ASTVผู้จัดการรายวัน – ร้องนายกรัฐมนตรีตรวจสอบพิรุธประมูลข้าว 2.6 ล้านตัน ทำรัฐฯขาดทุนไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้าน พิลึก อคส. ขยันขันแข็งเกินเหตุเร่งรัดจัดต่อรองราคาทางโทรศัพท์ในวันหยุดแก้โพยใหม่ อุ้มนอมินียักษ์เกษตรเข้าวินตามใบสั่งบิ๊กการเมืองพรรคร่วมรัฐบาล ลองของ “มาร์ค” รีบเซ็นสัญญาคล้อยหลังนายกฯ มีคำสั่งให้พาณิชย์นำเรื่องประมูลสินค้าเกษตรจากโครงการรับจำนำเข้าครม.ทุกครั้งก่อนเพียงแค่วันเดียว คณะกรรมการประมูลฯ แฉถูกบีบให้เซ็นอนุมัติ แถมเจอตุกติกอุบเงียบรายละเอียดผลประมูลไม่ยอมให้สำเนากับกรรมการเหตุกลัวเรื่องยัดไส้ฉาวโฉ่
แหล่งข่าวคณะกรรมการประมูลสต็อกข้าวรัฐบาล จำนวน 2.6 ล้านตัน ที่มีนายนาคม ธีรสุวรรณวิจักร รักษาการผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า (อคส.) เป็นประธาน เปิดเผยว่า การประมูลขายข้าวครั้งล่าสุดของกระทรวงพาณิชย์ ที่เปิดประมูลเมื่อวันที่ 6 พ.ค. และเซ็นสัญญาไปเมื่อวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมานั้น มีข้อพิรุธเกิดขึ้นหลายประการ ซึ่งกรรมการที่เป็นข้าราชการจากหน่วยงานอื่นที่ร่วมอยู่ในคณะกรรมการการประมูลมีความรู้สึกอึดอัดเป็นอย่างมาก และตกอยู่ในสภาพจำยอมต้องทำตามใบสั่งของนักการเมืองใหญ่สังกัดพรรคร่วมรัฐบาลที่อยู่เบื้องหลังการประมูล
“ตอนนี้หลายคนถูกข่มขู่ว่าหากข้อมูลการประมูลที่มีเงื่อนงำพิรุธหลุดออกไปให้ระวังจะเจอดี ข้าราชการที่เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการฯ จึงเกรงว่าจะต้องมารับเคราะห์ ดังนั้น จึงอยากเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ตั้งคณะทำงานเข้ามาตรวจสอบการประมูลข้าวครั้งนี้ เหมือนกับกรณีการประมูลขายข้าวโพดจากโครงการรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 51/52 อย่างเร่งด่วนเพราะทำให้รัฐฯเสียหายและมีการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม” แหล่งข่าวกล่าว
***โพยใหม่ใบสั่งนักการเมือง
แหล่งข่าว กล่าวต่อว่า หากไล่เรียงลำดับการประมูลขายข้าวตั้งแต่ต้นจนจบจะเห็นข้อพิรุธและปรากฏหลักฐานให้สืบสาวถึงต้นตอตัวการที่ร่วมกระบวนการได้ กล่าวคือ เมื่อวันพฤหัสฯที่ 7 พ.ค. คณะกรรมการฯ ที่มีรักษาการ ผอ.อคส. เป็นประธาน เปิดให้เอกชนยื่นซองเสนอราคาในช่วงเช้า จากนั้นช่วงบ่ายเริ่มต่อรองราคากัน และวันศุกร์ที่ 8 พ.ค. ก็มีการต่อรองราคากันทางโทรศัพท์
กระทั่งวันเสาร์ที่ 9 พ.ค. ซึ่งเป็นวันหยุดก็ยังต่อรองราคากันต่อจนได้ข้อสรุปราคาของแต่ละรายและตกลงหยุดราคากันแล้วว่ารายใดเสนอราคาเท่าไหร่ มีการแจ้งกันอย่างไม่เป็นทางการ แต่แทนที่กระบวนการต่างๆ จะจบเพียงเท่านั้น ก็กลับมีใบสั่งจากนักการเมืองที่ใหญ่กว่ารัฐมนตรีว่าการพาณิชย์ให้มีการจัดทำโพยใหม่ ในวันอาทิตย์ที่ 10 พ.ค.ต่อเนื่องถึงวันที่ 11 พ.ค. ซึ่งเป็นวันพืชมงคล หน่วยงานราชการหยุดทำการ
