ASTVผู้จัดการรายวัน-สินค้าแพงได้ใจ เนื้อหมูพุ่งกิโลละ 135 บาท มะนาวลูกละ 10 บาท ผักราคาเพิ่มกิโลละ 5-10 บาท “ยรรยง”แจงเพราะหน้าร้อน ทำผลผลิตลดลง ราคาเลยพุ่ง ยันไม่เข้าไปบิดเบือนกลไกตลาด จะหาทางนำสินค้าจำเป็นราคาถูกอื่นๆ เข้าไปช่วยแทน แต่หมูขอคุย 29 เม.ย.นี้ หาทางออก เผยปีหน้าผู้บริโภคส่อซวยซ้ำ เหตุครม.หั่นงบช่วยเหลือเกลี้ยง ขอไป 1.9 พันล้านตัดเหลือแค่ 6 ร้อยล้าน แถมงบกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองก็ไม่ได้
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ไปสำรวจภาวะราคาอาหารสดในตลาดยิ่งเจริญ กรุงเทพฯ ซึ่งพบว่าสินค้าเนื้อหมู มะนาว และผักประเภทใบมีราคาแพงขึ้นจริง เนื่องจากมีผลผลิตออกมาน้อย ซึ่งเป็นการแพงขึ้นตามฤดูกาล เพราะช่วงนี้เป็นช่วงหน้าร้อน ผลผลิตเข้าสู่ตลาดมีปริมาณน้อยลง แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ทั้งนี้ ในส่วนของเนื้อหมู พบว่า ราคาเนื้อหมูสันในและนอกกก.ละ 130-135 บาท เนื้อสะโพก 115-125 บาท หมูบด 75 บาท ขณะที่มะนาวเบอร์ 2 ลูกละ 4-4.50 บาท ลูกใหญ่พิเศษ 9-10 บาท ส่วนผักกาดขาว ต้นหอม ผักกาดหอม ก็ขยับขึ้นจากเดือนที่แล้วกก.ละ 5-10 บาท
“สินค้าที่แพงขึ้น ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่เป็นไปตามฤดูกาล คือ หน้าร้อนจะมีราคาแพงขึ้น โดยเนื้อหมูที่แพงขึ้น เพราะลูกหมูขาดตลาด จากการที่มีการเลี้ยงลดลง จากปีก่อน 11.7 ล้านตัว ปีนี้เหลือ 11.3 ล้านตัว และหน้าร้อน หมูโตช้า ทำให้ผลผลิตเข้าสู่ตลาดได้น้อยลง ส่วนมะนาวและผักประเภทใบ ก็เช่นเดียวกัน อากาศร้อน ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดได้น้อยลง ราคาจึงแพงขึ้น”นายยรรยงกล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า กรมฯ จะไม่เข้าไปแทรกแซง หรือใช้วิธีการบิดเบือนกลไกตลาด แต่จะหาทางลดค่าครองชีพให้กับประชาชนในส่วนของสินค้ารายการอื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น การนำอาหารสด เครื่องปรุง ผัก ผลไม้ ไข่ไก่ ข้าวสาร ราคาถูกไปจำหน่ายงานธงฟ้ามากขึ้น รวมถึงการนำสินค้าจากเกษตรกรไปจำหน่ายถึงผู้บริโภคโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง และจะนำหมูราคาถูกกก.ละ 80 บาท เข้าร่วมจำหน่ายชั่วคราวด้วย ขณะเดียวกัน จะรณรงค์ให้ประชาชนบริโภคเนื้อสัตว์อื่นทดแทน เช่น เนื้อวัว ไก่ และอาหารทะเล ที่ราคายังปกติเป็นการชั่วคราว เพื่อสร้างสมดุลของผลผลิต
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเนื้อหมูที่มีราคาแพงขึ้นนั้น กรมฯ จะเรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องกับหมูในวันที่ 29 เม.ย.นี้ เพื่อขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการหมูในส่วนต่างๆ ช่วยลดกำไรลงมา เพื่อช่วยไม่ให้ราคาเนื้อหมูสูงเกินไป
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้พิจารณาตัดงบประมาณประจำปี 2553 ของกรมการค้าภายใน จากที่ขอไป 1,800-1,900 ล้านบาท เหลือเพียง 600-700 ล้านบาท โดยให้เหตุผลเพื่อเป็นไปตามมติงบประมาณปี 2553 ที่ถูกลดจาก 1.9 ล้านล้านบาท เหลือ 1.7 ล้านล้านบาท และเป็นไปตามแผนการตั้งงบประมาณขาดดุล 350,000 ล้านบาท หลังจากที่ปีนี้แผนการจัดเก็บงบประมาณของรัฐบาลพลาดเป้าหมายจำนวนมาก ซึ่งครม.