วานนี้ (6พ.ค.) นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการกกต. แถลงภายหลังการประชุมว่า กกต.มีมติเอกฉันท์ เห็นตามที่อนุกรรมการไต่สวนเสนอให้ยกคำร้องกรณี นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา และนายคารม พลทะกลาง ร้องขอให้กกต. สอบนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย กระทำการมอบเงินสงเคราะห์ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และผ้าห่มให้กับราษฎรที่มีรายได้น้อยโดยใช้บ้านพักใน จ.นครราชสีมา เป็นสถานที่จัดมอบ โดยเห็นว่า
1.ไม่ปรากฏหลักฐาน เหตุผลเพียงที่นายบุญจง ใช้ตำแหน่งส.ส.และตำแหน่งรมช.มหาดไทย เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อประโยชน์ของตน ของผู้อื่น ของพรรคการเมือง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 266 ( 1 ) และ 268 ซึ่งมีผลทำให้สมาชิกสภาพการเป็นส.ส.สิ้นสุดลงเฉพาะบุคคลตามมาตรา 106 ( 6) และความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ตามารตรา 182 (7) เพราะคณะกรรมการไต่สวนเห็นว่า การจัดสรรงบประมาณของกระทรวงพม. เพื่อเป็นเงินอุดหนุนให้ผู้มีรายได้น้อย เป็นการปฏิบัติราชการตามปกติอยู่แล้ว และจากการไต่สวนไม่ปรากฏหลักฐาน ข้อเท็จจริงว่า นายบุญจง ใช้สถานะตำแหน่งเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงข้าราชการประจำ ในการจัดสรร หรือพิจารณาอนุมัติเงินดังกล่าว
อีกทั้งนายบุญจง ได้รับแต่งตั้งเป็นรมช.มหาดไทย เมื่อ 22 ธ.ค. 51 ขณะที่ผู้ว่าฯนครราชสีมา ได้อนุมัติโครงการนี้เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 51 ส่วนกรณีการใช้บ้านพักนายบุญจง เป็นสถานที่แจกนั้น จากการสอบสวนครั้งแรก พบว่าได้มีการจัดเตรียมหอประชุมที่ว่าการอำเภอโชคชัยไว้ ในวันที่ 24 ม.ค. 52 ซึ่งเป็นวันที่รมว.มหาดไทย และคณะจะมาตรวจราชการในวันดังกล่าว ทำให้ไม่ว่าง ประกอบกับกลุ่มแม่บ้าน ซ้อมรำบวงสรวงท้าวสุรนารี และคาดว่าวันดังกล่าวประชาชนจะเดินทางมาแสดงความยินดีกับนายบุญจง ที่เพิ่งรับตำแหน่ง รมช.มหาดไทย จำนวนมาก ทำให้นายอำเภอโชคชัย ซึ่งเป็นพยานชี้แจงว่า กรณีทำให้ต้องจัดหาสถานที่ใหม่ และที่เลือกบ้านพักของนายบุญจง เป็นการตัดสินใจของตนเอง เพราะเมื่อถึงประโยชน์ของประชาชนในการเดินทางไปยังที่ว่าการอำเภอโชคชัย กับบ้านของบุญจงแล้ว บ้านนายบุญจง มีระยะทางที่ใกล้กว่า การเลือกสถานที่ดังกล่าว นายบุญจง จึงไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวหรือสั่งการ อีกทั้งระเบียบว่าด้วยการสงเคราะห์ ของกรมประชาสงเคราะห์ ไม่ได้กำหนดสถานที่การจ่ายเงินเป็นการเฉพาะ โดยให้เป็นความสะดวกของเจ้าหน้าที่ และประชาชน เพียงแต่ให้การจ่าย จะต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล
ส่วนกรณีการแนบนามบัตร คณะกรรมการฯ เห็นว่าไม่อาจฟังได้ว่า นายบุญจง แนบนามบัตรของตนไปพร้อมกับผ้าห่ม และเงิน และไม่อาจฟังได้ว่า ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าเงินดังกล่าวเป็นของนายบุญจง หรือใช้อำนาจหน้าที่ของตนจัดสรรเงินมาให้ประชาชน ซึ่งผ้าห่มที่แจก ที่นายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส.เพื่อไทย อ้างว่า เป็นของทางราชการ เพราะได้มีรถปิกอัพขนผ้าห่มดังกล่าวเข้ามาในบ้านพักนายบุญจง
