งวดนี้ “แสงแดด” ขอ “ฉีกแนว-หักมุม” เรื่องการเมือง เนื่องด้วย “เอือมระอา-เอียน” อย่างมากกับ “ความสับสนวุ่นวาย” ที่ยัง “จมปลัก!” อยู่กับภาพเหตุการณ์เดิมๆ ตลอดจนการวิพากษ์วิจารณ์ ซ้ำๆ ซากๆ จนน่าเบื่อหน่าย และสมควรแก่ความพอเพียงแล้ว ที่ชาติบ้านเมืองจะต้องสร้างสรรค์และเดินหน้าทำงานพัฒนากันได้แล้ว!
ปัญหาสำคัญของสังคมไทย ที่นับวันจะเข้าสู่ขั้นอันตรายมากยิ่งขึ้นคือ “ความขัดแย้ง” ที่จะเลยเถิดไปถึง “ความแตกแยก” และ “แตกหัก!” ในที่สุด
ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงเกิดจาก “ความเอารัดเอาเปรียบ” และ “ความอยุติธรรม” ในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาหลักคือ “ไม่รู้กฎหมาย-ไม่เคารพกฎหมาย” และสำคัญที่สุดคือ “ไม่ปฏิบัติยึดมั่นในหลักกฎหมาย!”
เท่านั้นยังไม่พอ “การบิดเบือนกฎหมาย” ซึ่งก่อให้เกิด “กระบวนการ-ขั้นตอน” ที่ “ปราศจากความยุติธรรม” จึงก่อให้เกิด “ความขัดแย้ง” และนำพาไปสู่ “การดำเนินการสองมาตรฐาน (Double Standard)” ที่ปัจจุบันมีการเรียกร้องกันมากถึง “กระบวนการยุติธรรม”
ปัญหาสำคัญของ “ระบบราชการไทย” ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางถึง 2-3 กรณีที่สำคัญ อาทิ กรณีของการเป็น “อำมาตยาธิปไตย” กับการปฏิบัติงานแบบ “เช้าชามเย็นชาม” และกรณี “ทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง”
กล่าวคือ ในกรณีของ “อำมาตยาธิปไตย” ที่บรรดาข้าราชการไทย ตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน ยังคงสืบทอดความเป็น “สถาบันขุนนาง” ที่ยึดเหนี่ยวยึดมั่นอยู่กับ “ระบบศักดินา” แม้กระทั่ง “คนรุ่นใหม่” ที่จบการศึกษาระดับสูงจากในประเทศและต่างประเทศ ก็ยังคง “จมปลัก” อยู่กับ “ความเป็นอำมาตย์-ขุนนาง” ที่มุ่งเน้นเรื่อง “เกียรติยศ-ศักดิ์ศรี” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ระดับยศ” จนก่อให้เกิด “การเหลื่อมล้ำ” ในประเด็นของ “ชนชั้น-วรรณะ” ที่สืบเนื่องมาจากขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมตั้งแต่โบราณกาลนับหลายร้อยปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ศาสนาฮินดู-ลัทธิพราหมณ์”
เป็นกรณีที่แทบไม่น่าเชื่อว่า “ข้าราชการยุคใหม่” ที่มีการศึกษาสูง และไม่สำคัญว่าเป็น “บุคคลทันสมัย” แต่ยังคง “จมปลัก” อยู่กับ “ค่านิยม-วัฒนธรรมเดิม” ที่ไม่ได้มีการพัฒนาเลย ไม่ว่า “สังคมไทย-สังคมโลก” จะเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยอย่างไร
“ศักดินา” ที่บรรดาข้าราชการทั้งในอดีตและปัจจุบันยังคงยึดถือ พร้อมทั้งนำมาปฏิบัติกับกลุ่มผู้ใต้บังคับบัญชา แต่คงไม่สำคัญเท่ากับ “ประชาชน” ที่ต้องมาอาศัยในการรับรู้กฎเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับ และ “การรับบริการ” ที่ยังมีข้าราชการบางส่วนยังไม่ตระหนักว่าเป็น “ผู้รับใช้สาธารณชน!”
