วานนี้ (22 เม.ย.) สำนักงาน กกต.ได้จัดประชุม กกต.จังหวัด โดยนายศรีราชา เจริญพาณิช เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภ และอดีต กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้บรรยายในหัวข้อ “ทิศทางของพรรคการเมืองไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมายพรรคการเมืองปัจจุบัน” โดยระบุว่า ระบอบการเมืองปัจจุบัน สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยหรือไม่ ส่วนตัวกำลังมองว่า ระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยถึงทางตัน เพราะคนในสังคมยังเข้าใจว่า แค่มีการเลือกตั้งก็ถือว่าประเทศเป็นประชาธิปไตยแล้ว จึงถือว่าไม่ชอบด้วยหลักการและเหตุผลของประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ยังเห็นว่า เหตุที่คนไทยจะฆ่ากันตาย เพราะตีความกฎหมายและรัฐธรรมนูญแบบเข้าข้างผลประโยชน์ตัวเอง เป็นแบบศรีธนญชัย เอาสีข้างเข้าถู ไม่ได้ดูเจตนารมณ์ของกฎหมายที่แท้จริง ซึ่งโรงเรียนสอนกฎหมาย ควรต้องทบทวนและรับผิดชอบกับการสร้างนักฎหมายพรรค์อย่างนี้มาสร้างความฉิบหายให้บ้านเมือง
ทั้งนี้ ตนเคยถามคณบดีรัฐศาสตร์ ที่เชี่ยวชาญเรื่องการปกครองว่าระบอบการปกครองอะไรที่ดีที่สุดสำหรับคนไทย แต่ไม่มีใครตอบได้ จึงเห็นว่าหากระบอบนี้ดีจริงสำหรับคนไทย ก็ต้องมีอะไรที่ผิดปกติในตัว หรือผิดปกติที่คนใช้ระบบ เพราะใช้มากว่า 70 ปี แต่ไม่ไปไหนเลย
ดังนั้น สิ่งที่ควรทำอย่างเร่งด่วนคือ ศึกษาแก่นแท้ว่าอะไรเป็นปัญหาที่ทำให้ประชาธิปไตยบ้านเราไม่เดินหน้า อย่าไปโทษรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นแค่ลายลักษณ์อักษร ต้องโทษคนที่ใช้รัฐธรรมนูญมากกว่า ประเทศอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ก็เดินหน้าได้
การเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 ไม่ใช่เวลาที่ดี เพราะคนไทยยังไม่พร้อม ไม่มีพื้นฐานการศึกษา วัฒนธรรมการเมืองที่เข้าใจว่าประชาธิปไตย คือ อะไร แต่คนหัวก้าวหน้าที่เรียนจบนอก เห็นว่าต้องเปลี่ยน เลยเปลี่ยน คนพวกนี้ร้อนวิชา จึงต้องเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่นั้นมาเราก็ไม่ไปไหนเลย และถอยหลังมากกว่าเดิม
นายศรีราชา กล่าวต่อว่า บทบาท ส.ส.ในอดีต โดยเฉพาะช่วงปี2490 นั้นน่านับถือ เพราะเป็นนักการเมืองที่สง่างาม อยากเห็นประเทศเดินหน้า และไม่ใช่นักธุรกิจ แต่ปัจจุบันกลับแย่ลง มีแต่นักธุรกิจเข้ามาเป็นนักการเมืองมากกว่า 75% และถ้าวิเคราะห์จะเห็นว่า คนเหล่านี้เข้ามาดูแลผลประโยชน์ของตัวเองที่จะมีผลกระทบจากการออกกฎหมาย หรือเข้ามาเพื่อผลักดันกฎหมาย ที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเอง นักธุรกิจธรรมดา จะเสียเปรียบคนที่อยู่ในสายการเมือง ที่สามารถเชื่อมต่อกับสำนักงบประมาณ
