หากจะว่าไปแล้วกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีหนังสือเรียกพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ไปให้ถ้อยคำ และนัดไต่สวนต่อศาลในวันที่ 13 พ.ค.นี้ ถือเป็นอีกกรณี หนึ่งที่น่าศึกษา และสะท้อนการทำงานของหน่วยงานดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะการบิดเบือนข้อเท็จจริง หรือมีเจตนาเพื่อหวังผลบางอย่างหรือไม่
เพราะในหนังสือคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด ลงวันที่ 29 เมษายน 2552 ที่มีไปถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และสื่อฉบับดังกล่าวที่ได้อ้างถึงกรณีเผยแพร่ 'คำแถลง สนง.ตร.แจงเหตุคดีเหลือง-แดง ต่างกัน' และมีประเด็นข้อความในลักษณะแนวคำตอบของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และคณะฯลฯ ซึ่งข้อความในบางตอนระบุว่า 'ดีสเตชั่น ถูกจับดำเนินคดีในข้อหาผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่วนเอเอสทีวี มีข้อจำกัดไม่สามารถจับกุมดำเนินคดีได้ เนื่องจากได้รับความคุ้มครอง ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ 147-148/2549 ลงวันที่ 24 เมษายน 2549 ปัจจุบันยังได้รับความคุ้มครองตามคำสั่งดังกล่าวอยู่'
ซึ่งหากใครที่ได้ฟังการแถลงดังกล่าวข้างต้นของ พล.ต.อ. พัชรวาท และคณะเมื่อตอนค่ำวันที่ 20 เมษายน อาจจะรู้สึกงงๆ และหากไม่รู้ข้อเท็จจริง ก็อาจเข้าใจผิดคิดไปว่า สาเหตุที่ไม่สามารถเอาผิดเอเอสทีวีได้เพราะมีคำสั่งศาลปกครองคุ้มครอง
ดูเหมือนมีเจตนาชี้ให้สังคมได้เห็นว่า เอเอสทีวี อยู่เหนือกฎหมาย ทำผิดแล้วกฎหมายเอื้อมไปไม่ถึง หรือศาลปกครองปฏิบัติสองมาตรฐาน อะไรประมาณนั้น
และหากจำกันได้คนที่แถลงในนามของผู้บัญชาการตำรวจ แห่งชาติก็คือ พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการตำรวจ นครบาล เจ้าเก่า นั่นเอง
ทั้งที่ในข้อเท็จจริงแล้วคนละเรื่อง ต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ซึ่งหากว่ากันถึงที่มาที่ไปแห่งคดี และเพื่อไม่ให้สับสนจนเวียนหัว ก็จะสรุปให้เห็นภาพคร่าวๆ ก็คือ ในยุคปลายของรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ได้ใช้กลไกของรัฐคือ กรมประชาสัมพันธ์ ในเวลา นั้น สั่งการให้การสื่อสารฯ ระงับการให้บริการเช่าสัญญาณดาวเทียมกับเอเอสทีวี (ที่ทำในนามบริษัทไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด) ทำให้เอเอสทีวี ออกอากาศไม่ได้ ซึ่งเอเอสทีวีในฐานะผู้เสียหาย ก็ได้ฟ้องกรมประชาสัมพันธ์กับพวกพร้อมทั้งได้ไปร้องขอคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลปกครองกลาง ซึ่งศาลก็ให้การคุ้มครอง และเห็นว่าการกระทำดังกล่าวของรัฐเป็นการกระทบเสรีภาพในการทำหน้าที่สื่อซึ่งรัฐธรรมนูญรับรองไว้
โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2549
จากนั้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2551 ศาลปกครองกลาง ได้ตัดสินให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นฝ่ายแพ้คดี และต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ เอเอสทีวี(ไทยเดย์ฯ) เป็นเงินจำนวน 120,000 บาท อย่างไรก็ดี ทางกรมประชาฯได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด และขณะเดียวกันศาลปกครองสูงสุด ก็ให้ความคุ้มครอง เอเอสทีวีจนกว่าจะมีคำตัดสินออกมา
จนกระทั่งในเวลาต่อมา กรมประชาสัมพันธ์กับพวก ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1-3 ได้ขอถอนอุทธรณ์ ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้จำหน่ายคดีออกจากสารบบ ในที่สุด
