โดยนัยแล้วเสรีภาพในการชุมนุม (Right to assembly) นับเป็นปรากฏการณ์ต่อยอดของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (Right to expression) ของประชาชน หากเมื่อใดจำกัดเสรีภาพการชุมนุมและเดินขบวนของประชาชนเสียแล้ว คุณลักษณะความเป็นเสรีประชาธิปไตยจะถูกทอนทำลายลงไป เพราะนอกจากจะสะเทือนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่เป็นสดมภ์หลักค้ำยันแล้ว ยังขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองที่ทั่วโลกรับรองด้วย
เนื่องด้วยการชุมนุมและเดินขบวนเป็นการแสดงออกถึงความคิดเห็นแบบรวมหมู่ (Collective express) ทั้งเชิงสนับสนุน คัดค้าน ต่อต้าน หรือปกป้องผลประโยชน์ร่วมกันของปัจเจกบุคคลที่รวมตัวกันเป็นมวลชน ยิ่งเป็นการชุมนุมและเดินขบวนทางการเมืองด้วยแล้วยิ่งพวยพุ่งอุดมการณ์แรงกล้าฝ่าปราการกางกั้น การพยายามหยุดยั้งการชุมนุมและเดินขบวนโดยสงบและปราศจากอาวุธจึงเท่ากับยับยั้งพัฒนาการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
อย่างไรก็ตาม ถ้าการชุมนุมและเดินขบวนอุดมอาวุธและวุ่นวาย การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวย่อมกระทำได้ในนามของการรักษาความมั่นคงสงบเรียบร้อยของชาติบ้านเมือง ความปลอดภัยของสาธารณะ ป้องกันจลาจลหรืออาชญากรรม ปกปักศีลธรรมหรือการสาธารณสุข หรือปกป้องสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น แม้นขณะเดียวกันนั้นจะเผชิญปัญหาว่าจะรักษา ‘สัดส่วนสมดุล’ ระหว่างการส่งเสริมกับการจำกัดเสรีภาพด้านนี้อย่างไร
ทว่าด้วยสารัตถะสำคัญของเสรีภาพการชุมนุมและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชนไม่ได้เป็นเสรีภาพเด็ดขาด รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 63 และ 45 จึงบัญญัติให้สามารถจำกัดเสรีภาพดังกล่าวได้ถ้าเพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความสะดวกในการใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยระหว่างภาวะสงคราม ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือเพื่อไม่ให้ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นหรือขัดต่อประโยชน์สาธารณะ หรือกระเทือนความมั่นคงของรัฐ ตามลำดับ
อีกทั้งมาตรา 28 ยังบัญญัติว่าบุคคลย่อมใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ทั้งนี้เพื่อป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นที่อยู่ร่วมกันในสังคม โดยเฉพาะการชุมนุมและเดินขบวนที่ต้องใช้พื้นที่สาธารณะแสดงพลานุภาพ พร้อมๆ กับแสดงความคิดเห็นโจมตีกล่าวโทษบุคคลหรือสถาบันต่างๆ
ดังนั้น หนึ่งทางออกของวิกฤตการชุมนุมคือการกำหนดพ.ร.บ.ว่าด้วยการชุมนุมและเดินขบวนให้สอดรับกับเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่มุ่งคุ้มครองเสรีภาพการชุมนุมของประชาชน และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) ข้อ 19 และ 20 ที่เน้นส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ (Peaceful assembly)
ขณะเดียวกันก็ต้องเปิดประตูคู่ขนานคุ้มครองสื่อมวลชนผู้ดำรงตนอยู่ในจริยธรรมวิชาชีพ (Code of conduct) ไม่ได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวหรือหมู่คณะโดยไม่ชอบธรรม ให้สามารถนำเสนอข่าวสารและความคิดเห็นที่อยู่บนผลประโยชน์สาธารณะได้อย่างเสรี ไม่ให้ถูกทำร้ายตายบาดเจ็บมากมายดั่งปัจจุบันนี้ ที่ไม่เพียงนักข่าวท้องถิ่นจะตกเป็นเหยื่ออยู่เสมอๆ หากแต่แกนนำมวลชนที่เป็นสื่อมวลชน ‘สนธิ ลิ้มทองกุล’ ยังถูกลอบสังหารอุกอาจกลางพระนคร
