ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์เผยผลประกอบการไตรมาส 1/2552 แบงก์ใหญ่กำไรสุทธิวูบถ้วนหน้า "กรุงไทย" ร่วงแรงสุด 39.30% หลังทำกำไรได้ 2,512.67 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนทำได้ 4,139.67 ล้านบาท นายแบงก์ประสานเสียงรับเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย พร้อมปรับตัวเดินหน้าให้บริการต่อ เน้นดูแลลูกค้าใกล้ชิด-คุมคุณภาพสินเชื่อ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL แจ้งผลประกอบการประจำไตรมาสแรกปี 2552 ว่า ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 4,754 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ในระดับ 5,602 ล้านบาท จำนวน 848 ล้านบาท หรือคิดเป็น 15% และลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 8.3% อย่างไรก็ตาม ธนาคารมีกำไรก่อนภาษีเงินได้จำนวน 6,991 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2551 หรือคิดเป็น 0.1%
ทั้งนี้ แม้สภาพเศรษฐกิจในขณะนี้จะไม่เอื้ออำนวย ธนาคารสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ใน 4 ด้านสำคัญ คือ ด้านสภาพคล่อง ด้านรายได้ค่าธรรมเนียม ด้านคุณภาพสินเชื่อ และด้านสถานะเงินกองทุน ทั้งนี้ ธนาคารสามารถรักษาสภาพคล่องให้อยู่ในระดับสูง โดย ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 ธนาคารมีเงินฝากเพิ่มขึ้น 2.1% จากสิ้นปี 2551 ส่งผลให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ 84.4% ซึ่งเป็นระดับที่น่าพอใจ นอกจากนี้ ธนาคารยังมีรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากไตรมาสก่อนหน้า ในขณะเดียวกันก็สามารถควบคุมระดับสินเชื่อด้อยคุณภาพได้ดี และดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนเมื่อรวมกำไรและหักเงินปันผลแล้ว อยู่ที่ 15.1% ซึ่งเป็นระดับที่แข็งแกร่ง
สำหรับในไตรมาสที่ 1 นั้น ธนาคารมีเงินฝากทั้งสิ้นจำนวน 1,338,841 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2551 จำนวน 27,364 ล้านบาท หรือ 2.1% อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการรณรงค์ขยายฐานเงินฝากอย่างสม่ำเสมอในจังหวะเวลาที่เหมาะสม ในขณะเดียวกัน ลูกค้าบางกลุ่มให้ความสนใจผลิตภัณฑ์ทางการเงินทางเลือกซึ่งให้ผลตอบแทนในอัตราที่ดึงดูดใจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั๋วแลกเงิน บริการประกันชีวิตผ่านธนาคาร และหุ้นกู้ของบริษัทเอกชน นอกจากนี้ ธนาคารยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีพอสมควร โดยรายจ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพียง 0.1% จากไตรมาสก่อนหน้า เป็น 9,523 ล้านบาท อัตราส่วนรายจ่ายต่อรายได้ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 51.6% จาก 50.5% ในไตรมาส 4 ปี 2551
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเริ่มส่งผลกระทบต่อลูกค้า ธนาคารจึงได้ดำเนินนโยบายให้บุคลากรของธนาคารดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดกว่าเดิม เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจของลูกค้าอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมทั้งเข้าใจผลกระทบที่ลูกค้าได้รับจากวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งแนวทางนี้นอกจากจะช่วยให้ธนาคารสามารถกระชับสายสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมถึงสนับสนุนลูกค้าได้ตามความเหมาะสมแล้ว ยังช่วยการควบคุมคุณภาพสินเชื่อได้ในระดับหนึ่ง
โดย ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 สินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เป็นอัตราส่วน 4.8% ของสินเชื่อรวม จากอัตราส่วน4.6% ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551ในไตรมาสนี้ธนาคารได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวน 1,955 ล้านบาท และ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2552 ธนาคารมีสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 60,854 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพที่ 102.7% และมีอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นและเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยง อยู่ในระดับที่ประมาณ 15.1% และ 12.3% ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับที่แข็งแกร่งและสามารถสนับสนุนให้ธนาคารดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคงภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงผันผวนต่อเนื่อง
