ASTVผู้จัดการรายวัน –ตลาดหุ้นไทยช้ำ เจอมรสุมกระหน่ำสองด้าน ทั้งภายนอกและในประเทศ ฉุดดัชนีลดลง 11.21 จุด โบรกเกอร์เอือม “แม้ว”โฟนอินปลุกระดมถี่ กระตุ้นเสื้อแดงยิ่งป่าเถื่อน สร้างความกังวลต่อนักลงทุนหวั่นปัญหาบานปลาย เร่งรัฐรีบควบคุมหากละเลยอาจสายเกินแก้ อีกทั้งบางถ้อยคำอาจผิดกม.เข้าข่ายล่วงเกินสถาบัน ขณะที่ตลาดหุ้นทั่วภูมิภาคดัชนีวูบลงถ้วนหน้า เหตุนักลงทุนผิดหวังกับสหรัฐฯที่ปฏิเสธแผนปรับโครงสร้างหนี้2ค่ายรถยนต์ชื่อดัง ด้านนักลงทุนต่างชาติยืนยันไม่ย้ายฐานการผลิตออกจากไทยแน่ แต่ งง!ม็อบป่วนเมืองไม่สนใจปัญหาปากท้อง มุ่งเพียงแต่ขับไล่
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ (30มี.ค.) ปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นในภูมิภาคจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาได้ส่งผลด้านจิตวิทยามาถึงตลาดหุ้นต่างๆในย่านนี้ โดยปิดที่ 429.60จุด ลดลง 11.21จุด หรือ -2.54% มูลค่าการซื้อขาย 8,522.58 ล้านบาท ส่วนความเคลื่อนไหวระหว่างวันดัชนีปรับตัวสูงสุดที่ 436.07จุด และต่ำสุดที่ 426.44จุด ส่วนหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงวานนี้ เพิ่มขึ้น 61 หลักทรัพย์ ลดลง 263 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 84 หลักทรัพย์ นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 592.19 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงต่างประเทศที่ซื้อสุทธิ 49.14 ล้านบาท มีเพียงสถาบันที่ขายสุทธิ 641.33 ล้านบาท
ขณะที่ตลาดหุ้นในภูมิภาคมตั้งแต่ ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดตลาดร่วงลงหนักสุด67.9จุด หรือ 1.8% แตะ3,604.4จุด นับตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตกลงและส่งผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มพลังงานและเหมือง
ด้านดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดตลาดดิ่งลงกว่า 390 จุด เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับชะตากรรมของบริษัทรถยนต์ในสหรัฐ นอกจากนี้ นักลงทุนยังเทขายทำกำไรหลังจากดัชนีทะยานขึ้นแข็งแกร่งเมื่อหลายวันก่อน โดยลดลง 390.89 จุด หรือ 4.53% แตะที่ 8,236.08 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 วัน
ดัชนีเวทเต็ดตลาดหุ้นไต้หวันปิดดิ่งลงอย่างหนัก184.65 จุด หรือ 3.43% ปิดที่ 5,206.05 จุด มูลค่าการซื้อขายปานกลางที่ 107.4 แสนล้านดอลลาร์ไต้หวัน เนื่องจากนักลงทุนขายทำกำไรหุ้นกลุ่มการเงินที่เดินหน้าคึกคักในช่วงห้าวันทำการที่ผ่านมา ,ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดตลาดร่วงลงกว่า 40.05 จุด หรือ 3.24% แตะ 1,197.46 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.8 ล้านล้านวอน หรือ 3.45 พันล้านดอลลาร์ เพราะนักลงทุนมีความวิตกกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับบริษัทรถของสหรัฐขณะที่ค่าเงินวอนร่วงลงอย่างหนักเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
ส่วนเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนปิดตลาดอ่อนตัวลงลบ 16.4 จุด หรือ 0.69% แตะ 2,358.04 จุด ด้านดัชนีหุ้นเสิ่นเจิ้น ลบ 83.73 จุด หรือ 0.93% แตะ 8,910.42 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.28 แสนล้านหยวน ตามตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่รับปัจจัยลบจากข่าวรัฐบาลสหรัฐเมินให้ความช่วยเหลือบริษัทรถรายใหญ่ของประเทศ
สำหรับดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงปิดปรับตัวลดลง จากการปฏิเสธให้ความช่วยเหลือของรัฐฐาลสหรัฐฯเช่นกัน โดยร่วงลงถึง 663.17 จุด หรือ 4.7% ปิดที่ 13,456.33 จุด และดัชนีสเตรทส์ไทม์ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 1,673.14 ลบ 72.52 จุด
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ได้ให้เหตุผลถึงการปรับตัวลดลงของดัชนีหุ้นไทยวานนี้ว่า เป็นการปรับตัวลง ตามตลาดทั่วโลกที่รับปัจจัยลบจากตลาดวอลสตรีท ซึ่งรับแรง take profit จากกลุ่มสถาบันการเงิน หลังผู้บริหารของเจพี มอร์แกน เชส แอนด์ โค ได้ออกมาบอกถึงแนวโน้มผลการดำเนินงานในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่าไม่ดี รวมทั้งปัญหาทางการเมืองในประเทศจากการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง ทำให้นักลงทุนต่างชาติยังไม่กล้าลงทุน ส่วนวันนี้คาดตลาดฯยังแย่อยู่ พร้อมให้แนวรับ 415-416 แนวต้าน 430 จุด
เซ็งโฟนอินกระหน่ำตลาดหุ้น
นายวรุตม์ ศิวะศริยานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟินันซ่า จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจัยลบหลักที่กดดันให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยวานนี้ปรับตัวลงแรงกว่า 2.5% มาจากความร้อนแรงของสถานการณ์การเมืองจากการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) มีท่าทีแข็งกร้าวขึ้นทุกขณะและจำนวนผู้ชุมนุมหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่อดีตนายกรัฐมนตรี โฟนอินเข้ามาปลุกระดมถี่ขึ้นด้วยเนื้อหาที่กล่าวพาดพิงในแง่ลบถึงบุคคลสำคัญที่เชื่อมโยงถึงเบื้องสูง อันป็นเหตุให้ทางฝ่ายตรงข้ามเริ่มมีปฎิกริยาตอบโต้และชักนำสู่ความรุนแรง
ขณะที่ตลาดหุ้นต่างประเทศวานนี้ปรับลงในทิศทางเดียวกันทั่วโลกจากที่ผู้บริหารของสถาบันการเงินหลายแห่งออกมายอมรับว่าผลประกอบการในเดือนมีนาคมจะย่ำแย่ลงตามภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้มีแรงขาย หุ้นกลุ่มการเงินออกมาทั่วโลก ผนวกกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงส่งผลให้มีแรงขายหุ้นกลุ่มพลังงานออกมาเช่นกัน
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้คาดการณ์ว่าดัชนียังตกอยู่ภายใต้แรงกดดันของความเสี่ยงทางการเมืองที่กลับมาเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศอีกครั้งจากกลุ่ม นปช. มีการปลุกระดมมวลชนปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล และให้กลุ่มเสื้อแดงในต่างจังหวัดปิดล้อมศาลากลางจังหวัด อีกทั้งถ้อยคำที่จาบจ้วงถึงประธานองคมนตรีในฐานะผู้แทนพระองค์โดยตรงของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถือเป็นการส่งสัญญาณว่าพร้อมที่จะแตกหัก เพราะคำพูดดังกล่าวอาจมีความผิดตามกฎหมายรัฐธรรมนูญในบทบัญญัติของการก้าวล่วงสถาบันองคมนตรี ซึ่งเป็นตัวแทนของสถาบันพระมหากษัตริย์
ฉะนั้นรัฐบาลจึงต้องเข้ามาควบคุมการชุมนุมและแจ้งข้อหากับกลุ่ม นปช.เพราะหากไม่ดำเนินการจะผิดกฎหมายฐานละเลยการปฏิบัติหน้าที่อันจะยิ่งส่งผลให้เกิดการต่อต้านและนำไปสู่ความรุนแรงอีกครั้ง
นอกจากนี้ ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศยังเป็นลบจากข่าวที่รัฐบาลสหรัฐฯ ปฎิเสธแผนปรับโครงสร้างหนี้ของจีเอ็มและไครส์เลอร์ รวมถึงตัวเลขว่างงานและจ้างงานนอกภาคเกษตรที่มีแนวโน้มย่ำแย่จึงแนะนำนักลงทุนระยะสั้นชะลอการลงทุนอย่างไรก็ตาม ประเมินแนวรับ 410 จุด และแนวต้าน 430 จุด
