ASTVผู้จัดการรายวัน-ดัชนีความเชื่อมั่นคนไทยเดือนมี.ค. ต่ำสุดในรอบ 7 ปี เหตุค่าครองชีพแพง น้ำมันขึ้น การเมืองป่วน คาดส่งผลกระทบทำให้การบริโภคฟื้นตัวได้ยากขึ้น
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจประชาชนทั่วประเทศ 2,242 ตัวอย่าง เกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยประจำเดือนมี.ค.2552 พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และเกือบทุกรายการลดลงต่ำสุดในรอบ 7 ปี โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) เดือนมี.ค. เท่ากับ 72.8 ลดจากเดือนก.พ. 74.0 เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 86 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปัจจุบัน 62.9 ลดจาก 64.2 ต่ำสุดในรอบ 81 เดือน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต 74.6 ลดจาก 75.8 ต่ำสุดรอบ 19 เดือน
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม เดือนมี.ค. เท่ากับ 66.0 ลดจากเดือนก.พ. 67.2 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำเท่ากับ 65.2 ลดจาก 66.5 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 87.3 ลดจาก 88.5
ปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวลดลง เพราะผู้บริโภคกังวลปัญหาค่าครองชีพ หลังจากที่ระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น แม้ว่าการปรับตัวสูงขึ้นจะไม่เท่ากับที่เคยสูงขึ้นทะลุ 30 บาท/ลิตร แต่ภายในเดือนเดียวมีการปรับขึ้นหลายรอบ โดยน้ำมันดีเซล เฉลี่ยปรับขึ้น 3 บาท/ลิตร น้ำมันเบนซิน เฉลี่ยปรับขึ้น 1-2 บาท/ลิตร และผู้บริโภคยังมีความกังวลปัญหาการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงลุกลามบานปลาย เห็นได้จากดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองลดลงมากถึง 2.5 จุด
“ในเดือนนี้ แม้จะมีปัจจัยบวกมาจากการแจกเช็คช่วยชาติ 2,000 บาทให้กับประชาชน แต่ข่าวร้ายมีมากกว่า ทั้งค่าครองชีพ ปัญหาเศรษฐกิจไทยขยายตัวติดลบ การส่งออกมีปัญหา ทำให้คนกังวลว่าจะมีปัญหาการว่างงานตามมา และปัญหาเมืองที่อาจลุกลามบานปลาย ส่งผลให้ดัชนีปรับตัวลดลง”นายธนวรรธน์ กล่าว
นายธนวรรธน์กล่าวว่า สัญญาณดังกล่าวส่งผลให้เอกชนประสบปัญหายอดขายลดลง จากกำลังซื้อชะลอตัว เพราะเมื่อสอบถามถึงการซื้อสินค้าคงทนไม่ว่าจะเป็นบ้าน รถยนต์ พบว่าชะลอตัวหมด โดยคาดว่าการบริโภคปีนี้จะขยายตัวแค่ 1% เท่านั้น ต่ำกว่าการบริโภคในภาวะเศรษฐกิจปกติที่ควรจะขยายตัว 2-3% และยังไม่มีแนวโน้มสัญญาณของการฟื้นตัว ซึ่งอาจลากยาวไปจนถึงไตรมาส 3 และอาจกลับมาฟื้นตัวภายในไตรมาส 4 ภายใต้เงื่อนไขการเมืองมีเสถียรภาพ ไม่มีการยุบสภา
“ถ้ามีการยุบสภาเกิดขึ้น จะกลายเป็นรัฐบาลรักษาการ ทำให้เศรษฐกิจฟื้นยาก เพราะการแก้ไขปัญหาต่างๆ จะชะลอ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ภาครัฐ การกู้ยืมเงินเพื่อมาทำงบประมาณขาดดุล 1.5 ล้านล้านบาท จะสะดุด” นายธนวรรธน์ กล่าว
นายธนวรรธน์กล่าววว่า หากการเมืองมีเสถียรภาพ ไม่มีการยุบสภา สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งทำ คือ การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐให้ได้ตามแผน โดยงบประมาณต้องเร่งเบิกจ่ายให้ได้ 94% การลงทุนต้องเบิกจ่ายให้ได้ 75% ของงบประมาณ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะเศรษฐกิจไทยปีนี้ต้องพึ่งพาเม็ดเงินลงทุนของภาครัฐอย่างเดียว โดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจ็กต์จะต้องเริ่มภายในไตรมาส 4 รวมถึงเร่งรัดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต้องจ่ายเงินลงทุนลงท้องถิ่นให้เร็วสุด รวมถึงกระตุ้นโครงการลงทุนของหน่วยรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ด้วย
“ตอนนี้ การบริโภค ภาคการส่งออก การท่องเที่ยว การลงทุนภาคเอกชนหดตัวหมด เหลือเพียงการกระตุ้นจากภาครัฐที่จะช่วยได้เท่านั้น ส่วนอัตราดอกเบี้ยควรมีการปรับลดดอกเบี้ยเชิงนโยบายลงมาอีกให้อยู่ที่ 0.75% และดูแลอัตราแลกเปลี่ยนในระดับอ่อนค่ามากที่สุด เพื่อพยุงการท่องเที่ยวและการส่งออก” นายธนวรรธน์ กล่าว
