นาทีนี้ พรรคประชาธิปัตย์ กำลังตกอยู่ในอาการ “กลื่นไม่เข้าคายไม่ออก” หลังจากที่ถูกพรรคร่วมรัฐบาลเล่นเกมบีบให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ
ล็อกให้ปล่อยผีอดีตนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง
เร่งเกมเข้าทางพรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคเพื่อไทย ที่พยายามเดินเกมแก้ไขรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด ตั้งแต่รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช จนมาถึงสมัยสมชาย วงศ์สวัสดิ์
แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะถูกขวางจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ ในการขัดขวางแผนการดังกล่าวจนสำเร็จ แถมทำให้รัฐบาลนอมินีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องพังครืนลง
ดังนั้นเมื่อพรรคร่วมรัฐบาลโดยเฉพาะ พรรคภูมิใจไทย แหล่งรวมขุนพลของกลุ่มเพื่อนเนวิน และอดีตมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทยพัฒนา ของมังกรการเมือง บิ๊กเติ้ง ออกมาเดินเกมเอง จึงเข้าทางตีนพรรคฝ่ายค้าน อย่างพรรคเพื่อไทย
พรรคประชาธิปัตย์ ต้องรับเผือกร้อนมาแบบเต็มๆ
หลังจาก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตกปากรับคำที่จะเดินหน้าปฏิรูปการเมือง หวังแก้ปัญหาวิกฤติของประเทศ จากเงื้อมมือของกลุ่มเสื้อแดง
ด้วยความเป็นผู้นำประเทศ จึงจำต้องยอมกลืนเลือด ให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ แม้ว่าก่อนหน้านี้เคยออกมายืนยันว่า ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50
พร้อมทั้งเสนอเสนอ ออฟชั่นยื้อเวลาต่ออายุรัฐบาล ด้วยการนำประเด็นปัญหากลับเข้าสู่สภามากกว่าจะลดตัวลงไปต่อสู้บนท้องถนน ด้วยวิธีการตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมา 2 ชุด คือ คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมือง และแก้ไขรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์วันที่ 8-15 เม.ย. ผ่าน 80 อรหันต์ เพื่อทำหน้าที่ ศึกษา สรุป และเสนอรายงานผลแนวทางการแก้ไขวิกฤติปัญหาของประเทศ ต่อประธานรัฐสภาต่อไป ตามเงื่อนไขคือ ต้องสรุปผลโดยเร็วที่สุด
แม้สายตาคนนอกจะเฝ้ารอดูว่า สุดท้ายแล้ว นายกฯอภิสิทธิ์ จะแก้เกมการเมืองตรงนี้อย่างไร เพราะดูเหมือนประชาธิปัตย์ จะตกอยู่ในสภาวะของการสู้ศึกรอบด้านอย่างโดดเดี่ยว เดียวดาย
แต่หากมองให้ลึกลงไปแล้ว เชื่อว่าเกมนี้ พรรคประชาธิปัตย์ ยังมีทางพลิ้วไหวต่อไปได้
เพราะด้วยฝีมือความเชี่ยวกรำทางการเมืองของพรรคเก่าแก่ ที่มีประสบการณ์ในสภามายาวนานที่สุด ย่อมอ่านเกมออกว่า เป้าหมายของพรรคต่างๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหวในครั้งนี้ ก็เพียงเพื่อให้บรรดาอดีตนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ได้กลับมาโลดแล่นได้อีกครั้ง