“การทำโพยใหม่ก็จะดูว่ารายที่เสนอราคาสูงสุดในวันที่ 9 พ.ค. เสนอมาเท่าไหร่ ก็ไปบอกรายที่จะเอาเข้ามาแทนว่า ให้แก้ราคาเสนอเข้ามาใหม่ ทำราคาให้สูงกว่ารายที่ชนะราคาในวันที่ 9 พ.ค. ดังนั้นถ้าไปดูการเสนอราคาในโพยที่ตัดสินในวันที่ 9 พ.ค. กับวันที่ 10 - 11 พ.ค. จะไม่เหมือนกัน” แหล่งข่าว กล่าว
ต่อมา เมื่อวันที่ 12 พ.ค. มีการเรียกต่อรองผลประโยชน์กัน มีการเรียกใต้โต๊ะไล่ตั้งแต่ตันละ 200 บาท – 2,000 บาทต่อตัน เพราะข้าวมีหลายเกรดหลายราคา หากเป็นชนิดข้าวหอมมะลิ ซึ่งได้ราคาดีก็ต้องจ่ายสูงถึงตันละ 2,000 บาท
หลังจากนั้น วันที่ 13 พ.ค. กระทรวงพาณิชย์ ก็รีบประกาศผลการประมูลทันที เพราะวันนั้นที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีปัญหาเกาเหลาข้าวโพด โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ซักไซ้ไล่เรียงถึงกระบวนการขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 450,000 ตัน จากโครงการรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 51/52 จนกระทั่งนางพรทิวา นาคาศัย รมว.กระทรวงพาณิชย์ ถึงกลับสะอื้นกลางครม. และสุดท้ายครม.ไม่อนุมัติให้ขายข้าวโพดตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ โดยครม.ยังมีมติให้กระทรวงพาณิชย์ เสนอผลการประมูลต่อคณะกรรมการนโยบายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แห่งชาติ ที่มีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานอีกครั้งเพื่อตัดสินว่าจะขายหรือไม่
นอกจากนั้น ครม. ยังมีมติให้กระทรวงพาณิชย์นำเรื่องการระบายสินค้าเกษตรทุกชนิด ที่อยู่ในโครงการรับจำนำ เสนอให้ครม.อนุมัติก่อนระบายหรือขายให้เอกชน เพราะเห็นว่าการระบายสินค้าเกษตรในโครงการรับจำนำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรช่วงที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานขาดทุนเป็นจำนวนมาก เงินที่นำมาไปใช้รับจำนำก็เป็นเงินภาษีของประชาชน เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น ครม.ต้องรับผิดชอบ ครม.จึงเห็นว่าการระบายสินค้าแต่ละชนิดควรต้องเสนอให้ ครม.พิจารณาก่อน
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า หลังคำสั่งนายกรัฐมนตรีและมติครม.ที่ออกมาเมื่อวันที่ 13 พ.ค. กระทรวงพาณิชย์ กลัวว่าต้องกลับทำตามมติครม. จึงรีบเรียกผู้ชนะประมูลทั้งหมดเข้ามาหารือและต่อรองไว้เผื่อว่าหากมีการเปลี่ยนแปลง เอกชนก็จะได้ฟ้องนายกรัฐมนตรี พร้อมๆ กับรีบร้อนทำสัญญาทั้งที่เอกสารหลักฐานไม่ครบ และจนบัดนี้ก็ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดผลประมูลต่อสาธารณชน แม้แต่กรรมการก็ยังไม่มีสำเนา
ทั้งนี้ “ASTVผู้จัดการรายวัน” ได้ติดต่อขอข้อมูลดังกล่าวจากกระทรวงพาณิชย์ หลังเสร็จสิ้นประมูลและเซ็นสัญญาแล้วแต่ยังไม่ได้รับแต่อย่างใด
*** จับพิรุธ - หักหน้า “อภิสิทธิ์”
แหล่งข่าวชี้ว่า เมื่อพิจารณากระบวนการประมูลขายข้าวจากโครงการรับจำนำครั้งนี้ มีข้อพิรุธสำคัญ คือ 1) การประมูลผิดระเบียบราชการหรือไม่ เพราะกระทำกันในวันหยุดราชการ โดยการต่อรองราคาทางโทรศัพท์มีขึ้นในวันที่ 9 – 10 – 11 พ.ค.
