ASTVผู้จัดการรายวัน- ส.อ.ท.คาดหวังเทศกาลสงกรานต์นี้แรงซื้อไทยจะคึกคักจากมาตรการจ่ายเช็ค 2,000 บาทแก่ผู้มีรายได้ต่ำของรัฐบาล จับตาเร็ว ๆ นี้ห้างสรรพสินค้า และร้านค้าต่างๆจะเริ่มออกมาจัดโปรโมชั่นเพื่อดึงการใช้เช็ค แนะรัฐบาลทำนโยบายเชิงรุกทางด้านส่งออกด่วนแม้แรงซื้อในประเทศจะดีแต่อย่าลืมศก.พึ่งพิงส่งออกมากกว่า ด้านกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เตรียมเรียกร้องรัฐช่วยอุ้มด่วนก่อนแรงงานในระบบ 5 แสนคนระส่ำ หลังยอดส่งออกม.ค.หด30-40% จี้ของบฯอุดหนุนพยุงการว่าจ้างงาน ลดภาษีสรรพสามิตและภาษีนำเข้าวัตถุดิบ ทำให้ราคาสินค้าถูกลง กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า คาดว่าเร็วๆ นี้ห้างสรรพสินค้า และร้านค้าต่างๆ จะมีการเปิดตัวแผนการส่งเสริมทางการตลาดหรือโปรโมชั่นในการดึงการใช้เงินจากเช็คที่รัฐบาลจะเริ่มทยอยจ่ายตามมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้ต่ำไม่เกิน 1.5 หมื่นบาทที่จะได้รับคนละประมาณ 2,000 บาทให้ตั้งแต่ 26 มี.ค.-8 เม.ย.นี้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวเอกชนคาดว่าจะทำให้เกิดเงินสะพัดเพื่อกระตุ้นแรงซื้อได้อีกระดับหนึ่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์
“คงจะเห็นเคาท์เตอร์ในห้างมีการดึงเช็คออกมาใช้เช่น หากใช้เล็คจะลดราคาสินค้าให้ 10% เป็นต้นซึ่งมาตรการนี้เอกชนก็หวังว่าจะกระตุ้นแรงซื้อในประเทศกลับมาจับจ่ายใช้สอยไม่มากก็น้อยเพราะเม็ดเงินนี้ก็จะมีมากเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งปัจจุบันแรงซื้อหดตัวลงไปมากและยังไม่มีวี่แววว่าจะฟื้นตัวแต่อย่างใดและเงินนี้รัฐบาลเองก็คาดหวังว่าจะออกมาดันแรงซื้อในช่วงสงกรานต์ซึ่งปกติประชาชนจะเดินทางกลับภูมิลำเนาก็น่าจะมีการนำมาใช้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคมากกว่าที่จะเก็บเอาไว้”นายสันติกล่าว
ทั้งนี้เห็นว่ามาตรการกระตุ้นแรงซื้อในประเทศมีความจำเป็นเพื่อรักษาระดับการผลิตภายในแต่อีกส่วนหนึ่งคือภาคการส่งออกรัฐบาลเองก็คงจะต้องมาพิจารณาด้วยเพราะส่งออกนั้นมีผลกระทบต่อการจ้างงานค่อนข้างมากแม้ว่าแรงซื้อในประเทศจะฟื้นตัวแต่คงไม่สามารถไปชดเชยกับส่งออกได้ ซึ่งจำเป็นจะต้องมาพิจารณาเรื่องการหาตลาดใหม่ๆ ร่วมกัน และการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องทางการเงินแก่ผู้ส่งออกขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอี
สำหรับทิศทางของการส่งออกของกลุ่มอุตสาหกรรมโดยรวมขณะนี้มียอดส่งออกลดลงเฉลี่ย 20% ในช่วงม.ค.และก.พ. ซึ่งกรณีที่กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ยื่นข้อเสนอจากภาครัฐนั้นยอมรับว่าทุกกลุ่มอุตสาหกรรมเองก็ลำบากเช่นกันแต่ส่วนของยานยนต์ค่อนข้างไปเกี่ยวข้องกับผู้ผลิตชิ้นส่วนที่เป็นการผลิตโดยคนไทยเป็นส่วนใหญ่จึงต้องมาพิจารณาช่วยเหลือที่จะรักษาฐานในจุดนี้มากกว่า ซึ่งส.อ.ท.ยืนยันหลักการว่าการช่วยเหลือนั้นควรจะมองธุรกิจไทยเป็นหลัก
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า มาตรการเรื่องเช็ค 2,000 บาทนั้นถือเป็นมาตรการที่จะกระตุ้นแรงซื้อในประเทศได้ในระดับหนึ่งซึ่งมาตรการส่วนใหญ่ที่รัฐบาลออกมาจะเน้นไปในเชิงรับเพื่อแก้ไขปัญหาการเลิกจ้างแรงงาน อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังขาดนโยบายเชิงรุกโดยเฉพาะเรื่องของการส่งออกที่จำเป็นจะต้องเร่งดูแลปัญหาสภาพคล่อง ตลาดที่หดตัวลง เพราะเศรษฐกิจไทยค่อนข้างพึ่งพาการส่งออกมากกว่าการตลาดในประเทศ
*** กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กฯร้องก.อุตฯอุ้ม
นายขัติยา ไกรกาญจน์ ประธานกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จะหารือร่วมกับสมาชิกในกลุ่มฯก่อนยื่นหนังสือต่อกระทรวงอุตสาหกรรม และคลังเพื่อเร่งรัดให้รัฐเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมนี้ก่อนที่จะมีการปลดแรงงานมากกว่านี้ โดยจะขอให้รัฐจัดสรรงบประมาณเพื่อรักษาการจ้างงงานให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม ช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายการฝึกอบรมพนักงาน
นอกจากนี้ จะเรียกร้องให้คลังยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มเติม จากเดิมที่เคยยกเว้นไว้ 28 ผลิตภัณฑ์ ยกเลิกการเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย เนื่องอุตสาหกรรมนี้มีการจ้างผลิตชิ้นส่วน ทำให้เกิดภาษีดังกล่าวแฝงเป็นต้นทุนการผลิตอยู่ เชื่อว่าหากรัฐลดภาษีดังกล่าวจะทำให้ราคาสินค้าถูกลง ทำให้เกิดการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น
ที่ผ่านมา ทางผู้ประกอบการได้ปรับลดทุกด้านเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดไม่ว่าจะเป็นลดกำลังการผลิต ลดการทำงานล่วงเวลา ตัดค่าใช้จ่ายต่างๆตลอดจนไปถึงการปลดแรงงานรับเหมาช่วง เพื่อรับมือ แต่วิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้รุนแรงมากทำให้คำสั่งซื้อสินค้าหดหายมาก
จากตัวเลขการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนม.ค. 2552 ลดลง %% ตามลำดับ ซึ่งเป็นการปรับลดลงค่อนข้างลึก คาดว่าในไตรมาส 2 ตัวเลขการส่งออกน่าจะดีขึ้นกว่าไตรมาส1/2552 แต่ยังติดลบอยู่ คาดว่าทั้งปีมูลค่าการส่งออกจะลดลงกว่า 10%
ทั้งนี้ กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยส่งออกแต่ละปีคิดเป็นมูลค่า 1.6 ล้านล้านบาท แต่มูลค่าการนำเข้าสูงถึง 1 ล้านล้านบาท หากรัฐช่วยเหลือด้านลดภาษีวัตถุดิบและภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะทำให้ผู้ประกอบการหันมาใช้อุปกรณ์และสินค้าที่ผลิตในประเทศมากขึ้น
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า คาดว่าเร็วๆ นี้ห้างสรรพสินค้า และร้านค้าต่างๆ จะมีการเปิดตัวแผนการส่งเสริมทางการตลาดหรือโปรโมชั่นในการดึงการใช้เงินจากเช็คที่รัฐบาลจะเริ่มทยอยจ่ายตามมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้ต่ำไม่เกิน 1.5 หมื่นบาทที่จะได้รับคนละประมาณ 2,000 บาทให้ตั้งแต่ 26 มี.ค.-8 เม.ย.นี้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวเอกชนคาดว่าจะทำให้เกิดเงินสะพัดเพื่อกระตุ้นแรงซื้อได้อีกระดับหนึ่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์
“คงจะเห็นเคาท์เตอร์ในห้างมีการดึงเช็คออกมาใช้เช่น หากใช้เล็คจะลดราคาสินค้าให้ 10% เป็นต้นซึ่งมาตรการนี้เอกชนก็หวังว่าจะกระตุ้นแรงซื้อในประเทศกลับมาจับจ่ายใช้สอยไม่มากก็น้อยเพราะเม็ดเงินนี้ก็จะมีมากเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งปัจจุบันแรงซื้อหดตัวลงไปมากและยังไม่มีวี่แววว่าจะฟื้นตัวแต่อย่างใดและเงินนี้รัฐบาลเองก็คาดหวังว่าจะออกมาดันแรงซื้อในช่วงสงกรานต์ซึ่งปกติประชาชนจะเดินทางกลับภูมิลำเนาก็น่าจะมีการนำมาใช้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคมากกว่าที่จะเก็บเอาไว้”นายสันติกล่าว