ไม่เช่นนั้นคงไม่ได้เห็นปลาไหลใส่สเก็ตอย่าง บรรหาร ศิลปอาชา ออกมาเดินเกมเคลื่อนไหวเอง พร้อมแทคทีม กับ ชวรัตน์ ชาญวีระกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย หวังสืบทอดทายาททางการเมืองต่อไป
ไม่อย่างนั้น ทั้งสองเสือ มีหวังต้องสูญพันธุ์ไปจากวงการเมืองแน่
ดูจะเป็นได้โอกาสทองของบรรดาอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย ที่แตกกระสานซ่านเซ็นไปตั้งพรรคต่างๆ หลังถูกยุบพรรค ต่างออกมาสนับสนุนกันอย่างคึกคัก
อย่างที่เห็นๆ ก็เช่นอาการกระดี๊กระด๊า ของผู้เฒ่าวังน้ำเย็น "เสนาะ เทียนทอง" ที่ก่อนหน้านี้ หายหน้าหายไปตาไปพักใหญ่ พอได้จังหวะดีก็มาออกโรง ถึงขนาดดอดเข้าร่วมโต๊ะประชุมวิป 3 ฝ่าย และจองนั่งหัวโต๊ะ จะเป็นประธานแก้ไขรัฐธรรมนูญเอง แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้กระแสสังคม
แต่กระนั้น เฒ่าผู้นี้ก็ยังไม่ลดละความพยายาม ยังเดินหน้าเปิดไพ่ออกมาให้เห็นจะๆ ด้วยการชงเรื่องนิรโทษกรรมขึ้นโต๊ะเจรจา เพื่อหวังล้างมลทินให้พวกอดีตนักการเมือง ที่จะพลอยทำให้ สัมภเวสี อย่าง นช.ทักษิณ ชินวัตรได้อานิสงส์ตามไปด้วย
ท่ามกลางเสียงเล็ดลอดอย่างหนาหูว่า งานนี้ ป๋าเหนาะ รับจ๊อบชัวร์ป้าบ
เมื่อเห็นอาการออกมาแบบนี้แล้ว มีหรือพรรคเก่าแก่อย่างพรรคประชาธิปัตย์ จะอ่านไม่ออก เพราะไม่แน่จริงไม่อยู่มาได้ถึง63 ปี
โดยเฉพาะกุนซือหนวดทอง บัญญัติ บรรทัดฐาน ผู้อยู่เบื้องหลังวอร์รูมพรรคประชาธิปัตย์ ที่ออกมาชำแหละการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นฉากๆ
“ที่สุดแล้วการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ คงหนีไม่พ้นแก้เพื่อช่วยเหลือแต่พวกนักการเมืองต่างๆ และสุดท้ายก็จะเป็นการโดดเดี่ยวพรรคประชาธิปัตย์ โดยพวกเขาหวังว่า ที่สุดแล้วเราจะกลายเป็นพรรคเล็กลงและอ่อนแอในที่สุด”
ที่สำคัญพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงที่ยังเป็นฝ่ายค้าน ได้ประกาศจุดยืนมาตลอดว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเห็นว่าที่ผ่านมายังไม่มีจุดบกพร่องตรงไหนหนักหนาสาหัส ถึงขนาดต้องแก้ไขกันในช่วงนี้
แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป พรรคประชาธิปัตย์จับพลัดจับผลูได้เป็นแกนนำรัฐบาล จึงจำต้องเอาตัวรอด ท่ามกลางสารพัดวิกฤติรอบด้าน รวมถึงนักการเมืองประเภท เสือ สิงห์ กระทิง แรด พวกเขี้ยวลากดินทั้งหลาย ที่คอยฉกฉวยโอกาส ในจังหวะที่รัฐบาลอ่อนแอถึงขีดสุด นำมาเป็นเงื่อนไขต่อรองทางการเมือง
จึงจำต้องใช้ยุทธศาสตร์ ยอมงอ แต่ไม่ยอมหัก เปิดทางให้มีการปฏิรูปการเมือง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เล่นง่ายๆ ด้วยการโยนเผือกร้อนนี้เข้าสู่สภาไปซะ และให้ประชาชนได้รับรู้ และเข้ามามีส่วนร่วมกับเกมนี้ หรือที่เรียกว่า เป็นการดึงมวลชนเข้ามาร่วมเกมด้วยนั่นเอง
