ASTVผู้จัดการรายวัน-กรมการค้าต่างประเทศเตรียมเสนอครม.ไฟเขียวระบบควบคุมการส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทาง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อต่างประเทศและนานาชาติว่าไทยมีการป้องกันการส่งออกสินค้าสินค้าที่จะนำไปใช้ผลิตอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเตือนผู้ส่งออกที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมรับมือให้ดี และให้ใช้เป็นข้อได้เปรียบในการผลักดันการส่งออก
นางอัญชนา วิทยาธรรมธัช รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้เตรียมนำเรื่องการควบคุมการส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทางของไทยเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ หลังจากที่คณะทำงานจัดทำระบบควบคุมการส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ได้มีการประชุมร่วมกันและเห็นว่าไทยควรจะมีการจัดทำระบบควบคุมการส่งออก โดยมีกรมการค้าต่างประเทศเป็นหน่วยงานกลางในการรับเรื่องและพิจารณาออกใบอนุญาตส่งออกสำหรับสินค้าที่ใช้ได้สองทาง และควรจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมการส่งออกสินค้าดังกล่าวด้วย
“เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะประเทศที่พัฒนาแล้วพยายามผลักดันให้ประเทศต่างๆ มีระบบการควบคุมการส่งออกสินค้าที่ใช้สองทางอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวถูกแปลงไปเป็นอาวุธตามแบบและอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง สำหรับใช้ในการก่อการร้าย และเวทีสหประชาชาติเองก็มีมติ UNSCR 1540 ให้ประเทศสมาชิก รวมทั้งไทย จัดทำระบบควบคุมการส่งออกเพื่อกำกับดูแลการแพร่ขยายของอาวุธทำลายล้างสูง”นางอัญชนากล่าว
นางอัญชนากล่าวว่า ปัจจุบันนี้ ในการดูแลการส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทางดังกล่าว ไทยมีกฎหมายควบคุมการส่งออกอยู่หลายฉบับภายใต้กระทรวงต่างๆ แต่ก็ยังมีสินค้าหลายรายการที่ยังไม่มีหน่วยงานใดดูแลเป็นการเฉพาะ กรมฯ จึงต้องเข้ามาดูแลเพื่อปิดช่องว่างในเรื่องนี้ และกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำบัญชีรายการสินค้าควบคุมแห่งชาติ คือ บัญชีสินค้ายุทธภัณฑ์ บัญชีสินค้าที่ใช้ได้สองทางและบัญชีเฝ้าระวังเพื่อให้สามารถติดตามตรวจสอบได้ทั้งหมด
ขณะเดียวกัน จะมีการจัดตั้งศูนย์และระบบเชื่อมโยงการพิจารณาออกใบอนุญาตเพื่อการควบคุมการส่งออกของไทย เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลอำนวยความสะดวกในการขอใบอนุญาตส่งออก-นำเข้า ให้แก่ผู้ส่งออก ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป และเป็นระบบเชื่อมโยงข้อมูลการพิจารณาใบอนุญาตสินค้าที่ใช้ได้สองทางกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมศุลกากร เป็นต้น
สำหรับสินค้าที่จะควบคุม ยกตัวอย่างเช่น 1.นิวเคลียร์ เช่น ยูเรเนียม และพลูโตเนียม 2.สารเคมี จุลชีวภาพและสารพิษ เช่น ไตรเอธาโนลามีน ที่นำไปใช้ทำสบู่ ผงซักฟอก และโลชั่น แต่สามารถนำไปใช้ทำสารพิษ และควันพิษได้ด้วย และไฮโดรเจนฟลูออไรด์ ใช้ทำยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืช และใช้ทำสารพิษได้ 3.วัสดุ อุปกรณ์ เช่น เครื่องมือกล กระจกกันรังสี และเครื่องขึ้นรูป 4.อิเล็กทรอนิกส์ เช่น หลอดภาพคาโทดเย็น และเครื่องวัดความเร่ง 5.คอมพิวเตอร์ 6.โทรคมนาคม 7.เซนเซอร์ และเลเซอร์ 8.เทคโนโลยีการเดินเรือและการบินเรือ 9.อุปกรณ์ขับเคลื่อนทางอวกาศ โดยสินค้าเหล่านี้ได้ใช้แนวทางที่สหภาพยุโรป (อียู) ใช้มาเป็นต้นแบบในการจัดทำบัญชี
ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมข้างต้น เช่น อิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ สารเคมีและยา ยานยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่ เหล็ก โทรคมนาคมและธุรกิจสื่อสาร แก้วและกระจก เป็นต้น
“ขอให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทางนั้น มีการเตรียมตัวให้พร้อม เพราะการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง แต่ยืนยันได้ว่าเมื่อมีระบบนี้เกิดขึ้นแล้วจะไม่ได้รับผลกระทบ แต่จะเป็นผลดีต่อธุรกิจมากกว่า เพราะหากสามารถตอบผู้นำเข้าได้ว่าไทยมีระบบการบริหารจัดการในเรื่องนี้เป็นอย่างดี ก็จะทำให้ผู้ซื้อเกิดความมั่นใจ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และยังช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพราะหลายๆ ประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในไทย ก็จะใช้เงื่อนไขนี้ประกอบการพิจารณาด้วย”นางอัญชนากล่าว