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องยอมรับความจริงว่า ข้าราชการจำนวนมากที่มีทัศนคติที่เปลี่ยนไปจากเดิมมากพอสมควร ที่มี “จิตสำนึกสาธารณะ (Publicness)” ในการที่คำนึงถึง “การบริการประชาชน (Public Service)” ที่อ่อนโยน สุภาพ เรียบร้อย ไม่พูดจาเสมือน “นายประชาชน” ดังเช่นในอดีต แต่ก็ยังมีข้าราชการบางส่วนที่ยังคิดว่าเป็น “นายประชาชน” ด้วยการใช้วาจาที่อาจจะสุภาพ แต่ห้วนเสมือนไร้มิตรไมตรี ตลอดจนต้องอาจบังคับตนเองหรือ “ฝืนใจ” ในการบริการประชาชน
ทั้งนี้ ข้าราชการปัจจุบันได้มีการปรับปรุงพัฒนาที่ดีขึ้น ทั้งในเชิงจิตวิทยาและเชิงทัศนคติ ตลอดจนการแสดงออก เพียงแต่ว่าอาจจะยังไม่รุดหน้าเพียงพอในการทำหน้าที่ ข้าราชการที่ “ทันสมัย” และตระหนักถึง “การบริการประชาชน” และสำคัญที่สุดคือ “จิตสำนึกสาธารณะ”
ในกรณีข้างต้นเป็นกรณีของ “วัฒนธรรม-ค่านิยม” ที่ขอย้ำว่า “ศักดินา-อำมาตย์-ขุนนาง” ยังคงฝังลึกอยู่กับข้าราชการ ไม่ว่ายุคใดสมัยใด แม้กระทั่ง “สังคมโลกาภิวัตน์” ที่บรรดา “ข้าราชการรุ่นใหม่” ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ต่างยังคงมีนิสัยและขอเสียมารยาทหยาบคายว่า “สันดานเสีย!” คิดว่าเป็น “ขุนนาง”
ประเด็นสำคัญต่อมาคือ “ระบบราชการ” จะเป็นสภาพเหมือน “ภูเขาน้ำแข็ง” หรือมักเรียกกันว่า “Iceberg” ที่ก้อนน้ำแข็งโผล่เหนือน้ำเพียงหนึ่งเสี้ยวเท่านั้น แต่ที่จมอยู่ในน้ำมีจำนวนมากถึงสามส่วน จะสี่ส่วนที่แทบไม่มีโอกาสที่จะละลาย และไม่สำคัญเท่ากับว่า เป็น “ก้อนน้ำแข็งจมปลัก” มาชั่วนาตาปี ยากแก่การ “ทำลาย-ละลาย”
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็หมายความว่า “กฎธรรมชาติ” ของ “พฤติกรรม” และ “โครงสร้าง” ไม่มีทางที่จะสลายหายขาดไปได้ มีแต่นับวันจะพอกพูนมากขึ้น อย่างดีที่สุดก็เหมือนเดิม ไม่มีการขยายผลไปมากกว่านี้
“กฎเกณฑ์ธรรมชาติ” ของระบบราชการเป็นเช่นนี้ แน่นอนที่ “ข้าราชการ” ก็จะมี “พฤติกรรม” เช่น ภูเขาน้ำแข็งเช่นเดียวกัน กล่าวคือ นับวันก็มีแต่จะ “ยึดติด-เกาะติด” อยู่กับ “การทำงานเชิงกิจวัตร” หรือ “Routinization” ที่เราเรียกขานแบบประชดประชันว่า “เช้าชามเย็นชาม”
พูดง่ายๆ คือ ช่วงเข้ารับราชการใหม่เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยจะ “ฟิตจัด!” แต่พออยู่ไปนานๆ เข้าจะค่อยๆ ถูก “โครงสร้าง-ระบบ” ของ “องค์กรราชการ” กลืนไปโดยปริยาย โดยไม่มี “ความคิดสร้างสรรค์ใหม่” แต่จะยึดแต่ “กฎระเบียบ” หรือ “Go By The Book” แม้กระทั่ง “ข้าราชการรุ่นใหม่!”