การถูกครหาว่า ตีสองหน้า ของพรรคการเมืองรุ่นเก๋า จึงไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ หน้าหนึ่งยอมเดินเกมตามระบบรัฐสภา ด้วยการส่งสมาชิกเข้าไปร่วมนั่งโต๊ะปฏิรูปการเมือง ขณะที่อีกหน้าหนึ่ง ใช้ขุนพลระดับพระกาฬ ที่มีภาษีทางสังคมสูง อย่าง ชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค ออกมาสอดประสานรับกับ บัญญัติ บรรทัดฐาน ย้ำจุดยืนของพรรคให้เข้าถึงหูสังคม
ถือว่า เป็นการแก้เกมที่แยบยลขั้นเซียนเลยทีเดียว
เพราะแกนนำพรรคประเมินดูแล้วเห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน หมิ่นเหม่ และแหลมคมทางสังคม ที่จะมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย เพราะดูได้จากประวัติศาสตร์ในอดีตที่ผ่านมา
“การเหยียบเรือสองแคม” จึงถือเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ในยามนี้
พวกเขามองว่า การตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งให้มวลชนได้รู้ ได้เห็นว่า พรรคมีความจริงใจ และเปิดกว้างในการแก้ปัญหาของบ้านเมือง เพื่อให้สังคมรู้สึกมีความหวังว่า ชีวิตยังไม่มืดมนเท่าที่ควร เพราะยังมี “แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์”
ที่สำคัญ เกมนี้เป็นการยื้อเวลาต่ออายุการทำงานของรัฐบาล ให้ได้หายใจหายคอยืดยาวออกไปได้อีก สักระยะหนึ่ง เพราะนับนิ้วดีดลูกคิดแล้ว เกมแก้ไขรัฐธรรมนูญยังอีกยาวไกลกว่าจะเห็นผล จึงไม่ควรเอาเรือไปขวางในช่วงที่น้ำกำลังเชี่ยว ยอมถอยไปหนึ่งก้าว ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
แต่ประเด็นเรื่องนิรโทษกรรมนั้นบอกได้เลยว่า ..ปิดตาย !
เหตุเพราะพวกเขาฉลาดพอที่จะรู้ว่า “ไม่ควรยื่นอาวุธให้ศัตรู” เพราะเมื่อไหร่ที่คนพวกนี้เข้มแข็ง พรรคประชาธิปัตย์ อ่อนแอเมื่อนั้น ที่สำคัญย่อมรู้ดีว่าไม่สามารถสู้กระสุนดินดำได้
ฉะนั้นหมากที่ควรเดินคือ เกมในสภาก็ปล่อยให้คณะกรรมการเล่นไปตามบทบาท ขณะที่รัฐบาลเองก็เดินหน้าโกยคะแนนนิยมจากประชาชน เพื่อเตรียมไว้เป็นทุนรอนในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ด้วยการโหมสร้างความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจให้กลับคืนมา ไม่ว่าจะเป็นการเดินหน้าจัดประชุมอาเซียนซัมมิตกับคู่เจรจาที่เกาะภูเก็ต งานนี้หากผ่านพ้นไปด้วยดี รัฐบาลจะโกยคะแนนไปได้เต็มๆ
อีกทั้งยังกระหน่ำกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อนำมาอัดไปยังรากหญ้าผ่านโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจตามแบบฉบับนโยบายประชานิยม โดยหวังผลกล่อมให้ประชาชนลืมสิ่งที่ นช.แม้ว เคยกระทำไว้ แล้วเปิดใจรับพรรคประชาธิปัตย์มากขึ้น
สุดท้ายงานนี้ ที่ขึ้นต้นว่าพรรคประชาธิปัตย์ จะออกอาการร่อแร่ แต่ดูจากปัจจัยรอบด้านแล้ว เชื่อว่ามีแต่ได้ หรือถ้าไม่เป็นไปตามที่แกนนำหลายคนได้ดีดลูกคิดไว้ อย่างน้อยก็เสมอตัว เพราะหากมีปัจจัยที่มาทำให้เกมนี้บานปลายออกไปนอกเหนือการควบคุม อย่างน้อย นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ยังมีไพ่ใบสุดท้ายอยู่ในมือ
นั่นก็คือ การยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน แล้วไปว่ากันอีกทีในสนามเลือกตั้ง!