**ใบโพธิ์-กสิกรฯลด18%,14%**
นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยถึงผลประกอบการในไตรมาส 1/2552 ของธนาคารว่า ผลประกอบการของธนาคารมีกำไรสุทธิในไตรมาส 1/2552 อยู่ที่ 5,547 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.3% จากไตรมาส 4/2551 อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2551 แล้ว กำไรสุทธิของธนาคารลดลง 18.3%
ทั้งนี้เป็นผลจากการปรับตัวลดลงของอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารลดลงจาก 3.8% ในไตรมาส 4/2551 เป็น 3.6% ในไตรมาส 1/2552 อย่างไรก็ตาม ธนาคารสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้ลดลงได้ถึง 14.1% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2551 อยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาส 1/2551 รวมถึงลดระดับสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) จาก 5.1% ลงมาอยู่ที่ 4.6% พร้อมเสริมสร้างความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องด้วยอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 15.6% ผลักดันให้ธนาคารเติบโตได้ท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจ
"ปี 2552 เป็นปีที่ยากลำบากสำหรับทุกธุรกิจรวมถึงธนาคารพาณิชย์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้ แต่ธนาคารมองเห็นโอกาสในวิกฤติ เข้าสนับสนุนลูกค้าที่มีศักยภาพฝ่าฟันความท้าทายนี้ รวมถึงเตรียมความพร้อมของลูกค้าเพื่อรองรับการพลิกฟื้นของเศรษฐกิจเมื่อมรสุมนี้พัดผ่านไป ธนาคารไม่เพียงแต่ต้องการรอดพ้นวิกฤตินี้ แต่ยังมุ่งมั่นที่จะเติบโตและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง เพื่อให้บรรลุพันธกิจที่จะเป็นธนาคารที่ให้บริการทางการเงินครบวงจรที่ดีที่สุด”
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2551 แล้ว กำไรสุทธิของธนาคารลดลง 18.3% (หรือ 10.6% เมื่อหักรายได้พิเศษจากการลงทุนในไตรมาส 1/2551 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และภาษีเงินได้นิติบุคคลออก) ทั้งนี้เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยในตลาด ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนที่ธนาคารได้รับจากดอกเบี้ยระหว่างธนาคารลดลงจาก 3.8% ในไตรมาส 1/2551 เป็น 3.2% ในไตรมาส 4/2551 และเป็น 1.7% ในไตรมาส 1/2552 ตามลำดับ
ยุทธศาสตร์ในการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ธนาคารได้วางไว้ผลักดันให้ผลประกอบการของธนาคาร ในไตรมาส 1/2552 เป็นที่น่าพอใจ ด้วยนโยบายควบคุมและบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารปรับลดระดับค่าใช้จ่ายลงมาที่ 8,121 ล้านบาท ใกล้เคียงกับไตรมาส 1/2551 และลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่าย 9,455 ล้านบาท ในไตรมาส 4/2551 โดยธนาคารยังคงเดินหน้าขยายธุรกิจลูกค้าบุคคล มุ่งดำเนินงานในโครงการสำคัญๆ อย่างไม่หยุดยั้ง รวมถึงการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งและมีความพร้อมในการขยายธุรกิจอย่างเต็มที่ พร้อมพัฒนาการจัดการติดตามหนี้เก่าที่มีปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและใช้เกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อใหม่อย่างรอบคอบระมัดระวัง ทำให้คุณภาพสินเชื่อของธนาคารดีขึ้นโดยระดับสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ลดลงจาก 5.1% (50,067 ล้านบาท) ณ สิ้นปี 2551 มาอยู่ที่ 4.6% (49,926 ล้านบาท) ในไตรมาส 1/2552
นอกจากนี้ อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของธนาคาร ตามหลักเกณฑ์ BASELII จาก 15.2% ณ สิ้นปี 2551 เป็น 15.6% ในไตรมาส 1/2552 นั้น แสดงถึงความแข็งแกร่งของธนาคารในการรับมือกับภาวะความเสี่ยงและโอกาสธุรกิจที่เกิดขึ้นได้อย่างดีอีกด้วย
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า แม้จะยังไม่เห็นจุดสิ้นสุดของสภาวะวิกฤตินี้ แต่ผลประกอบการของธนาคารแสดงให้เห็นว่า ยุทธศาสตร์ที่ธนาคารวางไว้มีความเหมาะสม และธนาคารสามารถปรับตัวเพื่อรองรับความผันแปรของสถานการณ์และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ ธนาคารยิ่งเล็งเห็นถึงความสำคัญของการช่วยเหลือลูกค้าของธนาคาร อีกทั้งมองเห็นโอกาสในการสร้างส่วนแบ่งทางการตลาด โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ขณะเดียวกัน บริหารควบคุมค่าใช้จ่ายในระดับที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำกำไรให้ดียิ่งขึ้น และสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าให้กับธุรกิจของธนาคารได้มากขึ้นด้วย