เป็นกรณีที่ทั้ง “น่าเสียดาย-น่าเสียใจ” ที่สังคมไทยสังคมโลกพัฒนามาสู่ยุคสมัยใหม่ ที่ “ข้อมูลข่าวสาร” ตลอดจน “ความรู้” มากมายจนล้น แต่บรรดาบุคลากรแวดวงระบบราชการบางส่วนและอาจเลยเถิดว่า “ส่วนมาก” ยังคง “จม” จนถึงขั้น “จมปลัก” ไปกับ “โครงสร้างเดิม-ระบบเดิม” จนมีการศึกษาวิจัยสารพัดนับครั้งไม่ถ้วน ในการที่จะ “ปฏิรูประบบราชการ”
ซึ่งแน่นอน สามารถ “ปรับ-ปฏิรูป” ได้แต่เป็น “การปฏิรูปเชิงโครงสร้าง (Structure)” เท่านั้น ปัญหาของการปฏิรูประบบราชการไทยคือ “ปฏิรูปวัฒนธรรม (Culture)” ที่ปัจจุบันนี้มีความเพียรพยายามทั้งจาก “สำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)” และ “สำนักงานพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)” ที่มุ่งเน้นไปที่ “บุคลากรภาครัฐ-ข้าราชการ” ที่สารภาพว่า “ยากเย็นแสนเข็ญ-เข็นครกขึ้นภูเขา”
ขอย้ำว่า “ปัญหาของระบบราชการไทย” คือ “ข้าราชการ” ที่ปรับเปลี่ยนยากที่สุด และขอเน้นย้ำว่า แม้กระทั่ง “ข้าราชการรุ่นใหม่” ที่ “จมปลัก” อยู่กับ “วัฒนธรรม-ค่านิยมเดิม” ด้วย “โครงสร้างอำนาจเก่า!” ไม่ว่าจะ “อวดดี-อวดเก่ง-อวดศักดา” เลยเถิดไปจนถึง “บ้ายศ-บ้าเครื่องแบบ” เสมือน “อาภรณ์เกียรติยศ” ที่เอาไว้แสดง “ความเหลื่อมล้ำ” ให้สาธารณชนได้เกิด “การแบ่งชนชั้น!”
เท่าที่ “แสงแดด” ศึกษา พร้อมรับทราบข้อมูลจากลูกศิษย์และพรรคพวกตามกระทรวงและหน่วยงานภาครัฐต่างๆ โดยเฉพาะ กระทรวงที่น่าจะมี “บรรยากาศ” พร้อม “พฤติกรรม” ทันสมัย ในกรณีของข้าราชการ ซึ่งก็มี “กระทรวงการต่างประเทศ” และ “กระทรวงพาณิชย์” ที่ต้องเข้าร่วมสมัยกับสังคมโลกาภิวัตน์ และ/หรือ “สังคมโลก” ทั้งในด้าน “ความคิด-วิสัยทัศน์-การปฏิบัติงาน”
แต่เป็นกรณีแทบไม่น่าเชื่อว่า “ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์” จำนวนไม่น้อย ที่ยังคง “จมปลัก” อยู่กับ “ปัญหาของระบบราชการไทย” กล่าวคือ “ศักดินา-บ้าอำนาจ” ตลอดจน “อวดดี-อวดเก่ง” ทั้งๆ ที่เป็น “ข้าราชการยุคใหม่” ที่เพียงแค่ “ระดับ 5-6-7-8” เท่านั้น แต่ยังคง “ยึดติด-จมปลัก” อยู่กับ “ระบบศักดินา” ตีกรอบอยู่กับ “ศักดิ์ศรี” เสมือน “กบในกะลา!” ที่อยู่ในโลกแคบ ไม่ได้ฉุกคิดเลยว่า “คนศักดิ์ศรีเหนือกว่า” ยังอ่อนน้อมถ่อมตน!