2) การเร่งรัดทำสัญญากันในวันที่ 14 พ.ค. หลังจากที่ครม. มีมติเมื่อวันที่ 13 พ.ค.ให้นำเรื่องการระบายสินค้าเกษตรทุกชนิดที่อยู่ในโครงการรับจำนำนำเสนอ ครม. อนุมัติก่อนขายให้เอกชน ดังนั้น สัญญาที่ทำกันจึงขัดต่อมติครม. สัญญาต้องตกเป็นโมฆะหรือไม่
3 ) ไม่มีการกำหนดราคากลางเพื่อใช้อ้างอิงในการพิจารณาอนุมัติ และ 4) กระบวนการประมูล คณะกรรมการต่อรองราคา คณะกรรมการตัดสินผลประกวดราคา ต้องเซ็นใบกำกับบัญชีรายชื่อผู้ชนะประมูล กรรมการหลายคนก็กลัวว่าจะมีการยัดใส้ จึงขอสำเนาเอกสารที่เซ็นไปเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน แต่รักษาการ ผอ. อคส. ในฐานะประธานคณะกรรมการฯ กลับไม่ให้ เก็บโพยเอาไว้หมด
“กรรมการบางคนบอกว่า มีการข่มขู่เอาไว้ด้วยว่า ถ้าเอาโพยไปแล้วหลุดออกไปจะต้องรับผิดชอบ กรรมการซึ่งเป็นข้าราชการก็กลัว เพราะแพ้ทางนักการเมืองอยู่แล้ว จำต้องยอม โดนกันทั้งขึ้นทั้งล่อง เพราะนักการเมืองที่เข้ามาจัดโพยใหญ่กว่ารัฐมนตรีเสียอีก พวกพ่อค้าก็พูดกันว่าถ้าจะวิ่งก็วิ่งที่บ้านปากเกร็ดแน่นอนกว่า รัฐมนตรีไม่มีอำนาจเป็นแค่เสือกระดาษ” แหล่งข่าวกล่าว และว่า ขณะนี้วงการค้าข้าวยังคอยดูว่าเงินใต้โต๊ะที่ว่าจะจ่ายกันนั้น จะจ่ายกันหมดหรือไม่ เพราะประมูลคราวที่แล้วนอมินีบริษัทยักษ์เกษตรที่เคยเข้ามาในวงการค้าข้าว ก็ยังจ่ายให้อดีตรัฐมนตรีไม่หมด กลุ่มนี้ชอบโอ่ว่าจะให้สูงแต่มักเบี้ยวทีหลัง
อนึ่ง การประมูลซื้อข้าวจากโครงการรับจำนำข้าว มีรายงานข่าวจากองค์การคลังสินค้า แจ้งผลการเสนอซื้อข้าวในสต็อกรัฐบาลเบื้องต้น ว่ามีผู้ที่เสนอซื้อข้าวในสต๊อกรัฐบาลปริมาณสูงที่สุด มี 4 ราย คือ บริษัท วุฒิกวี จำกัด บริษัท สิงห์โตทองไรซ์คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท ไชยพรไรซ์แอนด์ฟู้ดโปรดักส์ จำกัด และบริษัท แคปปิตัลซีเรียลส์ จำกัด ส่วนบริษัท สยามอินดิก้า จำกัด ยื่นเสนอซื้อไม่เหมายกล็อตแต่เสนอซื้อมากเป็นอันดับที่ 5
ในการเสนอซื้อดังกล่าว วุฒิกวี เสนอซื้อข้าวขาว 5% ปี 2551/52 ปริมาณ 1.113 ล้านตัน และปี 2552 ปริมาณ 1.318 ล้านตัน ตันละ 1.46 หมื่นบาทราคาเดียว ราคารวม 3.5 หมื่นล้านบาท, สิงห์โตทองฯ เสนอซื้อข้าวปี 2551/52 ปริมาณ 1.128 ล้านตัน ตันละ 1.2-1.4 หมื่นบาท รวม 1.57 หมื่นล้านบาท และปี 2552 ปริมาณ 1.323 ล้านตัน ตันละ 1.3-1.55 หมื่นบาท รวม 1.84 หมื่นล้านบาท,
ไชยพรฯ เสนอซื้อข้าวปี 2551/52 ปริมาณ 1.128 ล้านตัน ตันละ 1.39 หมื่นบาท รวม 1.56 หมื่นล้านบาท และปี 2552 ปริมาณ 1.323 ล้านตัน ตันละ 1.388 หมื่นบาท รวม 1.83 หมื่นล้านบาท, แคปปิตัลซีเรียลส์ เสนอซื้อข้าวปี 2551/52 ปริมาณ 1.128 ล้านตัน ตันละ 1.385 หมื่นบาท รวม 1.56 หมื่นล้านบาท ปี 2552 ปริมาณ 1.323 ล้านตัน ตันละ 1.38 หมี่นบาท รวม1.82 หมื่นล้านบาท ส่วนสยามอินดิก้า เสนอซื้อข้าวปี 2551/52 ปริมาณ 8.32 แสนตัน ตันละ 1.1-1.2 หมื่นบาท รวม 9.4 พันล้านบาท และปี 2552 ปริมาณ 6.45 แสนตัน ตันละ 1.1 หมื่นบาท รวม 7.1 พันล้านบาท