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานก่อนสอบทานของธนาคารและบริษัทย่อยในไตรมาสแรกปี 2552 ว่า มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 3,799.8 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 4,437.9 ล้านบาท หรือลดลงประมาณ 14.38% และมีกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 1.59 บาท ลดลงจากช่วยเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 1.85 บาท หรือลดลง 14.06%
ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 1,217,861 ล้านบาท เงินให้สินเชื่อ 877,141 ล้านบาท เงินฝาก 914,106 ล้านบาท มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ 15.63% แบ่งเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่ 10.17% เงินกองทุนชั้นที่ 2 ที่ 5.46% และสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL Gross) เท่ากับ 3.70% และมีสัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพสุทธิ (NPL Net) ที่ 1.85%
**แบงก์ใหญ่กรุงไทยร่วงแรงสุด**
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB แจ้งว่า ผลประกอบการในไตรมาส 1/2552 ก่อนสอบทาน มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 2,512.67 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลกำไรสุทธิอยู่ที่ 4,139.67 ล้านบาท หรือลดลงประมาณ 39.30% และมีกำไรสุทธิต่อหุ้นอยู่ที่ 0.22 บาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิต่อหุ้นอยู่ที่ 0.37 บาท หรือลดลง 40.54%
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIBเปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของธนาคาร (ก่อนสอบทาน) สําหรับไตรมาสที่ 1 สิ้นสุด 31 มีนาคม 2552 ซึ่งตามงบการเงินรวมธนาคารมีกำไรสุทธิ จํานวน 651ล้านบาท ขณะที่ตามงบการเงินเฉพาะธนาคารมีกำไรสุทธิ 927 ล้านบาท กำไรสุทธิตามงบการเงินรวมต่ำกว่างบการเงินเฉพาะมีสาเหตุหลักจากบริษัทย่อยมีผลขาดทุนจากการบันทึกบัญชีเงินลงทุนตามราคาตลาด (mark to market) กำไรสุทธิตามงบการเงินรวม จำนวน 651 ล้านบาท ดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของธนาคารสําหรับไตรมาสเดียวกันของปี 2551 ซึ่งมีกําไรสุทธิ 1,334 ล้านบาท ธนาคารมีกำไรสุทธิลดลง จำนวน 683 ล้านบาท คิดเป็น 51% ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของกำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน จำนวน 238 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้น จำนวน 368 ล้านบาท
นายธวัชไชย สุทธิกิจพิศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) หรือ KK เปิดเผยว่า ไตรมาส 1/2552 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ เท่ากับ 379 ล้านบาท ลดลง 37.6% เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิจำนวน 607 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2551 เป็นผลจากฐานเงินฝากมีอัตราการขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราการเติบโตของเงินให้สินเชื่อชะลอตัวลงตามนโยบายที่จะเน้นคุณภาพสินทรัพย์ และขยายสินเชื่ออย่างระมัดระวังและรอบคอบในภาวะเศรษฐกิจซบเซาเช่นในปัจจุบัน ทำให้รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิชะลอตัวลง 3.6% จากค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 26.4% สูงกว่ารายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเพียง 8.1 %
ทั้งนี้จากความสำเร็จในการควบคุมและรักษาคุณภาพสินทรัพย์ ปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มีจำนวน 6,873 ล้านบาท หรือ 7.08% ของสินเชื่อรวม ลดลงจาก 7,059 ล้านบาท หรือ 7.15% ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นปี 2551 ทำให้ธนาคารมีการโอนกลับหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 92 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อและหนี้ปรับโครงสร้าง เทียบกับรายการโอนกลับจำนวน 9
ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิหลังหักหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น 4%.