ในขณะเดียวกัน “อำมาตย์-ขุนนาง” ที่ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ทึกทักแต่เรื่อง “ยศ-เครื่องแบบ” ยังปฏิบัติราชการ “แบบไร้วิสัยทัศน์” ตลอดจน “ไร้สร้างสรรค์” จนจมปลักอยู่กับ “กิจวัตร-เช้าชามเย็นชาม” คิดอะไรไม่เป็น นั่งแต่รอคำสั่งอย่างเดียว! หรือ “ปกป้องตนเอง (Self Defence)” มากเกินไป! เกรงว่าจะถูก “ดูถูก-ดูหมิ่น-ดูแคลน” จึงต้อง “เบ่ง” ไว้ก่อน!
“ข้าราชการรุ่นเก่า” ว่าไปแล้ว ยังมีความอาวุโสและเพียรพยายามพัฒนาตนเองตลอด แต่ในทางกลับกัน “ข้าราชการรุ่นใหม่” จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและโทจากในประเทศและต่างประเทศ กลับ “เย่อหยิ่ง-อหังการ” และ “ลืมตัว!”
แต่ที่เลวร้ายไปมากกว่านั้น คือ “ทุจริต-ฉ้อราษฎร์บังหลวง” ที่แทบไม่น่าเชื่อว่า “มาตรฐานคุณธรรม-จริยธรรม” ของข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ บางคนมีพฤติการณ์และพฤติกรรมส่อไปในทาง “ทุจริตคดโกง” และ “กินหัวคิว!” ตลอดในบางกรม จนสามารถเรียกขานได้ว่า “โจราพาณิชย์” หรือ “โจรใส่สูท!”
อย่างไรก็ดี ข้าราชการที่ดี สุภาพ อ่อนน้อม ถ่อมตน ไม่อวดเบ่ง บ้ายศ ตลอดจนมีความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ วิสัยทัศน์ และซื่อสัตย์สุจริต อีกจำนวนมาก อาทิ อดีตอธิบดีกรมเจรจาฯ หรือแม้กระทั่งกรมการค้าภายใน นอกนั้นสมควรถูกเฝ้าจับตา ทั้งนี้ ข้าราชการระดับผู้ใหญ่บางคนก็ “เกียร์ว่าง” ทำนอง “เช้าชามเย็นชาม” ขอย้ำว่า “ข้าราชการดีมีคุณภาพ” นั้นมีอยู่จำนวนมากสูงถึงร้อยละ 70 เพียง แค่ร้อยละ 20-30 เท่านั้นที่ “ดักดาน!”
ทั้งหลายทั้งปวง มิใช่เป็นการเหมารวมว่า ข้าราชการทั้งหมดเป็นดังที่กล่าวไว้ข้างต้น “ข้าราชการคุณภาพ” ยังมีจำนวนมาก เพียงแต่มีบางคนที่ถูกกลืนและจมลงสู่ภูเขาน้ำแข็ง และบางคนไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง หรือเปลืองตัว ด้วยการสร้างเกราะกำบังตนเอง
ปัญหาของระบบราชการไทย ที่ยังคงวนเวียนอยู่กับ “อำมาตย์-ศักดินา-ขุนนาง” ลามไปจนถึง “เช้าชามเย็นชาม” พอกพูนด้วย “ทุจริต” ซ้ำเติมเข้าไปอีก สวนทางกับ “กระแสโลก” ที่มุ่งเน้น “สมรรถนะ-ศักยภาพ” ในการแข่งขัน
ถึงเวลาแล้ว ที่ข้าราชการรุ่นใหม่ต้องปรับเปลี่ยนเดินหน้าสู่อนาคตได้แล้ว มักจะ “เถลิงศักดิ์” กล่าวคือ เป็นพฤติกรรม “เถลิง-เทิดเทิง” กับ “ศักดิ์ศรีเกียรติยศ” เข้าขั้น “อวดเบ่ง-อวดดี” จนก่อให้เกิดความอึดอัดกับผู้คนทั่วไป ไม่ว่า “ศักดิ์ด้อย” หรือ “ศักดิ์ใหญ่กว่า!”
