ASTVผู้จัดการรายวัน- ภาคเอกชนเผยทิศทางส่งออกไตรมาส 2 ยังคงส่งสัญญาณติดลบใกล้เคียงกับไตรมาสแรก เหตุเศรษฐกิจโลกยังค่อยๆ ฟื้นตัวอาจเห็นผลในช่วงไตรมาส 3- 4 มากกว่า แต่ไตรมาส 2 ภาคการผลิตอาจต้องกระทบมากกว่าเหตุทั้งจากปัจจัยเศรษฐกิจโลกและวิกฤติการเมืองไทยหากรุนแรงและยืดเยื้อจ่อซ้ำเติมเพิ่มเข้าไปอีกชี้หลายอุตสาหกรรมยังต้องพึ่งพิงตลาดในประเทศอยู่
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากการสอบถามสมาชิกส.อ.ท.เบื้องต้นเกี่ยวกับคำสั่งซื้อ(ออร์เดอร์) ในไตรมาส 2 ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยดีนักแต่หากเทียบกับไตรมาสแรกมีโอกาสจะติดลบน้อยกว่า เนื่องจากเศรษฐกิจตลาดหลักส่งออกของไทยทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป(อียู)และญี่ปุ่นเองยังค่อยๆ ฟื้นตัวและคงจะไปเห็นผลชัดเจนช่วงไตรมาส 3-4 อย่างไรก็ตามการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.)วันนี้(7เม.ย.)จะมีการหารือเกี่ยวกับการเตรียมประเด็นนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจกับนายกรัฐมนตรีในเวทีคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.)วันที่ 8 เม.ย.นี้
“การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงใหญ่วันที่ 8 เม.ย.นี้หากเป็นไปภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญไม่มีความรุนแรงคงจะกระทบกับความเชื่อมั่นไม่มากแต่หากบานปลายและยืดเยื้อก็จะส่งผลลบทั้งต่อการท่องเที่ยว การลงทุนที่จะชะลอตัวไปมากขึ้นและการบริโภคที่จะไม่กระเตื้องซึ่งจะเป็นการซ้ำเติมภาคการผลิตที่ส่วนหนึ่งต้องพึ่งพิงตลาดในประเทศ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐที่ออกไปก็เหมือนสูญเปล่า”นายสันติกล่าว
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานส.อ.ท. กล่าวว่า เบื้องต้นคำสั่งซื้อล่วงหน้าในไตรมาส 2 ภาพรวมยังคงติดลบ แต่ยังประเมินไม่ได้ว่าจะติดลบน้อยกว่าไตรมาสแรกหรือไม่ซึ่งคงจะต้องติดตามอีกระยะหนึ่งเนื่องจากขณะนี้ออร์เดอร์การผลิตส่วนหนึ่งมีการทยอยเข้ามาต่างจากอดีตที่จะสั่งซื้อล็อตใหญ่และสั่งยาวเป็นไตรมาส โดยอุตสาหกรรมหลักๆ ที่มีผลต่อการเติบโตเศรษฐกิจไทยเช่น ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ คำสั่งซื้อยังคงลดลงและทรงตัวในระดับต่ำมีเพียงอุตสาหกรรมอาหารที่ยังเติบโตระดับหนึ่งเท่านั้นซึ่งทำให้ภาพรวมการส่งออกไตรมาส 2 อาจจะติดลบใกล้เคียงกับไตรมาสแรกหรือลดลงเล็กน้อย
“เอกชนเองได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกอยู่แล้วแต่ไตรมาส 2 ยังต้องมารับผลกระทบจากปัจจัยการเมืองอีกซึ่งไม่ต้องการเห็นการเมืองที่นำไปสู่ปัญหาความรุนแรงหรือยืดเยื้อ วิกฤติเศรษฐกิจโลกนั้นควบคุมไม่ได้ แต่วิกฤติการเมืองยังควบคุมได้ โดยคนในประเทศ หากคนไทยต้องเผชิญวิกฤติ 2 ด้านไปพร้อมกันการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กระเตื้องได้ในโดยเร็ว คงไม่เกิดขึ้นแน่ “ นายธนิตกล่าว
นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสายแรงงานส.อ.ท.กล่าวว่า ประเมินออร์เดอร์ไตรมาส 2 แล้วยังมองว่าส่งออกยังคงมีทิศทางทรุดตัวใกล้เคียงกับไตรมาสแรกจะเห็นได้จากการสำรวจความคิดเห็นทิศทางออร์เดอร์ส่วนใหญ่สมาชิกระบุว่ายังคงที่อยู่ดังนั้นเฉลี่ยไตรมาส 2 ยังคงมีทิศทางติดลบเป็นตัวเลข 2 หลักเหมือนไตรมาสแรกแต่จะเป็นอย่างไรคงจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลที่ชัดเจนก่อน
“ต้องยอมรับว่าปี 2552 เป็นปีที่ภาคการผลิตต้องเผชิญวิกฤติมากสุดคงเทียบกับปี 2540 ไม่ได้เพราะตอนนั้นส่งออกแฮปปี้กันเพราะค่าเงินบาทอ่อนค่ามากไปอยู่ 50 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และตลาดส่งออกก็ไม่ได้เป็นปัญหาทำให้การส่งออกนั้นดีมาก และต่างชาติก็มาช้อปของถูกบ้านเราแต่เวลานี้ตรงกันข้ามกัน ภาคการผลิตกำลังจะแย่แล้วมันจะกระทบเป็นลูกโซ่”นายทวีกิจกล่าว
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้โรงงานอุตสาหกรรมเหล็กยังคงใช้อัตราการผลิตที่ต่ำเพียง 30-40% เท่านั้นเพราะสินค้าคงคลังยังคงมีสูงอยู่ทำให้โรงงานเดินเครื่องผลิตตามคำสั่งซื้อเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในแง่ของคำสั่งซื้อเหล็กจากต่างประเทศยังแทบไม่มีเพราะเศรษฐกิจโลกยังชะลอตัว ภาคการก่อสร้างต่างๆ ไม่ได้มากเช่นอดีตประกอบกับอุตสาหกรรมที่ใช้เหล็กต่างเผชิญวิกฤติหมดเช่น ยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
นายสมมาต ขุนเศรษฐ รองเลขาธิการส.อ.ท. ในฐานะทำธุรกิจด้านรองเท้าส่วนตัวแล้วสัญญาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศในกิจการรองเท้าเมื่อตลาดสหรัฐ อียูมีปัญหาคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าจะไม่มีผลกระทบดังนั้นออร์เดอร์ไตรมาส 2 ภาพรวมของอุตสาหกรรมรองเท้าใกล้เคียงกับไตรมาสแรก และคำสั่งซื้อล่วงหน้าที่กำลัเจรจากันในช่วงมี.ค.- เม.ย.ก็จะทำให้รู้ถึงทิศทางการส่งอกไปประมาณเดือน 8-9 ได้หลังจากนั้นก็คงตอบไม่ได้เช่นกัน
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากการสอบถามสมาชิกส.อ.ท.เบื้องต้นเกี่ยวกับคำสั่งซื้อ(ออร์เดอร์) ในไตรมาส 2 ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยดีนักแต่หากเทียบกับไตรมาสแรกมีโอกาสจะติดลบน้อยกว่า เนื่องจากเศรษฐกิจตลาดหลักส่งออกของไทยทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป(อียู)และญี่ปุ่นเองยังค่อยๆ ฟื้นตัวและคงจะไปเห็นผลชัดเจนช่วงไตรมาส 3-4 อย่างไรก็ตามการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.)วันนี้(7เม.ย.)จะมีการหารือเกี่ยวกับการเตรียมประเด็นนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจกับนายกรัฐมนตรีในเวทีคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.)วันที่ 8 เม.ย.นี้
“การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงใหญ่วันที่ 8 เม.ย.นี้หากเป็นไปภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญไม่มีความรุนแรงคงจะกระทบกับความเชื่อมั่นไม่มากแต่หากบานปลายและยืดเยื้อก็จะส่งผลลบทั้งต่อการท่องเที่ยว การลงทุนที่จะชะลอตัวไปมากขึ้นและการบริโภคที่จะไม่กระเตื้องซึ่งจะเป็นการซ้ำเติมภาคการผลิตที่ส่วนหนึ่งต้องพึ่งพิงตลาดในประเทศ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐที่ออกไปก็เหมือนสูญเปล่า”นายสันติกล่าว