จากการสอบสวนนายบุญจง ชี้แจงว่า ผ้าห่มที่นำไปแจกได้จัดซื้อจากราษฎร ต.บ้านหนองยาลัด โดยอ้างสำเนาภาพถ่าย รวมทั้งสำเนาบิลเงินสด ข้อเท็จจริงจึงน่าเชื่อว่า ผ้าห่มที่แจกพร้อมเงินสงเคราะห์ นายบุญจง ใช้เงินส่วนตัวจัดหามา ไม่ได้เป็นผ้าห่มของทางราชการตามที่มีการกล่าวอ้าง ซึ่งกรณีนี้ยังไม่อาจถือว่าเป็นการแจกทรัพย์สินที่เข้าข่ายจูงใจเพื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้ตนตาม มาตรา 53 พ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส.และส.ว. เพราะขณะนั้นการเลือกตั้งเพิ่งจะเสร็จสิ้นไป และยังไม่มีการประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่
"การแจกผ้าห่มโดยใช้เงินซื้อมา จึงเป็นสิทธิที่สามารถดำเนินการได้เองโดยไม่จำเป็นต้องใช้สถานะส.ส.หรือรมช. จึงถือว่าไม่เป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของราชการแต่อย่างใด"
นายสุทธิพล ยังกล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นที่ 2 กกต. เห็นว่าไม่ปรากฎว่านายบุญจง กระทำการใดเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 22 อันเป็นความผิดตามาตรา 109 ของพ.ร.บ.พรรคการเมือง 50 ตามที่มีการกล่าวหา เพราะจากการไต่สวนไม่มีพยานยืนยันว่า นายบุญจงได้มีการพูดในลักษณะจูงใจให้ราษฎรที่มารับเงินสมัครเข้าเป็นสมาชิกของพรรคภูมิใจไทย ที่นายบุญจง เป็นผู้บริหาร โดยคณะกรรมการไต่สวนได้ตรวจสอบซีดีหลักฐานที่ผู้ร้องนำมามอบให้แล้ว ไม่ปรากฎภาพ เสียง หรือแผ่นป้ายชื่อของพรรคภูมิใจ ซึ่งนามบัตรของนายบุญจง ที่แจกแม้จะระบุตำแหน่งส.ส. แต่ก็ไม่มีชื่อพรรคภูมิใจไทย ประกอบกับคณะกรรมการได้ขอรายชื่อการสมัครเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย จากด้านกิจการพรรคการเมืองก็ไม่ปรากฏชื่อราษฎรที่มารับเงินสงเคราะห์สมัครเข้าเป็นสมาชิกแต่อย่างใด
ส่วนประเด็นที่ 3 กกต. เห็นว่า นายบุญจง ไม่ได้กระทำการใดอันเป็นการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับตนเอง หรือผู้สมัครอื่นใด พรรคการเมืองใด ที่จะถือว่าเป็นการเข้าข่ายความผิด มาตรา 53 และไม่ได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการให้คุณให้โทษเพื่อประโยชน์เลือกตั้งที่เข้าข่ายผิดมาตรา 57 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. เนื่องจากจากการไต่สวน ไม่มีพยานใดยืนยันว่านายบุญจง ได้พูดหรือกระทำการใดให้ราษฎรที่มารับเงินหรือบุคคลใดที่มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับตนเอง ผู้สมัครคนใดหรือพรรคการเมืองใด นอกจากนี้ วันเวลาที่มีการมอบเงินก็ยังไม่มีการประกาศของ กกต.ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. หรือการเลือกตั้งใด การให้สิ่งของๆ นายบุญจงจึงไม่เข้าข่ายความผิดดังกล่าว
เมื่อถามว่า มติดังกล่าวจะเป็นบรรทัดฐานให้ส.ส.สามารถแจกของที่บ้านตัวเองได้ ใช่หรือไม่ นายสุทธิพล กล่าวว่า ต้องดูข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆไป ซึ่งการเลือกที่จะแจกของที่บ้านของนายบุญจง เป็นการพิจารณาเรื่องความสะดวกมากกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่กกต.ต้องพิจารณาข้อกฎหมายเป็นหลัก เพราะมีการร้องว่านายบุญจง ใช้ตำแหน่งที่หน้าที่เข้าไปก้าวก่ายการปฏิบัติราชการ แต่การจะดูว่าผิดหรือไม่ ก็ต้องดูข้อเท็จจริงประกอบ ซึ่งข้อเท็จจริงที่นำสืบมาถ้าไม่ได้ว่าเขาผิด เราก็จะไปเอาผิดเขาไมได้
