ASTVผู้จัดการรายวัน-“อลงกรณ์”เตรียมดันกฎหมายค้าปลีก ค้าส่ง เข้าสภาผู้แทนราษฎรสมัยหน้า เดือนก.ค.นี้ เหตุรัฐบาลกำหนดเป็นนโยบายไว้ชัดเจน ระบุต้องการให้เกิดกติกาที่เป็นธรรมระหว่างรายเล็กกับรายใหญ่ แต่ไม่ขวางการลงทุนจากต่างชาติ มั่นใจคลอดทันรัฐบาลชุดนี้ ส่วนในระหว่างรอกฎหมาย อัด 3 กิจกรรมปั้นโชห่วยไทยให้เข้มแข็ง
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ส่งร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง ฉบับล่าสุด ที่กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับปรุงแก้ไขไปแล้วกลับมายังกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะหารือกับรมว.พาณิชย์อีกครั้ง จากนั้นจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยว ทั้งห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ร้านค้าปลีกดั้งเดิม (โชห่วย)ผู้ผลิตสินค้า (ซัปพลายเออร์) ร้านค้าส่ง และหน่วยงานรัฐ เพื่อให้เกิดความรอบคอบ ให้ผลประโยชน์เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย และรองรับการเปิดเสรีภายใต้กรอบการค้าเสรีที่ไทยทำกับประเทศต่างๆ ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนมิ.ย.นี้ และคาดว่า จะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ในสมัยประชุมหน้า หรือประมาณเดือนก.ค.
“กฎหมายค้าปลีก ค้าส่ง เป็นนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ ที่ต้องการทำให้ระบบการค้ามีกติกาที่ชัดเจน ส่งเสริมให้ทั้งรายเล็ก และใหญ่ทำธุรกิจร่วมกันได้อย่างเป็นธรรม ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ และยังเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งต้องการให้มีผลบังคับใช้ภายในรัฐบาลชุดนี้ หากรัฐบาลมีเวลาบริหารประเทศมากพอ” นายอลงกรณ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีกฎหมายค้าปลีก ค้าส่งออกมา กระทรวงฯ ได้พยายามที่จะส่งเสริม และพัฒนาให้ร้านโชห่วยเข้มแข็ง โดยล่าสุดกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ทำโครงการพัฒนาการบริหารจัดการและเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก ร่วมกับสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย และผู้ผลิต/ผู้แทนจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคโดยได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกิจกรรมกระจายสินค้า ซึ่งผู้ผลิต/ผู้แทนจำหน่ายสินค้า 11 รายให้ความร่วมมือสนับสนุนสินค้าเพื่อส่งเสริมการขายในร้านโชห่วย ที่เข้าร่วมโครงการ 750 รายครอบคลุม 26 จังหวัดทั่วประเทศ โดยผ่านการกระจายสินค้าของร้านค้าส่ง 13 ราย ซึ่งร้านโชห่วยทั้ง 750 รายจะต้องติดเครื่องหมาย “เรนโบว์ ช็อป” ด้วย
นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมพัฒนาค้าส่งดูแลค้าปลีก มีร้านค้าปลีกเข้าร่วมเครือข่าย 700 ราย รวมถึงกิจกรรมพัฒนาร้านค้าปลีกเครือข่ายตัวอย่างให้มีภาพลักษณ์เหมาะสม เป็นเอาท์เลตของร้านค้าส่งแม่ข่าย มีร้านโชห่วยเข้าร่วม 30 ราย โดยทั้ง 3 กิจกรรมนี้ ร้านค้าส่งจะเป็นพี่เลี้ยงร้านค้าปลีก แนะนำให้ปรับปรุงภาพลักษณ์ บริหารจัดการสินค้า ขณะเดียวกันผู้ผลิตจะสนับสนุนสินค้าในราคาที่เหมาะสม ผ่านร้านค้าส่ง ซึ่งจะทำให้ร้านโชห่วยไทยเข้มแข็ง และพัฒนาอย่างยั่งยืน
นางวัชรี วิมุกตายน รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า รมช.พาณิชย์ได้สั่งการให้กรมฯ นำร่างกฎหมายค้าปลีกค้าส่ง ที่กฤษฎีกาส่งคืนมาแล้ว มาพิจารณาอีกครั้งอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะในประเด็นที่ค้าปลีกรายใหญ่มีความเห็นขัดแย้งอย่างรุนแรง เช่น การควบคุมเฉพาะค้าปลีกรายใหญ่ แต่ไม่ควบคุมซัปพลายเออร์ ซึ่งจะต้องพิจารณาทั้งระบบ คือ ดูแลตั้งแต่ต้นน้ำ (ซัปพลายเออร์)จนถึงปลายน้ำ (ค้าปลีก) ไม่ใช่ตัดเฉพาะบางส่วนของระบบมาดูแล
นอกจากนี้ ยังจะต้องรองรับกับการเปิดเสรีทางการค้าในกรอบต่างๆ ที่ไทยทำกับคู่เจรจาด้วย เช่น การรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ภายในปี 2558 ที่ให้สิทธินักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในอาเซียนเยี่ยงคนชาติในอาเซียน และสามารถเข้าไปลงทุนในประเทศใดในอาเซียนก็ได้ ซึ่งหากภายในประเทศยังแก้ปัญหาไม่ได้ หรือยังทำให้เข้มแข็งไม่ได้
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ส่งร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง ฉบับล่าสุด ที่กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับปรุงแก้ไขไปแล้วกลับมายังกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะหารือกับรมว.พาณิชย์อีกครั้ง จากนั้นจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยว ทั้งห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ร้านค้าปลีกดั้งเดิม (โชห่วย)ผู้ผลิตสินค้า (ซัปพลายเออร์) ร้านค้าส่ง และหน่วยงานรัฐ เพื่อให้เกิดความรอบคอบ ให้ผลประโยชน์เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย และรองรับการเปิดเสรีภายใต้กรอบการค้าเสรีที่ไทยทำกับประเทศต่างๆ ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนมิ.ย.นี้ และคาดว่า จะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ในสมัยประชุมหน้า หรือประมาณเดือนก.ค.