"ผมไม่คาดหวังกับการเมืองไทย อะไรจะเกิดก็ไม่กลัวดีกว่า อั้นเป็นเวลานานแล้ว จะยิ่งตาย ยิ่งไปกดดันไม่ให้เกิด อึมครึมอย่างนี้ต่อไปสุดท้ายก็จะเป็นอย่างนี้ไปอีกหลายปี บรรยากาศในประเทศ ยิ่งย่ำแย่ ไม่ว่าเรื่องเศรษฐกิจหรือการท่องเที่ยว สิ่งที่เกิดขึ้นกำลังบั่นทอนประเทศชาติอย่างรุนแรง ซ้ำเติมสภาวะวิกฤติ ผมเลยปลง อยากกัด อยากรบก็ให้มันจบๆไป เลือดท่วมถนนก็ถือเป็นการลดจำนวนประชากร และบทเรียนที่สูญเสียจะไปสอนพวกมันกันเองว่า สิ่งที่ทำถูก หรือผิด ผมมองไม่เห็นทางอื่น การจะปรองดองในสภา โดยเลือดไม่ตกก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ผมไม่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะถ้าคนเหล่านี้มีจิตสำนึก มีจิตใจประชาธิปไตยแท้จริง เขาไม่ใช่คนโง่ ก็ต้องหาทางออกร่วมกัน มิเช่นนั้นประชาธิปไตย จะอันตรายยิ่งกว่าระบอบอื่น" นายศรีราชา กล่าว และว่า ขอประณามคนที่ทำให้การประชุมอาเซียนที่ผ่านมาล้ม เพราะเป็นผู้ทำลายชาติ ควรที่จะถูกตัดหัว และยิงเป้า เพราะเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของประเทศ ทั้งเสียหน้า เสียโอกาส
นายศรีราชา กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้น เพราะเมื่อเขียนกระทบเขาก็จะขอแก้ อย่างเช่น ม.237 เรื่องการยุบพรรค หลายคนท้วงว่าทำไม กรรมการบริหารพรรคที่ไม่รู้เห็นต้องมาติดร่างแห แต่เพราะต้องการให้กรรมการบริหารพรรคไปพูดให้ชัดเจนในนโยบายพรรคว่า ห้ามทำอย่างนั้นอย่างนี้ มิเช่นนั้นก็ยักคิ้วหลิ่วตา แล้วจะเกิดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ได้อย่างไร กรรมการบริหารพรรค ต้องรับผิดชอบ ควบคุมลูกพรรค หากผิดกรรมการบริหารพรรคต้องผิดด้วย ไม่ใช่หลักการที่แปลก
"เราเดินตามหลักการตามพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องการให้คนดีมาปกครองบ้านเมือง จึงนำหลักการนี้มาใช้ในมาตรา 237 คนที่ไม่ดี ก็เดือดร้อนเป็นแถว เราไม่ต้องการให้คนไม่ดีเข้ามาอยู่ในสภา กกต. ก็ต้องมีหน้าที่คัดกรอง ให้ใบแดง หากไม่ทำพวกเขาก็จะเข้าไปป่วนเมือง ผมขอถามว่า จะแก้มาตราเหล่านี้เพื่อใคร แก้เพื่อตัวเอง หรือแก้เพื่อผู้มีอุปการคุณบางคน ที่ชุบเลี้ยงให้เงินมาเป็นส.ส. ผมไม่ขอบอกว่าเป็นใคร แต่เป็นสัมภเวสี ลอยไป ลอยมา และวิจารณ์ว่าเรื่องนี้เป็นการวางยาของ รธน.ปี2550" นายศรีราชากล่าว