ด้านนาวสาวอาภาภรณ์ แสวงพรรค รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) หรือ DBS เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวลดลงตามตลาดภูมิภาคทั่วโลก เหตุจากความผิดหวังจากคณะทำงานเฉพาะกิจด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ของฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ปฏิเสธแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทเจเนอรัลมอเตอร์ส (GM) และบริษัทไครสเลอร์ ซึ่งจะทำให้มีแรงเทขายในตลาดหุ้นยุโรป และเอเชีย ในขณะที่นักลงทุนบางส่วนเริ่มหันมาให้น้ำหนักกับสถานการณ์การเมืองในประเทศมากขึ้นเมื่อเทียบกับ ช่วงที่ผ่านมา เพราะอาจจะกระทบต่อความเชื่อมั่นและซ้ำเติมภาวะการลงทุนให้ย่ำแย่ลงอีก
“ปัจจัยภายนอกประเทศหลังรัฐบาลสหรัฐฯ คัดค้านแผนการปรับโครงสร้างของ 2 ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ ถือเป็นสัญญาณที่เลวร้ายต่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์สหรัฐฯ อีกทั้งสถานการณ์การเมืองที่ทวีความร้อนแรงขึ้นทุกขณะจากการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ ที่เฝ้ารวมตัวกันเพื่อติดตามวิดีโอลิงค์ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยมีเนื้อหาโจมตีบุคคลสำคัญของประเทศหลายคน”
สำหรับแนวโน้มวันนี้คาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯอาจมีการอ่อนตัวลงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของสหรัฐฯบริษัทเจเนอรัล มอเตอร์ส และบริษัทไครสเลอร์ ว่าจะมีบทสรุปออกมาในรูปแบบใด โดยประเมินกรอบแนวรับที่ 400-410 จุด แนวต้าน 435-440 จุด กลยุทธ์แนะนำนักลงทุนรอซื้อเมื่อดัชนีอ่อนตัว ซื้อหุ้นที่มีพื้นฐานดีและเป็นหุ้นบิ๊กแคปขนาดใหญ่ อาทิ BANPU,CPALL,TUF
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เกิดการผันผวนติดลบจากแรงกดดันตามตลาดต่างประเทศ จากการที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ปฏิเสธแผนฟื้นฟูกิจการของ จีเอ็ม และไครสเลอร์ ส่งผลให้นักลงทุนเทขายในตลาดหุ้นยุโรป และเอเชีย ซึ่งการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นไทยนั้น ปัจจัยหลักมีผลจากตลาดหุ้นทั่วโลกมากกว่าปัจจัยการเมืองภายในประเทศ
โดยปัจจัยการเมืองภายในประเทศที่เกิดจากการชุมนุมของกลุ่มนปช. คงไม่ได้เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความผันผวนกับตลาดหุ้นไทยมากนัก และมองว่าเป็นเพียงสถานการณ์ช่วงสั้นๆที่อาจส่งผลกับความไม่มั่นใจในระยะหนึ่ง ซึ่งปัจจัยหลักๆน่าจะมาจากสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกเป็นส่วนใหญ่ ที่ขณะนี้ถือเป็นสิ่งที่คนทั่วโลกให้ความสนใจกับปากท้องความเป็นอยู่มากกว่าสิ่งอื่นใด อีกทั้งคาดว่ารัฐบาลจะมีวิธีในการเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างดี โดยประเมินกรอบแนวรับที่ 420 จุด แนวต้านที่ 432 จุด แนะนักลงทุนรอซื้อ
ต่างชาติยัน ยังคงไม่ย้ายฐานจากไทย