*** อุ้มสมนอมินียักษ์ใหญ่เกษตร
เมื่อผลเบื้องต้นปรากฏออกมา วงการค้าข้าวต่างจับตามองว่า วุฒิกรี ซึ่งมีนักการเมืองอดีตรัฐมนตรีหนุนหลัง
อยู่จะได้ข้าวยกล็อตหรือไม่ ขณะเดียวกันก็มีการพูดกันว่า สยามอินดิก้า ซึ่งมีนักการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาล และเป็นสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ให้การสนับสนุนอาจแซงโค้งขึ้นมาแทน ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองผลประโยชน์ ทั้งนี้ ทั้ง วุฒิกรี และ สยามอินดิก้า ต่างเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาไม่นาน และวงการค้าข้าวรู้กันดีว่า สยามอินดิก้า เป็นนอมินีหรือบริษัทตัวแทนของ เพรสซิเด้นท์ อะกริ เทรดดิ้ง บริษัทที่เคยประมูลข้าวแบบยกล็อต 1.7 ล้านตัน สมัยนายวัฒนา เมืองสุข เป็นรมว.พาณิชย์ และมีปัญหาผิดสัญญาจนถูกขึ้นบัญชีดำของกระทรวงพาณิชย์
การต่อรองผลประโยชน์ระหว่างนักการเมืองและบริษัทเข้าร่วมประมูล ปรากฏผลในเวลาต่อมา กล่าวคือ คณะกรรมการต่อรองราคาฯ ได้นำข้อสรุปเสนอต่อนางพรทิวา นาคาสัย รมว.พาณิชย์ พิจารณา 2 แนวทาง คือ แนวทางแรก อนุมัติขายในราคาเฉลี่ย 1.4 หมื่นบาท/ตัน ขึ้นไป จะมีผู้ชนะการประมูลข้าว 13-14 ราย สามารถจำหน่ายข้าวได้ถึง 2.4 ล้านตัน และแนวทางสอง อนุมัติจำหน่ายในราคา 1.45 หมื่นบาท/ตัน ขึ้นไป จะมีผู้ชนะการประมูลเหลือต่ำกว่า 13 ราย จะสามารถจำหน่ายข้าวได้เพียง 1 ล้านตัน ซึ่งแนวทางแรกเป็นแนวทางที่นางพรทิวา เห็นชอบ เพราะระบายข้าวได้มากกว่า
คราวนี้ รายชื่อผู้ที่ชนะการประมูลข้าวในแนวทางแรกรายใหญ่ เช่น บริษัท สยามอินดิก้า ปริมาณ 6.7 แสนตัน ราคา 1.4-1.41 หมื่นบาท, บริษัท แคปปิตัลซีเรียลส์ ในเครือนครหลวงค้าข้าว ปริมาณ 3 แสนตัน ราคาเฉลี่ย 1.43-1.48 หมื่นบาท, บริษัท เอเชียโกลเด้นไรซ์ และบริษัท ไชยพรไรซ์แอนด์ฟู้ดโปรดักส์ รายละ 3 แสนตัน ในราคาเฉลี่ย 1.43-1.45 หมื่นบาท บริษัท พงษ์ลาภ ปริมาณ 2 แสนตัน ราคา 1.4-1.43 หมื่นบาท และบริษัท สิงห์โตทอง ไรซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ปริมาณ 4.6 แสนตัน ราคาเฉลี่ย 1.4 หมื่นบาท
ส่วนบริษัทวุฒิกวี ที่เสนอซื้อข้าวยกล็อต ไม่ได้รับการเรียกเจรจาต่อรองราคา เนื่องจากถูกตัดสิทธิการประมูล เพราะมีคุณสมบัติไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขการประมูล คือ ถูกขึ้นบัญชีดำ (แบล็กลิสต์) อยู่กับทางอคส.