สำหรับมาตรา 190 ที่อ้างว่ารัฐบาลทำอะไรไม่ได้ เพราะติดที่มาตรานี้นั้น จริงๆแล้วหากไปดูในวรรค 4 มีการเปิดช่องให้ออกกฎหมายเพื่อแยกแยะว่า เรื่องใดควรขออนุญาตจากสภา หรือไม่ แต่ก็มัวแต่กัดกันเลยไม่มีกติกาย่อย และที่ออกมาไม่ใช่ว่า เราบ้าจี้ ยังจำได้หรือไม่ว่า รัฐบาลก่อนหน้านี้วันดีคืนดีก็ไปทำสัญญาสัมปทานกับอินเดีย โดยที่เราไม่รู้ที่มาที่ไปว่า เอาประโยชน์ระเทศไปแลกกับอะไร จะบอกว่าเป็นวัวหายแล้วล้อมคอก ก็น่าจะถูก นอกจากนี้เรื่องการกำหนดแนวนโยบายรัฐอย่างละเอียด จนรัฐบาลไม่สามารถกำหนดนโยบายเองได้นั้น ขอชี้แจงว่า ที่ต้องกำหนดไว้ละเอียด เพราะรัฐบาลเราอายุสั้น การทำก็จะกำหนดเป็นช่วงๆ ไม่ต่อเนื่อง ดังนั้นจึงต้องเขียนให้มันชัด
ส่วนที่มีคนบอกว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นรัฐธรรมนูญของ คมช. ขอบอกว่า นอกจาก 10 คนที่ คมช. เลือกมา คนที่เหลือก็ไม่รู้สึกว่าต้องมาทำตามคำสั่งของ คมช. และแม้ว่าคมช. อาจจะสั่งผ่าน 10 คนที่เลือกมา แต่ก็ไม่สามารถมาโหวตชนะคนที่เหลือได้ ในทางตรงกันข้าม ตนทิ้งระเบิดถามกลับว่า รัฐธรรมนูญ 2540 นั้นมีปัญหา โดยเฉพาะเรื่องกระจายอำนาจสูงสุดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เกิดทำให้เกิดรัฐเล็ก ๆ กว่า 7 พันแห่งขึ้น โดยที่ไม่มีทางจะนำกลับมารวมได้
"ไม่ขอวิจารณ์ว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันดีที่สุด หรือไม่ เพราะเป็นคนร่างมา หากใครอยากแก้ก็แก้ไป แต่แก้แล้วต้องดีขึ้น หากเป็นการแก้เพื่อปลดปล่อยสัมภเวสีให้พ้นผิด หรือปล่อยใครออกจากบ้านเลขที่ 111 อย่างนี้เป็นทางออกหรือ สมาชิกสภานิติบัญญัติ ต้องเคารพกฎหมาย หากไม่เคารพก็เท่ากับไม่เคารพตัวเอง หรือบอกว่า จะแก้เพื่อปรองดองเรื่องนี้เป็นเรื่องของคุณ ไม่ใช่เรื่องของรัฐธรรมนูญ ต้องดูว่าแก้แล้วใครจะได้ประโยชน์ แก้แล้วไม่มีเสื้อเหลือง เสื้อแดง ออกมาเดินเต็มถนนอีกหรือ แล้วจะไม่นองเลือดหรือ จะเชื่อทฤษฎีของผม ให้ฆ่ากันตายแล้วจะได้จบเร็ว จะได้เลิกเดินขบวน เลิกกดดัน คนจะได้กล้ากลับมาลงทุน ถ้าสัมฤทธิ์ผลก็จะดี หากแก้แล้วปัญหานั้นยังคงอยู่แล้วจะแก้ทำไม การเขียนรัฐธรรมนูญหรือเขียน พ.ร.บ.เลือกตั้งใหม่ ต้องคิดให้ลึกไปกว่านี้ เขียนแล้วจะปฏิบัติได้ไหม และจะเกิดผลพวงที่ดีงามต่อการปกครองเพียงใด และการที่นายกฯ ต้องการให้แก้รัฐธรรมนูญ มีเบื้องหลังอะไรหรือไม่ หรือกลัวถูกยุบพรรคในอนาคต จากกรณีเงินบริจาค 258 ล้านบาท ของบริษัททีพีไอ หากแก้แล้วก็มีความเป็นไปได้ที่จะรอด"