1.ไม่ปรากฏหลักฐาน เหตุผลเพียงที่นายบุญจง ใช้ตำแหน่งส.ส.และตำแหน่งรมช.มหาดไทย เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อประโยชน์ของตน ของผู้อื่น ของพรรคการเมือง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 266 ( 1 ) และ 268 ซึ่งมีผลทำให้สมาชิกสภาพการเป็นส.ส.สิ้นสุดลงเฉพาะบุคคลตามมาตรา 106 ( 6) และความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ตามารตรา 182 (7) เพราะคณะกรรมการไต่สวนเห็นว่า การจัดสรรงบประมาณของกระทรวงพม. เพื่อเป็นเงินอุดหนุนให้ผู้มีรายได้น้อย เป็นการปฏิบัติราชการตามปกติอยู่แล้ว และจากการไต่สวนไม่ปรากฏหลักฐาน ข้อเท็จจริงว่า นายบุญจง ใช้สถานะตำแหน่งเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงข้าราชการประจำ ในการจัดสรร หรือพิจารณาอนุมัติเงินดังกล่าว
อีกทั้งนายบุญจง ได้รับแต่งตั้งเป็นรมช.มหาดไทย เมื่อ 22 ธ.ค. 51 ขณะที่ผู้ว่าฯนครราชสีมา ได้อนุมัติโครงการนี้เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 51 ส่วนกรณีการใช้บ้านพักนายบุญจง เป็นสถานที่แจกนั้น จากการสอบสวนครั้งแรก พบว่าได้มีการจัดเตรียมหอประชุมที่ว่าการอำเภอโชคชัยไว้ ในวันที่ 24 ม.ค. 52 ซึ่งเป็นวันที่รมว.มหาดไทย และคณะจะมาตรวจราชการในวันดังกล่าว ทำให้ไม่ว่าง ประกอบกับกลุ่มแม่บ้าน ซ้อมรำบวงสรวงท้าวสุรนารี และคาดว่าวันดังกล่าวประชาชนจะเดินทางมาแสดงความยินดีกับนายบุญจง ที่เพิ่งรับตำแหน่ง รมช.มหาดไทย จำนวนมาก ทำให้นายอำเภอโชคชัย ซึ่งเป็นพยานชี้แจงว่า กรณีทำให้ต้องจัดหาสถานที่ใหม่ และที่เลือกบ้านพักของนายบุญจง เป็นการตัดสินใจของตนเอง เพราะเมื่อถึงประโยชน์ของประชาชนในการเดินทางไปยังที่ว่าการอำเภอโชคชัย กับบ้านของบุญจงแล้ว บ้านนายบุญจง มีระยะทางที่ใกล้กว่า การเลือกสถานที่ดังกล่าว นายบุญจง จึงไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวหรือสั่งการ อีกทั้งระเบียบว่าด้วยการสงเคราะห์ ของกรมประชาสงเคราะห์ ไม่ได้กำหนดสถานที่การจ่ายเงินเป็นการเฉพาะ โดยให้เป็นความสะดวกของเจ้าหน้าที่ และประชาชน เพียงแต่ให้การจ่าย จะต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล
ส่วนกรณีการแนบนามบัตร คณะกรรมการฯ เห็นว่าไม่อาจฟังได้ว่า นายบุญจง แนบนามบัตรของตนไปพร้อมกับผ้าห่ม และเงิน และไม่อาจฟังได้ว่า ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าเงินดังกล่าวเป็นของนายบุญจง หรือใช้อำนาจหน้าที่ของตนจัดสรรเงินมาให้ประชาชน ซึ่งผ้าห่มที่แจก ที่นายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส.เพื่อไทย อ้างว่า เป็นของทางราชการ เพราะได้มีรถปิกอัพขนผ้าห่มดังกล่าวเข้ามาในบ้านพักนายบุญจง