แต่ในทางกลับกัน “ข้าราชการการเมือง” กลับ “ล้ำยุค-ล้ำสมัย” มีแต่เดินเข้าหาข้าราชการกระทรวงฯ เพื่อขอความร่วมมือ!
ปัญหาสำคัญของสังคมไทย ที่นับวันจะเข้าสู่ขั้นอันตรายมากยิ่งขึ้นคือ “ความขัดแย้ง” ที่จะเลยเถิดไปถึง “ความแตกแยก” และ “แตกหัก!” ในที่สุด
ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงเกิดจาก “ความเอารัดเอาเปรียบ” และ “ความอยุติธรรม” ในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาหลักคือ “ไม่รู้กฎหมาย-ไม่เคารพกฎหมาย” และสำคัญที่สุดคือ “ไม่ปฏิบัติยึดมั่นในหลักกฎหมาย!”
เท่านั้นยังไม่พอ “การบิดเบือนกฎหมาย” ซึ่งก่อให้เกิด “กระบวนการ-ขั้นตอน” ที่ “ปราศจากความยุติธรรม” จึงก่อให้เกิด “ความขัดแย้ง” และนำพาไปสู่ “การดำเนินการสองมาตรฐาน (Double Standard)” ที่ปัจจุบันมีการเรียกร้องกันมากถึง “กระบวนการยุติธรรม”
ปัญหาสำคัญของ “ระบบราชการไทย” ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางถึง 2-3 กรณีที่สำคัญ อาทิ กรณีของการเป็น “อำมาตยาธิปไตย” กับการปฏิบัติงานแบบ “เช้าชามเย็นชาม” และกรณี “ทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง”
กล่าวคือ ในกรณีของ “อำมาตยาธิปไตย” ที่บรรดาข้าราชการไทย ตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน ยังคงสืบทอดความเป็น “สถาบันขุนนาง” ที่ยึดเหนี่ยวยึดมั่นอยู่กับ “ระบบศักดินา” แม้กระทั่ง “คนรุ่นใหม่” ที่จบการศึกษาระดับสูงจากในประเทศและต่างประเทศ ก็ยังคง “จมปลัก” อยู่กับ “ความเป็นอำมาตย์-ขุนนาง” ที่มุ่งเน้นเรื่อง “เกียรติยศ-ศักดิ์ศรี” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ระดับยศ” จนก่อให้เกิด “การเหลื่อมล้ำ” ในประเด็นของ “ชนชั้น-วรรณะ” ที่สืบเนื่องมาจากขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมตั้งแต่โบราณกาลนับหลายร้อยปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ศาสนาฮินดู-ลัทธิพราหมณ์”
เป็นกรณีที่แทบไม่น่าเชื่อว่า “ข้าราชการยุคใหม่” ที่มีการศึกษาสูง และไม่สำคัญว่าเป็น “บุคคลทันสมัย” แต่ยังคง “จมปลัก” อยู่กับ “ค่านิยม-วัฒนธรรมเดิม” ที่ไม่ได้มีการพัฒนาเลย ไม่ว่า “สังคมไทย-สังคมโลก” จะเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยอย่างไร
“ศักดินา” ที่บรรดาข้าราชการทั้งในอดีตและปัจจุบันยังคงยึดถือ พร้อมทั้งนำมาปฏิบัติกับกลุ่มผู้ใต้บังคับบัญชา แต่คงไม่สำคัญเท่ากับ “ประชาชน” ที่ต้องมาอาศัยในการรับรู้กฎเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับ และ “การรับบริการ” ที่ยังมีข้าราชการบางส่วนยังไม่ตระหนักว่าเป็น “ผู้รับใช้สาธารณชน!”