อย่างไรก็ตาม นายศรีราชา เสนอว่า ระบบเลือกตั้งควรมี 2 ชั้น มีการเลือกส.ส. และมีการเลือกตั้งฝ่ายบริหารโดยตรง ไม่ใช่เลือกนายกฯโดยตรง แต่เลือกทีมบริหารที่มีรายชื่อดังต่อไปนี้ หากยังติดความคิดแบบเดิมไม่คิดจะพลิกแพลงการเมืองไทย ก็จะย่ำอยู่กับที่
นอกจากนี้ยังเห็นว่า เหตุที่คนไทยจะฆ่ากันตาย เพราะตีความกฎหมายและรัฐธรรมนูญแบบเข้าข้างผลประโยชน์ตัวเอง เป็นแบบศรีธนญชัย เอาสีข้างเข้าถู ไม่ได้ดูเจตนารมณ์ของกฎหมายที่แท้จริง ซึ่งโรงเรียนสอนกฎหมาย ควรต้องทบทวนและรับผิดชอบกับการสร้างนักฎหมายพรรค์อย่างนี้มาสร้างความฉิบหายให้บ้านเมือง
ทั้งนี้ ตนเคยถามคณบดีรัฐศาสตร์ ที่เชี่ยวชาญเรื่องการปกครองว่าระบอบการปกครองอะไรที่ดีที่สุดสำหรับคนไทย แต่ไม่มีใครตอบได้ จึงเห็นว่าหากระบอบนี้ดีจริงสำหรับคนไทย ก็ต้องมีอะไรที่ผิดปกติในตัว หรือผิดปกติที่คนใช้ระบบ เพราะใช้มากว่า 70 ปี แต่ไม่ไปไหนเลย
ดังนั้น สิ่งที่ควรทำอย่างเร่งด่วนคือ ศึกษาแก่นแท้ว่าอะไรเป็นปัญหาที่ทำให้ประชาธิปไตยบ้านเราไม่เดินหน้า อย่าไปโทษรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นแค่ลายลักษณ์อักษร ต้องโทษคนที่ใช้รัฐธรรมนูญมากกว่า ประเทศอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ก็เดินหน้าได้
การเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 ไม่ใช่เวลาที่ดี เพราะคนไทยยังไม่พร้อม ไม่มีพื้นฐานการศึกษา วัฒนธรรมการเมืองที่เข้าใจว่าประชาธิปไตย คือ อะไร แต่คนหัวก้าวหน้าที่เรียนจบนอก เห็นว่าต้องเปลี่ยน เลยเปลี่ยน คนพวกนี้ร้อนวิชา จึงต้องเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่นั้นมาเราก็ไม่ไปไหนเลย และถอยหลังมากกว่าเดิม
นายศรีราชา กล่าวต่อว่า บทบาท ส.ส.ในอดีต โดยเฉพาะช่วงปี2490 นั้นน่านับถือ เพราะเป็นนักการเมืองที่สง่างาม อยากเห็นประเทศเดินหน้า และไม่ใช่นักธุรกิจ แต่ปัจจุบันกลับแย่ลง มีแต่นักธุรกิจเข้ามาเป็นนักการเมืองมากกว่า 75% และถ้าวิเคราะห์จะเห็นว่า คนเหล่านี้เข้ามาดูแลผลประโยชน์ของตัวเองที่จะมีผลกระทบจากการออกกฎหมาย หรือเข้ามาเพื่อผลักดันกฎหมาย ที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเอง นักธุรกิจธรรมดา จะเสียเปรียบคนที่อยู่ในสายการเมือง ที่สามารถเชื่อมต่อกับสำนักงบประมาณ