ได้ขอให้กรมการค้าภายในพิจารณารายละเอียดงบประมาณที่ลดลง เพื่อเสนอกลับมาใหม่อีกครั้งใน 2 สัปดาห์หน้า ก่อนเสนอเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ แม้จะเป็นการตัดงบประมาณเพียงรอบแรก แต่ทำให้งบประมาณปี 2553 ของกรมค้าภายในเหลือน้อยกว่างบปี 2552 ที่เคยได้รับถึง 800 ล้านบาท และแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อแผนดำเนินการกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนและการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ที่สำคัญทำให้โครงการจำหน่ายสินค้าราคาถูกเพื่อลดค่าครองชีพแก่ประชาชน และการเชื่อมโยงการค้าระหว่างผู้ผลิต ผู้ซื้อ และผู้บริโภค จะทำได้น้อยลงตามไปด้วย
สิ่งที่จะเกิดขึ้น ประชาชนมีโอกาสซื้อของถูกได้น้อยลง เพราะปีที่ผ่านมา กรมการค้าภายในทุ่มงบประมาณจัดโครงการส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าราคาถูก และโครงการธงฟ้าทั่วประเทศเกือบร้อยครั้ง ขณะเดียวกันผู้ผลิตและผู้ขายสินค้า ก็จะได้รับผลกระทบ ไม่มีสถานที่จำหน่ายสินค้า และอาจมียอดขายลดลงรวมถึงกระทบต่อกำลังการผลิตด้วย เพราะที่ผ่านมาโครงการธงฟ้ามีส่วนช่วยเพิ่มยอดขาย และเงินหมุนเวียนใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจได้มาก
ส่วนงบกระตุ้นเศรษฐกิจพิเศษรอบสองที่กรมการค้าภายในขอเพิ่ม 1,000 ล้านบาท เพื่อใช้พัฒนาเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้ประชาชน ตามกรอบงบกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสอง 1.5 ล้านล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2553-55 ได้ถูกตัดงบไปทั้งหมดเช่นกัน โดยในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ จะเหลือเพียงงบพิเศษของกรมส่งเสริมการส่งออก และกรมทรัพย์สินทางปัญญาเท่านั้น
จากการตัดงบประมาณครั้งนี้ ทำให้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสอง ผ่านโครงการพัฒนาความเป็นอยู่ เพิ่มรายได้ และทำโครงการธงฟ้า นำสินค้าอุปโภคบริโภคราคาถูกไปจำหน่ายให้ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะต้องหยุดไป รวมถึงโครงการพัฒนาสินค้าเกษตร ในด้านข้อมูลการผลิต การแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกษตรกรถูกกดราคารับซื้อจากนายทุน และการพัฒนาระบบโลจิสติกส์สินค้าเกษตร ผ่านการจัดเก็บสินค้าในยุ้งฉาง ไซโล โกดัง ก็จะไม่สามารถดำเนินงานต่อได้ และอาจส่งผลต่ออนาคตให้เกิดปัญหาไม่มีสถานที่จัดเก็บสินค้าเกษตรเพียงพอ เช่นเดียวกับโครงการส่งเสริมการจัดการระบบค้าปลีกค้าส่งใหม่ ตามตลาดสด และย่านการค้าด้วย
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ค่อนข้างแปลกใจกับนโยบายรัฐบาล เพราะที่จริงช่วงที่เศรษฐกิจไม่ปกติและกำลังฟื้นตัว น่าจะมีการใส่งบกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว แต่ไม่เข้าใจว่าทำไม รัฐบาลชุดนี้กลับตัดงบประมาณไป ซึ่งทำให้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรกขาดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการธงฟ้าช่วยลดค่าครองชีพ เช่น ตลาดสดสีฟ้า บลู ฟาร์ม บลูเอาท์เล็ท บลู ช็อป ซึ่งจะหมดโครงการสิ้นเดือน ก.ย.นี้ ซึ่งหลังจากนั้นจะต้องหยุดชะงักไป ไม่สามารถทำเพิ่มต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นแผนการเชื่อมโยงสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรมถึงผู้บริโภค และปีหน้าอาจเป็นปีที่มีปัญหาสินค้าเกษตรเพิ่มยิ่งขึ้น ทั้งการชุมนุมของเกษตรกร และปัญหาราคาตกต่ำ และเป็นปีที่มีการจัดโครงการสินค้าราคาถูกน้อยลงกว่าทุกๆ ปีด้วย
