เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีการประชุมนานาชาติ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษที่ถือว่าเป็นการประชุมสำคัญที่สุดในรอบปีนี้ คือการประชุมสุดยอดผู้นำ 20 ประเทศ หรือ G-20 ซึ่งประกอบด้วย ผู้นำของประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ เช่น จีน อินเดีย และบราซิล โดยมีเป้าหมายที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกที่กำลังทรุดตัวอย่างหนักในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ผมคาดว่ามาตรการที่ประกาศออกมายังไม่เพียงพอที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกให้ได้อย่างที่คาดหวังไว้
ผมขอแบ่งมาตรการที่สรุปจากการประชุม G-20 เป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ มาตรการทางการคลังที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการบรรเทาปัญหาที่เกิดจากวิกฤติการเงิน และมาตรการสุดท้ายเกี่ยวกับการวางแผนระยะยาวเพื่อจัดระเบียบทางการเงินของโลกและอื่นๆ
มาตรการทางการคลัง เป็นมาตรการที่ถูกจับตามองมากที่สุด เนื่องจากเป็นมาตรการที่มีความสำคัญมากในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และยังมีความขัดแย้งกันระหว่างสหรัฐฯกับยุโรป โดยทางสหรัฐฯและญี่ปุ่นสนับสนุนให้มีการใช้จ่ายภาครัฐสูงขึ้น ขณะที่เยอรมนีและฝรั่งเศสตลอดจนประเทศที่ใช้เงินยูโรมีข้อจำกัดทางการคลังจากข้อตกลงมาสทริชต์ (Maastricht Treaty) ที่กำหนดให้การขาดดุลการคลังไม่เกินร้อยละ 3 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม ซึ่งเยอรมนีและฝรั่งเศสมีการขาดดุลในสัดส่วนสูงกว่าที่กำหนดอยู่แล้วที่ร้อยละ 4 และ 5.4 ตามลำดับ นอกจากนี้รัฐบาลในยุโรปหลายประเทศ ยังมีภาระอย่างหนักที่จะต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินของตน ซึ่งเกิดจากปัญหาหนี้เสียจำนวนมากจากการปล่อยสินเชื่อให้กับประเทศในยุโรปตะวันออก ดังนั้น แม้จะมีการสรุปในการประชุมว่าให้รัฐบาลแต่ละประเทศใช้จ่ายมากขึ้น แต่ก็ไม่มีการกำหนดข้อผูกพันต่อการดำเนินการของรัฐบาลของประเทศ G-20 แต่อย่างใด
มาตรการบรรเทาปัญหาที่เกิดจากวิกฤติการเงิน ได้แก่ มาตรการเพิ่มทุนในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) การตั้งกองทุนสินเชื่อการค้าระหว่างประเทศ และการป้องกันไม่ให้เกิดนโยบายกีดกันทางการค้า
จากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทำให้หลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาถูกตัดวงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่างประเทศ และมีความยากลำบากในการระดมทุนเพื่อชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้เศรษฐกิจถดถอยและมีปัญหาเสถียรภาพค่าเงินอย่างรุนแรง คาดว่าวงเงินที่ IMF มีอยู่ในปัจจุบันที่ 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อาจจะไม่เพียงพอในการแก้ปัญหา ทาง G-20 จึงตกลงว่าจะเพิ่มทุนให้ IMF อีก 750,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