ก่อนหน้านี้ ในวันเปิดซองประมูลข้าว สยามอินดิก้า เสนอซื้อข้าวไม่ยกล็อต และให้ราคาเพียงตันละ 1.1-1.3 หมื่นบาท ขณะที่วุฒิกวี เสนอซื้อข้าวยกล็อต และให้ราคาสูงตันละ 1.46 หมื่นบาท
แหล่งข่าวกล่าวว่า การขายข้าวส่วนใหญ่เป็นข้าวขาว 5% นาปรัง ปี 2551 และนาปี 2551/52 รวม 2.4 ล้านตัน โดยราคาเฉลี่ยที่ขายได้อยู่ที่ 1.42 – 1.55 หมื่นบาทต่อตัน ซึ่งยังต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบันอยู่ที่ 1.6-1.7 หมื่นบาท/ตัน และต่ำกว่าราคารับจำนำที่ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 2 .2 - 2.4 หมื่นบาทต่อตัน (ข้าวสาร) (ประมาณการจากการรับจำนำข้าวเปลือกตันละ 1.4 หมื่นบาท และ 1.2 หมื่นบาท) จะทำให้ขาดทุนจากราคาตลาดประมาณ 2,000-3,000 บาท/ตัน หรืออนุมัติขายข้าว 2.4 ล้านตัน ขาดทุน 4,800-7,200 ล้านบาท และขาดทุนจากต้นทุนรับจำนำประมาณตันละ 1-1.4 หมื่นบาทขึ้นไป หรืออนุมัติจำหน่าย 2.4 ล้านตัน จะขาดทุนถึง 2.4 หมื่นล้านบาทขึ้นไป
แหล่งข่าวคณะกรรมการประมูลสต็อกข้าวรัฐบาล จำนวน 2.6 ล้านตัน ที่มีนายนาคม ธีรสุวรรณวิจักร รักษาการผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า (อคส.) เป็นประธาน เปิดเผยว่า การประมูลขายข้าวครั้งล่าสุดของกระทรวงพาณิชย์ ที่เปิดประมูลเมื่อวันที่ 6 พ.ค. และเซ็นสัญญาไปเมื่อวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมานั้น มีข้อพิรุธเกิดขึ้นหลายประการ ซึ่งกรรมการที่เป็นข้าราชการจากหน่วยงานอื่นที่ร่วมอยู่ในคณะกรรมการการประมูลมีความรู้สึกอึดอัดเป็นอย่างมาก และตกอยู่ในสภาพจำยอมต้องทำตามใบสั่งของนักการเมืองใหญ่สังกัดพรรคร่วมรัฐบาลที่อยู่เบื้องหลังการประมูล
“ตอนนี้หลายคนถูกข่มขู่ว่าหากข้อมูลการประมูลที่มีเงื่อนงำพิรุธหลุดออกไปให้ระวังจะเจอดี ข้าราชการที่เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการฯ จึงเกรงว่าจะต้องมารับเคราะห์ ดังนั้น จึงอยากเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ตั้งคณะทำงานเข้ามาตรวจสอบการประมูลข้าวครั้งนี้ เหมือนกับกรณีการประมูลขายข้าวโพดจากโครงการรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 51/52 อย่างเร่งด่วนเพราะทำให้รัฐฯเสียหายและมีการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม” แหล่งข่าวกล่าว
***โพยใหม่ใบสั่งนักการเมือง
แหล่งข่าว กล่าวต่อว่า หากไล่เรียงลำดับการประมูลขายข้าวตั้งแต่ต้นจนจบจะเห็นข้อพิรุธและปรากฏหลักฐานให้สืบสาวถึงต้นตอตัวการที่ร่วมกระบวนการได้ กล่าวคือ เมื่อวันพฤหัสฯที่ 7 พ.ค. คณะกรรมการฯ ที่มีรักษาการ ผอ.อคส. เป็นประธาน เปิดให้เอกชนยื่นซองเสนอราคาในช่วงเช้า จากนั้นช่วงบ่ายเริ่มต่อรองราคากัน และวันศุกร์ที่ 8 พ.ค. ก็มีการต่อรองราคากันทางโทรศัพท์
กระทั่งวันเสาร์ที่ 9 พ.ค. ซึ่งเป็นวันหยุดก็ยังต่อรองราคากันต่อจนได้ข้อสรุปราคาของแต่ละรายและตกลงหยุดราคากันแล้วว่ารายใดเสนอราคาเท่าไหร่ มีการแจ้งกันอย่างไม่เป็นทางการ แต่แทนที่กระบวนการต่างๆ จะจบเพียงเท่านั้น ก็กลับมีใบสั่งจากนักการเมืองที่ใหญ่กว่ารัฐมนตรีว่าการพาณิชย์ให้มีการจัดทำโพยใหม่ ในวันอาทิตย์ที่ 10 พ.ค.ต่อเนื่องถึงวันที่ 11 พ.ค. ซึ่งเป็นวันพืชมงคล หน่วยงานราชการหยุดทำการ
