ASTVผู้จัดการรายวัน - เวิลด์แบงก์ประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้ -2.7% และอาจดิ่งลงถึง -4.9%ได้หากเศรษฐกิจทรุดต่อ-การเมืองรุนแรง ยาหอมรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจถูกทาง ทันการณ์ และปริมาณหนี้สาธารณะยังรับได้กับมาตรการเพิ่มได้อีก แต่เตือนต้องคุมการขาดดุลงบประมาณในปีต่อๆไปไม่ให้เพิ่มขึ้นมาก หวั่นถล้ำลึก หนี้สาธารณะท่วม
นางสาวกิริฏา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ประจำประเทศไทย กล่าวถึงรายงาน "ตามติดเศรษฐกิจไทย หรือ Thailand Economic Monitor ฉบับเดือนเมษายน ซึ่งเป็นฉบับแรกของปี 2552 ว่า ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2552 จะอยู่ในอัตรา -2.7% ซึ่งเป็นอัตราที่ลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อปลายปีก่อนว่าจะมีอัตราการเติบโตประมาณ 2% ขณะที่เศรษฐกิจโลกหดตัว -1.7%ทั้งนี้ สาเหตุหลักมาจาการปริมาณการค้าของโลกลดลงอย่างมากตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยคาดว่าปริมาณการค้าของโลกจะลดลง 6.1% ส่งผลให้การส่งออกของไทยได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก โดยมูลค่าการส่งออกในปีนี้อาจหดตัวถึง 17.2%
"ประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นอย่างมาก เมื่อการปริมาณการค้าของประเทศหลักๆ ในโลกลดลงก็จะได้รับผลกระทบมากตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าความต้องการสินค้าในตลาดโลกคาดว่าจะถดถอยลงอีกในไตรมาสที่สอง และจะเริ่มฟื้นตัวได้อย่างเร็วที่สุดในไตรมาสที่สี่ของปีนี้ ขณะที่รายได้จากท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวลดลงอย่างมากในเดือนพ.ย.และธ.ค.ปีก่อน แต่ในช่วงปีนี้ยังมีโอกาสที่การท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกจะฟื้นตัวหลังเศรษฐกิจจีนปรับตัวดีขึ้น จึงคาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวจะหดตัวลงน้อยกว่าการส่งออก"
นอกจาก ปัจจัยด้านต่างประเทศหรือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกแล้ว ก็ยังคงต้องดูถึงปัจจัยทางการเมืองซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมายังไม่นิ่ง และเริ่มจะมีความร้อนแรงขึ้นในช่วงนี้ แต่หากยังไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นจนกระทั่่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาลแล้ว ธนาคารโลกยังคงให้น้ำหนักกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากกว่า แต่หากทั้งเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดไว้ และภาคการเมืองเกิดความวุ่นวายหรือมีความรุนแรง ก็อาจจะทำให้จีดีพีปีนี้หดตัวลงถึง 4.9% ซึ่งเป็นกรณีเลวร้ายที่ธนาคารโลกคาดการณ์ไว้
สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมานั้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1 รวมถึงมาตรการลดภาษีนั้น ถือว่าเป็นมาตรการที่เหมาะสมกับเวลาในช่วงเศรษฐกิจชะลอ และหากสามารถดำเนินการได้ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ก็จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ถึง 0.5-1.7%จีดีพี โดยตัวเลขหนี้สาธารณะของไทยในปัจจุบันยังคงสามารถรองรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการขาดดุลงบประมาณได้อยู่
นอกจากนี้ จากการลงทุนในภาคเอกชนที่ยังคงชะลอตัวอยู่ ทางภาครัฐบาลควรเร่งมีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานหลังจากที่ได้ชะงักไปในช่วงที่ผ่านมาเนื่องจากสภาวะการเมืองที่ไม่เอื้ออำนวย เพื่อเป็นการเพิ่มขีดการแข่งขันของประเทศในระยะต่อไป
ส่วนแผนการลงทุนในระยะปานกลางในวงงเงินถึง 1.56 ล้านล้านบาทในปีงบประมาณ 2553-2555 นั้น หากสามารถมีการเบิกจ่ายได้หมดก็จะช่วยเพิ่มการลงทุนภาครัฐได้ รวมทั้งแผนการลงทุนดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วย
"ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ดังนั้น ในช่วงนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐจะต้องเข้ามามีบทบาทในด้านนี้มากขึ้น และเมื่อเทียบกับเม็ดเงินที่นำมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจของไทยกับประเทศอื่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกแล้ว ยังนับว่าอยู่ในระดับไม่สูงนัก คือ 3.4%ของจีดีพี ขณะที่เกาหลีใช้ 6.8% หรือมาเลเซียใช้ 4.5%"
