบาท ขณะที่รัฐบาลต้องรับจำนำข้าวเปลือกเหนียวในราคาตันละ 9,000 บาท
“การขายต่ำกว่าราคาตลาด ทำให้รัฐเสียหายมาก คิดเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท ดังนั้น ครม.ก็ควรยกเลิกผลการประมูลครั้งนี้ และควรเปิดประมูลใหม่”แหล่งข่าวกล่าว
เจ๊พรยันไม่มีปัญหากับพรรคร่วม
ที่รัฐสภา นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวถึงมาตรการในการระบายข้าวโพดในสต๊อกของรัฐบาลจำนวน 4.49 แสนตัน ว่า การดำเนินงานเป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการ และได้ทำการเสนอให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ถึงหลักการ และหลังจากนั้นจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้ง ซึ่งตนขอยืนยันว่าไม่ได้มีปัญหาในการทำงานกับพรรคร่วมรัฐบาล
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่โครงการรับจำนำสินค้าเกษตร ที่ส่อจะมีปัญหาว่า ประเด็นการระบายสินค้าเกษตรที่มีการแทรกแซงและอยู่ในสต็อกทั้งหมด คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มอบหมายให้ทางผู้ที่เกี่ยวข้องไปทำหลักเกณฑ์ในการระบาย ไม่ว่าจะเป็นข้าว มัน ข้าวโพด ก็อาจจะพิจารณาสัปดาห์นี้ หรือสัปดาห์หน้า เพราะอยู่ในเกณฑ์เดียวกันหมด ทั้งนี้ เราต้องดูแลให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม ในส่วนของข้าว ตนเข้าใจว่ายังไม่มีการอนุมัติในการระบาย
แหล่งข่าวกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หลังจากมีกระแสข่าวการประมูลข้าวในสต็อกของรัฐบาล 2.6 ล้านตันมีพิรุธในกระบวนการประมูลหลายประเด็นอีกทั้งยังทำให้รัฐฯขาดทุนย่อยยับกว่า 2 หมื่นล้านบาท นายกรัฐมนตรี ได้สอบถามเรื่องดังกล่าวมายังนางพรทิวา นาคาศัย รมว.กระทรวงพาณิชย์ และทางกระทรวงฯ ได้สั่งให้เชคสต็อก ตรวจคุณภาพข้าวเป็นการเร่งด่วน เพื่อเตรียมหาคำอธิบายสำหรับเรื่องดังกล่าวว่าเหตุใดจึงประมูลขายไปในราคาต่ำกว่าท้องตลาดมาก
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ปรากฏว่า มีการขนข้าวออกจากโกดังตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมาแล้ว เพราะพ่อค้าหวั่นเกรงว่า ผลการประมูลครั้งนี้อาจมีปัญหาไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ครม. ขณะที่พ่อค้ามีการจ่ายใต้โต๊ะให้นักการเมืองไปบางส่วนแล้ว เรื่องนี้ต้องตรวจสอบกันทั้งกระบวนการว่าใครเป็นผู้อนุมัติให้เอาข้าวออกไปจากโกดัง ทั้งที่ผลการประมูลยังไม่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และไม่ทราบว่าเอกสารค้ำประกันสัญญามีครบถ้วนแล้วหรือไม่
นอกจากนั้น เงื่อนไขประมูลที่กำหนดให้ต้องส่งออกภายใน 45 วัน ไม่เช่นนั้นจะโดนปรับ คำถามก็คือ จะส่งออกไปหมดทันเวลาได้อย่างไรแม้ว่าจะมีออเดอร์อยู่ในมือแล้วก็ตาม อาจมีข้าววกกลับเข้ามาไว้รอสวมเข้าโครงการรับจำนำข้าวนาปรัง 2552 ที่รัฐบาลเพิ่งอนุมัติเพิ่มจำนวน 1.5 ล้านตัน
กอร์ปศักดิ์ ย้ำครม.ต้องอนุมัติก่อน
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ดูแลด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า การประมูลสต็อกข้าวรัฐบาลที่กระทรวงพาณิชย์ กำลังดำเนินการอยู่นั้น พาณิชย์ต้องนำเรื่องเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อพิจารณาอนุมัติก่อน จากนั้นก็นำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติก่อนระบายหรือขายข้าวให้เอกชน ซึ่งมติครม.เมื่อวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา กำหนดหลักเกณฑ์เอาไว้อย่างชัดเจน
