กกต.มีมติเสียงข้างมาก ลงมติยกคำร้องข้อกล่าวหา "อภิสิทธิ์-เนวิน" หารือตั้งรัฐบาล ระบุไม่เข้าข่ายกระทำการไม่ถูกต้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ เหตุนั่งเก้าอี้นายกฯได้ด้วยเสียงโหวตในสภา ขณะเดียวกัน กม.ก็ไม่ได้ห้ามผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองร่วมตั้งรัฐบาลแถมไม่ปรากฎหลักฐานการเจรจาตกลงเพื่อค้ำบัลลังค์รัฐบาล มาร์ค ส่วนผลสอบเงินบริจาค ปชป.250 ล้าน พบปี 2548 มียอดบริจาคเพียง 38 ล้านบาท แถมไม่มีชื่อ ประชัย-ทีพีไอ-แม็สไซอะฯ
วานนี้ ( 19 ก.พ. ) นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. แถลงว่า ที่ประชุม กกต.เสียงข้างมากมีมติเห็นควรให้ยุติเรื่องและยกคำร้องกรณีที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย และนายโรมิรัน บุญจันทร์ ขอให้ กกต. พิจารณาวินิจฉัยประเด็นที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เข้ามายุ่งเกี่ยว ทางการเมืองตามที่คณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงเสนอ เนื่องจากเห็นว่า 1.การที่ผู้ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองมีการพบปะกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้นไม่ได้เป็นการกระทำขัดต่อคำวินิจฉัยของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ 3-5 /2550 เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2550 และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 18 -20/2551 เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2551 และ 2.การกระทำของนายอภิสิทธ์ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่เป็นการกระทำฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ประกอบมาตรา 94,96 และ 98 ของพ.ร.บ.พรรคการเมือง 50 ที่ห้ามกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครอง ประเทศที่ไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้
ส่วนเหตุผลที่คณะกรรมการไต่สวนเสนอและกกต.เสียงข่างมากเห็นด้วยนั้น ระบุว่า คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญเป็นการวินิจฉัยให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจะโยงไปถึงสิทธิในการเดินทางไปเลือกตั้ง สมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้งไม่ให้ไปจัดตั้งพรรคการเมืองและไม่สามารถเป็นสมาชิก พรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคและหัวหน้าพรรคการเมืองได้ แต่ก็ไม่ได้จำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นประชาชนชาวไทยตามที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้
สำหรับในประเด็นการได้อำนาจการปกครองประเทศโดยมิชอบนั้น กระบวนการในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ได้กระทำโดยเปิดเผยตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งกระทำในสภาผู้แทนราษฎรและมีการถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์ในประชาชนได้รับชม อีกทั้งมีผู้ถูกเสนอชื่อชิงตำแหน่ง 2 คนด้วยกัน เพราะฉะนั้น จึงไม่มีข้อเท็จจริง ที่เป็นการแสดงให้เห็นว่า มีการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
นายอภิสิทธิ์และกรรมการบริหารที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง ยังมีสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ และมีสิทธิเสรีภาพในการเดินทาง ที่กกต. เคยวางแนวทาง เกี่ยวกับการปฏิบัติของผู้ถูกเพิกถอนสิทธิไว้ในการตอบข้อหารือนั้น ทางคณะกรรมการไต่สวนมองว่า กกต.ต้องวินิจฉัยเป็นแต่ละกรณีไป นายสุทธิพลกล่าวและว่า สำหรับความเห็นของเสียงข้างน้อยในการลงมติครั้งนี้ เห็นว่า ควรสอบสวนเพิ่มเติม ในประเด็นของข้อมูลและข้อเท็จจริงบางส่วน
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีนี้จะเป็นบรรทัดฐานว่า ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิการเมือง สามารถกระทำการใดๆได้ นอกเหนือจากที่พ.ร.บ.พรรคการเมือง ห้ามใช่หรือไม่ นายสุทธิพล กล่าวว่า ต้องเข้าใจว่า กรณีดังกล่าวผู้ร้องได้ร้องเกี่ยวกับตัวนายอภิสิทธิ์ ซึ่งต้องดูกฎหมายว่า นายอภิสิทธิ์เป็นบุคคลที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองหรือไม่ ซึ่งก็ไม่พบว่าเป็นแต่อย่างใด และที่กกต.เคยตอบข้อหารือเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวของ ผู้เพิกถอนสิทธิทางการเมือง การที่เขาจะไปทำอะไรก็ต้องดูเป็นกรณีไปว่า มีความเกี่ยวกับหรือขัดกับกฎหมายที่กกต.รับผิดชอบอยู่หรือไม่