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ไปสำรวจภาวะราคาอาหารสดในตลาดยิ่งเจริญ กรุงเทพฯ ซึ่งพบว่าสินค้าเนื้อหมู มะนาว และผักประเภทใบมีราคาแพงขึ้นจริง เนื่องจากมีผลผลิตออกมาน้อย ซึ่งเป็นการแพงขึ้นตามฤดูกาล เพราะช่วงนี้เป็นช่วงหน้าร้อน ผลผลิตเข้าสู่ตลาดมีปริมาณน้อยลง แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ทั้งนี้ ในส่วนของเนื้อหมู พบว่า ราคาเนื้อหมูสันในและนอกกก.ละ 130-135 บาท เนื้อสะโพก 115-125 บาท หมูบด 75 บาท ขณะที่มะนาวเบอร์ 2 ลูกละ 4-4.50 บาท ลูกใหญ่พิเศษ 9-10 บาท ส่วนผักกาดขาว ต้นหอม ผักกาดหอม ก็ขยับขึ้นจากเดือนที่แล้วกก.ละ 5-10 บาท
“สินค้าที่แพงขึ้น ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่เป็นไปตามฤดูกาล คือ หน้าร้อนจะมีราคาแพงขึ้น โดยเนื้อหมูที่แพงขึ้น เพราะลูกหมูขาดตลาด จากการที่มีการเลี้ยงลดลง จากปีก่อน 11.7 ล้านตัว ปีนี้เหลือ 11.3 ล้านตัว และหน้าร้อน หมูโตช้า ทำให้ผลผลิตเข้าสู่ตลาดได้น้อยลง ส่วนมะนาวและผักประเภทใบ ก็เช่นเดียวกัน อากาศร้อน ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดได้น้อยลง ราคาจึงแพงขึ้น”นายยรรยงกล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า กรมฯ จะไม่เข้าไปแทรกแซง หรือใช้วิธีการบิดเบือนกลไกตลาด แต่จะหาทางลดค่าครองชีพให้กับประชาชนในส่วนของสินค้ารายการอื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น การนำอาหารสด เครื่องปรุง ผัก ผลไม้ ไข่ไก่ ข้าวสาร ราคาถูกไปจำหน่ายงานธงฟ้ามากขึ้น รวมถึงการนำสินค้าจากเกษตรกรไปจำหน่ายถึงผู้บริโภคโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง และจะนำหมูราคาถูกกก.ละ 80 บาท เข้าร่วมจำหน่ายชั่วคราวด้วย ขณะเดียวกัน จะรณรงค์ให้ประชาชนบริโภคเนื้อสัตว์อื่นทดแทน เช่น เนื้อวัว ไก่ และอาหารทะเล ที่ราคายังปกติเป็นการชั่วคราว เพื่อสร้างสมดุลของผลผลิต
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเนื้อหมูที่มีราคาแพงขึ้นนั้น กรมฯ จะเรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องกับหมูในวันที่ 29 เม.ย.นี้ เพื่อขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการหมูในส่วนต่างๆ ช่วยลดกำไรลงมา เพื่อช่วยไม่ให้ราคาเนื้อหมูสูงเกินไป
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้พิจารณาตัดงบประมาณประจำปี 2553 ของกรมการค้าภายใน จากที่ขอไป 1,800-1,900 ล้านบาท เหลือเพียง 600-700 ล้านบาท โดยให้เหตุผลเพื่อเป็นไปตามมติงบประมาณปี 2553 ที่ถูกลดจาก 1.9 ล้านล้านบาท เหลือ 1.7 ล้านล้านบาท และเป็นไปตามแผนการตั้งงบประมาณขาดดุล 350,000 ล้านบาท หลังจากที่ปีนี้แผนการจัดเก็บงบประมาณของรัฐบาลพลาดเป้าหมายจำนวนมาก ซึ่งครม.ได้ขอให้กรมการค้าภายในพิจารณารายละเอียดงบประมาณที่ลดลง เพื่อเสนอกลับมาใหม่อีกครั้งใน 2 สัปดาห์หน้า ก่อนเสนอเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ แม้จะเป็นการตัดงบประมาณเพียงรอบแรก แต่ทำให้งบประมาณปี 2553 ของกรมค้าภายในเหลือน้อยกว่างบปี 2552 ที่เคยได้รับถึง 800 ล้านบาท และแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อแผนดำเนินการกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนและการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ที่สำคัญทำให้โครงการจำหน่ายสินค้าราคาถูกเพื่อลดค่าครองชีพแก่ประชาชน และการเชื่อมโยงการค้าระหว่างผู้ผลิต ผู้ซื้อ และผู้บริโภค จะทำได้น้อยลงตามไปด้วย