จากการสอบสวนนายบุญจง ชี้แจงว่า ผ้าห่มที่นำไปแจกได้จัดซื้อจากราษฎร ต.บ้านหนองยาลัด โดยอ้างสำเนาภาพถ่าย รวมทั้งสำเนาบิลเงินสด ข้อเท็จจริงจึงน่าเชื่อว่า ผ้าห่มที่แจกพร้อมเงินสงเคราะห์ นายบุญจง ใช้เงินส่วนตัวจัดหามา ไม่ได้เป็นผ้าห่มของทางราชการตามที่มีการกล่าวอ้าง ซึ่งกรณีนี้ยังไม่อาจถือว่าเป็นการแจกทรัพย์สินที่เข้าข่ายจูงใจเพื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้ตนตาม มาตรา 53 พ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส.และส.ว. เพราะขณะนั้นการเลือกตั้งเพิ่งจะเสร็จสิ้นไป และยังไม่มีการประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่
"การแจกผ้าห่มโดยใช้เงินซื้อมา จึงเป็นสิทธิที่สามารถดำเนินการได้เองโดยไม่จำเป็นต้องใช้สถานะส.ส.หรือรมช. จึงถือว่าไม่เป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของราชการแต่อย่างใด"
นายสุทธิพล ยังกล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นที่ 2 กกต. เห็นว่าไม่ปรากฎว่านายบุญจง กระทำการใดเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 22 อันเป็นความผิดตามาตรา 109 ของพ.ร.บ.พรรคการเมือง 50 ตามที่มีการกล่าวหา เพราะจากการไต่สวนไม่มีพยานยืนยันว่า นายบุญจงได้มีการพูดในลักษณะจูงใจให้ราษฎรที่มารับเงินสมัครเข้าเป็นสมาชิกของพรรคภูมิใจไทย ที่นายบุญจง เป็นผู้บริหาร โดยคณะกรรมการไต่สวนได้ตรวจสอบซีดีหลักฐานที่ผู้ร้องนำมามอบให้แล้ว ไม่ปรากฎภาพ เสียง หรือแผ่นป้ายชื่อของพรรคภูมิใจ ซึ่งนามบัตรของนายบุญจง ที่แจกแม้จะระบุตำแหน่งส.ส. แต่ก็ไม่มีชื่อพรรคภูมิใจไทย ประกอบกับคณะกรรมการได้ขอรายชื่อการสมัครเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย จากด้านกิจการพรรคการเมืองก็ไม่ปรากฏชื่อราษฎรที่มารับเงินสงเคราะห์สมัครเข้าเป็นสมาชิกแต่อย่างใด
ส่วนประเด็นที่ 3 กกต. เห็นว่า นายบุญจง ไม่ได้กระทำการใดอันเป็นการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับตนเอง หรือผู้สมัครอื่นใด พรรคการเมืองใด ที่จะถือว่าเป็นการเข้าข่ายความผิด มาตรา 53 และไม่ได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการให้คุณให้โทษเพื่อประโยชน์เลือกตั้งที่เข้าข่ายผิดมาตรา 57 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. เนื่องจากจากการไต่สวน ไม่มีพยานใดยืนยันว่านายบุญจง ได้พูดหรือกระทำการใดให้ราษฎรที่มารับเงินหรือบุคคลใดที่มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับตนเอง ผู้สมัครคนใดหรือพรรคการเมืองใด นอกจากนี้ วันเวลาที่มีการมอบเงินก็ยังไม่มีการประกาศของ กกต.ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. หรือการเลือกตั้งใด การให้สิ่งของๆ นายบุญจงจึงไม่เข้าข่ายความผิดดังกล่าว
เมื่อถามว่า มติดังกล่าวจะเป็นบรรทัดฐานให้ส.ส.สามารถแจกของที่บ้านตัวเองได้ ใช่หรือไม่ นายสุทธิพล กล่าวว่า ต้องดูข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆไป ซึ่งการเลือกที่จะแจกของที่บ้านของนายบุญจง เป็นการพิจารณาเรื่องความสะดวกมากกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่กกต.ต้องพิจารณาข้อกฎหมายเป็นหลัก เพราะมีการร้องว่านายบุญจง ใช้ตำแหน่งที่หน้าที่เข้าไปก้าวก่ายการปฏิบัติราชการ แต่การจะดูว่าผิดหรือไม่ ก็ต้องดูข้อเท็จจริงประกอบ ซึ่งข้อเท็จจริงที่นำสืบมาถ้าไม่ได้ว่าเขาผิด เราก็จะไปเอาผิดเขาไมได้