กรณีการจัดตั้งกองทุนสินเชื่อการค้าระหว่างประเทศนั้น จากวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นนำไปสู่ปัญหาการลดลงของการให้สินเชื่อทางการค้า ทางที่ประชุม G-20 จึงอนุมัติให้มีการจัดตั้งกองทุนสินเชื่อการค้ามูลค่า 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว สำหรับเรื่องการกีดกันทางการค้า ที่ประชุม G-20 ยืนยันพันธกรณีในเรื่องการค้าเสรีตามกรอบขององค์การการค้าโลก (WTO) และข้อตกลงทางการค้าอื่นๆ นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติให้วงเงินสนับสนุนธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคี (Multilateral Development Banks) เช่น ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (Asian Development Bank: ADB) อีก 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยวงเงินที่ G-20 มีพันธกรณีที่จะจัดหาตามที่ตกลงทั้งหมดเท่ากับ 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
มาตรการสุดท้ายเกี่ยวกับการวางแผนระยะยาวเพื่อจัดระเบียบทางการเงินของโลกและอื่นๆ โดยให้มีการจัดตั้งองค์กรใหม่ได้แก่ Financial Stability Board ที่จะมาควบคุมและวางกฎระเบียบเกี่ยวกับการเงินระหว่างประเทศ การกำกับดูแลสถาบันการเงิน เครื่องมือทางการเงิน และตลาดที่สำคัญในระบบทุกแห่ง รวมไปถึงสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้วย และจะมีมาตรการขึ้นบัญชีดำกับประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือในการกวาดล้างแหล่งหลบเลี่ยงภาษีและพิจารณาคว่ำบาตรประเทศดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีการเสนอเรื่องอื่นๆแต่ไม่มีข้อสรุป เช่นการใช้เงินสกุลใหม่ของโลก
โดยสรุปแล้วการประชุม G-20 สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ 2 เรื่องคือ (1) การบรรเทาปัญหาวิกฤติการเงิน ด้วยการเพิ่มทุนให้ IMF และจัดตั้งกองทุนสินเชื่อการค้า และ (2) การวางระบบกำกับดูแลสถาบันการเงินและการโอนเงินระหว่างประเทศใหม่ แต่เรื่องสำคัญคือการกระตุ้นเศรษฐกิจของโลกให้พ้นจากภาวะถดถอย ยังไม่เป็นข้อตกลงที่ผูกมัดให้ทุกประเทศต้องปฎิบัติตามอย่างแข็งขัน ผมขอเปรียบเปรยว่า เสมือนเรือกำลังรั่วและกำลังจะจม แต่ทำได้แค่การวิดน้ำออกจากเรือแต่ไม่ได้อุดรูรั่วของเรือ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เรือแล่นได้ตามปกติ ดังนั้น จึงอย่าตั้งความหวังให้มาก ว่ามาตรการของ G-20 จะช่วยฉุดดึงให้เศรษฐกิจโลกหลุดพ้นจากหล่มได้ในเร็ววันนี้
bunluasak.p@bankthai.co.th
ผมขอแบ่งมาตรการที่สรุปจากการประชุม G-20 เป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ มาตรการทางการคลังที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการบรรเทาปัญหาที่เกิดจากวิกฤติการเงิน และมาตรการสุดท้ายเกี่ยวกับการวางแผนระยะยาวเพื่อจัดระเบียบทางการเงินของโลกและอื่นๆ
มาตรการทางการคลัง เป็นมาตรการที่ถูกจับตามองมากที่สุด เนื่องจากเป็นมาตรการที่มีความสำคัญมากในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และยังมีความขัดแย้งกันระหว่างสหรัฐฯกับยุโรป โดยทางสหรัฐฯและญี่ปุ่นสนับสนุนให้มีการใช้จ่ายภาครัฐสูงขึ้น ขณะที่เยอรมนีและฝรั่งเศสตลอดจนประเทศที่ใช้เงินยูโรมีข้อจำกัดทางการคลังจากข้อตกลงมาสทริชต์ (Maastricht Treaty) ที่กำหนดให้การขาดดุลการคลังไม่เกินร้อยละ 3 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม ซึ่งเยอรมนีและฝรั่งเศสมีการขาดดุลในสัดส่วนสูงกว่าที่กำหนดอยู่แล้วที่ร้อยละ 4 และ 5.4 ตามลำดับ นอกจากนี้รัฐบาลในยุโรปหลายประเทศ ยังมีภาระอย่างหนักที่จะต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินของตน ซึ่งเกิดจากปัญหาหนี้เสียจำนวนมากจากการปล่อยสินเชื่อให้กับประเทศในยุโรปตะวันออก ดังนั้น แม้จะมีการสรุปในการประชุมว่าให้รัฐบาลแต่ละประเทศใช้จ่ายมากขึ้น แต่ก็ไม่มีการกำหนดข้อผูกพันต่อการดำเนินการของรัฐบาลของประเทศ G-20 แต่อย่างใด