ล็อกให้ปล่อยผีอดีตนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง
เร่งเกมเข้าทางพรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคเพื่อไทย ที่พยายามเดินเกมแก้ไขรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด ตั้งแต่รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช จนมาถึงสมัยสมชาย วงศ์สวัสดิ์
แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะถูกขวางจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ ในการขัดขวางแผนการดังกล่าวจนสำเร็จ แถมทำให้รัฐบาลนอมินีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องพังครืนลง
ดังนั้นเมื่อพรรคร่วมรัฐบาลโดยเฉพาะ พรรคภูมิใจไทย แหล่งรวมขุนพลของกลุ่มเพื่อนเนวิน และอดีตมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทยพัฒนา ของมังกรการเมือง บิ๊กเติ้ง ออกมาเดินเกมเอง จึงเข้าทางตีนพรรคฝ่ายค้าน อย่างพรรคเพื่อไทย
พรรคประชาธิปัตย์ ต้องรับเผือกร้อนมาแบบเต็มๆ
หลังจาก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตกปากรับคำที่จะเดินหน้าปฏิรูปการเมือง หวังแก้ปัญหาวิกฤติของประเทศ จากเงื้อมมือของกลุ่มเสื้อแดง
ด้วยความเป็นผู้นำประเทศ จึงจำต้องยอมกลืนเลือด ให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ แม้ว่าก่อนหน้านี้เคยออกมายืนยันว่า ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50
พร้อมทั้งเสนอเสนอ ออฟชั่นยื้อเวลาต่ออายุรัฐบาล ด้วยการนำประเด็นปัญหากลับเข้าสู่สภามากกว่าจะลดตัวลงไปต่อสู้บนท้องถนน ด้วยวิธีการตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมา 2 ชุด คือ คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมือง และแก้ไขรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์วันที่ 8-15 เม.ย. ผ่าน 80 อรหันต์ เพื่อทำหน้าที่ ศึกษา สรุป และเสนอรายงานผลแนวทางการแก้ไขวิกฤติปัญหาของประเทศ ต่อประธานรัฐสภาต่อไป ตามเงื่อนไขคือ ต้องสรุปผลโดยเร็วที่สุด
แม้สายตาคนนอกจะเฝ้ารอดูว่า สุดท้ายแล้ว นายกฯอภิสิทธิ์ จะแก้เกมการเมืองตรงนี้อย่างไร เพราะดูเหมือนประชาธิปัตย์ จะตกอยู่ในสภาวะของการสู้ศึกรอบด้านอย่างโดดเดี่ยว เดียวดาย
แต่หากมองให้ลึกลงไปแล้ว เชื่อว่าเกมนี้ พรรคประชาธิปัตย์ ยังมีทางพลิ้วไหวต่อไปได้
เพราะด้วยฝีมือความเชี่ยวกรำทางการเมืองของพรรคเก่าแก่ ที่มีประสบการณ์ในสภามายาวนานที่สุด ย่อมอ่านเกมออกว่า เป้าหมายของพรรคต่างๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหวในครั้งนี้ ก็เพียงเพื่อให้บรรดาอดีตนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ได้กลับมาโลดแล่นได้อีกครั้ง
ไม่เช่นนั้นคงไม่ได้เห็นปลาไหลใส่สเก็ตอย่าง บรรหาร ศิลปอาชา ออกมาเดินเกมเคลื่อนไหวเอง พร้อมแทคทีม กับ ชวรัตน์ ชาญวีระกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย หวังสืบทอดทายาททางการเมืองต่อไป