"ผมไม่คาดหวังกับการเมืองไทย อะไรจะเกิดก็ไม่กลัวดีกว่า อั้นเป็นเวลานานแล้ว จะยิ่งตาย ยิ่งไปกดดันไม่ให้เกิด อึมครึมอย่างนี้ต่อไปสุดท้ายก็จะเป็นอย่างนี้ไปอีกหลายปี บรรยากาศในประเทศ ยิ่งย่ำแย่ ไม่ว่าเรื่องเศรษฐกิจหรือการท่องเที่ยว สิ่งที่เกิดขึ้นกำลังบั่นทอนประเทศชาติอย่างรุนแรง ซ้ำเติมสภาวะวิกฤติ ผมเลยปลง อยากกัด อยากรบก็ให้มันจบๆไป เลือดท่วมถนนก็ถือเป็นการลดจำนวนประชากร และบทเรียนที่สูญเสียจะไปสอนพวกมันกันเองว่า สิ่งที่ทำถูก หรือผิด ผมมองไม่เห็นทางอื่น การจะปรองดองในสภา โดยเลือดไม่ตกก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ผมไม่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะถ้าคนเหล่านี้มีจิตสำนึก มีจิตใจประชาธิปไตยแท้จริง เขาไม่ใช่คนโง่ ก็ต้องหาทางออกร่วมกัน มิเช่นนั้นประชาธิปไตย จะอันตรายยิ่งกว่าระบอบอื่น" นายศรีราชา กล่าว และว่า ขอประณามคนที่ทำให้การประชุมอาเซียนที่ผ่านมาล้ม เพราะเป็นผู้ทำลายชาติ ควรที่จะถูกตัดหัว และยิงเป้า เพราะเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของประเทศ ทั้งเสียหน้า เสียโอกาส
นายศรีราชา กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้น เพราะเมื่อเขียนกระทบเขาก็จะขอแก้ อย่างเช่น ม.237 เรื่องการยุบพรรค หลายคนท้วงว่าทำไม กรรมการบริหารพรรคที่ไม่รู้เห็นต้องมาติดร่างแห แต่เพราะต้องการให้กรรมการบริหารพรรคไปพูดให้ชัดเจนในนโยบายพรรคว่า ห้ามทำอย่างนั้นอย่างนี้ มิเช่นนั้นก็ยักคิ้วหลิ่วตา แล้วจะเกิดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ได้อย่างไร กรรมการบริหารพรรค ต้องรับผิดชอบ ควบคุมลูกพรรค หากผิดกรรมการบริหารพรรคต้องผิดด้วย ไม่ใช่หลักการที่แปลก
"เราเดินตามหลักการตามพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องการให้คนดีมาปกครองบ้านเมือง จึงนำหลักการนี้มาใช้ในมาตรา 237 คนที่ไม่ดี ก็เดือดร้อนเป็นแถว เราไม่ต้องการให้คนไม่ดีเข้ามาอยู่ในสภา กกต. ก็ต้องมีหน้าที่คัดกรอง ให้ใบแดง หากไม่ทำพวกเขาก็จะเข้าไปป่วนเมือง ผมขอถามว่า จะแก้มาตราเหล่านี้เพื่อใคร แก้เพื่อตัวเอง หรือแก้เพื่อผู้มีอุปการคุณบางคน ที่ชุบเลี้ยงให้เงินมาเป็นส.ส. ผมไม่ขอบอกว่าเป็นใคร แต่เป็นสัมภเวสี ลอยไป ลอยมา และวิจารณ์ว่าเรื่องนี้เป็นการวางยาของ รธน.ปี2550" นายศรีราชากล่าว