ข้อเท็จจริงเป็นแบบนี้
แต่กลับกลายเป็นว่า กรณีของเอเอสทีวี มักจะถูกนำมาบิดเบือนอยู่ตลอดเวลา ทั้งจากตำรวจบางคน หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ที่มักยกมาอ้างโดยมีเจตนาชี้ให้เห็นว่ามีการปฏิบัติสองมาตรฐาน เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีของดีสเตชั่น อยู่เสมอ
ทั้งที่ความผิดของดีสเตชั่นนั้น หากเห็นว่าไม่ได้รับความเป็น ธรรม หรือเป็นคำสั่งของรัฐบาลที่มิชอบด้วยกฎหมายก็สามารถยื่นร้องต่อศาลตามขั้นตอน หรือหากศาลคุ้มครอง ก็สามารถกลับมาออกอากาศต่อไปได้
หากพิจารณาจากพฤติกรรมของดีสเตชั่น ในช่วงที่ผ่านมาเข้าข่ายปลุกระดมจนทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง รัฐบาลจึงใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ระงับการออกอากาศ ดังนั้นทุกอย่างก็ต้องว่ากันไป
เมื่อวกกลับมาที่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ กับคณะ โดยเฉพาะพล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน ที่แถลงออกไปเมื่อวันที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมา แม้ว่าหากพยายามเข้าใจเจตนาชี้ให้สังคมได้เห็นว่า ทางตำรวจได้ทำหน้าที่ตามกฎหมาย ทำให้ดูเหมือนว่าแม้ต้องการดำเนินคดีกับเอเอสทีวี ก็ทำไม่ได้ เพราะติดขัดที่อำนาจศาลคุ้มครอง เป็นการเอาใจเสื้อแดง
แต่หากมองอีกด้านหนึ่งวิธีดังกล่าวก็คือ การปัดสวะ เอาดีใส่ตัวแล้วโยนผิดให้คนอื่นตามที่ตำรวจบางคนมักประพฤติปฏิบัติมาตลอดอยู่แล้ว
อย่างไรก็ดี บังเอิญว่ากรณีที่เกิดขึ้นไปกระทบกับศาล และเข้าข่ายละเมิดอำนาจศาล เพราะถือว่ามีเจตนาปิดบัง และบิดเบือนข้อเท็จจริง
และปรากฏการณ์ดังกล่าว ย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ยืนยันอยู่ในตัวของมันเองได้อย่างดีว่า กรณีของเอเอสทีวี กับดีสเตชั่น จึงใช้มาตรฐานเดียวกันไม่ได้ ต้องใช้สองมาตรฐาน หรือคนละมาตรฐาน เพราะข้อเท็จจริงมันต่างกันโดยสิ้นเชิง !!
โดยเฉพาะการบิดเบือนข้อเท็จจริง หรือมีเจตนาเพื่อหวังผลบางอย่างหรือไม่
เพราะในหนังสือคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด ลงวันที่ 29 เมษายน 2552 ที่มีไปถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และสื่อฉบับดังกล่าวที่ได้อ้างถึงกรณีเผยแพร่ 'คำแถลง สนง.ตร.แจงเหตุคดีเหลือง-แดง ต่างกัน' และมีประเด็นข้อความในลักษณะแนวคำตอบของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และคณะฯลฯ ซึ่งข้อความในบางตอนระบุว่า 'ดีสเตชั่น ถูกจับดำเนินคดีในข้อหาผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่วนเอเอสทีวี มีข้อจำกัดไม่สามารถจับกุมดำเนินคดีได้ เนื่องจากได้รับความคุ้มครอง ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ 147-148/2549 ลงวันที่ 24 เมษายน 2549 ปัจจุบันยังได้รับความคุ้มครองตามคำสั่งดังกล่าวอยู่'
ซึ่งหากใครที่ได้ฟังการแถลงดังกล่าวข้างต้นของ พล.ต.อ. พัชรวาท และคณะเมื่อตอนค่ำวันที่ 20 เมษายน อาจจะรู้สึกงงๆ และหากไม่รู้ข้อเท็จจริง ก็อาจเข้าใจผิดคิดไปว่า สาเหตุที่ไม่สามารถเอาผิดเอเอสทีวีได้เพราะมีคำสั่งศาลปกครองคุ้มครอง
ดูเหมือนมีเจตนาชี้ให้สังคมได้เห็นว่า เอเอสทีวี อยู่เหนือกฎหมาย ทำผิดแล้วกฎหมายเอื้อมไปไม่ถึง หรือศาลปกครองปฏิบัติสองมาตรฐาน อะไรประมาณนั้น
และหากจำกันได้คนที่แถลงในนามของผู้บัญชาการตำรวจ แห่งชาติก็คือ พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการตำรวจ นครบาล เจ้าเก่า นั่นเอง
