นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตอบคำถามถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทย จะเสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ นี้ว่า อยากจะขอทวนความจำว่าปีที่แล้ววุ่นวายกันมาก และทุกคนก็บ่นว่า ไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นอีก
“ขณะนี้เศรษฐกิจหนักหนาสาหัสอยู่แล้ว ทำบ้านเมืองขัดแย้งกันขึ้นมาอีก อะไรก็เดินต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นเอางานใหญ่คือ การช่วยเหลือประชาชนมาก่อน ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเอาไว้ทีหลัง ผมไม่ปิดกั้น ไม่ปฏิเสธ และขอให้เข้ามาอยู่ในขบวนการที่มองเห็นว่า อันนี้ไม่ใช่เรื่องของนักการเมือง ทำเพื่อนักการเมือง” นายอภิสิทธิ์ ชี้แจงอย่างกล้าหาญ
ที่บอกว่าเป็นความกล้าหาญก็เพราะแม้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะเสนอขึ้นมาโดยพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน แต่ท่าทีของนักการเมืองหลายพรรคที่ร่วมรัฐบาลอยู่ขณะนี้ ก็แสดงออกให้เห็นว่า เห็นด้วยกับแนวคิดที่เรียกกันว่า ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ อย่างเต็มที่
เพราะเนื้อหาสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ก็คือ การนิรโทษกรรมให้กับนักการเมือง ไม่ว่าจะเป็นพรรคไทยรักไทยที่ถูกยุบพรรค และมีนักการเมืองถูกตัดสิทธิไม่ให้เกี่ยวข้องกับการเมืองเมื่อปี 2550 และอีก 3 พรรคการเมืองที่ถูกยุบไปเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 คือ พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และกรรมการบริหารของทั้ง 3 พรรคถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี
การเสนอร่าง พ.ร.บ.ที่มีเนื้อหาสาระดังกล่าวนี้ ก็เท่ากับว่าถอยกลับไปสู่เหตุการณ์ก่อนวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ที่ประชาชนออกมาคัดค้านความพยายามของพรรคพลังประชาชน และพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ขณะนั้น เพื่อที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อ
1. ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัวพ้นผิดในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญาหรือความผิดทางแพ่ง
2. นิรโทษกรรมให้กับกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี พร้อมกับการยุบพรรคไทยรักไทย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2550
3. ตัดหนทางมิให้ศาลรัฐธรรมนูญในปัจจุบันพิจารณายุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย เพราะกรรมการบริหารของทั้ง 3 พรรคทำผิดรัฐธรรมนูญ
ความพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และบรรดานักการเมืองที่เป็นสมุนรับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ และทำให้ระบอบทักษิณลงหลักปักฐานบนเวทีการเมืองไทย สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติบ้านเมือง อย่างที่ไม่อาจประเมินได้นี้จะเป็นความปรองดองแห่งชาติได้อย่างไร
การที่ศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ชุดพิจารณายุบพรรคการเมือง และตัดสิทธินักการเมือง ศาลมิอาจจะพิจารณาได้ตามอำเภอใจ หากแต่ต้องพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของพยานหลักฐาน และที่สำคัญคือ ตัวบทกฎหมายรองรับ
พรรคการเมืองที่ทำผิดกฎหมาย นักการเมืองที่ทำผิดกฎหมาย สมควรที่จะต้องมีบทลงโทษ และรับโทษตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้
ความพยายามที่จะแก้ไขกฎหมายหรือพยายามที่จะนิรโทษกรรมให้คนผิดไม่ต้องรับโทษ มีแต่จะสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในสังคม สร้างอภิสิทธิชนคือ ผิดไม่ต้องรับผิด ประชาชนทั้งหลายจะยอมรับแนวคิดนี้อย่างไรได้
มีเหตุผลประการหนึ่งที่มักจะยกขึ้นมาอ้างเสมอก็คือ การที่กรรมการบริหารพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย ถูกตัดสิทธิทำให้ประเทศไทยของเราขาดแคลนนักการเมือง ขาดแคลนผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางการเมืองมาบริหารประเทศ
