นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. แถลงภายหลังการประชุมว่า กกต. มีมติเอกฉันท์ให้ยกคำร้องตามที่คณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา นายวัชรพล โรจนวรวัฒน์ และนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส. เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ขอให้ตรวจสอบพรรคประชาธิปัตย์ ว่ามีเจตนาไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งซ่อมเมื่อวันที่ 11 ม.ค.2552 ในพื้นที่ทับซ้อนกับพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
และการนำผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปีมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ทำให้การได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศของพรรคประชาธิปัตย์ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและขัดต่อคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสนอเนื่องจากเห็นว่า ในประเด็นที่กล่าวหาว่านำผู้ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง มายุ่งเกี่ยวทางการเมือง
นายสุทธิพล กล่าวว่าประเด็นการนำผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองมายุ่งเกี่ยวกับการเมืองนั้น กกต.ได้เคยมีมติให้ยุติเรื่องไปแล้ว เพราะเห็นว่าการกระทำของ พรรคประชาธิปัตย์ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดต่อคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีการวินิจฉัยในประเด็นนี้อีก
ส่วนเรื่องการไม่ผู้สมัครลงเลือกตั้งในพื้นที่ทับซ้อนกับพรรคร่วมรัฐบาลนั้น อนุกรรมการฯ ได้นำฐานข้อมูลการเลือกตั้งส.ส.เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2548 และ 23 ธ.ค. 2550 มาเปรียบเทียบกับการเลือกตั้งซ่อม 11 ม.ค. 2552 สรุปได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ เคยส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งซ่อมในพื้นที่พรรคร่วมรัฐบาลด้วยเช่นในพื้นที่เขต 1 ของจ"นครปฐม ปทุมธานี สิงห์บุรี ราชบุรี ลำปาง และสมุทรปราการ เขต 2 ของ จ.สระบุรี และเขต 10 ของ กทม. เพราะเห็นว่า เป็นเขตที่ผู้สมัครของพรรคเคยได้รับคะแนนเสียงใกล้เคียงกับผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง ส่วนเขตเลือกตั้งอื่นที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งทั้งที่การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2550 พรรคเคยส่งนั้น เนื่องจากเห็นว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ผู้สมัครของพรรคได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนที่น้อยกว่าผู้ที่ได้รับเลือกตั้งกว่า 10 เท่าตัว ทางพรรคจึงพิจารณา ไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งดังกล่าวเพราะจะเป็นการเสียเงิน ในการลงเลือกตั้งไปโดยเปล่าประโยชน์
จากข้อเท็จจริงดังกล่าว ทางคณะกรรมการฯจึงเห็นว่าการที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งซ่อมในวันที่ 11 ม.ค. 2552 ในบางพื้นที่ ถือเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 95 วรรค 2 และการกระทำดังกล่าวไม่ได้ปรากฏ ว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้รับผลประโยชน์อื่นใดอันก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองอื่น รวมทั้งไม่ได้ทำให้การเลือกตั้งซ่อมดังกล่าวไม่สุจริต ไม่เที่ยงธรรมแต่อย่างใด จึงให้ยกคำร้อง
นายสุทธิพล ยังกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ทางเลขานุการของคณะกรรมการ ไต่สวนฯ ยังได้นำเสนอ กกต.ถึงหนังสือของอัยการสูงสุด ที่แจ้งต่อ นายเรืองไกร กรณีที่นายเรืองไกร ขอให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เลิกกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศด้วยวิถีทางที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68, 237, 238 และพ.ร.บ.พรรคการเมืองมาตรา 94 ,95, 98 103, 110, 111 และขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์และเพิกถอนสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งอัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า พฤติกรรมดังกล่าวไม่เข้าข่ายกระทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ ด้วยวิถีทางที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญอันเป็นการต้องห้ามกระทำมิได้ตามมาตรา 68 ที่รัฐธรรมนูญกำหนด จึงมีคำสั่งให้ยุติเรื่องดังกล่าว
และการนำผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปีมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ทำให้การได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศของพรรคประชาธิปัตย์ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและขัดต่อคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสนอเนื่องจากเห็นว่า ในประเด็นที่กล่าวหาว่านำผู้ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง มายุ่งเกี่ยวทางการเมือง
นายสุทธิพล กล่าวว่าประเด็นการนำผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองมายุ่งเกี่ยวกับการเมืองนั้น กกต.ได้เคยมีมติให้ยุติเรื่องไปแล้ว เพราะเห็นว่าการกระทำของ พรรคประชาธิปัตย์ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดต่อคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีการวินิจฉัยในประเด็นนี้อีก
ส่วนเรื่องการไม่ผู้สมัครลงเลือกตั้งในพื้นที่ทับซ้อนกับพรรคร่วมรัฐบาลนั้น อนุกรรมการฯ ได้นำฐานข้อมูลการเลือกตั้งส.ส.เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2548 และ 23 ธ.ค. 2550 มาเปรียบเทียบกับการเลือกตั้งซ่อม 11 ม.ค. 2552 สรุปได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ เคยส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งซ่อมในพื้นที่พรรคร่วมรัฐบาลด้วยเช่นในพื้นที่เขต 1 ของจ"นครปฐม ปทุมธานี สิงห์บุรี ราชบุรี ลำปาง และสมุทรปราการ เขต 2 ของ จ.สระบุรี และเขต 10 ของ กทม. เพราะเห็นว่า เป็นเขตที่ผู้สมัครของพรรคเคยได้รับคะแนนเสียงใกล้เคียงกับผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง ส่วนเขตเลือกตั้งอื่นที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งทั้งที่การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2550 พรรคเคยส่งนั้น เนื่องจากเห็นว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ผู้สมัครของพรรคได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนที่น้อยกว่าผู้ที่ได้รับเลือกตั้งกว่า 10 เท่าตัว ทางพรรคจึงพิจารณา ไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งดังกล่าวเพราะจะเป็นการเสียเงิน ในการลงเลือกตั้งไปโดยเปล่าประโยชน์
จากข้อเท็จจริงดังกล่าว ทางคณะกรรมการฯจึงเห็นว่าการที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งซ่อมในวันที่ 11 ม.ค. 2552 ในบางพื้นที่ ถือเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 95 วรรค 2 และการกระทำดังกล่าวไม่ได้ปรากฏ ว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้รับผลประโยชน์อื่นใดอันก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองอื่น รวมทั้งไม่ได้ทำให้การเลือกตั้งซ่อมดังกล่าวไม่สุจริต ไม่เที่ยงธรรมแต่อย่างใด จึงให้ยกคำร้อง
นายสุทธิพล ยังกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ทางเลขานุการของคณะกรรมการ ไต่สวนฯ ยังได้นำเสนอ กกต.ถึงหนังสือของอัยการสูงสุด ที่แจ้งต่อ นายเรืองไกร กรณีที่นายเรืองไกร ขอให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เลิกกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศด้วยวิถีทางที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68, 237, 238 และพ.ร.บ.พรรคการเมืองมาตรา 94 ,95, 98 103, 110, 111 และขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์และเพิกถอนสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งอัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า พฤติกรรมดังกล่าวไม่เข้าข่ายกระทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ ด้วยวิถีทางที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญอันเป็นการต้องห้ามกระทำมิได้ตามมาตรา 68 ที่รัฐธรรมนูญกำหนด จึงมีคำสั่งให้ยุติเรื่องดังกล่าว