สำหรับมาตรา 190 ที่อ้างว่ารัฐบาลทำอะไรไม่ได้ เพราะติดที่มาตรานี้นั้น จริงๆแล้วหากไปดูในวรรค 4 มีการเปิดช่องให้ออกกฎหมายเพื่อแยกแยะว่า เรื่องใดควรขออนุญาตจากสภา หรือไม่ แต่ก็มัวแต่กัดกันเลยไม่มีกติกาย่อย และที่ออกมาไม่ใช่ว่า เราบ้าจี้ ยังจำได้หรือไม่ว่า รัฐบาลก่อนหน้านี้วันดีคืนดีก็ไปทำสัญญาสัมปทานกับอินเดีย โดยที่เราไม่รู้ที่มาที่ไปว่า เอาประโยชน์ระเทศไปแลกกับอะไร จะบอกว่าเป็นวัวหายแล้วล้อมคอก ก็น่าจะถูก นอกจากนี้เรื่องการกำหนดแนวนโยบายรัฐอย่างละเอียด จนรัฐบาลไม่สามารถกำหนดนโยบายเองได้นั้น ขอชี้แจงว่า ที่ต้องกำหนดไว้ละเอียด เพราะรัฐบาลเราอายุสั้น การทำก็จะกำหนดเป็นช่วงๆ ไม่ต่อเนื่อง ดังนั้นจึงต้องเขียนให้มันชัด
ส่วนที่มีคนบอกว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นรัฐธรรมนูญของ คมช. ขอบอกว่า นอกจาก 10 คนที่ คมช. เลือกมา คนที่เหลือก็ไม่รู้สึกว่าต้องมาทำตามคำสั่งของ คมช. และแม้ว่าคมช. อาจจะสั่งผ่าน 10 คนที่เลือกมา แต่ก็ไม่สามารถมาโหวตชนะคนที่เหลือได้ ในทางตรงกันข้าม ตนทิ้งระเบิดถามกลับว่า รัฐธรรมนูญ 2540 นั้นมีปัญหา โดยเฉพาะเรื่องกระจายอำนาจสูงสุดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เกิดทำให้เกิดรัฐเล็ก ๆ กว่า 7 พันแห่งขึ้น โดยที่ไม่มีทางจะนำกลับมารวมได้
"ไม่ขอวิจารณ์ว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันดีที่สุด หรือไม่ เพราะเป็นคนร่างมา หากใครอยากแก้ก็แก้ไป แต่แก้แล้วต้องดีขึ้น หากเป็นการแก้เพื่อปลดปล่อยสัมภเวสีให้พ้นผิด หรือปล่อยใครออกจากบ้านเลขที่ 111 อย่างนี้เป็นทางออกหรือ สมาชิกสภานิติบัญญัติ ต้องเคารพกฎหมาย หากไม่เคารพก็เท่ากับไม่เคารพตัวเอง หรือบอกว่า จะแก้เพื่อปรองดองเรื่องนี้เป็นเรื่องของคุณ ไม่ใช่เรื่องของรัฐธรรมนูญ ต้องดูว่าแก้แล้วใครจะได้ประโยชน์ แก้แล้วไม่มีเสื้อเหลือง เสื้อแดง ออกมาเดินเต็มถนนอีกหรือ แล้วจะไม่นองเลือดหรือ จะเชื่อทฤษฎีของผม ให้ฆ่ากันตายแล้วจะได้จบเร็ว จะได้เลิกเดินขบวน เลิกกดดัน คนจะได้กล้ากลับมาลงทุน ถ้าสัมฤทธิ์ผลก็จะดี หากแก้แล้วปัญหานั้นยังคงอยู่แล้วจะแก้ทำไม การเขียนรัฐธรรมนูญหรือเขียน พ.ร.บ.เลือกตั้งใหม่ ต้องคิดให้ลึกไปกว่านี้ เขียนแล้วจะปฏิบัติได้ไหม และจะเกิดผลพวงที่ดีงามต่อการปกครองเพียงใด และการที่นายกฯ ต้องการให้แก้รัฐธรรมนูญ มีเบื้องหลังอะไรหรือไม่ หรือกลัวถูกยุบพรรคในอนาคต จากกรณีเงินบริจาค 258 ล้านบาท ของบริษัททีพีไอ หากแก้แล้วก็มีความเป็นไปได้ที่จะรอด"
อย่างไรก็ตาม นายศรีราชา เสนอว่า ระบบเลือกตั้งควรมี 2 ชั้น มีการเลือกส.ส. และมีการเลือกตั้งฝ่ายบริหารโดยตรง ไม่ใช่เลือกนายกฯโดยตรง แต่เลือกทีมบริหารที่มีรายชื่อดังต่อไปนี้ หากยังติดความคิดแบบเดิมไม่คิดจะพลิกแพลงการเมืองไทย ก็จะย่ำอยู่กับที่