xs
xsm
sm
md
lg

ลงทุนยุโรปตะวันออก...น่ากลัวจริงหรือ?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

"แม้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศในโซนยุโรปตะวันออกจะยังคงแย่อยู่ จากข่าวที่ได้ออกมาก่อนหน้านี้  แต่เนื่องจากนักลงทุนรับรู้ข่าวร้ายมากเยอะแล้ว ดังนั้นการที่มีข่าวของกลุ่มประเทศเหล่านี้ออกมาไม่ได้ทำให้นักลงทุนที่ต้องการลงทุนเกิดความกลัวที่จะลงทุน"
 ลงทุนยุโรปตะวันออก...น่ากลัวจริงหรือ?
   ยอดค้าปลีกของกลุ่มประเทศยูโรโซนในช่วงเดือน ก.พ. 2552 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องอยู่ที่ระดับ -4.0% yoy หดตัวลงติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน ขณะที่เมื่อนำไปเทียบกับในเดือนก่อนหน้าหดตัวลงเล็กน้อย อยู่ที่ระดับ -0.6% mom โดยภาพรวมของการชะลอตัวลงของยอดค้าปลีก มีปัจจัยสำคัญมาจากยอดขายปลีกในหมวดสินค้าประเภทอาหารที่ปรับลดลงไปต่อเนื่องอีกกว่า -3.7% yoy ซึ่งถือได้ว่าเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นปี 2551 ในขณะที่ยอดขายปลีกในหมวดสินค้าประเภทที่ไม่ใช่อาหารก็ปรับลดลงไปในทิศทางเดียวกัน โดยปรับลดลงอยู่ที่ระดับ -3.7% yoy ปรับตัวลดลงในอัตราเร่งเมื่อเทียบกับในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากสินค้าหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชะลอตัวลงค่อนข้างรุนแรง โดยนอกจากนั้นแล้วประเทศในยูโรโซนที่ยังคงมีการชะลอตัวลงของยอดค้าปลีกอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นประเทศเกิดใหม่และอยู่ในยุโรปตะวันออก อย่าง โรมาเนีย ลัตเวีย ลิธัวเนีย ฯลฯ ที่ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจโดยรวมยังคงขาดความแข็งแกร่ง ขณะที่ประเทศในแถบยุโรปตะวันตกโดยรวมแล้วเริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น ยกเว้นอังกฤษ ที่ยอดค้าปลีกยังคงมีการหดตัวลงอยู่ที่ระดับ-1.7% mom

 สถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI) รายงานถึงภาพรวมของยอดขายปลีกในยูโรโซนเมื่อเทียบเป็นรายปี โดยคาดว่าจะยังคงมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงตลอดในช่วงที่เหลือของปี ตามแรงกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่ต่างๆ ในแถบยุโรปตะวันออก โดยภาพโดยรวมของภาคการบริโภคของยูโรโซน ศูนย์วิจัยนครหลวงมองว่ายังคงได้รับปัจจัยลบหลักๆจากการขาดความเชื่อมั่นของประชาชนต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รวมไปถึงปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ยังคงหดตัวลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะอัตราการว่างงานที่ปรับตัวสูงขึ้น
 ซึ่งโดยรวมแล้วได้ส่งผลให้ประชาชนมียังคงมีการตัดสินใจลดการใช้จ่ายลง เพื่อเตรียมรับกับความผันผวนที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งก็ได้สะท้อนไปที่ตัวเลขยอดค้าปลีกที่ปรับลดลงอย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามแล้วถ้ามองถึงตัวเลขยอดค้าปลีกเมื่อเทียบเป็นรายเดือน จะเห็นได้ว่าในหลายๆประเทศ ยอดค้าปลีกเริ่มมกลับมาเคลื่อนไหวมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจในแถบยุโรปตะวันตก ทั้ง เยอรมัน ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการบ่งชี้ได้ว่าภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจในยูโรโซน เริ่มมีการแบ่งแยกกันมากขึ้น ระหว่างประเทศกำลังพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา
 
 แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากปล่อยให้ภาวะเช่นนี้ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องแล้ว คาดว่าการชะลอตัวลงของภาคอุปสงค์ในประเทศแถบยุโรปตะวันออก จะเป็นแรงกดดันที่สำคัญที่อาจจะส่งผลสืบเนื่องให้ภาพรวมของภาคการบริโภคในประเทศพัฒนาแล้วต่างๆ จะกลับมามีการชะลอตัวลงในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์กันค่อนข้างมาก และยังอาจจะส่งผลไปถึงภาพเศรษฐกิจโดยรวมของยูโรโซนในช่วงถัดไปที่อาจจะมีการปรับชะลอตัวแย่ลงมากขึ้น เนื่องจากภาคอุปสงค์ของยูโรโซนถือได้ว่ามีสัดส่วนกว่าครึ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)ทั้งหมด ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีการประกาศออกมาอย่างต่อเนื่องจากรัฐบาลกลางประเทศต่างๆ รวมไปถึงการประกาศมาตรการความร่วมมือในการประชุมประเทศกลุ่ม G-20 จะสามารถรับมือกับการชะลอตัวลงของภาพรวมทางเศรษฐกิจได้ดีเพียงใด
 