แน่ละว่าปรากฏการณ์สื่อมวลชนถูกฆ่าเกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก ไม่ใช่ไทยประเทศเดียว ดังสถิติสมาพันธ์ผู้สื่อข่าวนานาชาติ (International Federation of Journalists: IFJ) ระบุว่าในปี 2008 มีสื่อมวลชนทั่วโลกถูกฆ่าในภารกิจหน้าที่ถึง 85 ราย ในจำนวนนั้นเป็นผู้สื่อข่าวไทยเสีย 4 ราย โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกครองแชมป์นักข่าวถูกฆ่าสูงสุด 31 ราย รองลงมาเป็นภูมิภาคละตินอเมริกา 19 ราย หากกระนั้นการพยายามหยุดชีวิตสื่อมวลชนที่เป็นแกนนำมวลชนต่อต้านรัฐบาลทุจริตกังฉินนั้นกลับต่างออกไปด้วยเป็นการข่มขู่คุกคามทั้งเสรีภาพสื่อและเสรีภาพการชุมนุมในห้วงขณะเดียวกัน
ด้วยระยะยาวแล้วนอกจากความจริงเชิงข้อเท็จจริง (Factual truth) จากการเจาะข่าวคอร์รัปชัน (Investigative reporting on corruption) จะชะงักงันอันเนื่องมาจากแรงกดดันมหาศาลทางการเมืองแล้ว การรวมตัวกันชุมนุมหรือเดินขบวนรักษาประโยชน์สาธารณะยังถูกคุกคามอย่างเหี้ยมโหด ด้วยไร้หลักประกันว่าผู้ลุกขึ้นมาหาญหักกับอำนาจอยุติธรรมจะถูกความป่าเถื่อนล่าสังหารผ่านอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงเมื่อใด
ทั้งนี้ ในสถานการณ์เฉพาะหน้าที่การชุมนุมและเดินขบวนเป็นยุทธวิธีที่ประชาชน โดยเฉพาะคนปลายอ้อปลายแขมเลือกใช้แสดงความคิดเห็นหรือเรียกร้องประท้วงคัดค้านทางการเมืองและอื่นๆ กอปรกับการเวียนมาถึงของวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day) ในทุกวันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปีที่ผลักดันโดย UNESCO ตั้งแต่ปี 1993 นั้น ทุกองคาพยพสังคมไทยน่าจะถือเป็นจุดริเริ่มเสริมแรงกันปกป้องคุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชน (Freedom of the press) อย่างแข็งขันเสียที
ด้วยถึงที่สุดแล้วการปกป้องเสรีภาพสื่อให้มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเพียงประการเดียวได้สำเร็จ ก็เท่ากับคุ้มครองเสรีภาพการชุมนุม รวมถึงเสรีภาพของประชาชนด้านอื่นๆ ที่ตามมามากมายด้วย เพราะเป็นช่องทางผสานพลังปัญญา ศีลธรรม และปฏิบัติการเข้าด้วยกัน
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชนประดุจสะพานเชื่อมร้อยไปสู่เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชน ยิ่งฐานรากแข็งแกร่งยิ่งถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารครบถ้วนรอบด้าน โดยเฉพาะห้วงวิกฤตการชุมนุมที่ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังสถานการณ์ ข้อเท็จจริงและความเที่ยงตรง (Truth and accuracy) สำคัญกว่าการนำเสนอรวดเร็วแต่ขาดการชั่งน้ำหนักและเปรียบเทียบกับข้อมูลอื่นๆ
การพยายามฆ่าสื่อมวลชนจึงเท่ากับฆ่าความจริงที่ถูกถ่ายทอดสู่สาธารณชน
เช่นนี้ การทำงานของสื่อมวลชนทั่วไปจะมีเสรีภาพ ปราศจากความกลัวการแทรกแซง คุกคามข่มขู่ถึงขั้นคร่าตายได้อย่างไร ในเมื่อสื่อมวลชนที่เป็นทั้งแกนนำมวลชนและผู้ก่อตั้งสื่อเครือ ASTV ผู้จัดการยังถูกลอบสังหารด้วยอาวุธสงครามกลางกรุงเพราะนำเสนอความคิดเห็นแตกต่างทุกๆ เช้า