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ รัฐบาลไทยยังสามารถหางบประมาณมาใช้สนับสนุนมาตรการอัดฉีดที่ออกมาแล้วและกำลังจะออกมาได้โดยไม่ลำบากนัก แต่รายได้จากการจัดเก็บภาษีได้ลดลงอย่างมาก จนทำให้งบประมาณของไทยอยู่ โดยคาดว่าในปีนี้รัฐบาลขาดดุลราว 525,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นตามปริมาณการลงทุนในอนาคตอีกด้วย
ทั้งนี้ ในเรื่องดังกล่าว รัฐบาลจำเป็นที่จะหาวิธีลดการขาดดุลงบประมาณลงในอีกสองสามปีข้างหน้า อีกทั้งเศรษฐกิจของประเทศจะต้องอยู่ภาวะที่กลับมาขยายตัวในอัตราที่่ใกล้เคียงกับของเดิมด้วย จึงจะทำให้แน่ใจได้ว่าหนี้สินของประเทศจะอยู่ในสถานะที่บริหารได้โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมา โดยธนาคารโลกคาดการณ์ว่าในปี 2252 จะมีการขาดดุลงบประมาณ 5.9 แสนล้านบาท มีหนี้สาธารณะ 45.3%ของจีดีพี ปี 2553 มียอดขาดดุล 5.5 แสนล้าน มีหนี้สาธารณะ 49.8%
"สิ่งที่สำคัญและธนาคารโลกต้องเตือนก็คือ รัฐบาลจำเป็นต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยทำงบประมาณขาดดุล ขณะที่รายได้ของรัฐเองจัดเก็บได้น้อยลง จึงต้องมีการก่อหนี้มากขึ้น ซึ่งก็กระทบต่อหนี้สาธารณะ และหนี้สาธารณะจะอยู่ในระดับที่บริหารจัดได้หากการขาดดุลค่อยๆลดลงหลังจาก 2-3 ปีข้างหนี้ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจฟื้นตัว ดังนั้น ในจุดที่ต้องระวังก่อนก็คือการจัดการเรื่องการขาดดุลที่ควรลดลงในช่วงปีต่อๆไป"
นางสาวกิริฎากล่าวอีกว่า ในปี 2553 นั้น คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณ 2% ขณะที่เศรษฐกิจโลกมีอัตราการขยายตัวประมาณ 2.3% ทั้งนี้ การขยายตัวของจีดีพีไทยขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก และเชื่อว่าภายหลังจากที่เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวแล้วจะมีสภาพคล่องไหลกลับเข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียเป็นจำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลไทยควรมีการเตรียมพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆรวมถึงโครงสร้างทางพื้นฐานให้กับพร้อมกับแข่งขันที่จะเกิดขึ้นด้วย
นางสาวกิริฏา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ประจำประเทศไทย กล่าวถึงรายงาน "ตามติดเศรษฐกิจไทย หรือ Thailand Economic Monitor ฉบับเดือนเมษายน ซึ่งเป็นฉบับแรกของปี 2552 ว่า ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2552 จะอยู่ในอัตรา -2.7% ซึ่งเป็นอัตราที่ลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อปลายปีก่อนว่าจะมีอัตราการเติบโตประมาณ 2% ขณะที่เศรษฐกิจโลกหดตัว -1.7%ทั้งนี้ สาเหตุหลักมาจาการปริมาณการค้าของโลกลดลงอย่างมากตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยคาดว่าปริมาณการค้าของโลกจะลดลง 6.1% ส่งผลให้การส่งออกของไทยได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก โดยมูลค่าการส่งออกในปีนี้อาจหดตัวถึง 17.2%
"ประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นอย่างมาก เมื่อการปริมาณการค้าของประเทศหลักๆ ในโลกลดลงก็จะได้รับผลกระทบมากตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าความต้องการสินค้าในตลาดโลกคาดว่าจะถดถอยลงอีกในไตรมาสที่สอง และจะเริ่มฟื้นตัวได้อย่างเร็วที่สุดในไตรมาสที่สี่ของปีนี้ ขณะที่รายได้จากท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวลดลงอย่างมากในเดือนพ.ย.และธ.ค.ปีก่อน แต่ในช่วงปีนี้ยังมีโอกาสที่การท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกจะฟื้นตัวหลังเศรษฐกิจจีนปรับตัวดีขึ้น จึงคาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวจะหดตัวลงน้อยกว่าการส่งออก"