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL แจ้งผลประกอบการประจำไตรมาสแรกปี 2552 ว่า ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 4,754 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ในระดับ 5,602 ล้านบาท จำนวน 848 ล้านบาท หรือคิดเป็น 15% และลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 8.3% อย่างไรก็ตาม ธนาคารมีกำไรก่อนภาษีเงินได้จำนวน 6,991 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2551 หรือคิดเป็น 0.1%
ทั้งนี้ แม้สภาพเศรษฐกิจในขณะนี้จะไม่เอื้ออำนวย ธนาคารสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ใน 4 ด้านสำคัญ คือ ด้านสภาพคล่อง ด้านรายได้ค่าธรรมเนียม ด้านคุณภาพสินเชื่อ และด้านสถานะเงินกองทุน ทั้งนี้ ธนาคารสามารถรักษาสภาพคล่องให้อยู่ในระดับสูง โดย ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 ธนาคารมีเงินฝากเพิ่มขึ้น 2.1% จากสิ้นปี 2551 ส่งผลให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ 84.4% ซึ่งเป็นระดับที่น่าพอใจ นอกจากนี้ ธนาคารยังมีรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากไตรมาสก่อนหน้า ในขณะเดียวกันก็สามารถควบคุมระดับสินเชื่อด้อยคุณภาพได้ดี และดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนเมื่อรวมกำไรและหักเงินปันผลแล้ว อยู่ที่ 15.1% ซึ่งเป็นระดับที่แข็งแกร่ง
สำหรับในไตรมาสที่ 1 นั้น ธนาคารมีเงินฝากทั้งสิ้นจำนวน 1,338,841 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2551 จำนวน 27,364 ล้านบาท หรือ 2.1% อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการรณรงค์ขยายฐานเงินฝากอย่างสม่ำเสมอในจังหวะเวลาที่เหมาะสม ในขณะเดียวกัน ลูกค้าบางกลุ่มให้ความสนใจผลิตภัณฑ์ทางการเงินทางเลือกซึ่งให้ผลตอบแทนในอัตราที่ดึงดูดใจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั๋วแลกเงิน บริการประกันชีวิตผ่านธนาคาร และหุ้นกู้ของบริษัทเอกชน นอกจากนี้ ธนาคารยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีพอสมควร โดยรายจ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพียง 0.1% จากไตรมาสก่อนหน้า เป็น 9,523 ล้านบาท อัตราส่วนรายจ่ายต่อรายได้ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 51.6% จาก 50.5% ในไตรมาส 4 ปี 2551
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเริ่มส่งผลกระทบต่อลูกค้า ธนาคารจึงได้ดำเนินนโยบายให้บุคลากรของธนาคารดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดกว่าเดิม เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจของลูกค้าอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมทั้งเข้าใจผลกระทบที่ลูกค้าได้รับจากวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งแนวทางนี้นอกจากจะช่วยให้ธนาคารสามารถกระชับสายสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมถึงสนับสนุนลูกค้าได้ตามความเหมาะสมแล้ว ยังช่วยการควบคุมคุณภาพสินเชื่อได้ในระดับหนึ่ง
โดย ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 สินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เป็นอัตราส่วน 4.8% ของสินเชื่อรวม จากอัตราส่วน4.6% ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551ในไตรมาสนี้ธนาคารได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวน 1,955 ล้านบาท และ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2552 ธนาคารมีสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 60,854 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพที่ 102.7% และมีอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นและเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยง อยู่ในระดับที่ประมาณ 15.1% และ 12.3% ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับที่แข็งแกร่งและสามารถสนับสนุนให้ธนาคารดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคงภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงผันผวนต่อเนื่อง