เพราะห้วงขณะสังคมตะโกนก้อง ‘ไม่ทำร้ายประเทศไทย ไม่ใช้ความรุนแรง’ อย่างเอิกเกริกนั้น หาได้มีความพยายามลดทอนความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมและโครงสร้างสักเท่าใดนัก เนื่องจากเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชนที่เป็นรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ศรัทธาในความคิดเห็นแตกต่างยังไม่ได้รับหลักประกันใดๆ เลยว่าจะไม่ถูกปิดปากด้วยปากกระบอกปืน
ทั้งๆ ที่การดำเนินการกับสื่อมวลชนที่แสดงความคิดเห็นแตกต่างจะต้องเป็นไปตามกระบวนการกฎหมาย ไม่ใช่วิธีการโหดเหี้ยมป่าเถื่อนเช่นนี้ อีกทั้งสังคมไทยยังต้องการความกล้าหาญของผู้มีอำนาจกุมโกร่งไกปืนอย่างชอบธรรมให้เข้ามาคลี่คลายวิกฤตด้วยการจับกุมผู้ลอบสังหาร ไม่ใช่ปัดปฏิเสธโดยอ้างว่าอาวุธสงครามใครก็มีกันได้
หรือว่าต้องรอให้สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ต้องออกแถลงการณ์ร่วมให้ตำรวจเร่งติดตามจับกุมคนร้ายที่ลอบยิงสื่อมวลชนคนอื่นๆ อีก ถึงจะระบุว่าอาวุธสงครามไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อสังหารประชาชนผู้ชุมนุมหรือสื่อมวลชนผู้นำเสนอข้อเท็จจริง ดังที่พี่น้องและแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเผชิญมา
เมื่อเมืองไทยเคยรณรงค์ ‘เสรีภาพสื่อเสรีภาพประชาชน’ มาแล้ว การขยายขอบเขตเป็น ‘เสรีภาพสื่อเสรีภาพการชุมนุม’ เพื่อเพิ่มพูนความแข็งแกร่งแก่ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมจึงถือเป็นการต่อยอด โดยต้องทวีคูณการเรียนรู้สิทธิเสรีภาพซึ่งกันและกันของภาคประชาชน เพื่อทุกๆ การชุมนุมจะสงบ ปราศจากอาวุธ ไม่กระทบสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นเพื่อการันตีการไม่ถูกแทรกแซงจากรัฐ รวมถึงการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองก็มุ่งประโยชน์สาธารณะมากกว่าปัจเจกบุคคล
ตลอดจนเสรีภาพในทางประชาธิปไตยที่เป็นกลไกในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองจะได้ผลัดใบใหม่เสียที โดยมีเลือดเนื้อแลจิตวิญญาณของสื่อมวลชนผู้ไม่ตกใต้อาณัติอิทธิพลคอยหล่อเลี้ยง.-
เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.)
เนื่องด้วยการชุมนุมและเดินขบวนเป็นการแสดงออกถึงความคิดเห็นแบบรวมหมู่ (Collective express) ทั้งเชิงสนับสนุน คัดค้าน ต่อต้าน หรือปกป้องผลประโยชน์ร่วมกันของปัจเจกบุคคลที่รวมตัวกันเป็นมวลชน ยิ่งเป็นการชุมนุมและเดินขบวนทางการเมืองด้วยแล้วยิ่งพวยพุ่งอุดมการณ์แรงกล้าฝ่าปราการกางกั้น การพยายามหยุดยั้งการชุมนุมและเดินขบวนโดยสงบและปราศจากอาวุธจึงเท่ากับยับยั้งพัฒนาการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
อย่างไรก็ตาม ถ้าการชุมนุมและเดินขบวนอุดมอาวุธและวุ่นวาย การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวย่อมกระทำได้ในนามของการรักษาความมั่นคงสงบเรียบร้อยของชาติบ้านเมือง ความปลอดภัยของสาธารณะ ป้องกันจลาจลหรืออาชญากรรม ปกปักศีลธรรมหรือการสาธารณสุข หรือปกป้องสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น แม้นขณะเดียวกันนั้นจะเผชิญปัญหาว่าจะรักษา ‘สัดส่วนสมดุล’ ระหว่างการส่งเสริมกับการจำกัดเสรีภาพด้านนี้อย่างไร
ทว่าด้วยสารัตถะสำคัญของเสรีภาพการชุมนุมและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชนไม่ได้เป็นเสรีภาพเด็ดขาด รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 63 และ 45 จึงบัญญัติให้สามารถจำกัดเสรีภาพดังกล่าวได้ถ้าเพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความสะดวกในการใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยระหว่างภาวะสงคราม ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือเพื่อไม่ให้ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นหรือขัดต่อประโยชน์สาธารณะ หรือกระเทือนความมั่นคงของรัฐ ตามลำดับ