“การทำโพยใหม่ก็จะดูว่ารายที่เสนอราคาสูงสุดในวันที่ 9 พ.ค. เสนอมาเท่าไหร่ ก็ไปบอกรายที่จะเอาเข้ามาแทนว่า ให้แก้ราคาเสนอเข้ามาใหม่ ทำราคาให้สูงกว่ารายที่ชนะราคาในวันที่ 9 พ.ค. ดังนั้นถ้าไปดูการเสนอราคาในโพยที่ตัดสินในวันที่ 9 พ.ค. กับวันที่ 10 - 11 พ.ค. จะไม่เหมือนกัน” แหล่งข่าว กล่าว
ต่อมา เมื่อวันที่ 12 พ.ค. มีการเรียกต่อรองผลประโยชน์กัน มีการเรียกใต้โต๊ะไล่ตั้งแต่ตันละ 200 บาท – 2,000 บาทต่อตัน เพราะข้าวมีหลายเกรดหลายราคา หากเป็นชนิดข้าวหอมมะลิ ซึ่งได้ราคาดีก็ต้องจ่ายสูงถึงตันละ 2,000 บาท
หลังจากนั้น วันที่ 13 พ.ค. กระทรวงพาณิชย์ ก็รีบประกาศผลการประมูลทันที เพราะวันนั้นที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีปัญหาเกาเหลาข้าวโพด โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ซักไซ้ไล่เรียงถึงกระบวนการขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 450,000 ตัน จากโครงการรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 51/52 จนกระทั่งนางพรทิวา นาคาศัย รมว.กระทรวงพาณิชย์ ถึงกลับสะอื้นกลางครม. และสุดท้ายครม.ไม่อนุมัติให้ขายข้าวโพดตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ โดยครม.ยังมีมติให้กระทรวงพาณิชย์ เสนอผลการประมูลต่อคณะกรรมการนโยบายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แห่งชาติ ที่มีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานอีกครั้งเพื่อตัดสินว่าจะขายหรือไม่
นอกจากนั้น ครม. ยังมีมติให้กระทรวงพาณิชย์นำเรื่องการระบายสินค้าเกษตรทุกชนิด ที่อยู่ในโครงการรับจำนำ เสนอให้ครม.อนุมัติก่อนระบายหรือขายให้เอกชน เพราะเห็นว่าการระบายสินค้าเกษตรในโครงการรับจำนำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรช่วงที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานขาดทุนเป็นจำนวนมาก เงินที่นำมาไปใช้รับจำนำก็เป็นเงินภาษีของประชาชน เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น ครม.ต้องรับผิดชอบ ครม.จึงเห็นว่าการระบายสินค้าแต่ละชนิดควรต้องเสนอให้ ครม.พิจารณาก่อน
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า หลังคำสั่งนายกรัฐมนตรีและมติครม.ที่ออกมาเมื่อวันที่ 13 พ.ค. กระทรวงพาณิชย์ กลัวว่าต้องกลับทำตามมติครม. จึงรีบเรียกผู้ชนะประมูลทั้งหมดเข้ามาหารือและต่อรองไว้เผื่อว่าหากมีการเปลี่ยนแปลง เอกชนก็จะได้ฟ้องนายกรัฐมนตรี พร้อมๆ กับรีบร้อนทำสัญญาทั้งที่เอกสารหลักฐานไม่ครบ และจนบัดนี้ก็ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดผลประมูลต่อสาธารณชน แม้แต่กรรมการก็ยังไม่มีสำเนา
ทั้งนี้ “ASTVผู้จัดการรายวัน” ได้ติดต่อขอข้อมูลดังกล่าวจากกระทรวงพาณิชย์ หลังเสร็จสิ้นประมูลและเซ็นสัญญาแล้วแต่ยังไม่ได้รับแต่อย่างใด
*** จับพิรุธ - หักหน้า “อภิสิทธิ์”
แหล่งข่าวชี้ว่า เมื่อพิจารณากระบวนการประมูลขายข้าวจากโครงการรับจำนำครั้งนี้ มีข้อพิรุธสำคัญ คือ 1) การประมูลผิดระเบียบราชการหรือไม่ เพราะกระทำกันในวันหยุดราชการ โดยการต่อรองราคาทางโทรศัพท์มีขึ้นในวันที่ 9 – 10 – 11 พ.ค.