นายปีเตอร์จอนแวนฮาเรน อดีตประธานหอการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า สถานการณ์ทางการเมือง หลัง กลุ่มนปช. ชุมนุมปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล ขณะที่ในต่างจังหวัดมีการรวมตัวที่ศาลากลางจังหวัดทั่วประเทศว่า เท่าที่ได้พูดคุยกับ นักลงทุนต่างชาติ ส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจการชุมนุมของนปช. ทั้งๆที่ประเทศไทย กำลังเผชิญ กับปัญหาทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลพวงจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก น่าจะหันหน้าช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศมากกว่าอย่างไรก็ตามแม้นักลงทุนต่างประเทศจะไม่เข้าใจ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ยังไม่มีการตัดสินใจ ย้ายฐานการผลิต แต่อาจจะกลับมาทบทวนการลงทุนใหม่หาก สถานการณ์ชุมนุมเรียกร้อง บานปลาย รวมทั้งกำลังรอดูท่าทีของรัฐบาลว่าจะสามารถจัดการปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่
“นักลงทุนต่างประเทศในไทยหลายคนเริ่มรู้สึกเคยชินกับสถานการณ์การเรียกร้องในไทยจากกลุ่มต่างๆ และว่าครั้งนี้นับเป็นโชคดีของประเทศไทย ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้นักลงทุน จึงไม่ได้ให้น้ำหนักกับ ปัญหาในประเทศไทย มากนักเมื่อเทียบกับปัญหาในประเทศของตนเอง”
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ (30มี.ค.) ปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นในภูมิภาคจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาได้ส่งผลด้านจิตวิทยามาถึงตลาดหุ้นต่างๆในย่านนี้ โดยปิดที่ 429.60จุด ลดลง 11.21จุด หรือ -2.54% มูลค่าการซื้อขาย 8,522.58 ล้านบาท ส่วนความเคลื่อนไหวระหว่างวันดัชนีปรับตัวสูงสุดที่ 436.07จุด และต่ำสุดที่ 426.44จุด ส่วนหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงวานนี้ เพิ่มขึ้น 61 หลักทรัพย์ ลดลง 263 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 84 หลักทรัพย์ นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 592.19 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงต่างประเทศที่ซื้อสุทธิ 49.14 ล้านบาท มีเพียงสถาบันที่ขายสุทธิ 641.33 ล้านบาท
ขณะที่ตลาดหุ้นในภูมิภาคมตั้งแต่ ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดตลาดร่วงลงหนักสุด67.9จุด หรือ 1.8% แตะ3,604.4จุด นับตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตกลงและส่งผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มพลังงานและเหมือง
ด้านดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดตลาดดิ่งลงกว่า 390 จุด เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับชะตากรรมของบริษัทรถยนต์ในสหรัฐ นอกจากนี้ นักลงทุนยังเทขายทำกำไรหลังจากดัชนีทะยานขึ้นแข็งแกร่งเมื่อหลายวันก่อน โดยลดลง 390.89 จุด หรือ 4.53% แตะที่ 8,236.08 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 วัน
ดัชนีเวทเต็ดตลาดหุ้นไต้หวันปิดดิ่งลงอย่างหนัก184.65 จุด หรือ 3.43% ปิดที่ 5,206.05 จุด มูลค่าการซื้อขายปานกลางที่ 107.4 แสนล้านดอลลาร์ไต้หวัน เนื่องจากนักลงทุนขายทำกำไรหุ้นกลุ่มการเงินที่เดินหน้าคึกคักในช่วงห้าวันทำการที่ผ่านมา ,ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดตลาดร่วงลงกว่า 40.05 จุด หรือ 3.24% แตะ 1,197.46 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.8 ล้านล้านวอน หรือ 3.45 พันล้านดอลลาร์ เพราะนักลงทุนมีความวิตกกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับบริษัทรถของสหรัฐขณะที่ค่าเงินวอนร่วงลงอย่างหนักเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