อีกทั้งมาตรา 28 ยังบัญญัติว่าบุคคลย่อมใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ทั้งนี้เพื่อป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นที่อยู่ร่วมกันในสังคม โดยเฉพาะการชุมนุมและเดินขบวนที่ต้องใช้พื้นที่สาธารณะแสดงพลานุภาพ พร้อมๆ กับแสดงความคิดเห็นโจมตีกล่าวโทษบุคคลหรือสถาบันต่างๆ
ดังนั้น หนึ่งทางออกของวิกฤตการชุมนุมคือการกำหนดพ.ร.บ.ว่าด้วยการชุมนุมและเดินขบวนให้สอดรับกับเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่มุ่งคุ้มครองเสรีภาพการชุมนุมของประชาชน และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) ข้อ 19 และ 20 ที่เน้นส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ (Peaceful assembly)
ขณะเดียวกันก็ต้องเปิดประตูคู่ขนานคุ้มครองสื่อมวลชนผู้ดำรงตนอยู่ในจริยธรรมวิชาชีพ (Code of conduct) ไม่ได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวหรือหมู่คณะโดยไม่ชอบธรรม ให้สามารถนำเสนอข่าวสารและความคิดเห็นที่อยู่บนผลประโยชน์สาธารณะได้อย่างเสรี ไม่ให้ถูกทำร้ายตายบาดเจ็บมากมายดั่งปัจจุบันนี้ ที่ไม่เพียงนักข่าวท้องถิ่นจะตกเป็นเหยื่ออยู่เสมอๆ หากแต่แกนนำมวลชนที่เป็นสื่อมวลชน ‘สนธิ ลิ้มทองกุล’ ยังถูกลอบสังหารอุกอาจกลางพระนคร
แน่ละว่าปรากฏการณ์สื่อมวลชนถูกฆ่าเกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก ไม่ใช่ไทยประเทศเดียว ดังสถิติสมาพันธ์ผู้สื่อข่าวนานาชาติ (International Federation of Journalists: IFJ) ระบุว่าในปี 2008 มีสื่อมวลชนทั่วโลกถูกฆ่าในภารกิจหน้าที่ถึง 85 ราย ในจำนวนนั้นเป็นผู้สื่อข่าวไทยเสีย 4 ราย โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกครองแชมป์นักข่าวถูกฆ่าสูงสุด 31 ราย รองลงมาเป็นภูมิภาคละตินอเมริกา 19 ราย หากกระนั้นการพยายามหยุดชีวิตสื่อมวลชนที่เป็นแกนนำมวลชนต่อต้านรัฐบาลทุจริตกังฉินนั้นกลับต่างออกไปด้วยเป็นการข่มขู่คุกคามทั้งเสรีภาพสื่อและเสรีภาพการชุมนุมในห้วงขณะเดียวกัน
ด้วยระยะยาวแล้วนอกจากความจริงเชิงข้อเท็จจริง (Factual truth) จากการเจาะข่าวคอร์รัปชัน (Investigative reporting on corruption) จะชะงักงันอันเนื่องมาจากแรงกดดันมหาศาลทางการเมืองแล้ว การรวมตัวกันชุมนุมหรือเดินขบวนรักษาประโยชน์สาธารณะยังถูกคุกคามอย่างเหี้ยมโหด ด้วยไร้หลักประกันว่าผู้ลุกขึ้นมาหาญหักกับอำนาจอยุติธรรมจะถูกความป่าเถื่อนล่าสังหารผ่านอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงเมื่อใด
ทั้งนี้ ในสถานการณ์เฉพาะหน้าที่การชุมนุมและเดินขบวนเป็นยุทธวิธีที่ประชาชน โดยเฉพาะคนปลายอ้อปลายแขมเลือกใช้แสดงความคิดเห็นหรือเรียกร้องประท้วงคัดค้านทางการเมืองและอื่นๆ กอปรกับการเวียนมาถึงของวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day) ในทุกวันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปีที่ผลักดันโดย UNESCO ตั้งแต่ปี 1993 นั้น ทุกองคาพยพสังคมไทยน่าจะถือเป็นจุดริเริ่มเสริมแรงกันปกป้องคุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชน (Freedom of the press) อย่างแข็งขันเสียที
