เริ่มเข้มงวดเข้าไปทุกขณะ หลังประเทศที่พัฒนาแล้วได้พยายามผลักดันให้ประเทศต่างๆ มีระบบการควบคุมการส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Export Control) และยังได้มีการผลักดันไปถึงเวทีสหประชาชาติ จนมีมติ UNSCR 1540 ให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติ รวมทั้งไทย จัดทำระบบควบคุมการส่งออกเพื่อกำกับดูแลการแพร่ขยายของอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapons of Mass Destruction : WMD)
ประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความกังวลว่า ขณะนี้แนวโน้มภัยก่อการร้ายได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ผู้ก่อการร้ายมีกระบวนการที่สลับซับซ้อนมากขึ้นในการลักลอบจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อนำมาใช้ในการผลิตเป็นอาวุธตามแบบ และอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงสำหรับใช้ในการก่อการร้าย จึงต้องผลักดันให้ประเทศต่างๆ ช่วยเป็นหูเป็นตา และมีมาตรการในการควบคุมดูแลสินค้าที่ใช้ได้สองทางออกมา
ในส่วนของประเทศไทย มีกฎหมายควบคุมการส่งออกอยู่หลายฉบับภายใต้กระทรวงต่างๆ ที่สามารถรองรับการควบคุมการส่งออกภายใต้ระบบการควบคุมการส่งออกสากลได้ระดับหนึ่ง ได้แก่
กระทรวงกลาโหม โดยกรมการอุตสาหกรรมทหาร รับผิดชอบออกใบอนุญาตสินค้าอาวุธยุทโธปกรณ์ทางการทหาร และสินค้าที่ใช้ได้สองทางที่เกี่ยวข้องภายใต้พ.ร.บ.ควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งอาวุธยุทธภัณฑ์และสิ่งที่ใช้ในการสงคราม พ.ศ.2495 และพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งอาวุธยุทธภัณฑ์และสิ่งที่ใช้ในทางสงคราม พ.ศ.2535 เพื่อใช้ควบคุมการส่งออก และพ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530 เพื่อใช้ควบคุมการนำเข้า
กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตร กำกับดูแลพิจารณาการออกใบอนุญาตสินค้าสารเคมี ภายใต้พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำกับดูแลการออกใบอนุญาตสารชีวภาพ ภายใต้พ.ร.บ.เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2525 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กำกับดูแลการออกใบอนุญาตสำหรับวัสดุต้นกำลัง (ยูเรเนียม ธอเรียม) วัสดุนิวเคลียร์พิเศษ (พลูโตเนียม ยูเรเนียม 233 หรือ 235) และวัสดุพลอยได้ (วัสดุกัมมันตรังสีทุกชนิด) ภายใต้พ.ร.บ.พลังงานปรมานูเพื่อสันติ พ.ศ.2504 กระทรวงการคลัง โดยกรมศุลกากร อาศัยอำนาจภายใต้พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2496 กำกับดูแลรับผิดชอบการนำเข้า ส่งออก การนำเข้ามาแล้วส่งออก การส่งผ่าน การขนถ่ายลำ และเป็นหน่วยงานปฏิบัติเพื่อให้การใช้ใบอนุญาตที่ออกจากแต่ละหน่วยงานเป็นไปอย่างถูกต้อง
ส่วนกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศ สามารถใช้อำนาจภายใต้พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 เพื่อใช้ควบคุมสินค้าที่ใช้ได้สองทางอื่นที่มิได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานอื่น
นางอัญชนา วิทยาธรรมธัช รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ในปัจจุบัน แม้จะมีกฎหมายของกระทรวงต่างๆ ดูแลอยู่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะควบคุมดูแล เพราะยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่ไม่อยู่ในบัญชีควบคุม จึงเป็นหน้าที่ของกรมฯ ที่จะต้องดำเนินการในเรื่องนี้ ภายใต้อำนาจตามกฎหมายที่มีอยู่ โดยกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำระบบควบคุมการส่งออกของไทย การจัดทำบัญชีรายการสินค้าควบคุมแห่งชาติ ได้แก่ บัญชีสินค้ายุทธภัณฑ์ บัญชีสินค้าที่ใช้ได้สองทาง และบัญชีเฝ้าระวัง รวมไปถึงกำลังจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในเรื่องนี้ และมอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศเป็นหน่วยงานกลางในการรับเรื่องและพิจารณาออกใบอนุญาตส่งออกสำหรับสินค้าที่ใช้ได้สองทาง รวมทั้งให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมการส่งออก