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องยอมรับความจริงว่า ข้าราชการจำนวนมากที่มีทัศนคติที่เปลี่ยนไปจากเดิมมากพอสมควร ที่มี “จิตสำนึกสาธารณะ (Publicness)” ในการที่คำนึงถึง “การบริการประชาชน (Public Service)” ที่อ่อนโยน สุภาพ เรียบร้อย ไม่พูดจาเสมือน “นายประชาชน” ดังเช่นในอดีต แต่ก็ยังมีข้าราชการบางส่วนที่ยังคิดว่าเป็น “นายประชาชน” ด้วยการใช้วาจาที่อาจจะสุภาพ แต่ห้วนเสมือนไร้มิตรไมตรี ตลอดจนต้องอาจบังคับตนเองหรือ “ฝืนใจ” ในการบริการประชาชน
ทั้งนี้ ข้าราชการปัจจุบันได้มีการปรับปรุงพัฒนาที่ดีขึ้น ทั้งในเชิงจิตวิทยาและเชิงทัศนคติ ตลอดจนการแสดงออก เพียงแต่ว่าอาจจะยังไม่รุดหน้าเพียงพอในการทำหน้าที่ ข้าราชการที่ “ทันสมัย” และตระหนักถึง “การบริการประชาชน” และสำคัญที่สุดคือ “จิตสำนึกสาธารณะ”
ในกรณีข้างต้นเป็นกรณีของ “วัฒนธรรม-ค่านิยม” ที่ขอย้ำว่า “ศักดินา-อำมาตย์-ขุนนาง” ยังคงฝังลึกอยู่กับข้าราชการ ไม่ว่ายุคใดสมัยใด แม้กระทั่ง “สังคมโลกาภิวัตน์” ที่บรรดา “ข้าราชการรุ่นใหม่” ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ต่างยังคงมีนิสัยและขอเสียมารยาทหยาบคายว่า “สันดานเสีย!” คิดว่าเป็น “ขุนนาง”
ประเด็นสำคัญต่อมาคือ “ระบบราชการ” จะเป็นสภาพเหมือน “ภูเขาน้ำแข็ง” หรือมักเรียกกันว่า “Iceberg” ที่ก้อนน้ำแข็งโผล่เหนือน้ำเพียงหนึ่งเสี้ยวเท่านั้น แต่ที่จมอยู่ในน้ำมีจำนวนมากถึงสามส่วน จะสี่ส่วนที่แทบไม่มีโอกาสที่จะละลาย และไม่สำคัญเท่ากับว่า เป็น “ก้อนน้ำแข็งจมปลัก” มาชั่วนาตาปี ยากแก่การ “ทำลาย-ละลาย”
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็หมายความว่า “กฎธรรมชาติ” ของ “พฤติกรรม” และ “โครงสร้าง” ไม่มีทางที่จะสลายหายขาดไปได้ มีแต่นับวันจะพอกพูนมากขึ้น อย่างดีที่สุดก็เหมือนเดิม ไม่มีการขยายผลไปมากกว่านี้
“กฎเกณฑ์ธรรมชาติ” ของระบบราชการเป็นเช่นนี้ แน่นอนที่ “ข้าราชการ” ก็จะมี “พฤติกรรม” เช่น ภูเขาน้ำแข็งเช่นเดียวกัน กล่าวคือ นับวันก็มีแต่จะ “ยึดติด-เกาะติด” อยู่กับ “การทำงานเชิงกิจวัตร” หรือ “Routinization” ที่เราเรียกขานแบบประชดประชันว่า “เช้าชามเย็นชาม”
พูดง่ายๆ คือ ช่วงเข้ารับราชการใหม่เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยจะ “ฟิตจัด!” แต่พออยู่ไปนานๆ เข้าจะค่อยๆ ถูก “โครงสร้าง-ระบบ” ของ “องค์กรราชการ” กลืนไปโดยปริยาย โดยไม่มี “ความคิดสร้างสรรค์ใหม่” แต่จะยึดแต่ “กฎระเบียบ” หรือ “Go By The Book” แม้กระทั่ง “ข้าราชการรุ่นใหม่!”