มาตรการบรรเทาปัญหาที่เกิดจากวิกฤติการเงิน ได้แก่ มาตรการเพิ่มทุนในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) การตั้งกองทุนสินเชื่อการค้าระหว่างประเทศ และการป้องกันไม่ให้เกิดนโยบายกีดกันทางการค้า
จากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทำให้หลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาถูกตัดวงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่างประเทศ และมีความยากลำบากในการระดมทุนเพื่อชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้เศรษฐกิจถดถอยและมีปัญหาเสถียรภาพค่าเงินอย่างรุนแรง คาดว่าวงเงินที่ IMF มีอยู่ในปัจจุบันที่ 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อาจจะไม่เพียงพอในการแก้ปัญหา ทาง G-20 จึงตกลงว่าจะเพิ่มทุนให้ IMF อีก 750,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
กรณีการจัดตั้งกองทุนสินเชื่อการค้าระหว่างประเทศนั้น จากวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นนำไปสู่ปัญหาการลดลงของการให้สินเชื่อทางการค้า ทางที่ประชุม G-20 จึงอนุมัติให้มีการจัดตั้งกองทุนสินเชื่อการค้ามูลค่า 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว สำหรับเรื่องการกีดกันทางการค้า ที่ประชุม G-20 ยืนยันพันธกรณีในเรื่องการค้าเสรีตามกรอบขององค์การการค้าโลก (WTO) และข้อตกลงทางการค้าอื่นๆ นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติให้วงเงินสนับสนุนธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคี (Multilateral Development Banks) เช่น ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (Asian Development Bank: ADB) อีก 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยวงเงินที่ G-20 มีพันธกรณีที่จะจัดหาตามที่ตกลงทั้งหมดเท่ากับ 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
มาตรการสุดท้ายเกี่ยวกับการวางแผนระยะยาวเพื่อจัดระเบียบทางการเงินของโลกและอื่นๆ โดยให้มีการจัดตั้งองค์กรใหม่ได้แก่ Financial Stability Board ที่จะมาควบคุมและวางกฎระเบียบเกี่ยวกับการเงินระหว่างประเทศ การกำกับดูแลสถาบันการเงิน เครื่องมือทางการเงิน และตลาดที่สำคัญในระบบทุกแห่ง รวมไปถึงสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้วย และจะมีมาตรการขึ้นบัญชีดำกับประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือในการกวาดล้างแหล่งหลบเลี่ยงภาษีและพิจารณาคว่ำบาตรประเทศดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีการเสนอเรื่องอื่นๆแต่ไม่มีข้อสรุป เช่นการใช้เงินสกุลใหม่ของโลก
โดยสรุปแล้วการประชุม G-20 สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ 2 เรื่องคือ (1) การบรรเทาปัญหาวิกฤติการเงิน ด้วยการเพิ่มทุนให้ IMF และจัดตั้งกองทุนสินเชื่อการค้า และ (2) การวางระบบกำกับดูแลสถาบันการเงินและการโอนเงินระหว่างประเทศใหม่ แต่เรื่องสำคัญคือการกระตุ้นเศรษฐกิจของโลกให้พ้นจากภาวะถดถอย ยังไม่เป็นข้อตกลงที่ผูกมัดให้ทุกประเทศต้องปฎิบัติตามอย่างแข็งขัน ผมขอเปรียบเปรยว่า เสมือนเรือกำลังรั่วและกำลังจะจม แต่ทำได้แค่การวิดน้ำออกจากเรือแต่ไม่ได้อุดรูรั่วของเรือ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เรือแล่นได้ตามปกติ ดังนั้น จึงอย่าตั้งความหวังให้มาก ว่ามาตรการของ G-20 จะช่วยฉุดดึงให้เศรษฐกิจโลกหลุดพ้นจากหล่มได้ในเร็ววันนี้
bunluasak.p@bankthai.co.th