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า ตนยังไม่ทราบว่ากระทรวงพาณิชย์ เซ็นสัญญากับเอกชนในการขายข้าวดังกล่าวแล้วหรือไม่
นายกอร์ปศักดิ์ ตอบคำถามที่ว่า กรณีที่กระทรวงพาณิชย์ เร่งทำสัญญากับเอกชน เพื่อป้องกันตัวเองหากการประมูลดังกล่าวไม่ได้รับความเห็นชอบจากครม. เอกชนอาจใช้สิทธิ์ฟ้องร้องครม.เพราะทำให้เสียหายนั้นว่า เวลานี้ยังไม่ทราบว่าเซ็นสัญญากันไปแล้วหรือไม่ แต่การระบายสินค้าเกษตรใดๆ ก็ตาม หากทำหลังจากครม.มีมติเมื่อวันที่ 13 พ.ค. ก็ต้องยึดหลักเกณฑ์ที่กำหนดคือต้องให้ครม.อนุมัติเสียก่อน
มติครม.เมื่อวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา ให้กระทรวงพาณิชย์นำเรื่องการระบายสินค้าเกษตรทุกชนิด ที่อยู่ในโครงการรับจำนำ เสนอให้ครม.อนุมัติก่อนระบายหรือขายให้เอกชน เพราะเห็นว่าการระบายสินค้าเกษตรในโครงการรับจำนำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรช่วงที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานขาดทุนเป็นจำนวนมาก เงินที่นำมาไปใช้รับจำนำก็เป็นเงินภาษีของประชาชน เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น ครม.ต้องรับผิดชอบ ครม.จึงเห็นว่าการระบายสินค้าแต่ละชนิดควรต้องเสนอให้ ครม.พิจารณาก่อน
สำหรับสินค้าเกษตร 4 ชนิด ที่อยู่ในสต็อกรัฐบาลขณะนี้และกำลังระบายออกไปนั้นมีคณะกรรมการฯ เข้ามาดูแล คือ ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ขึ้นอยู่กับนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เรื่องข้าว อยู่ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะประธาน กขช. และยางพารา มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบ
พาณิชย์ไม่สน แค่แจ้งให้ทราบ
นายประพล มิลินทจินดา เลขานุการรมว.พาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงฯ จะรายงานผลการอนุมัติขายข้าวจำนวน 2 ล้านกว่าตัน ให้ กขช. ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กขช. รับทราบ ก่อนรายงาน ครม.รับทราบเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้องค์การคลังสินค้า (อคส.) สามารถทำสัญญาซื้อขายกับเอกชนผู้ชนะการประมูลได้เลย ไม่ต้องรอการอนุมัติ เพราะเป็นเพียงการแจ้งให้ กขช. และ ครม. รับทราบเท่านั้น
“ประเด็นที่ครม.มีมติให้การระบายสินค้าเกษตรทุกชนิดแล้วขาดทุน จะต้องแจ้งให้ครม.ทราบก่อนอนุมัติขายให้เอกชน เพื่อรับผิดชอบร่วมกัน เข้าใจว่าอาจเป็นหลักเกณฑ์ใหม่ ในการระบายสินค้าเกษตรครั้งต่อไป ไม่ใช่ครั้งนี้ เพราะการระบายข้าวทำอย่างถูกต้อง โดยได้รับการอนุมัติหลักเกณฑ์การระบายข้าวจากกขช.ก่อนหน้านี้แล้ว” นายประพลกล่าว
นายประพล กล่าวต่อว่า ขณะนี้ กระทรวงฯ อยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณภาพข้าวโกดังในพื้นที่ภาคกลาง หลังพบว่า มีการเสนอซื้อข้าวในราคาต่ำกว่าราคาตลาดตันละหลายพันบาท รวมถึงตรวจสอบบริษัทผู้ตรวจสอบข้าวที่รับผิดชอบการตรวจสอบโกดังต่างๆ ด้วย เนื่องจากมีเบาะแสว่าคุณภาพข้าวในหลายโกดังที่รัฐบาลรับจำนำมา มีคุณภาพต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