**ใบโพธิ์-กสิกรฯลด18%,14%**
นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยถึงผลประกอบการในไตรมาส 1/2552 ของธนาคารว่า ผลประกอบการของธนาคารมีกำไรสุทธิในไตรมาส 1/2552 อยู่ที่ 5,547 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.3% จากไตรมาส 4/2551 อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2551 แล้ว กำไรสุทธิของธนาคารลดลง 18.3%
ทั้งนี้เป็นผลจากการปรับตัวลดลงของอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารลดลงจาก 3.8% ในไตรมาส 4/2551 เป็น 3.6% ในไตรมาส 1/2552 อย่างไรก็ตาม ธนาคารสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้ลดลงได้ถึง 14.1% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2551 อยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาส 1/2551 รวมถึงลดระดับสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) จาก 5.1% ลงมาอยู่ที่ 4.6% พร้อมเสริมสร้างความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องด้วยอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 15.6% ผลักดันให้ธนาคารเติบโตได้ท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจ
"ปี 2552 เป็นปีที่ยากลำบากสำหรับทุกธุรกิจรวมถึงธนาคารพาณิชย์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้ แต่ธนาคารมองเห็นโอกาสในวิกฤติ เข้าสนับสนุนลูกค้าที่มีศักยภาพฝ่าฟันความท้าทายนี้ รวมถึงเตรียมความพร้อมของลูกค้าเพื่อรองรับการพลิกฟื้นของเศรษฐกิจเมื่อมรสุมนี้พัดผ่านไป ธนาคารไม่เพียงแต่ต้องการรอดพ้นวิกฤตินี้ แต่ยังมุ่งมั่นที่จะเติบโตและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง เพื่อให้บรรลุพันธกิจที่จะเป็นธนาคารที่ให้บริการทางการเงินครบวงจรที่ดีที่สุด”
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2551 แล้ว กำไรสุทธิของธนาคารลดลง 18.3% (หรือ 10.6% เมื่อหักรายได้พิเศษจากการลงทุนในไตรมาส 1/2551 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และภาษีเงินได้นิติบุคคลออก) ทั้งนี้เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยในตลาด ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนที่ธนาคารได้รับจากดอกเบี้ยระหว่างธนาคารลดลงจาก 3.8% ในไตรมาส 1/2551 เป็น 3.2% ในไตรมาส 4/2551 และเป็น 1.7% ในไตรมาส 1/2552 ตามลำดับ
ยุทธศาสตร์ในการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ธนาคารได้วางไว้ผลักดันให้ผลประกอบการของธนาคาร ในไตรมาส 1/2552 เป็นที่น่าพอใจ ด้วยนโยบายควบคุมและบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารปรับลดระดับค่าใช้จ่ายลงมาที่ 8,121 ล้านบาท ใกล้เคียงกับไตรมาส 1/2551 และลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่าย 9,455 ล้านบาท ในไตรมาส 4/2551 โดยธนาคารยังคงเดินหน้าขยายธุรกิจลูกค้าบุคคล มุ่งดำเนินงานในโครงการสำคัญๆ อย่างไม่หยุดยั้ง รวมถึงการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งและมีความพร้อมในการขยายธุรกิจอย่างเต็มที่ พร้อมพัฒนาการจัดการติดตามหนี้เก่าที่มีปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและใช้เกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อใหม่อย่างรอบคอบระมัดระวัง ทำให้คุณภาพสินเชื่อของธนาคารดีขึ้นโดยระดับสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ลดลงจาก 5.1% (50,067 ล้านบาท) ณ สิ้นปี 2551 มาอยู่ที่ 4.6% (49,926 ล้านบาท) ในไตรมาส 1/2552
นอกจากนี้ อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของธนาคาร ตามหลักเกณฑ์ BASELII จาก 15.2% ณ สิ้นปี 2551 เป็น 15.6% ในไตรมาส 1/2552 นั้น แสดงถึงความแข็งแกร่งของธนาคารในการรับมือกับภาวะความเสี่ยงและโอกาสธุรกิจที่เกิดขึ้นได้อย่างดีอีกด้วย
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า แม้จะยังไม่เห็นจุดสิ้นสุดของสภาวะวิกฤตินี้ แต่ผลประกอบการของธนาคารแสดงให้เห็นว่า ยุทธศาสตร์ที่ธนาคารวางไว้มีความเหมาะสม และธนาคารสามารถปรับตัวเพื่อรองรับความผันแปรของสถานการณ์และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ ธนาคารยิ่งเล็งเห็นถึงความสำคัญของการช่วยเหลือลูกค้าของธนาคาร อีกทั้งมองเห็นโอกาสในการสร้างส่วนแบ่งทางการตลาด โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ขณะเดียวกัน บริหารควบคุมค่าใช้จ่ายในระดับที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำกำไรให้ดียิ่งขึ้น และสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าให้กับธุรกิจของธนาคารได้มากขึ้นด้วย