ทั้งที่ในข้อเท็จจริงแล้วคนละเรื่อง ต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ซึ่งหากว่ากันถึงที่มาที่ไปแห่งคดี และเพื่อไม่ให้สับสนจนเวียนหัว ก็จะสรุปให้เห็นภาพคร่าวๆ ก็คือ ในยุคปลายของรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ได้ใช้กลไกของรัฐคือ กรมประชาสัมพันธ์ ในเวลา นั้น สั่งการให้การสื่อสารฯ ระงับการให้บริการเช่าสัญญาณดาวเทียมกับเอเอสทีวี (ที่ทำในนามบริษัทไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด) ทำให้เอเอสทีวี ออกอากาศไม่ได้ ซึ่งเอเอสทีวีในฐานะผู้เสียหาย ก็ได้ฟ้องกรมประชาสัมพันธ์กับพวกพร้อมทั้งได้ไปร้องขอคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลปกครองกลาง ซึ่งศาลก็ให้การคุ้มครอง และเห็นว่าการกระทำดังกล่าวของรัฐเป็นการกระทบเสรีภาพในการทำหน้าที่สื่อซึ่งรัฐธรรมนูญรับรองไว้
โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2549
จากนั้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2551 ศาลปกครองกลาง ได้ตัดสินให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นฝ่ายแพ้คดี และต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ เอเอสทีวี(ไทยเดย์ฯ) เป็นเงินจำนวน 120,000 บาท อย่างไรก็ดี ทางกรมประชาฯได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด และขณะเดียวกันศาลปกครองสูงสุด ก็ให้ความคุ้มครอง เอเอสทีวีจนกว่าจะมีคำตัดสินออกมา
จนกระทั่งในเวลาต่อมา กรมประชาสัมพันธ์กับพวก ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1-3 ได้ขอถอนอุทธรณ์ ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้จำหน่ายคดีออกจากสารบบ ในที่สุด
ข้อเท็จจริงเป็นแบบนี้
แต่กลับกลายเป็นว่า กรณีของเอเอสทีวี มักจะถูกนำมาบิดเบือนอยู่ตลอดเวลา ทั้งจากตำรวจบางคน หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ที่มักยกมาอ้างโดยมีเจตนาชี้ให้เห็นว่ามีการปฏิบัติสองมาตรฐาน เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีของดีสเตชั่น อยู่เสมอ
ทั้งที่ความผิดของดีสเตชั่นนั้น หากเห็นว่าไม่ได้รับความเป็น ธรรม หรือเป็นคำสั่งของรัฐบาลที่มิชอบด้วยกฎหมายก็สามารถยื่นร้องต่อศาลตามขั้นตอน หรือหากศาลคุ้มครอง ก็สามารถกลับมาออกอากาศต่อไปได้
หากพิจารณาจากพฤติกรรมของดีสเตชั่น ในช่วงที่ผ่านมาเข้าข่ายปลุกระดมจนทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง รัฐบาลจึงใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ระงับการออกอากาศ ดังนั้นทุกอย่างก็ต้องว่ากันไป
เมื่อวกกลับมาที่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ กับคณะ โดยเฉพาะพล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน ที่แถลงออกไปเมื่อวันที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมา แม้ว่าหากพยายามเข้าใจเจตนาชี้ให้สังคมได้เห็นว่า ทางตำรวจได้ทำหน้าที่ตามกฎหมาย ทำให้ดูเหมือนว่าแม้ต้องการดำเนินคดีกับเอเอสทีวี ก็ทำไม่ได้ เพราะติดขัดที่อำนาจศาลคุ้มครอง เป็นการเอาใจเสื้อแดง
แต่หากมองอีกด้านหนึ่งวิธีดังกล่าวก็คือ การปัดสวะ เอาดีใส่ตัวแล้วโยนผิดให้คนอื่นตามที่ตำรวจบางคนมักประพฤติปฏิบัติมาตลอดอยู่แล้ว
อย่างไรก็ดี บังเอิญว่ากรณีที่เกิดขึ้นไปกระทบกับศาล และเข้าข่ายละเมิดอำนาจศาล เพราะถือว่ามีเจตนาปิดบัง และบิดเบือนข้อเท็จจริง
และปรากฏการณ์ดังกล่าว ย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ยืนยันอยู่ในตัวของมันเองได้อย่างดีว่า กรณีของเอเอสทีวี กับดีสเตชั่น จึงใช้มาตรฐานเดียวกันไม่ได้ ต้องใช้สองมาตรฐาน หรือคนละมาตรฐาน เพราะข้อเท็จจริงมันต่างกันโดยสิ้นเชิง !!