ทั้งนี้เห็นว่ามาตรการกระตุ้นแรงซื้อในประเทศมีความจำเป็นเพื่อรักษาระดับการผลิตภายในแต่อีกส่วนหนึ่งคือภาคการส่งออกรัฐบาลเองก็คงจะต้องมาพิจารณาด้วยเพราะส่งออกนั้นมีผลกระทบต่อการจ้างงานค่อนข้างมากแม้ว่าแรงซื้อในประเทศจะฟื้นตัวแต่คงไม่สามารถไปชดเชยกับส่งออกได้ ซึ่งจำเป็นจะต้องมาพิจารณาเรื่องการหาตลาดใหม่ๆ ร่วมกัน และการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องทางการเงินแก่ผู้ส่งออกขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอี
สำหรับทิศทางของการส่งออกของกลุ่มอุตสาหกรรมโดยรวมขณะนี้มียอดส่งออกลดลงเฉลี่ย 20% ในช่วงม.ค.และก.พ. ซึ่งกรณีที่กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ยื่นข้อเสนอจากภาครัฐนั้นยอมรับว่าทุกกลุ่มอุตสาหกรรมเองก็ลำบากเช่นกันแต่ส่วนของยานยนต์ค่อนข้างไปเกี่ยวข้องกับผู้ผลิตชิ้นส่วนที่เป็นการผลิตโดยคนไทยเป็นส่วนใหญ่จึงต้องมาพิจารณาช่วยเหลือที่จะรักษาฐานในจุดนี้มากกว่า ซึ่งส.อ.ท.ยืนยันหลักการว่าการช่วยเหลือนั้นควรจะมองธุรกิจไทยเป็นหลัก
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า มาตรการเรื่องเช็ค 2,000 บาทนั้นถือเป็นมาตรการที่จะกระตุ้นแรงซื้อในประเทศได้ในระดับหนึ่งซึ่งมาตรการส่วนใหญ่ที่รัฐบาลออกมาจะเน้นไปในเชิงรับเพื่อแก้ไขปัญหาการเลิกจ้างแรงงาน อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังขาดนโยบายเชิงรุกโดยเฉพาะเรื่องของการส่งออกที่จำเป็นจะต้องเร่งดูแลปัญหาสภาพคล่อง ตลาดที่หดตัวลง เพราะเศรษฐกิจไทยค่อนข้างพึ่งพาการส่งออกมากกว่าการตลาดในประเทศ
*** กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กฯร้องก.อุตฯอุ้ม
นายขัติยา ไกรกาญจน์ ประธานกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จะหารือร่วมกับสมาชิกในกลุ่มฯก่อนยื่นหนังสือต่อกระทรวงอุตสาหกรรม และคลังเพื่อเร่งรัดให้รัฐเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมนี้ก่อนที่จะมีการปลดแรงงานมากกว่านี้ โดยจะขอให้รัฐจัดสรรงบประมาณเพื่อรักษาการจ้างงงานให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม ช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายการฝึกอบรมพนักงาน
นอกจากนี้ จะเรียกร้องให้คลังยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มเติม จากเดิมที่เคยยกเว้นไว้ 28 ผลิตภัณฑ์ ยกเลิกการเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย เนื่องอุตสาหกรรมนี้มีการจ้างผลิตชิ้นส่วน ทำให้เกิดภาษีดังกล่าวแฝงเป็นต้นทุนการผลิตอยู่ เชื่อว่าหากรัฐลดภาษีดังกล่าวจะทำให้ราคาสินค้าถูกลง ทำให้เกิดการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น
ที่ผ่านมา ทางผู้ประกอบการได้ปรับลดทุกด้านเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดไม่ว่าจะเป็นลดกำลังการผลิต ลดการทำงานล่วงเวลา ตัดค่าใช้จ่ายต่างๆตลอดจนไปถึงการปลดแรงงานรับเหมาช่วง เพื่อรับมือ แต่วิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้รุนแรงมากทำให้คำสั่งซื้อสินค้าหดหายมาก
จากตัวเลขการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนม.ค. 2552 ลดลง %% ตามลำดับ ซึ่งเป็นการปรับลดลงค่อนข้างลึก คาดว่าในไตรมาส 2 ตัวเลขการส่งออกน่าจะดีขึ้นกว่าไตรมาส1/2552 แต่ยังติดลบอยู่ คาดว่าทั้งปีมูลค่าการส่งออกจะลดลงกว่า 10%
ทั้งนี้ กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยส่งออกแต่ละปีคิดเป็นมูลค่า 1.6 ล้านล้านบาท แต่มูลค่าการนำเข้าสูงถึง 1 ล้านล้านบาท หากรัฐช่วยเหลือด้านลดภาษีวัตถุดิบและภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะทำให้ผู้ประกอบการหันมาใช้อุปกรณ์และสินค้าที่ผลิตในประเทศมากขึ้น