นอกจาก ปัจจัยด้านต่างประเทศหรือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกแล้ว ก็ยังคงต้องดูถึงปัจจัยทางการเมืองซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมายังไม่นิ่ง และเริ่มจะมีความร้อนแรงขึ้นในช่วงนี้ แต่หากยังไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นจนกระทั่่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาลแล้ว ธนาคารโลกยังคงให้น้ำหนักกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากกว่า แต่หากทั้งเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดไว้ และภาคการเมืองเกิดความวุ่นวายหรือมีความรุนแรง ก็อาจจะทำให้จีดีพีปีนี้หดตัวลงถึง 4.9% ซึ่งเป็นกรณีเลวร้ายที่ธนาคารโลกคาดการณ์ไว้
สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมานั้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1 รวมถึงมาตรการลดภาษีนั้น ถือว่าเป็นมาตรการที่เหมาะสมกับเวลาในช่วงเศรษฐกิจชะลอ และหากสามารถดำเนินการได้ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ก็จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ถึง 0.5-1.7%จีดีพี โดยตัวเลขหนี้สาธารณะของไทยในปัจจุบันยังคงสามารถรองรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการขาดดุลงบประมาณได้อยู่
นอกจากนี้ จากการลงทุนในภาคเอกชนที่ยังคงชะลอตัวอยู่ ทางภาครัฐบาลควรเร่งมีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานหลังจากที่ได้ชะงักไปในช่วงที่ผ่านมาเนื่องจากสภาวะการเมืองที่ไม่เอื้ออำนวย เพื่อเป็นการเพิ่มขีดการแข่งขันของประเทศในระยะต่อไป
ส่วนแผนการลงทุนในระยะปานกลางในวงงเงินถึง 1.56 ล้านล้านบาทในปีงบประมาณ 2553-2555 นั้น หากสามารถมีการเบิกจ่ายได้หมดก็จะช่วยเพิ่มการลงทุนภาครัฐได้ รวมทั้งแผนการลงทุนดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วย
"ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ดังนั้น ในช่วงนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐจะต้องเข้ามามีบทบาทในด้านนี้มากขึ้น และเมื่อเทียบกับเม็ดเงินที่นำมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจของไทยกับประเทศอื่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกแล้ว ยังนับว่าอยู่ในระดับไม่สูงนัก คือ 3.4%ของจีดีพี ขณะที่เกาหลีใช้ 6.8% หรือมาเลเซียใช้ 4.5%"
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ รัฐบาลไทยยังสามารถหางบประมาณมาใช้สนับสนุนมาตรการอัดฉีดที่ออกมาแล้วและกำลังจะออกมาได้โดยไม่ลำบากนัก แต่รายได้จากการจัดเก็บภาษีได้ลดลงอย่างมาก จนทำให้งบประมาณของไทยอยู่ โดยคาดว่าในปีนี้รัฐบาลขาดดุลราว 525,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นตามปริมาณการลงทุนในอนาคตอีกด้วย
ทั้งนี้ ในเรื่องดังกล่าว รัฐบาลจำเป็นที่จะหาวิธีลดการขาดดุลงบประมาณลงในอีกสองสามปีข้างหน้า อีกทั้งเศรษฐกิจของประเทศจะต้องอยู่ภาวะที่กลับมาขยายตัวในอัตราที่่ใกล้เคียงกับของเดิมด้วย จึงจะทำให้แน่ใจได้ว่าหนี้สินของประเทศจะอยู่ในสถานะที่บริหารได้โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมา โดยธนาคารโลกคาดการณ์ว่าในปี 2252 จะมีการขาดดุลงบประมาณ 5.9 แสนล้านบาท มีหนี้สาธารณะ 45.3%ของจีดีพี ปี 2553 มียอดขาดดุล 5.5 แสนล้าน มีหนี้สาธารณะ 49.8%
"สิ่งที่สำคัญและธนาคารโลกต้องเตือนก็คือ รัฐบาลจำเป็นต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยทำงบประมาณขาดดุล ขณะที่รายได้ของรัฐเองจัดเก็บได้น้อยลง จึงต้องมีการก่อหนี้มากขึ้น ซึ่งก็กระทบต่อหนี้สาธารณะ และหนี้สาธารณะจะอยู่ในระดับที่บริหารจัดได้หากการขาดดุลค่อยๆลดลงหลังจาก 2-3 ปีข้างหนี้ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจฟื้นตัว ดังนั้น ในจุดที่ต้องระวังก่อนก็คือการจัดการเรื่องการขาดดุลที่ควรลดลงในช่วงปีต่อๆไป"
นางสาวกิริฎากล่าวอีกว่า ในปี 2553 นั้น คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณ 2% ขณะที่เศรษฐกิจโลกมีอัตราการขยายตัวประมาณ 2.3% ทั้งนี้ การขยายตัวของจีดีพีไทยขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก และเชื่อว่าภายหลังจากที่เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวแล้วจะมีสภาพคล่องไหลกลับเข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียเป็นจำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลไทยควรมีการเตรียมพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆรวมถึงโครงสร้างทางพื้นฐานให้กับพร้อมกับแข่งขันที่จะเกิดขึ้นด้วย