2) การเร่งรัดทำสัญญากันในวันที่ 14 พ.ค. หลังจากที่ครม. มีมติเมื่อวันที่ 13 พ.ค.ให้นำเรื่องการระบายสินค้าเกษตรทุกชนิดที่อยู่ในโครงการรับจำนำนำเสนอ ครม. อนุมัติก่อนขายให้เอกชน ดังนั้น สัญญาที่ทำกันจึงขัดต่อมติครม. สัญญาต้องตกเป็นโมฆะหรือไม่
3 ) ไม่มีการกำหนดราคากลางเพื่อใช้อ้างอิงในการพิจารณาอนุมัติ และ 4) กระบวนการประมูล คณะกรรมการต่อรองราคา คณะกรรมการตัดสินผลประกวดราคา ต้องเซ็นใบกำกับบัญชีรายชื่อผู้ชนะประมูล กรรมการหลายคนก็กลัวว่าจะมีการยัดใส้ จึงขอสำเนาเอกสารที่เซ็นไปเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน แต่รักษาการ ผอ. อคส. ในฐานะประธานคณะกรรมการฯ กลับไม่ให้ เก็บโพยเอาไว้หมด
“กรรมการบางคนบอกว่า มีการข่มขู่เอาไว้ด้วยว่า ถ้าเอาโพยไปแล้วหลุดออกไปจะต้องรับผิดชอบ กรรมการซึ่งเป็นข้าราชการก็กลัว เพราะแพ้ทางนักการเมืองอยู่แล้ว จำต้องยอม โดนกันทั้งขึ้นทั้งล่อง เพราะนักการเมืองที่เข้ามาจัดโพยใหญ่กว่ารัฐมนตรีเสียอีก พวกพ่อค้าก็พูดกันว่าถ้าจะวิ่งก็วิ่งที่บ้านปากเกร็ดแน่นอนกว่า รัฐมนตรีไม่มีอำนาจเป็นแค่เสือกระดาษ” แหล่งข่าวกล่าว และว่า ขณะนี้วงการค้าข้าวยังคอยดูว่าเงินใต้โต๊ะที่ว่าจะจ่ายกันนั้น จะจ่ายกันหมดหรือไม่ เพราะประมูลคราวที่แล้วนอมินีบริษัทยักษ์เกษตรที่เคยเข้ามาในวงการค้าข้าว ก็ยังจ่ายให้อดีตรัฐมนตรีไม่หมด กลุ่มนี้ชอบโอ่ว่าจะให้สูงแต่มักเบี้ยวทีหลัง
อนึ่ง การประมูลซื้อข้าวจากโครงการรับจำนำข้าว มีรายงานข่าวจากองค์การคลังสินค้า แจ้งผลการเสนอซื้อข้าวในสต็อกรัฐบาลเบื้องต้น ว่ามีผู้ที่เสนอซื้อข้าวในสต๊อกรัฐบาลปริมาณสูงที่สุด มี 4 ราย คือ บริษัท วุฒิกวี จำกัด บริษัท สิงห์โตทองไรซ์คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท ไชยพรไรซ์แอนด์ฟู้ดโปรดักส์ จำกัด และบริษัท แคปปิตัลซีเรียลส์ จำกัด ส่วนบริษัท สยามอินดิก้า จำกัด ยื่นเสนอซื้อไม่เหมายกล็อตแต่เสนอซื้อมากเป็นอันดับที่ 5
ในการเสนอซื้อดังกล่าว วุฒิกวี เสนอซื้อข้าวขาว 5% ปี 2551/52 ปริมาณ 1.113 ล้านตัน และปี 2552 ปริมาณ 1.318 ล้านตัน ตันละ 1.46 หมื่นบาทราคาเดียว ราคารวม 3.5 หมื่นล้านบาท, สิงห์โตทองฯ เสนอซื้อข้าวปี 2551/52 ปริมาณ 1.128 ล้านตัน ตันละ 1.2-1.4 หมื่นบาท รวม 1.57 หมื่นล้านบาท และปี 2552 ปริมาณ 1.323 ล้านตัน ตันละ 1.3-1.55 หมื่นบาท รวม 1.84 หมื่นล้านบาท,
ไชยพรฯ เสนอซื้อข้าวปี 2551/52 ปริมาณ 1.128 ล้านตัน ตันละ 1.39 หมื่นบาท รวม 1.56 หมื่นล้านบาท และปี 2552 ปริมาณ 1.323 ล้านตัน ตันละ 1.388 หมื่นบาท รวม 1.83 หมื่นล้านบาท, แคปปิตัลซีเรียลส์ เสนอซื้อข้าวปี 2551/52 ปริมาณ 1.128 ล้านตัน ตันละ 1.385 หมื่นบาท รวม 1.56 หมื่นล้านบาท ปี 2552 ปริมาณ 1.323 ล้านตัน ตันละ 1.38 หมี่นบาท รวม1.82 หมื่นล้านบาท ส่วนสยามอินดิก้า เสนอซื้อข้าวปี 2551/52 ปริมาณ 8.32 แสนตัน ตันละ 1.1-1.2 หมื่นบาท รวม 9.4 พันล้านบาท และปี 2552 ปริมาณ 6.45 แสนตัน ตันละ 1.1 หมื่นบาท รวม 7.1 พันล้านบาท
*** อุ้มสมนอมินียักษ์ใหญ่เกษตร
เมื่อผลเบื้องต้นปรากฏออกมา วงการค้าข้าวต่างจับตามองว่า วุฒิกรี ซึ่งมีนักการเมืองอดีตรัฐมนตรีหนุนหลัง