“กฎหมายค้าปลีก ค้าส่ง เป็นนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ ที่ต้องการทำให้ระบบการค้ามีกติกาที่ชัดเจน ส่งเสริมให้ทั้งรายเล็ก และใหญ่ทำธุรกิจร่วมกันได้อย่างเป็นธรรม ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ และยังเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งต้องการให้มีผลบังคับใช้ภายในรัฐบาลชุดนี้ หากรัฐบาลมีเวลาบริหารประเทศมากพอ” นายอลงกรณ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีกฎหมายค้าปลีก ค้าส่งออกมา กระทรวงฯ ได้พยายามที่จะส่งเสริม และพัฒนาให้ร้านโชห่วยเข้มแข็ง โดยล่าสุดกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ทำโครงการพัฒนาการบริหารจัดการและเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก ร่วมกับสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย และผู้ผลิต/ผู้แทนจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคโดยได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกิจกรรมกระจายสินค้า ซึ่งผู้ผลิต/ผู้แทนจำหน่ายสินค้า 11 รายให้ความร่วมมือสนับสนุนสินค้าเพื่อส่งเสริมการขายในร้านโชห่วย ที่เข้าร่วมโครงการ 750 รายครอบคลุม 26 จังหวัดทั่วประเทศ โดยผ่านการกระจายสินค้าของร้านค้าส่ง 13 ราย ซึ่งร้านโชห่วยทั้ง 750 รายจะต้องติดเครื่องหมาย “เรนโบว์ ช็อป” ด้วย
นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมพัฒนาค้าส่งดูแลค้าปลีก มีร้านค้าปลีกเข้าร่วมเครือข่าย 700 ราย รวมถึงกิจกรรมพัฒนาร้านค้าปลีกเครือข่ายตัวอย่างให้มีภาพลักษณ์เหมาะสม เป็นเอาท์เลตของร้านค้าส่งแม่ข่าย มีร้านโชห่วยเข้าร่วม 30 ราย โดยทั้ง 3 กิจกรรมนี้ ร้านค้าส่งจะเป็นพี่เลี้ยงร้านค้าปลีก แนะนำให้ปรับปรุงภาพลักษณ์ บริหารจัดการสินค้า ขณะเดียวกันผู้ผลิตจะสนับสนุนสินค้าในราคาที่เหมาะสม ผ่านร้านค้าส่ง ซึ่งจะทำให้ร้านโชห่วยไทยเข้มแข็ง และพัฒนาอย่างยั่งยืน
นางวัชรี วิมุกตายน รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า รมช.พาณิชย์ได้สั่งการให้กรมฯ นำร่างกฎหมายค้าปลีกค้าส่ง ที่กฤษฎีกาส่งคืนมาแล้ว มาพิจารณาอีกครั้งอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะในประเด็นที่ค้าปลีกรายใหญ่มีความเห็นขัดแย้งอย่างรุนแรง เช่น การควบคุมเฉพาะค้าปลีกรายใหญ่ แต่ไม่ควบคุมซัปพลายเออร์ ซึ่งจะต้องพิจารณาทั้งระบบ คือ ดูแลตั้งแต่ต้นน้ำ (ซัปพลายเออร์)จนถึงปลายน้ำ (ค้าปลีก) ไม่ใช่ตัดเฉพาะบางส่วนของระบบมาดูแล
นอกจากนี้ ยังจะต้องรองรับกับการเปิดเสรีทางการค้าในกรอบต่างๆ ที่ไทยทำกับคู่เจรจาด้วย เช่น การรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ภายในปี 2558 ที่ให้สิทธินักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในอาเซียนเยี่ยงคนชาติในอาเซียน และสามารถเข้าไปลงทุนในประเทศใดในอาเซียนก็ได้ ซึ่งหากภายในประเทศยังแก้ปัญหาไม่ได้ หรือยังทำให้เข้มแข็งไม่ได้