 นอกจากนี้ SCRI ประเมินแนวโน้มการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของทางธนาคารกลางยุโรปเริ่มจำกัด โดยมองว่าจุดต่ำสุดของระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ECB จะอยู่ที่ระดับ 0.75-1.0% โดย SCRI ประเมินว่าส่วนหนึ่งแล้วการที่ ECB มีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงน้อยกว่าการคาดการณ์ของตลาด มาจากการที่ภาพโดยรวมของภาคอุปสงค์ในยูโรโซนเริ่มเห็นสัญญาณในการปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในด้านของภาคการบริโภคในยูโรโซนที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยส่งสัญญาณจากการที่ในเดือนม.ค. 2552 ยอดค้าปลีกของยูโรโซนได้มีการปรับทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 0.0% mom ประกอบกับ SCRI มองว่าทาง ECB ยังคงต้องให้น้ำหนักความสมดุลในการดำเนินนโยบายทางการเงิน ระหว่างประเทศสมาชิกให้เหมาะสม เนื่องจากสถานการณ์ของภาวะเศรษฐกิจในแต่ละประเทศสมาชิกที่ค่อนข้างจะมีความแตกต่างกันมาก
 ซึ่งส่งผลให้โดยรวมแล้ว SCRI มองภาพโดยรวมของระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางยุโรป ใกล้ลงไปอยู่ระดับจุดต่ำสุดแล้ว หลังจากที่ทาง ECB มีการลดอัตราดอกเบี้ยลงมาต่อเนื่องตั้งแต่ในช่วงปลายปี 2551 โดยคาดว่าภายในช่วง Q2/52 ทาง ECB น่าจะมีการตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงต่อเนื่องอีก 25-50 bps ซึ่งจะส่งผลให้ระดับอัตราดอกเบี้ยลงไปอยู่ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 0.75-1.0% และหลังจากนั้นคาดว่าจะเป็นการทรงตัวต่อเนื่องไปจนถึงช่วงปลายปี
 นายชัยพฤกษ์ กุลกาญจนาธร ผู้จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ( บลจ. ) วรรณ จำกัด ได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงทุนในแถบประเทศยุโรปตะวันออกไว้ว่า การลงทุนในกลุ่มประเทศต่างๆในยุโรปตะวันออกในขณะนี้ ค่อนข้างที่จะน่ากลัว เพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจมากพอๆกับประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ที่ประเทศสหรัฐนั้นได้มีการเปิดเผยข้อมูลออกมาให้ได้รับรู้กัน แต่สำหรับประเทศในยุโรปตะออกออกนั้น ถึงแม้จะรับรู้ถึงวิกฤตต่างที่เกิดขึ้น แต่ที่ยังไม่ปรากฎให้เห็นนั้นก็ยังมีอยู่ และเราก็ไม่รู้ว่าจะปรากฎออกมาเมื่อไหร่ด้วย
  สำหรับโอกาสในการพลิกฟื้นของเศรษฐกิจนั้น ยังคงจะต้องใช้ระยะเวลาอีกนานกว่าที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัว เพราะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในระบบ ที่ผ่านมานั้น มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อีกทั้งที่ผ่านมานั้น ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนั้นมีความรุนแรงมากพอกับสหรัฐอเมริกา
 นายสุขวัฒน์ ประเสริฐยิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่สายการลงทุน บลจ.แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย)จำกัด กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศในโซนยุโรปตะวันออกจะยังคงแย่อยู่ จากข่าวที่ได้ออกมาก่อนหน้านี้  แต่เนื่องจากนักลงทุนรับรู้ข่าวร้ายมากเยอะแล้ว ดังนั้นการที่มีข่าวของกลุ่มประเทศเหล่านี้ออกมาไม่ได้ทำให้นักลงทุนที่ต้องการลงทุนเกิดความกลัวที่จะลงทุน
 สำหรับการลงทุนในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกนั้น แมนูไลฟ์ได้มีกองทุนที่เข้าไปลงทุนในประเทศเหล่านี้อยู่ภายใต้การบริหาร ได้แก่ กองทุนเปิดแมนูไลฟ์สเตร็งค์อิเมอร์จิ้งอีสเทอร์น ยุโรปเอฟไอเอฟ  ซึ่งที่ผ่านมาแม้ว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเหล่านี้จะย่ำแย่ แต่พบว่านักลงทุนยังให้ความสนใจกลับเข้ามาลงทุนในกองทุน จึงทำให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 20% จากปลายเดือน กุมภาพันธ์ 2552 ถึง ปลายเดือนมีนาคม 2552

กำลังโหลดความคิดเห็น