สิ่งที่จะเกิดขึ้น ประชาชนมีโอกาสซื้อของถูกได้น้อยลง เพราะปีที่ผ่านมา กรมการค้าภายในทุ่มงบประมาณจัดโครงการส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าราคาถูก และโครงการธงฟ้าทั่วประเทศเกือบร้อยครั้ง ขณะเดียวกันผู้ผลิตและผู้ขายสินค้า ก็จะได้รับผลกระทบ ไม่มีสถานที่จำหน่ายสินค้า และอาจมียอดขายลดลงรวมถึงกระทบต่อกำลังการผลิตด้วย เพราะที่ผ่านมาโครงการธงฟ้ามีส่วนช่วยเพิ่มยอดขาย และเงินหมุนเวียนใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจได้มาก
ส่วนงบกระตุ้นเศรษฐกิจพิเศษรอบสองที่กรมการค้าภายในขอเพิ่ม 1,000 ล้านบาท เพื่อใช้พัฒนาเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้ประชาชน ตามกรอบงบกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสอง 1.5 ล้านล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2553-55 ได้ถูกตัดงบไปทั้งหมดเช่นกัน โดยในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ จะเหลือเพียงงบพิเศษของกรมส่งเสริมการส่งออก และกรมทรัพย์สินทางปัญญาเท่านั้น
จากการตัดงบประมาณครั้งนี้ ทำให้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสอง ผ่านโครงการพัฒนาความเป็นอยู่ เพิ่มรายได้ และทำโครงการธงฟ้า นำสินค้าอุปโภคบริโภคราคาถูกไปจำหน่ายให้ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะต้องหยุดไป รวมถึงโครงการพัฒนาสินค้าเกษตร ในด้านข้อมูลการผลิต การแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกษตรกรถูกกดราคารับซื้อจากนายทุน และการพัฒนาระบบโลจิสติกส์สินค้าเกษตร ผ่านการจัดเก็บสินค้าในยุ้งฉาง ไซโล โกดัง ก็จะไม่สามารถดำเนินงานต่อได้ และอาจส่งผลต่ออนาคตให้เกิดปัญหาไม่มีสถานที่จัดเก็บสินค้าเกษตรเพียงพอ เช่นเดียวกับโครงการส่งเสริมการจัดการระบบค้าปลีกค้าส่งใหม่ ตามตลาดสด และย่านการค้าด้วย
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ค่อนข้างแปลกใจกับนโยบายรัฐบาล เพราะที่จริงช่วงที่เศรษฐกิจไม่ปกติและกำลังฟื้นตัว น่าจะมีการใส่งบกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว แต่ไม่เข้าใจว่าทำไม รัฐบาลชุดนี้กลับตัดงบประมาณไป ซึ่งทำให้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรกขาดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการธงฟ้าช่วยลดค่าครองชีพ เช่น ตลาดสดสีฟ้า บลู ฟาร์ม บลูเอาท์เล็ท บลู ช็อป ซึ่งจะหมดโครงการสิ้นเดือน ก.ย.นี้ ซึ่งหลังจากนั้นจะต้องหยุดชะงักไป ไม่สามารถทำเพิ่มต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นแผนการเชื่อมโยงสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรมถึงผู้บริโภค และปีหน้าอาจเป็นปีที่มีปัญหาสินค้าเกษตรเพิ่มยิ่งขึ้น ทั้งการชุมนุมของเกษตรกร และปัญหาราคาตกต่ำ และเป็นปีที่มีการจัดโครงการสินค้าราคาถูกน้อยลงกว่าทุกๆ ปีด้วย