จำเป็นอย่างยิ่งต้องนิรโทษกรรมเพื่อปิดหนทางให้ผู้ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองให้เข้ามาสู่เวทีการเมืองอีกครั้ง เพื่อที่จะได้สร้างความวัฒนาสถาพรแก่ประเทศชาติบ้านเมือง
ฟังแล้วก็จะเห็นว่าเป็นเหตุผลที่น่าหัวเราะเยาะเป็นอย่างยิ่ง
แน่ละในจำนวน 200 กว่าคนที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิทางการเมืองไปนั้น ย่อมจะมีคนดี คนที่ซื่อสัตย์สุจริตมีความรู้ ความสามารถที่จะทำประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมืองอยู่บ้าง แต่คนเหล่านี้ก็ต้องรับผิดตามตัวบทกฎหมาย
ขณะเดียวกันมีอีกจำนวนไม่น้อยในจำนวน 200 กว่าคนที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง ร่ำรวยขึ้นมาเพราะการเมืองบางคนเติบโตมาจากผู้รับเหมาท้องถิ่น เจ้าพ่อในท้องถิ่น เมื่อเข้าสู่การเมืองก็อาศัยอำนาจหน้าที่สร้างความร่ำรวยให้แก่ตนและครอบครัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยล้านพันล้าน ทำให้การเมืองของเรากลายเป็นธุรกิจการเมือง จนต้องเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองกันครั้งแล้วครั้งเล่า ก็ยังไม่สำเร็จ การที่คนเหล่านี้ถูกตัดสิทธิไป ว่าไปแล้วจะถือเป็นการช่วยปฏิรูปการเมือง ช่วยทำให้นักการเมืองชั่วหมดโอกาสไปสักระยะ 5 ปีก็ยังได้
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ ที่พูดกันแท้ที่จริงแล้วก็คือการเปิดโอกาสให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และบริษัทบริวารของเขาได้เข้ามาปู้ยี่ปู้ยำประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้ปู้ยี่ปู้ยำมาแล้วในช่วง 2544-2549 เป็นฝันร้ายของคนไทยอยู่ในขณะนี้
ความขัดแย้งของผู้คนในสังคมที่ดำรงอยู่ขณะนี้ แท้ที่จริงแล้วก็เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พยายามที่จะให้ตัวพ้นผิด ไม่ต้องรับโทษที่ศาลสถิตยุติธรรมพิจารณาตัดสินแล้ว รวมทั้งบริษัทบริวารของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อยากกลับเข้ามามีอำนาจด้วยตนเองอีกครั้ง (ทั้งที่บางคนสามารถใช้ลูก ใช้เมีย ใช้ญาติพี่น้องให้มามีอำนาจแทนตัวได้อยู่แล้ว) เท่านั้นเอง
การยกปัญหาเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่จะต้องแก้ไข จึงถือเป็นความกล้าหาญ ทั้งของนายกรัฐมนตรี และพรรคประชาธิปัตย์
“ขณะนี้เศรษฐกิจหนักหนาสาหัสอยู่แล้ว ทำบ้านเมืองขัดแย้งกันขึ้นมาอีก อะไรก็เดินต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นเอางานใหญ่คือ การช่วยเหลือประชาชนมาก่อน ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเอาไว้ทีหลัง ผมไม่ปิดกั้น ไม่ปฏิเสธ และขอให้เข้ามาอยู่ในขบวนการที่มองเห็นว่า อันนี้ไม่ใช่เรื่องของนักการเมือง ทำเพื่อนักการเมือง” นายอภิสิทธิ์ ชี้แจงอย่างกล้าหาญ
ที่บอกว่าเป็นความกล้าหาญก็เพราะแม้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะเสนอขึ้นมาโดยพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน แต่ท่าทีของนักการเมืองหลายพรรคที่ร่วมรัฐบาลอยู่ขณะนี้ ก็แสดงออกให้เห็นว่า เห็นด้วยกับแนวคิดที่เรียกกันว่า ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ อย่างเต็มที่
เพราะเนื้อหาสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ก็คือ การนิรโทษกรรมให้กับนักการเมือง ไม่ว่าจะเป็นพรรคไทยรักไทยที่ถูกยุบพรรค และมีนักการเมืองถูกตัดสิทธิไม่ให้เกี่ยวข้องกับการเมืองเมื่อปี 2550 และอีก 3 พรรคการเมืองที่ถูกยุบไปเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 คือ พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และกรรมการบริหารของทั้ง 3 พรรคถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี
การเสนอร่าง พ.ร.บ.ที่มีเนื้อหาสาระดังกล่าวนี้ ก็เท่ากับว่าถอยกลับไปสู่เหตุการณ์ก่อนวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ที่ประชาชนออกมาคัดค้านความพยายามของพรรคพลังประชาชน และพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ขณะนั้น เพื่อที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อ
1. ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัวพ้นผิดในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญาหรือความผิดทางแพ่ง
2. นิรโทษกรรมให้กับกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี พร้อมกับการยุบพรรคไทยรักไทย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2550
3. ตัดหนทางมิให้ศาลรัฐธรรมนูญในปัจจุบันพิจารณายุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย เพราะกรรมการบริหารของทั้ง 3 พรรคทำผิดรัฐธรรมนูญ
ความพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และบรรดานักการเมืองที่เป็นสมุนรับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ และทำให้ระบอบทักษิณลงหลักปักฐานบนเวทีการเมืองไทย สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติบ้านเมือง อย่างที่ไม่อาจประเมินได้นี้จะเป็นความปรองดองแห่งชาติได้อย่างไร
การที่ศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ชุดพิจารณายุบพรรคการเมือง และตัดสิทธินักการเมือง ศาลมิอาจจะพิจารณาได้ตามอำเภอใจ หากแต่ต้องพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของพยานหลักฐาน และที่สำคัญคือ ตัวบทกฎหมายรองรับ
พรรคการเมืองที่ทำผิดกฎหมาย นักการเมืองที่ทำผิดกฎหมาย สมควรที่จะต้องมีบทลงโทษ และรับโทษตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้
ความพยายามที่จะแก้ไขกฎหมายหรือพยายามที่จะนิรโทษกรรมให้คนผิดไม่ต้องรับโทษ มีแต่จะสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในสังคม สร้างอภิสิทธิชนคือ ผิดไม่ต้องรับผิด ประชาชนทั้งหลายจะยอมรับแนวคิดนี้อย่างไรได้
มีเหตุผลประการหนึ่งที่มักจะยกขึ้นมาอ้างเสมอก็คือ การที่กรรมการบริหารพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย ถูกตัดสิทธิทำให้ประเทศไทยของเราขาดแคลนนักการเมือง ขาดแคลนผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางการเมืองมาบริหารประเทศ
จำเป็นอย่างยิ่งต้องนิรโทษกรรมเพื่อปิดหนทางให้ผู้ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองให้เข้ามาสู่เวทีการเมืองอีกครั้ง เพื่อที่จะได้สร้างความวัฒนาสถาพรแก่ประเทศชาติบ้านเมือง
ฟังแล้วก็จะเห็นว่าเป็นเหตุผลที่น่าหัวเราะเยาะเป็นอย่างยิ่ง
แน่ละในจำนวน 200 กว่าคนที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิทางการเมืองไปนั้น ย่อมจะมีคนดี คนที่ซื่อสัตย์สุจริตมีความรู้ ความสามารถที่จะทำประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมืองอยู่บ้าง แต่คนเหล่านี้ก็ต้องรับผิดตามตัวบทกฎหมาย
ขณะเดียวกันมีอีกจำนวนไม่น้อยในจำนวน 200 กว่าคนที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง ร่ำรวยขึ้นมาเพราะการเมืองบางคนเติบโตมาจากผู้รับเหมาท้องถิ่น เจ้าพ่อในท้องถิ่น เมื่อเข้าสู่การเมืองก็อาศัยอำนาจหน้าที่สร้างความร่ำรวยให้แก่ตนและครอบครัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยล้านพันล้าน ทำให้การเมืองของเรากลายเป็นธุรกิจการเมือง จนต้องเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองกันครั้งแล้วครั้งเล่า ก็ยังไม่สำเร็จ การที่คนเหล่านี้ถูกตัดสิทธิไป ว่าไปแล้วจะถือเป็นการช่วยปฏิรูปการเมือง ช่วยทำให้นักการเมืองชั่วหมดโอกาสไปสักระยะ 5 ปีก็ยังได้
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ ที่พูดกันแท้ที่จริงแล้วก็คือการเปิดโอกาสให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และบริษัทบริวารของเขาได้เข้ามาปู้ยี่ปู้ยำประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้ปู้ยี่ปู้ยำมาแล้วในช่วง 2544-2549 เป็นฝันร้ายของคนไทยอยู่ในขณะนี้
ความขัดแย้งของผู้คนในสังคมที่ดำรงอยู่ขณะนี้ แท้ที่จริงแล้วก็เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พยายามที่จะให้ตัวพ้นผิด ไม่ต้องรับโทษที่ศาลสถิตยุติธรรมพิจารณาตัดสินแล้ว รวมทั้งบริษัทบริวารของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อยากกลับเข้ามามีอำนาจด้วยตนเองอีกครั้ง (ทั้งที่บางคนสามารถใช้ลูก ใช้เมีย ใช้ญาติพี่น้องให้มามีอำนาจแทนตัวได้อยู่แล้ว) เท่านั้นเอง
การยกปัญหาเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่จะต้องแก้ไข จึงถือเป็นความกล้าหาญ ทั้งของนายกรัฐมนตรี และพรรคประชาธิปัตย์