เป็นกรณีที่ทั้ง “น่าเสียดาย-น่าเสียใจ” ที่สังคมไทยสังคมโลกพัฒนามาสู่ยุคสมัยใหม่ ที่ “ข้อมูลข่าวสาร” ตลอดจน “ความรู้” มากมายจนล้น แต่บรรดาบุคลากรแวดวงระบบราชการบางส่วนและอาจเลยเถิดว่า “ส่วนมาก” ยังคง “จม” จนถึงขั้น “จมปลัก” ไปกับ “โครงสร้างเดิม-ระบบเดิม” จนมีการศึกษาวิจัยสารพัดนับครั้งไม่ถ้วน ในการที่จะ “ปฏิรูประบบราชการ”
ซึ่งแน่นอน สามารถ “ปรับ-ปฏิรูป” ได้แต่เป็น “การปฏิรูปเชิงโครงสร้าง (Structure)” เท่านั้น ปัญหาของการปฏิรูประบบราชการไทยคือ “ปฏิรูปวัฒนธรรม (Culture)” ที่ปัจจุบันนี้มีความเพียรพยายามทั้งจาก “สำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)” และ “สำนักงานพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)” ที่มุ่งเน้นไปที่ “บุคลากรภาครัฐ-ข้าราชการ” ที่สารภาพว่า “ยากเย็นแสนเข็ญ-เข็นครกขึ้นภูเขา”
ขอย้ำว่า “ปัญหาของระบบราชการไทย” คือ “ข้าราชการ” ที่ปรับเปลี่ยนยากที่สุด และขอเน้นย้ำว่า แม้กระทั่ง “ข้าราชการรุ่นใหม่” ที่ “จมปลัก” อยู่กับ “วัฒนธรรม-ค่านิยมเดิม” ด้วย “โครงสร้างอำนาจเก่า!” ไม่ว่าจะ “อวดดี-อวดเก่ง-อวดศักดา” เลยเถิดไปจนถึง “บ้ายศ-บ้าเครื่องแบบ” เสมือน “อาภรณ์เกียรติยศ” ที่เอาไว้แสดง “ความเหลื่อมล้ำ” ให้สาธารณชนได้เกิด “การแบ่งชนชั้น!”
เท่าที่ “แสงแดด” ศึกษา พร้อมรับทราบข้อมูลจากลูกศิษย์และพรรคพวกตามกระทรวงและหน่วยงานภาครัฐต่างๆ โดยเฉพาะ กระทรวงที่น่าจะมี “บรรยากาศ” พร้อม “พฤติกรรม” ทันสมัย ในกรณีของข้าราชการ ซึ่งก็มี “กระทรวงการต่างประเทศ” และ “กระทรวงพาณิชย์” ที่ต้องเข้าร่วมสมัยกับสังคมโลกาภิวัตน์ และ/หรือ “สังคมโลก” ทั้งในด้าน “ความคิด-วิสัยทัศน์-การปฏิบัติงาน”
แต่เป็นกรณีแทบไม่น่าเชื่อว่า “ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์” จำนวนไม่น้อย ที่ยังคง “จมปลัก” อยู่กับ “ปัญหาของระบบราชการไทย” กล่าวคือ “ศักดินา-บ้าอำนาจ” ตลอดจน “อวดดี-อวดเก่ง” ทั้งๆ ที่เป็น “ข้าราชการยุคใหม่” ที่เพียงแค่ “ระดับ 5-6-7-8” เท่านั้น แต่ยังคง “ยึดติด-จมปลัก” อยู่กับ “ระบบศักดินา” ตีกรอบอยู่กับ “ศักดิ์ศรี” เสมือน “กบในกะลา!” ที่อยู่ในโลกแคบ ไม่ได้ฉุกคิดเลยว่า “คนศักดิ์ศรีเหนือกว่า” ยังอ่อนน้อมถ่อมตน!