ไม่อย่างนั้น ทั้งสองเสือ มีหวังต้องสูญพันธุ์ไปจากวงการเมืองแน่
ดูจะเป็นได้โอกาสทองของบรรดาอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย ที่แตกกระสานซ่านเซ็นไปตั้งพรรคต่างๆ หลังถูกยุบพรรค ต่างออกมาสนับสนุนกันอย่างคึกคัก
อย่างที่เห็นๆ ก็เช่นอาการกระดี๊กระด๊า ของผู้เฒ่าวังน้ำเย็น "เสนาะ เทียนทอง" ที่ก่อนหน้านี้ หายหน้าหายไปตาไปพักใหญ่ พอได้จังหวะดีก็มาออกโรง ถึงขนาดดอดเข้าร่วมโต๊ะประชุมวิป 3 ฝ่าย และจองนั่งหัวโต๊ะ จะเป็นประธานแก้ไขรัฐธรรมนูญเอง แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้กระแสสังคม
แต่กระนั้น เฒ่าผู้นี้ก็ยังไม่ลดละความพยายาม ยังเดินหน้าเปิดไพ่ออกมาให้เห็นจะๆ ด้วยการชงเรื่องนิรโทษกรรมขึ้นโต๊ะเจรจา เพื่อหวังล้างมลทินให้พวกอดีตนักการเมือง ที่จะพลอยทำให้ สัมภเวสี อย่าง นช.ทักษิณ ชินวัตรได้อานิสงส์ตามไปด้วย
ท่ามกลางเสียงเล็ดลอดอย่างหนาหูว่า งานนี้ ป๋าเหนาะ รับจ๊อบชัวร์ป้าบ
เมื่อเห็นอาการออกมาแบบนี้แล้ว มีหรือพรรคเก่าแก่อย่างพรรคประชาธิปัตย์ จะอ่านไม่ออก เพราะไม่แน่จริงไม่อยู่มาได้ถึง63 ปี
โดยเฉพาะกุนซือหนวดทอง บัญญัติ บรรทัดฐาน ผู้อยู่เบื้องหลังวอร์รูมพรรคประชาธิปัตย์ ที่ออกมาชำแหละการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นฉากๆ
“ที่สุดแล้วการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ คงหนีไม่พ้นแก้เพื่อช่วยเหลือแต่พวกนักการเมืองต่างๆ และสุดท้ายก็จะเป็นการโดดเดี่ยวพรรคประชาธิปัตย์ โดยพวกเขาหวังว่า ที่สุดแล้วเราจะกลายเป็นพรรคเล็กลงและอ่อนแอในที่สุด”
ที่สำคัญพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงที่ยังเป็นฝ่ายค้าน ได้ประกาศจุดยืนมาตลอดว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเห็นว่าที่ผ่านมายังไม่มีจุดบกพร่องตรงไหนหนักหนาสาหัส ถึงขนาดต้องแก้ไขกันในช่วงนี้
แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป พรรคประชาธิปัตย์จับพลัดจับผลูได้เป็นแกนนำรัฐบาล จึงจำต้องเอาตัวรอด ท่ามกลางสารพัดวิกฤติรอบด้าน รวมถึงนักการเมืองประเภท เสือ สิงห์ กระทิง แรด พวกเขี้ยวลากดินทั้งหลาย ที่คอยฉกฉวยโอกาส ในจังหวะที่รัฐบาลอ่อนแอถึงขีดสุด นำมาเป็นเงื่อนไขต่อรองทางการเมือง
จึงจำต้องใช้ยุทธศาสตร์ ยอมงอ แต่ไม่ยอมหัก เปิดทางให้มีการปฏิรูปการเมือง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เล่นง่ายๆ ด้วยการโยนเผือกร้อนนี้เข้าสู่สภาไปซะ และให้ประชาชนได้รับรู้ และเข้ามามีส่วนร่วมกับเกมนี้ หรือที่เรียกว่า เป็นการดึงมวลชนเข้ามาร่วมเกมด้วยนั่นเอง
การถูกครหาว่า ตีสองหน้า ของพรรคการเมืองรุ่นเก๋า จึงไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ หน้าหนึ่งยอมเดินเกมตามระบบรัฐสภา ด้วยการส่งสมาชิกเข้าไปร่วมนั่งโต๊ะปฏิรูปการเมือง ขณะที่อีกหน้าหนึ่ง ใช้ขุนพลระดับพระกาฬ ที่มีภาษีทางสังคมสูง อย่าง ชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค ออกมาสอดประสานรับกับ บัญญัติ บรรทัดฐาน ย้ำจุดยืนของพรรคให้เข้าถึงหูสังคม