ที่ผ่านมา ในการควบคุมการส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทาง มีหน่วยงานต่างๆ ที่ดูแล ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงการคลัง และกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศ ที่ใช้อำนาจภายใต้พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 เพื่อใช้ควบคุมสินค้าที่ใช้ได้สองทางอื่นที่มิได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานอื่น
นางอัญชนา วิทยาธรรมธัช รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้เตรียมนำเรื่องการควบคุมการส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทางของไทยเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ หลังจากที่คณะทำงานจัดทำระบบควบคุมการส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ได้มีการประชุมร่วมกันและเห็นว่าไทยควรจะมีการจัดทำระบบควบคุมการส่งออก โดยมีกรมการค้าต่างประเทศเป็นหน่วยงานกลางในการรับเรื่องและพิจารณาออกใบอนุญาตส่งออกสำหรับสินค้าที่ใช้ได้สองทาง และควรจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมการส่งออกสินค้าดังกล่าวด้วย
“เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะประเทศที่พัฒนาแล้วพยายามผลักดันให้ประเทศต่างๆ มีระบบการควบคุมการส่งออกสินค้าที่ใช้สองทางอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวถูกแปลงไปเป็นอาวุธตามแบบและอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง สำหรับใช้ในการก่อการร้าย และเวทีสหประชาชาติเองก็มีมติ UNSCR 1540 ให้ประเทศสมาชิก รวมทั้งไทย จัดทำระบบควบคุมการส่งออกเพื่อกำกับดูแลการแพร่ขยายของอาวุธทำลายล้างสูง”นางอัญชนากล่าว
นางอัญชนากล่าวว่า ปัจจุบันนี้ ในการดูแลการส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทางดังกล่าว ไทยมีกฎหมายควบคุมการส่งออกอยู่หลายฉบับภายใต้กระทรวงต่างๆ แต่ก็ยังมีสินค้าหลายรายการที่ยังไม่มีหน่วยงานใดดูแลเป็นการเฉพาะ กรมฯ จึงต้องเข้ามาดูแลเพื่อปิดช่องว่างในเรื่องนี้ และกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำบัญชีรายการสินค้าควบคุมแห่งชาติ คือ บัญชีสินค้ายุทธภัณฑ์ บัญชีสินค้าที่ใช้ได้สองทางและบัญชีเฝ้าระวังเพื่อให้สามารถติดตามตรวจสอบได้ทั้งหมด
ขณะเดียวกัน จะมีการจัดตั้งศูนย์และระบบเชื่อมโยงการพิจารณาออกใบอนุญาตเพื่อการควบคุมการส่งออกของไทย เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลอำนวยความสะดวกในการขอใบอนุญาตส่งออก-นำเข้า ให้แก่ผู้ส่งออก ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป และเป็นระบบเชื่อมโยงข้อมูลการพิจารณาใบอนุญาตสินค้าที่ใช้ได้สองทางกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมศุลกากร เป็นต้น
สำหรับสินค้าที่จะควบคุม ยกตัวอย่างเช่น 1.นิวเคลียร์ เช่น ยูเรเนียม และพลูโตเนียม 2.สารเคมี จุลชีวภาพและสารพิษ เช่น ไตรเอธาโนลามีน ที่นำไปใช้ทำสบู่ ผงซักฟอก และโลชั่น แต่สามารถนำไปใช้ทำสารพิษ และควันพิษได้ด้วย และไฮโดรเจนฟลูออไรด์ ใช้ทำยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืช และใช้ทำสารพิษได้ 3.วัสดุ อุปกรณ์ เช่น เครื่องมือกล กระจกกันรังสี และเครื่องขึ้นรูป 4.อิเล็กทรอนิกส์ เช่น หลอดภาพคาโทดเย็น และเครื่องวัดความเร่ง 5.คอมพิวเตอร์ 6.โทรคมนาคม 7.เซนเซอร์ และเลเซอร์ 8.เทคโนโลยีการเดินเรือและการบินเรือ 9.อุปกรณ์ขับเคลื่อนทางอวกาศ โดยสินค้าเหล่านี้ได้ใช้แนวทางที่สหภาพยุโรป (อียู) ใช้มาเป็นต้นแบบในการจัดทำบัญชี
ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมข้างต้น เช่น อิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ สารเคมีและยา ยานยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่ เหล็ก โทรคมนาคมและธุรกิจสื่อสาร แก้วและกระจก เป็นต้น
“ขอให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทางนั้น มีการเตรียมตัวให้พร้อม เพราะการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง แต่ยืนยันได้ว่าเมื่อมีระบบนี้เกิดขึ้นแล้วจะไม่ได้รับผลกระทบ แต่จะเป็นผลดีต่อธุรกิจมากกว่า เพราะหากสามารถตอบผู้นำเข้าได้ว่าไทยมีระบบการบริหารจัดการในเรื่องนี้เป็นอย่างดี ก็จะทำให้ผู้ซื้อเกิดความมั่นใจ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และยังช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพราะหลายๆ ประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในไทย ก็จะใช้เงื่อนไขนี้ประกอบการพิจารณาด้วย”นางอัญชนากล่าว
ที่ผ่านมา ในการควบคุมการส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทาง มีหน่วยงานต่างๆ ที่ดูแล ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงการคลัง และกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศ ที่ใช้อำนาจภายใต้พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 เพื่อใช้ควบคุมสินค้าที่ใช้ได้สองทางอื่นที่มิได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานอื่น