ทั้งนี้ หากในระยะต่อไป เมื่อระบบควบคุมมีผลบังคับใช้ ผู้ผลิต ผู้ส่งออก ที่จะส่งออกสินค้าที่มีอยู่ในบัญชีควบคุมฯ จะต้องมีการขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนการส่งออก แต่จะไม่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก เพราะทุกๆ ประเทศจะต้องปฏิบัติไปในแนวทางนี้ แต่หากใครทำได้ไว้กว่า เร็วกว่า ก็จะทำให้เกิดความได้เปรียบในแง่ที่ว่า ประเทศผู้นำเข้าจะมีความมั่นใจในสินค้าของไทยว่าการส่งออกผ่านการรับรองในเรื่องนี้แล้ว และยังสามารถใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและขายสินค้าได้มากขึ้น ขณะเดียวกัน ยังเป็นการช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ให้เข้ามาลงทุนในไทย เพราะคนที่คิดจะเข้ามาลงทุนก็ต้องประเมินแล้วว่าไทยมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้ไว้อย่างไร
สำหรับสินค้าที่จะควบคุม ยกตัวอย่างเช่น 1.นิวเคลียร์ เช่น ยูเรเนียม และพลูโตเนียม 2.สารเคมี จุลชีวภาพและสารพิษ เช่น ไตรเอธาโนลามีน ที่นำไปใช้ทำสบู่ ผงซักฟอก และโลชั่น แต่สามารถนำไปใช้ทำสารพิษ และควันพิษได้ด้วย และไฮโดรเจนฟลูออไรด์ ใช้ทำยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืช และใช้ทำสารพิษได้ 3.วัสดุ อุปกรณ์ เช่น เครื่องมือกล กระจกกันรังสี และเครื่องขึ้นรูป 4.อิเล็กทรอนิกส์ เช่น หลอดภาพคาโทดเย็น และเครื่องวัดความเร่ง 5.คอมพิวเตอร์ 6.โทรคมนาคม 7.เซนเซอร์ และเลเซอร์ 8.เทคโนโลยีการเดินเรือและการบิน เรือ 9.อุปกรณ์ขับเคลื่อนทางอวกาศ โดยสินค้าเหล่านี้ได้ใช้แนวทางที่สหภาพยุโรป (อียู) ใช้มาเป็นต้นแบบในการจัดทำบัญชี
ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมข้างต้น เช่น อิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ สารเคมีและยา ยานยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่ เหล็ก โทรคมนาคมและธุรกิจสื่อสาร แก้วและกระจก เป็นต้น ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ควรจะมีการศึกษาและเตรียมความพร้อมไว้แต่เนิ่นๆ เพราะหากต่อไประบบการควบคุมมีความชัดเจนและมีผลบังคับใช้แล้ว ก็จะมีข้อได้เปรียบเหนือคนอื่นที่ยังไม่มีการปรับตัว และยังสามารถใช้ข้อได้เปรียบอันนี้ผลักดันสินค้าไทยออกสู่ตลาดต่างประเทศได้เหนือคู่แข่งรายอื่นด้วย
ประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความกังวลว่า ขณะนี้แนวโน้มภัยก่อการร้ายได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ผู้ก่อการร้ายมีกระบวนการที่สลับซับซ้อนมากขึ้นในการลักลอบจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อนำมาใช้ในการผลิตเป็นอาวุธตามแบบ และอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงสำหรับใช้ในการก่อการร้าย จึงต้องผลักดันให้ประเทศต่างๆ ช่วยเป็นหูเป็นตา และมีมาตรการในการควบคุมดูแลสินค้าที่ใช้ได้สองทางออกมา
ในส่วนของประเทศไทย มีกฎหมายควบคุมการส่งออกอยู่หลายฉบับภายใต้กระทรวงต่างๆ ที่สามารถรองรับการควบคุมการส่งออกภายใต้ระบบการควบคุมการส่งออกสากลได้ระดับหนึ่ง ได้แก่
กระทรวงกลาโหม โดยกรมการอุตสาหกรรมทหาร รับผิดชอบออกใบอนุญาตสินค้าอาวุธยุทโธปกรณ์ทางการทหาร และสินค้าที่ใช้ได้สองทางที่เกี่ยวข้องภายใต้พ.ร.บ.ควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งอาวุธยุทธภัณฑ์และสิ่งที่ใช้ในการสงคราม พ.ศ.2495 และพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งอาวุธยุทธภัณฑ์และสิ่งที่ใช้ในทางสงคราม พ.ศ.2535 เพื่อใช้ควบคุมการส่งออก และพ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530 เพื่อใช้ควบคุมการนำเข้า
กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตร กำกับดูแลพิจารณาการออกใบอนุญาตสินค้าสารเคมี ภายใต้พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำกับดูแลการออกใบอนุญาตสารชีวภาพ ภายใต้พ.ร.บ.เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2525 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กำกับดูแลการออกใบอนุญาตสำหรับวัสดุต้นกำลัง (ยูเรเนียม ธอเรียม) วัสดุนิวเคลียร์พิเศษ (พลูโตเนียม ยูเรเนียม 233 หรือ 235) และวัสดุพลอยได้ (วัสดุกัมมันตรังสีทุกชนิด) ภายใต้พ.ร.บ.พลังงานปรมานูเพื่อสันติ พ.ศ.2504 กระทรวงการคลัง โดยกรมศุลกากร อาศัยอำนาจภายใต้พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2496 กำกับดูแลรับผิดชอบการนำเข้า ส่งออก การนำเข้ามาแล้วส่งออก การส่งผ่าน การขนถ่ายลำ และเป็นหน่วยงานปฏิบัติเพื่อให้การใช้ใบอนุญาตที่ออกจากแต่ละหน่วยงานเป็นไปอย่างถูกต้อง
ส่วนกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศ สามารถใช้อำนาจภายใต้พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 เพื่อใช้ควบคุมสินค้าที่ใช้ได้สองทางอื่นที่มิได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานอื่น
นางอัญชนา วิทยาธรรมธัช รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ในปัจจุบัน แม้จะมีกฎหมายของกระทรวงต่างๆ ดูแลอยู่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะควบคุมดูแล เพราะยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่ไม่อยู่ในบัญชีควบคุม จึงเป็นหน้าที่ของกรมฯ ที่จะต้องดำเนินการในเรื่องนี้ ภายใต้อำนาจตามกฎหมายที่มีอยู่ โดยกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำระบบควบคุมการส่งออกของไทย การจัดทำบัญชีรายการสินค้าควบคุมแห่งชาติ ได้แก่ บัญชีสินค้ายุทธภัณฑ์ บัญชีสินค้าที่ใช้ได้สองทาง และบัญชีเฝ้าระวัง รวมไปถึงกำลังจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในเรื่องนี้ และมอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศเป็นหน่วยงานกลางในการรับเรื่องและพิจารณาออกใบอนุญาตส่งออกสำหรับสินค้าที่ใช้ได้สองทาง รวมทั้งให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมการส่งออก
ทั้งนี้ หากในระยะต่อไป เมื่อระบบควบคุมมีผลบังคับใช้ ผู้ผลิต ผู้ส่งออก ที่จะส่งออกสินค้าที่มีอยู่ในบัญชีควบคุมฯ จะต้องมีการขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนการส่งออก แต่จะไม่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก เพราะทุกๆ ประเทศจะต้องปฏิบัติไปในแนวทางนี้ แต่หากใครทำได้ไว้กว่า เร็วกว่า ก็จะทำให้เกิดความได้เปรียบในแง่ที่ว่า ประเทศผู้นำเข้าจะมีความมั่นใจในสินค้าของไทยว่าการส่งออกผ่านการรับรองในเรื่องนี้แล้ว และยังสามารถใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและขายสินค้าได้มากขึ้น ขณะเดียวกัน ยังเป็นการช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ให้เข้ามาลงทุนในไทย เพราะคนที่คิดจะเข้ามาลงทุนก็ต้องประเมินแล้วว่าไทยมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้ไว้อย่างไร
สำหรับสินค้าที่จะควบคุม ยกตัวอย่างเช่น 1.นิวเคลียร์ เช่น ยูเรเนียม และพลูโตเนียม 2.สารเคมี จุลชีวภาพและสารพิษ เช่น ไตรเอธาโนลามีน ที่นำไปใช้ทำสบู่ ผงซักฟอก และโลชั่น แต่สามารถนำไปใช้ทำสารพิษ และควันพิษได้ด้วย และไฮโดรเจนฟลูออไรด์ ใช้ทำยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืช และใช้ทำสารพิษได้ 3.วัสดุ อุปกรณ์ เช่น เครื่องมือกล กระจกกันรังสี และเครื่องขึ้นรูป 4.อิเล็กทรอนิกส์ เช่น หลอดภาพคาโทดเย็น และเครื่องวัดความเร่ง 5.คอมพิวเตอร์ 6.โทรคมนาคม 7.เซนเซอร์ และเลเซอร์ 8.เทคโนโลยีการเดินเรือและการบิน เรือ 9.อุปกรณ์ขับเคลื่อนทางอวกาศ โดยสินค้าเหล่านี้ได้ใช้แนวทางที่สหภาพยุโรป (อียู) ใช้มาเป็นต้นแบบในการจัดทำบัญชี
ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมข้างต้น เช่น อิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ สารเคมีและยา ยานยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่ เหล็ก โทรคมนาคมและธุรกิจสื่อสาร แก้วและกระจก เป็นต้น ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ควรจะมีการศึกษาและเตรียมความพร้อมไว้แต่เนิ่นๆ เพราะหากต่อไประบบการควบคุมมีความชัดเจนและมีผลบังคับใช้แล้ว ก็จะมีข้อได้เปรียบเหนือคนอื่นที่ยังไม่มีการปรับตัว และยังสามารถใช้ข้อได้เปรียบอันนี้ผลักดันสินค้าไทยออกสู่ตลาดต่างประเทศได้เหนือคู่แข่งรายอื่นด้วย