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานก่อนสอบทานของธนาคารและบริษัทย่อยในไตรมาสแรกปี 2552 ว่า มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 3,799.8 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 4,437.9 ล้านบาท หรือลดลงประมาณ 14.38% และมีกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 1.59 บาท ลดลงจากช่วยเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 1.85 บาท หรือลดลง 14.06%
ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 1,217,861 ล้านบาท เงินให้สินเชื่อ 877,141 ล้านบาท เงินฝาก 914,106 ล้านบาท มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ 15.63% แบ่งเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่ 10.17% เงินกองทุนชั้นที่ 2 ที่ 5.46% และสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL Gross) เท่ากับ 3.70% และมีสัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพสุทธิ (NPL Net) ที่ 1.85%
**แบงก์ใหญ่กรุงไทยร่วงแรงสุด**
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB แจ้งว่า ผลประกอบการในไตรมาส 1/2552 ก่อนสอบทาน มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 2,512.67 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลกำไรสุทธิอยู่ที่ 4,139.67 ล้านบาท หรือลดลงประมาณ 39.30% และมีกำไรสุทธิต่อหุ้นอยู่ที่ 0.22 บาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิต่อหุ้นอยู่ที่ 0.37 บาท หรือลดลง 40.54%
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIBเปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของธนาคาร (ก่อนสอบทาน) สําหรับไตรมาสที่ 1 สิ้นสุด 31 มีนาคม 2552 ซึ่งตามงบการเงินรวมธนาคารมีกำไรสุทธิ จํานวน 651ล้านบาท ขณะที่ตามงบการเงินเฉพาะธนาคารมีกำไรสุทธิ 927 ล้านบาท กำไรสุทธิตามงบการเงินรวมต่ำกว่างบการเงินเฉพาะมีสาเหตุหลักจากบริษัทย่อยมีผลขาดทุนจากการบันทึกบัญชีเงินลงทุนตามราคาตลาด (mark to market) กำไรสุทธิตามงบการเงินรวม จำนวน 651 ล้านบาท ดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของธนาคารสําหรับไตรมาสเดียวกันของปี 2551 ซึ่งมีกําไรสุทธิ 1,334 ล้านบาท ธนาคารมีกำไรสุทธิลดลง จำนวน 683 ล้านบาท คิดเป็น 51% ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของกำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน จำนวน 238 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้น จำนวน 368 ล้านบาท
นายธวัชไชย สุทธิกิจพิศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) หรือ KK เปิดเผยว่า ไตรมาส 1/2552 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ เท่ากับ 379 ล้านบาท ลดลง 37.6% เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิจำนวน 607 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2551 เป็นผลจากฐานเงินฝากมีอัตราการขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราการเติบโตของเงินให้สินเชื่อชะลอตัวลงตามนโยบายที่จะเน้นคุณภาพสินทรัพย์ และขยายสินเชื่ออย่างระมัดระวังและรอบคอบในภาวะเศรษฐกิจซบเซาเช่นในปัจจุบัน ทำให้รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิชะลอตัวลง 3.6% จากค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 26.4% สูงกว่ารายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเพียง 8.1 %
ทั้งนี้จากความสำเร็จในการควบคุมและรักษาคุณภาพสินทรัพย์ ปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มีจำนวน 6,873 ล้านบาท หรือ 7.08% ของสินเชื่อรวม ลดลงจาก 7,059 ล้านบาท หรือ 7.15% ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นปี 2551 ทำให้ธนาคารมีการโอนกลับหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 92 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อและหนี้ปรับโครงสร้าง เทียบกับรายการโอนกลับจำนวน 9
ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิหลังหักหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น 4%.