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจประชาชนทั่วประเทศ 2,242 ตัวอย่าง เกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยประจำเดือนมี.ค.2552 พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และเกือบทุกรายการลดลงต่ำสุดในรอบ 7 ปี โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) เดือนมี.ค. เท่ากับ 72.8 ลดจากเดือนก.พ. 74.0 เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 86 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปัจจุบัน 62.9 ลดจาก 64.2 ต่ำสุดในรอบ 81 เดือน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต 74.6 ลดจาก 75.8 ต่ำสุดรอบ 19 เดือน
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม เดือนมี.ค. เท่ากับ 66.0 ลดจากเดือนก.พ. 67.2 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำเท่ากับ 65.2 ลดจาก 66.5 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 87.3 ลดจาก 88.5
ปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวลดลง เพราะผู้บริโภคกังวลปัญหาค่าครองชีพ หลังจากที่ระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น แม้ว่าการปรับตัวสูงขึ้นจะไม่เท่ากับที่เคยสูงขึ้นทะลุ 30 บาท/ลิตร แต่ภายในเดือนเดียวมีการปรับขึ้นหลายรอบ โดยน้ำมันดีเซล เฉลี่ยปรับขึ้น 3 บาท/ลิตร น้ำมันเบนซิน เฉลี่ยปรับขึ้น 1-2 บาท/ลิตร และผู้บริโภคยังมีความกังวลปัญหาการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงลุกลามบานปลาย เห็นได้จากดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองลดลงมากถึง 2.5 จุด
“ในเดือนนี้ แม้จะมีปัจจัยบวกมาจากการแจกเช็คช่วยชาติ 2,000 บาทให้กับประชาชน แต่ข่าวร้ายมีมากกว่า ทั้งค่าครองชีพ ปัญหาเศรษฐกิจไทยขยายตัวติดลบ การส่งออกมีปัญหา ทำให้คนกังวลว่าจะมีปัญหาการว่างงานตามมา และปัญหาเมืองที่อาจลุกลามบานปลาย ส่งผลให้ดัชนีปรับตัวลดลง”นายธนวรรธน์ กล่าว
นายธนวรรธน์กล่าวว่า สัญญาณดังกล่าวส่งผลให้เอกชนประสบปัญหายอดขายลดลง จากกำลังซื้อชะลอตัว เพราะเมื่อสอบถามถึงการซื้อสินค้าคงทนไม่ว่าจะเป็นบ้าน รถยนต์ พบว่าชะลอตัวหมด โดยคาดว่าการบริโภคปีนี้จะขยายตัวแค่ 1% เท่านั้น ต่ำกว่าการบริโภคในภาวะเศรษฐกิจปกติที่ควรจะขยายตัว 2-3% และยังไม่มีแนวโน้มสัญญาณของการฟื้นตัว ซึ่งอาจลากยาวไปจนถึงไตรมาส 3 และอาจกลับมาฟื้นตัวภายในไตรมาส 4 ภายใต้เงื่อนไขการเมืองมีเสถียรภาพ ไม่มีการยุบสภา
“ถ้ามีการยุบสภาเกิดขึ้น จะกลายเป็นรัฐบาลรักษาการ ทำให้เศรษฐกิจฟื้นยาก เพราะการแก้ไขปัญหาต่างๆ จะชะลอ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ภาครัฐ การกู้ยืมเงินเพื่อมาทำงบประมาณขาดดุล 1.5 ล้านล้านบาท จะสะดุด” นายธนวรรธน์ กล่าว
นายธนวรรธน์กล่าววว่า หากการเมืองมีเสถียรภาพ ไม่มีการยุบสภา สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งทำ คือ การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐให้ได้ตามแผน โดยงบประมาณต้องเร่งเบิกจ่ายให้ได้ 94% การลงทุนต้องเบิกจ่ายให้ได้ 75% ของงบประมาณ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะเศรษฐกิจไทยปีนี้ต้องพึ่งพาเม็ดเงินลงทุนของภาครัฐอย่างเดียว โดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจ็กต์จะต้องเริ่มภายในไตรมาส 4 รวมถึงเร่งรัดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต้องจ่ายเงินลงทุนลงท้องถิ่นให้เร็วสุด รวมถึงกระตุ้นโครงการลงทุนของหน่วยรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ด้วย
“ตอนนี้ การบริโภค ภาคการส่งออก การท่องเที่ยว การลงทุนภาคเอกชนหดตัวหมด เหลือเพียงการกระตุ้นจากภาครัฐที่จะช่วยได้เท่านั้น ส่วนอัตราดอกเบี้ยควรมีการปรับลดดอกเบี้ยเชิงนโยบายลงมาอีกให้อยู่ที่ 0.75% และดูแลอัตราแลกเปลี่ยนในระดับอ่อนค่ามากที่สุด เพื่อพยุงการท่องเที่ยวและการส่งออก” นายธนวรรธน์ กล่าว