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานส.อ.ท. กล่าวว่า เบื้องต้นคำสั่งซื้อล่วงหน้าในไตรมาส 2 ภาพรวมยังคงติดลบ แต่ยังประเมินไม่ได้ว่าจะติดลบน้อยกว่าไตรมาสแรกหรือไม่ซึ่งคงจะต้องติดตามอีกระยะหนึ่งเนื่องจากขณะนี้ออร์เดอร์การผลิตส่วนหนึ่งมีการทยอยเข้ามาต่างจากอดีตที่จะสั่งซื้อล็อตใหญ่และสั่งยาวเป็นไตรมาส โดยอุตสาหกรรมหลักๆ ที่มีผลต่อการเติบโตเศรษฐกิจไทยเช่น ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ คำสั่งซื้อยังคงลดลงและทรงตัวในระดับต่ำมีเพียงอุตสาหกรรมอาหารที่ยังเติบโตระดับหนึ่งเท่านั้นซึ่งทำให้ภาพรวมการส่งออกไตรมาส 2 อาจจะติดลบใกล้เคียงกับไตรมาสแรกหรือลดลงเล็กน้อย
“เอกชนเองได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกอยู่แล้วแต่ไตรมาส 2 ยังต้องมารับผลกระทบจากปัจจัยการเมืองอีกซึ่งไม่ต้องการเห็นการเมืองที่นำไปสู่ปัญหาความรุนแรงหรือยืดเยื้อ วิกฤติเศรษฐกิจโลกนั้นควบคุมไม่ได้ แต่วิกฤติการเมืองยังควบคุมได้ โดยคนในประเทศ หากคนไทยต้องเผชิญวิกฤติ 2 ด้านไปพร้อมกันการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กระเตื้องได้ในโดยเร็ว คงไม่เกิดขึ้นแน่ “ นายธนิตกล่าว
นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสายแรงงานส.อ.ท.กล่าวว่า ประเมินออร์เดอร์ไตรมาส 2 แล้วยังมองว่าส่งออกยังคงมีทิศทางทรุดตัวใกล้เคียงกับไตรมาสแรกจะเห็นได้จากการสำรวจความคิดเห็นทิศทางออร์เดอร์ส่วนใหญ่สมาชิกระบุว่ายังคงที่อยู่ดังนั้นเฉลี่ยไตรมาส 2 ยังคงมีทิศทางติดลบเป็นตัวเลข 2 หลักเหมือนไตรมาสแรกแต่จะเป็นอย่างไรคงจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลที่ชัดเจนก่อน
“ต้องยอมรับว่าปี 2552 เป็นปีที่ภาคการผลิตต้องเผชิญวิกฤติมากสุดคงเทียบกับปี 2540 ไม่ได้เพราะตอนนั้นส่งออกแฮปปี้กันเพราะค่าเงินบาทอ่อนค่ามากไปอยู่ 50 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และตลาดส่งออกก็ไม่ได้เป็นปัญหาทำให้การส่งออกนั้นดีมาก และต่างชาติก็มาช้อปของถูกบ้านเราแต่เวลานี้ตรงกันข้ามกัน ภาคการผลิตกำลังจะแย่แล้วมันจะกระทบเป็นลูกโซ่”นายทวีกิจกล่าว
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้โรงงานอุตสาหกรรมเหล็กยังคงใช้อัตราการผลิตที่ต่ำเพียง 30-40% เท่านั้นเพราะสินค้าคงคลังยังคงมีสูงอยู่ทำให้โรงงานเดินเครื่องผลิตตามคำสั่งซื้อเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในแง่ของคำสั่งซื้อเหล็กจากต่างประเทศยังแทบไม่มีเพราะเศรษฐกิจโลกยังชะลอตัว ภาคการก่อสร้างต่างๆ ไม่ได้มากเช่นอดีตประกอบกับอุตสาหกรรมที่ใช้เหล็กต่างเผชิญวิกฤติหมดเช่น ยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
นายสมมาต ขุนเศรษฐ รองเลขาธิการส.อ.ท. ในฐานะทำธุรกิจด้านรองเท้าส่วนตัวแล้วสัญญาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศในกิจการรองเท้าเมื่อตลาดสหรัฐ อียูมีปัญหาคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าจะไม่มีผลกระทบดังนั้นออร์เดอร์ไตรมาส 2 ภาพรวมของอุตสาหกรรมรองเท้าใกล้เคียงกับไตรมาสแรก และคำสั่งซื้อล่วงหน้าที่กำลัเจรจากันในช่วงมี.ค.- เม.ย.ก็จะทำให้รู้ถึงทิศทางการส่งอกไปประมาณเดือน 8-9 ได้หลังจากนั้นก็คงตอบไม่ได้เช่นกัน