ในขณะเดียวกัน “อำมาตย์-ขุนนาง” ที่ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ทึกทักแต่เรื่อง “ยศ-เครื่องแบบ” ยังปฏิบัติราชการ “แบบไร้วิสัยทัศน์” ตลอดจน “ไร้สร้างสรรค์” จนจมปลักอยู่กับ “กิจวัตร-เช้าชามเย็นชาม” คิดอะไรไม่เป็น นั่งแต่รอคำสั่งอย่างเดียว! หรือ “ปกป้องตนเอง (Self Defence)” มากเกินไป! เกรงว่าจะถูก “ดูถูก-ดูหมิ่น-ดูแคลน” จึงต้อง “เบ่ง” ไว้ก่อน!
“ข้าราชการรุ่นเก่า” ว่าไปแล้ว ยังมีความอาวุโสและเพียรพยายามพัฒนาตนเองตลอด แต่ในทางกลับกัน “ข้าราชการรุ่นใหม่” จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและโทจากในประเทศและต่างประเทศ กลับ “เย่อหยิ่ง-อหังการ” และ “ลืมตัว!”
แต่ที่เลวร้ายไปมากกว่านั้น คือ “ทุจริต-ฉ้อราษฎร์บังหลวง” ที่แทบไม่น่าเชื่อว่า “มาตรฐานคุณธรรม-จริยธรรม” ของข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ บางคนมีพฤติการณ์และพฤติกรรมส่อไปในทาง “ทุจริตคดโกง” และ “กินหัวคิว!” ตลอดในบางกรม จนสามารถเรียกขานได้ว่า “โจราพาณิชย์” หรือ “โจรใส่สูท!”
อย่างไรก็ดี ข้าราชการที่ดี สุภาพ อ่อนน้อม ถ่อมตน ไม่อวดเบ่ง บ้ายศ ตลอดจนมีความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ วิสัยทัศน์ และซื่อสัตย์สุจริต อีกจำนวนมาก อาทิ อดีตอธิบดีกรมเจรจาฯ หรือแม้กระทั่งกรมการค้าภายใน นอกนั้นสมควรถูกเฝ้าจับตา ทั้งนี้ ข้าราชการระดับผู้ใหญ่บางคนก็ “เกียร์ว่าง” ทำนอง “เช้าชามเย็นชาม” ขอย้ำว่า “ข้าราชการดีมีคุณภาพ” นั้นมีอยู่จำนวนมากสูงถึงร้อยละ 70 เพียง แค่ร้อยละ 20-30 เท่านั้นที่ “ดักดาน!”
ทั้งหลายทั้งปวง มิใช่เป็นการเหมารวมว่า ข้าราชการทั้งหมดเป็นดังที่กล่าวไว้ข้างต้น “ข้าราชการคุณภาพ” ยังมีจำนวนมาก เพียงแต่มีบางคนที่ถูกกลืนและจมลงสู่ภูเขาน้ำแข็ง และบางคนไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง หรือเปลืองตัว ด้วยการสร้างเกราะกำบังตนเอง
ปัญหาของระบบราชการไทย ที่ยังคงวนเวียนอยู่กับ “อำมาตย์-ศักดินา-ขุนนาง” ลามไปจนถึง “เช้าชามเย็นชาม” พอกพูนด้วย “ทุจริต” ซ้ำเติมเข้าไปอีก สวนทางกับ “กระแสโลก” ที่มุ่งเน้น “สมรรถนะ-ศักยภาพ” ในการแข่งขัน
ถึงเวลาแล้ว ที่ข้าราชการรุ่นใหม่ต้องปรับเปลี่ยนเดินหน้าสู่อนาคตได้แล้ว มักจะ “เถลิงศักดิ์” กล่าวคือ เป็นพฤติกรรม “เถลิง-เทิดเทิง” กับ “ศักดิ์ศรีเกียรติยศ” เข้าขั้น “อวดเบ่ง-อวดดี” จนก่อให้เกิดความอึดอัดกับผู้คนทั่วไป ไม่ว่า “ศักดิ์ด้อย” หรือ “ศักดิ์ใหญ่กว่า!”
แต่ในทางกลับกัน “ข้าราชการการเมือง” กลับ “ล้ำยุค-ล้ำสมัย” มีแต่เดินเข้าหาข้าราชการกระทรวงฯ เพื่อขอความร่วมมือ!