ถือว่า เป็นการแก้เกมที่แยบยลขั้นเซียนเลยทีเดียว
เพราะแกนนำพรรคประเมินดูแล้วเห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน หมิ่นเหม่ และแหลมคมทางสังคม ที่จะมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย เพราะดูได้จากประวัติศาสตร์ในอดีตที่ผ่านมา
“การเหยียบเรือสองแคม” จึงถือเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ในยามนี้
พวกเขามองว่า การตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งให้มวลชนได้รู้ ได้เห็นว่า พรรคมีความจริงใจ และเปิดกว้างในการแก้ปัญหาของบ้านเมือง เพื่อให้สังคมรู้สึกมีความหวังว่า ชีวิตยังไม่มืดมนเท่าที่ควร เพราะยังมี “แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์”
ที่สำคัญ เกมนี้เป็นการยื้อเวลาต่ออายุการทำงานของรัฐบาล ให้ได้หายใจหายคอยืดยาวออกไปได้อีก สักระยะหนึ่ง เพราะนับนิ้วดีดลูกคิดแล้ว เกมแก้ไขรัฐธรรมนูญยังอีกยาวไกลกว่าจะเห็นผล จึงไม่ควรเอาเรือไปขวางในช่วงที่น้ำกำลังเชี่ยว ยอมถอยไปหนึ่งก้าว ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
แต่ประเด็นเรื่องนิรโทษกรรมนั้นบอกได้เลยว่า ..ปิดตาย !
เหตุเพราะพวกเขาฉลาดพอที่จะรู้ว่า “ไม่ควรยื่นอาวุธให้ศัตรู” เพราะเมื่อไหร่ที่คนพวกนี้เข้มแข็ง พรรคประชาธิปัตย์ อ่อนแอเมื่อนั้น ที่สำคัญย่อมรู้ดีว่าไม่สามารถสู้กระสุนดินดำได้
ฉะนั้นหมากที่ควรเดินคือ เกมในสภาก็ปล่อยให้คณะกรรมการเล่นไปตามบทบาท ขณะที่รัฐบาลเองก็เดินหน้าโกยคะแนนนิยมจากประชาชน เพื่อเตรียมไว้เป็นทุนรอนในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ด้วยการโหมสร้างความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจให้กลับคืนมา ไม่ว่าจะเป็นการเดินหน้าจัดประชุมอาเซียนซัมมิตกับคู่เจรจาที่เกาะภูเก็ต งานนี้หากผ่านพ้นไปด้วยดี รัฐบาลจะโกยคะแนนไปได้เต็มๆ
อีกทั้งยังกระหน่ำกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อนำมาอัดไปยังรากหญ้าผ่านโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจตามแบบฉบับนโยบายประชานิยม โดยหวังผลกล่อมให้ประชาชนลืมสิ่งที่ นช.แม้ว เคยกระทำไว้ แล้วเปิดใจรับพรรคประชาธิปัตย์มากขึ้น
สุดท้ายงานนี้ ที่ขึ้นต้นว่าพรรคประชาธิปัตย์ จะออกอาการร่อแร่ แต่ดูจากปัจจัยรอบด้านแล้ว เชื่อว่ามีแต่ได้ หรือถ้าไม่เป็นไปตามที่แกนนำหลายคนได้ดีดลูกคิดไว้ อย่างน้อยก็เสมอตัว เพราะหากมีปัจจัยที่มาทำให้เกมนี้บานปลายออกไปนอกเหนือการควบคุม อย่างน้อย นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ยังมีไพ่ใบสุดท้ายอยู่ในมือ
นั่นก็คือ การยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน แล้วไปว่ากันอีกทีในสนามเลือกตั้ง!