ด้วยถึงที่สุดแล้วการปกป้องเสรีภาพสื่อให้มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเพียงประการเดียวได้สำเร็จ ก็เท่ากับคุ้มครองเสรีภาพการชุมนุม รวมถึงเสรีภาพของประชาชนด้านอื่นๆ ที่ตามมามากมายด้วย เพราะเป็นช่องทางผสานพลังปัญญา ศีลธรรม และปฏิบัติการเข้าด้วยกัน
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชนประดุจสะพานเชื่อมร้อยไปสู่เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชน ยิ่งฐานรากแข็งแกร่งยิ่งถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารครบถ้วนรอบด้าน โดยเฉพาะห้วงวิกฤตการชุมนุมที่ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังสถานการณ์ ข้อเท็จจริงและความเที่ยงตรง (Truth and accuracy) สำคัญกว่าการนำเสนอรวดเร็วแต่ขาดการชั่งน้ำหนักและเปรียบเทียบกับข้อมูลอื่นๆ
การพยายามฆ่าสื่อมวลชนจึงเท่ากับฆ่าความจริงที่ถูกถ่ายทอดสู่สาธารณชน
เช่นนี้ การทำงานของสื่อมวลชนทั่วไปจะมีเสรีภาพ ปราศจากความกลัวการแทรกแซง คุกคามข่มขู่ถึงขั้นคร่าตายได้อย่างไร ในเมื่อสื่อมวลชนที่เป็นทั้งแกนนำมวลชนและผู้ก่อตั้งสื่อเครือ ASTV ผู้จัดการยังถูกลอบสังหารด้วยอาวุธสงครามกลางกรุงเพราะนำเสนอความคิดเห็นแตกต่างทุกๆ เช้า
เพราะห้วงขณะสังคมตะโกนก้อง ‘ไม่ทำร้ายประเทศไทย ไม่ใช้ความรุนแรง’ อย่างเอิกเกริกนั้น หาได้มีความพยายามลดทอนความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมและโครงสร้างสักเท่าใดนัก เนื่องจากเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชนที่เป็นรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ศรัทธาในความคิดเห็นแตกต่างยังไม่ได้รับหลักประกันใดๆ เลยว่าจะไม่ถูกปิดปากด้วยปากกระบอกปืน
ทั้งๆ ที่การดำเนินการกับสื่อมวลชนที่แสดงความคิดเห็นแตกต่างจะต้องเป็นไปตามกระบวนการกฎหมาย ไม่ใช่วิธีการโหดเหี้ยมป่าเถื่อนเช่นนี้ อีกทั้งสังคมไทยยังต้องการความกล้าหาญของผู้มีอำนาจกุมโกร่งไกปืนอย่างชอบธรรมให้เข้ามาคลี่คลายวิกฤตด้วยการจับกุมผู้ลอบสังหาร ไม่ใช่ปัดปฏิเสธโดยอ้างว่าอาวุธสงครามใครก็มีกันได้
หรือว่าต้องรอให้สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ต้องออกแถลงการณ์ร่วมให้ตำรวจเร่งติดตามจับกุมคนร้ายที่ลอบยิงสื่อมวลชนคนอื่นๆ อีก ถึงจะระบุว่าอาวุธสงครามไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อสังหารประชาชนผู้ชุมนุมหรือสื่อมวลชนผู้นำเสนอข้อเท็จจริง ดังที่พี่น้องและแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเผชิญมา
เมื่อเมืองไทยเคยรณรงค์ ‘เสรีภาพสื่อเสรีภาพประชาชน’ มาแล้ว การขยายขอบเขตเป็น ‘เสรีภาพสื่อเสรีภาพการชุมนุม’ เพื่อเพิ่มพูนความแข็งแกร่งแก่ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมจึงถือเป็นการต่อยอด โดยต้องทวีคูณการเรียนรู้สิทธิเสรีภาพซึ่งกันและกันของภาคประชาชน เพื่อทุกๆ การชุมนุมจะสงบ ปราศจากอาวุธ ไม่กระทบสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นเพื่อการันตีการไม่ถูกแทรกแซงจากรัฐ รวมถึงการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองก็มุ่งประโยชน์สาธารณะมากกว่าปัจเจกบุคคล
ตลอดจนเสรีภาพในทางประชาธิปไตยที่เป็นกลไกในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองจะได้ผลัดใบใหม่เสียที โดยมีเลือดเนื้อแลจิตวิญญาณของสื่อมวลชนผู้ไม่ตกใต้อาณัติอิทธิพลคอยหล่อเลี้ยง.-
เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.)