ด้านนายสุเมธ อุปนิสากร กกต. กล่าวว่า ตนเป็นส่วนในเสียงข้างมากที่มีมติ ให้ยกคำร้อง เนื่องจากเห็นว่า การได้เป็นนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ มีการโหวตเสียงในสภา ซึ่งถือเป็นการได้อำนาจมาโดยผู้แทนราษฎร จึงไม่ถือว่า การกระทำของนายอภิสิทธิ์เข้าข่ายขัดมาตรา 68 คือกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ที่ไม่ถูกต้อง
ส่วนที่ร้องระบุว่า ผุ้ถูกเพิกถอนสิทธิเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดตั้งรัฐบาล จากพยานและหลักฐานที่ทางคณะกรรมการไต่สวนมาแสดง ก็ไม่ได้ปรากฏข้อเท็จจริง ว่าการที่นายอภิสิทธิ์ไปพบกับนายเนวิน ชิดชอบ นั้น มีการพูดจาตกลงกันในเรื่องอะไรกัน จึงไม่อาจที่จะรับฟังได้และกรณีนี้ก็ไม่สามารถบอกได้ว่า เป็นบรรทัดฐานให้กับผู้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งว่าสามารถทำอะไรก็ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเสียงข้างน้อยในการลงมติเพื่อวินิจฉัยเรื่องดังกล่าว คือ นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวนสอบสวน และนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง ทำให้การลงมติวินิจฉัยครั้งนี้มีคะแนนเสียง 3 ต่อ 2 ให้ยกคำร้องเรื่องดังกล่าว
นอกจากนี้ที่ประชุมได้รับทราบกรณีที่ทางสำนักงาน กกต.ได้ส่งรายงานผลการ ตรวจสอบการจ่ายและรับเงิน 8 รายการของพรรคประชาธิปัตย์ในปีพ.ศ. 2548 ให้กับทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เมื่อวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่มีหนังสือ ขอความร่วมมือ เนื่องจากมีการกล่าวหาว่า บริษัท ทีพีไอ จำกัด(มหาชน) ได้มีการบริจาคเงิน 250 ล้านบาทให้กับพรรคประชาธิปัตย์ ว่า จากการตรวจสอบ รายงานงบการเงินของพรรคประชาธิปัตย์ พบว่า พรรคได้รับการบริจาค 49 ครั้ง เป็นเงิน 38,013,707.50 บาท โดยไม่ปรากฎชื่ของนายประชัย เลี่ยวไพรัช ผุ้บริหารบริษัท ทีพีไอ จำกัด(มหาชน) บริษัท ทีพีไอ จำกัด(มหาชน) หรือบริษัท แมสไซอะฯ เป็นผู้บริจาคแต่อย่างใด
วานนี้ ( 19 ก.พ. ) นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. แถลงว่า ที่ประชุม กกต.เสียงข้างมากมีมติเห็นควรให้ยุติเรื่องและยกคำร้องกรณีที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย และนายโรมิรัน บุญจันทร์ ขอให้ กกต. พิจารณาวินิจฉัยประเด็นที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เข้ามายุ่งเกี่ยว ทางการเมืองตามที่คณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงเสนอ เนื่องจากเห็นว่า 1.การที่ผู้ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองมีการพบปะกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้นไม่ได้เป็นการกระทำขัดต่อคำวินิจฉัยของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ 3-5 /2550 เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2550 และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 18 -20/2551 เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2551 และ 2.การกระทำของนายอภิสิทธ์ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่เป็นการกระทำฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ประกอบมาตรา 94,96 และ 98 ของพ.ร.บ.พรรคการเมือง 50 ที่ห้ามกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครอง ประเทศที่ไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้
ส่วนเหตุผลที่คณะกรรมการไต่สวนเสนอและกกต.เสียงข่างมากเห็นด้วยนั้น ระบุว่า คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญเป็นการวินิจฉัยให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจะโยงไปถึงสิทธิในการเดินทางไปเลือกตั้ง สมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้งไม่ให้ไปจัดตั้งพรรคการเมืองและไม่สามารถเป็นสมาชิก พรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคและหัวหน้าพรรคการเมืองได้ แต่ก็ไม่ได้จำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นประชาชนชาวไทยตามที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้