แหล่งข่าวจากวงการค้าข้าว กล่าวว่า ที่ผ่านมา การตรวจสอบคุณภาพข้าวตามโครงการรับจำนำค่อนข้างหละหลวม จนอาจมีผลกระทบต่อราคาระบายข้าวในอนาคต เพราะสามารถมองได้ว่าการที่ผู้ส่งออกเสนอซื้อข้าวในราคาต่ำมาก เพราะข้าวคุณภาพไม่ดีจริง หรืออีกกรณีหนึ่งต้องการซื้อราคาต่ำ แล้วได้รับความร่วมมือจากผู้มีอำนาจ และใช้ข้ออ้างว่าข้าวคุณภาพไม่ดี เพื่อกดราคาข้าวจึงอยากให้ กขช. ตรวจสอบด่วน รวมถึงขอให้ตรวจสอบขบวนการซื้อสิทธิใบประทวนล่วงหน้าโครงการรับจำนำระหว่างชาวนากับนายทุนท้องถิ่น เพื่อเก็งกำไรตันละ 2 พันบาท หลังจากที่รัฐบาลอนุมัติให้เพิ่มการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง 2552 อีก 1.5 ล้านตัน
นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ที่ประชุมการเปิดตลาดข้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟตา) ในวันที่ 22 พ.ค.นี้ จะพิจารณาแนวทางและมาตรการปกป้องการเปิดเสรีข้าว ที่จะกระทบกับราคาข้าวภายในประเทศ ต่อจากนั้นจะนำข้อสรุปไปรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ก่อนนำเสนอให้ที่ประชุมครม. เห็นชอบเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดเสรีข้าวอาฟตาที่จะเริ่มตั้งเดือนม.ค.2553
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า มาตรการที่จะใช้ในการเปิดเสรีข้าวอาฟตา จะพิจารณาว่าจะออกมาตรการดูแลข้าวประเภทใดระหว่างข้าวเปลือกและข้าวสาร รวมถึงพิจารณาว่าจะต้องใช้โควตานำเข้าหรือไม่ และการใช้มาตรการอื่นๆ เช่น การควบคุมด้านโรคพืช เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
โรงสีจี้ล้มประมูล
แหล่งข่าวจากสมาคมโรงสีข้าวไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ ต้องการให้ครม.พิจารณายกเลิกผลการประมูลสต็อกข้าวรัฐบาลที่กระทรวงพาณิชย์ เปิดระบายจำนวน 2.6 ล้านตัน เนื่องจากราคาข้าวที่อนุมัติขายให้กับผู้ชนะการประมูลนั้น ต่ำกว่าราคาตลาด และสร้างความเสียหายให้กับประเทศหลายหมื่นล้านบาท
ยกตัวอย่าง เช่น ข้าวขาว 5% ที่มีการอนุมัติในราคา 1.4 หมื่นบาท/ตัน เมื่อแปลงกลับมาเป็นข้าวเปลือกอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาท/ตัน เท่านั้น ต่ำกว่าราคารับจำนำที่อยู่ที่ตันละ 1.2-1.4 หมื่นบาท/ตัน ขณะที่ ข้าวหอมมะลิ ก็มีการอนุมัติขายในราคาต่ำกว่าราคาตลาดเช่นกัน โดยอนุมัติที่ราคาตันละ 2.6-2.7 หมื่นบาท เมื่อแปลงเป็นข้าวเปลือกอยู่ที่เฉลี่ยที่ 1.4 หมื่นบาท/ตัน ต่ำกว่าราคารับจำนำที่เคยแทรกแซง 1.5-1.6 หมื่นบาท ยังไม่นับรวมข้าวเหนียวที่อนุมัติขายในราคาต่ำกว่าราคา เมื่อแปลงเป็นข้าวเปลือกตกตันละ 4,000 กว่าบาท ขณะที่รัฐบาลต้องรับจำนำข้าวเปลือกเหนียวในราคาตันละ 9,000 บาท
“การขายต่ำกว่าราคาตลาด ทำให้รัฐเสียหายมาก คิดเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท ดังนั้น ครม.ก็ควรยกเลิกผลการประมูลครั้งนี้ และควรเปิดประมูลใหม่”แหล่งข่าวกล่าว
เจ๊พรยันไม่มีปัญหากับพรรคร่วม
ที่รัฐสภา นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวถึงมาตรการในการระบายข้าวโพดในสต๊อกของรัฐบาลจำนวน 4.49 แสนตัน ว่า การดำเนินงานเป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการ และได้ทำการเสนอให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ถึงหลักการ และหลังจากนั้นจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้ง ซึ่งตนขอยืนยันว่าไม่ได้มีปัญหาในการทำงานกับพรรคร่วมรัฐบาล