อยู่จะได้ข้าวยกล็อตหรือไม่ ขณะเดียวกันก็มีการพูดกันว่า สยามอินดิก้า ซึ่งมีนักการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาล และเป็นสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ให้การสนับสนุนอาจแซงโค้งขึ้นมาแทน ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองผลประโยชน์ ทั้งนี้ ทั้ง วุฒิกรี และ สยามอินดิก้า ต่างเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาไม่นาน และวงการค้าข้าวรู้กันดีว่า สยามอินดิก้า เป็นนอมินีหรือบริษัทตัวแทนของ เพรสซิเด้นท์ อะกริ เทรดดิ้ง บริษัทที่เคยประมูลข้าวแบบยกล็อต 1.7 ล้านตัน สมัยนายวัฒนา เมืองสุข เป็นรมว.พาณิชย์ และมีปัญหาผิดสัญญาจนถูกขึ้นบัญชีดำของกระทรวงพาณิชย์
การต่อรองผลประโยชน์ระหว่างนักการเมืองและบริษัทเข้าร่วมประมูล ปรากฏผลในเวลาต่อมา กล่าวคือ คณะกรรมการต่อรองราคาฯ ได้นำข้อสรุปเสนอต่อนางพรทิวา นาคาสัย รมว.พาณิชย์ พิจารณา 2 แนวทาง คือ แนวทางแรก อนุมัติขายในราคาเฉลี่ย 1.4 หมื่นบาท/ตัน ขึ้นไป จะมีผู้ชนะการประมูลข้าว 13-14 ราย สามารถจำหน่ายข้าวได้ถึง 2.4 ล้านตัน และแนวทางสอง อนุมัติจำหน่ายในราคา 1.45 หมื่นบาท/ตัน ขึ้นไป จะมีผู้ชนะการประมูลเหลือต่ำกว่า 13 ราย จะสามารถจำหน่ายข้าวได้เพียง 1 ล้านตัน ซึ่งแนวทางแรกเป็นแนวทางที่นางพรทิวา เห็นชอบ เพราะระบายข้าวได้มากกว่า
คราวนี้ รายชื่อผู้ที่ชนะการประมูลข้าวในแนวทางแรกรายใหญ่ เช่น บริษัท สยามอินดิก้า ปริมาณ 6.7 แสนตัน ราคา 1.4-1.41 หมื่นบาท, บริษัท แคปปิตัลซีเรียลส์ ในเครือนครหลวงค้าข้าว ปริมาณ 3 แสนตัน ราคาเฉลี่ย 1.43-1.48 หมื่นบาท, บริษัท เอเชียโกลเด้นไรซ์ และบริษัท ไชยพรไรซ์แอนด์ฟู้ดโปรดักส์ รายละ 3 แสนตัน ในราคาเฉลี่ย 1.43-1.45 หมื่นบาท บริษัท พงษ์ลาภ ปริมาณ 2 แสนตัน ราคา 1.4-1.43 หมื่นบาท และบริษัท สิงห์โตทอง ไรซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ปริมาณ 4.6 แสนตัน ราคาเฉลี่ย 1.4 หมื่นบาท
ส่วนบริษัทวุฒิกวี ที่เสนอซื้อข้าวยกล็อต ไม่ได้รับการเรียกเจรจาต่อรองราคา เนื่องจากถูกตัดสิทธิการประมูล เพราะมีคุณสมบัติไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขการประมูล คือ ถูกขึ้นบัญชีดำ (แบล็กลิสต์) อยู่กับทางอคส.
ก่อนหน้านี้ ในวันเปิดซองประมูลข้าว สยามอินดิก้า เสนอซื้อข้าวไม่ยกล็อต และให้ราคาเพียงตันละ 1.1-1.3 หมื่นบาท ขณะที่วุฒิกวี เสนอซื้อข้าวยกล็อต และให้ราคาสูงตันละ 1.46 หมื่นบาท
แหล่งข่าวกล่าวว่า การขายข้าวส่วนใหญ่เป็นข้าวขาว 5% นาปรัง ปี 2551 และนาปี 2551/52 รวม 2.4 ล้านตัน โดยราคาเฉลี่ยที่ขายได้อยู่ที่ 1.42 – 1.55 หมื่นบาทต่อตัน ซึ่งยังต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบันอยู่ที่ 1.6-1.7 หมื่นบาท/ตัน และต่ำกว่าราคารับจำนำที่ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 2 .2 - 2.4 หมื่นบาทต่อตัน (ข้าวสาร) (ประมาณการจากการรับจำนำข้าวเปลือกตันละ 1.4 หมื่นบาท และ 1.2 หมื่นบาท) จะทำให้ขาดทุนจากราคาตลาดประมาณ 2,000-3,000 บาท/ตัน หรืออนุมัติขายข้าว 2.4 ล้านตัน ขาดทุน 4,800-7,200 ล้านบาท และขาดทุนจากต้นทุนรับจำนำประมาณตันละ 1-1.4 หมื่นบาทขึ้นไป หรืออนุมัติจำหน่าย 2.4 ล้านตัน จะขาดทุนถึง 2.4 หมื่นล้านบาทขึ้นไป