สำหรับในประเด็นการได้อำนาจการปกครองประเทศโดยมิชอบนั้น กระบวนการในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ได้กระทำโดยเปิดเผยตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งกระทำในสภาผู้แทนราษฎรและมีการถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์ในประชาชนได้รับชม อีกทั้งมีผู้ถูกเสนอชื่อชิงตำแหน่ง 2 คนด้วยกัน เพราะฉะนั้น จึงไม่มีข้อเท็จจริง ที่เป็นการแสดงให้เห็นว่า มีการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
นายอภิสิทธิ์และกรรมการบริหารที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง ยังมีสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ และมีสิทธิเสรีภาพในการเดินทาง ที่กกต. เคยวางแนวทาง เกี่ยวกับการปฏิบัติของผู้ถูกเพิกถอนสิทธิไว้ในการตอบข้อหารือนั้น ทางคณะกรรมการไต่สวนมองว่า กกต.ต้องวินิจฉัยเป็นแต่ละกรณีไป นายสุทธิพลกล่าวและว่า สำหรับความเห็นของเสียงข้างน้อยในการลงมติครั้งนี้ เห็นว่า ควรสอบสวนเพิ่มเติม ในประเด็นของข้อมูลและข้อเท็จจริงบางส่วน
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีนี้จะเป็นบรรทัดฐานว่า ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิการเมือง สามารถกระทำการใดๆได้ นอกเหนือจากที่พ.ร.บ.พรรคการเมือง ห้ามใช่หรือไม่ นายสุทธิพล กล่าวว่า ต้องเข้าใจว่า กรณีดังกล่าวผู้ร้องได้ร้องเกี่ยวกับตัวนายอภิสิทธิ์ ซึ่งต้องดูกฎหมายว่า นายอภิสิทธิ์เป็นบุคคลที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองหรือไม่ ซึ่งก็ไม่พบว่าเป็นแต่อย่างใด และที่กกต.เคยตอบข้อหารือเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวของ ผู้เพิกถอนสิทธิทางการเมือง การที่เขาจะไปทำอะไรก็ต้องดูเป็นกรณีไปว่า มีความเกี่ยวกับหรือขัดกับกฎหมายที่กกต.รับผิดชอบอยู่หรือไม่
ด้านนายสุเมธ อุปนิสากร กกต. กล่าวว่า ตนเป็นส่วนในเสียงข้างมากที่มีมติ ให้ยกคำร้อง เนื่องจากเห็นว่า การได้เป็นนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ มีการโหวตเสียงในสภา ซึ่งถือเป็นการได้อำนาจมาโดยผู้แทนราษฎร จึงไม่ถือว่า การกระทำของนายอภิสิทธิ์เข้าข่ายขัดมาตรา 68 คือกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ที่ไม่ถูกต้อง
ส่วนที่ร้องระบุว่า ผุ้ถูกเพิกถอนสิทธิเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดตั้งรัฐบาล จากพยานและหลักฐานที่ทางคณะกรรมการไต่สวนมาแสดง ก็ไม่ได้ปรากฏข้อเท็จจริง ว่าการที่นายอภิสิทธิ์ไปพบกับนายเนวิน ชิดชอบ นั้น มีการพูดจาตกลงกันในเรื่องอะไรกัน จึงไม่อาจที่จะรับฟังได้และกรณีนี้ก็ไม่สามารถบอกได้ว่า เป็นบรรทัดฐานให้กับผู้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งว่าสามารถทำอะไรก็ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเสียงข้างน้อยในการลงมติเพื่อวินิจฉัยเรื่องดังกล่าว คือ นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวนสอบสวน และนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง ทำให้การลงมติวินิจฉัยครั้งนี้มีคะแนนเสียง 3 ต่อ 2 ให้ยกคำร้องเรื่องดังกล่าว
นอกจากนี้ที่ประชุมได้รับทราบกรณีที่ทางสำนักงาน กกต.ได้ส่งรายงานผลการ ตรวจสอบการจ่ายและรับเงิน 8 รายการของพรรคประชาธิปัตย์ในปีพ.ศ. 2548 ให้กับทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เมื่อวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่มีหนังสือ ขอความร่วมมือ เนื่องจากมีการกล่าวหาว่า บริษัท ทีพีไอ จำกัด(มหาชน) ได้มีการบริจาคเงิน 250 ล้านบาทให้กับพรรคประชาธิปัตย์ ว่า จากการตรวจสอบ รายงานงบการเงินของพรรคประชาธิปัตย์ พบว่า พรรคได้รับการบริจาค 49 ครั้ง เป็นเงิน 38,013,707.50 บาท โดยไม่ปรากฎชื่ของนายประชัย เลี่ยวไพรัช ผุ้บริหารบริษัท ทีพีไอ จำกัด(มหาชน) บริษัท ทีพีไอ จำกัด(มหาชน) หรือบริษัท แมสไซอะฯ เป็นผู้บริจาคแต่อย่างใด