ส่วนเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนปิดตลาดอ่อนตัวลงลบ 16.4 จุด หรือ 0.69% แตะ 2,358.04 จุด ด้านดัชนีหุ้นเสิ่นเจิ้น ลบ 83.73 จุด หรือ 0.93% แตะ 8,910.42 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.28 แสนล้านหยวน ตามตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่รับปัจจัยลบจากข่าวรัฐบาลสหรัฐเมินให้ความช่วยเหลือบริษัทรถรายใหญ่ของประเทศ
สำหรับดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงปิดปรับตัวลดลง จากการปฏิเสธให้ความช่วยเหลือของรัฐฐาลสหรัฐฯเช่นกัน โดยร่วงลงถึง 663.17 จุด หรือ 4.7% ปิดที่ 13,456.33 จุด และดัชนีสเตรทส์ไทม์ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 1,673.14 ลบ 72.52 จุด
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ได้ให้เหตุผลถึงการปรับตัวลดลงของดัชนีหุ้นไทยวานนี้ว่า เป็นการปรับตัวลง ตามตลาดทั่วโลกที่รับปัจจัยลบจากตลาดวอลสตรีท ซึ่งรับแรง take profit จากกลุ่มสถาบันการเงิน หลังผู้บริหารของเจพี มอร์แกน เชส แอนด์ โค ได้ออกมาบอกถึงแนวโน้มผลการดำเนินงานในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่าไม่ดี รวมทั้งปัญหาทางการเมืองในประเทศจากการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง ทำให้นักลงทุนต่างชาติยังไม่กล้าลงทุน ส่วนวันนี้คาดตลาดฯยังแย่อยู่ พร้อมให้แนวรับ 415-416 แนวต้าน 430 จุด
เซ็งโฟนอินกระหน่ำตลาดหุ้น
นายวรุตม์ ศิวะศริยานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟินันซ่า จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจัยลบหลักที่กดดันให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยวานนี้ปรับตัวลงแรงกว่า 2.5% มาจากความร้อนแรงของสถานการณ์การเมืองจากการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) มีท่าทีแข็งกร้าวขึ้นทุกขณะและจำนวนผู้ชุมนุมหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่อดีตนายกรัฐมนตรี โฟนอินเข้ามาปลุกระดมถี่ขึ้นด้วยเนื้อหาที่กล่าวพาดพิงในแง่ลบถึงบุคคลสำคัญที่เชื่อมโยงถึงเบื้องสูง อันป็นเหตุให้ทางฝ่ายตรงข้ามเริ่มมีปฎิกริยาตอบโต้และชักนำสู่ความรุนแรง
ขณะที่ตลาดหุ้นต่างประเทศวานนี้ปรับลงในทิศทางเดียวกันทั่วโลกจากที่ผู้บริหารของสถาบันการเงินหลายแห่งออกมายอมรับว่าผลประกอบการในเดือนมีนาคมจะย่ำแย่ลงตามภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้มีแรงขาย หุ้นกลุ่มการเงินออกมาทั่วโลก ผนวกกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงส่งผลให้มีแรงขายหุ้นกลุ่มพลังงานออกมาเช่นกัน
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้คาดการณ์ว่าดัชนียังตกอยู่ภายใต้แรงกดดันของความเสี่ยงทางการเมืองที่กลับมาเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศอีกครั้งจากกลุ่ม นปช. มีการปลุกระดมมวลชนปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล และให้กลุ่มเสื้อแดงในต่างจังหวัดปิดล้อมศาลากลางจังหวัด อีกทั้งถ้อยคำที่จาบจ้วงถึงประธานองคมนตรีในฐานะผู้แทนพระองค์โดยตรงของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถือเป็นการส่งสัญญาณว่าพร้อมที่จะแตกหัก เพราะคำพูดดังกล่าวอาจมีความผิดตามกฎหมายรัฐธรรมนูญในบทบัญญัติของการก้าวล่วงสถาบันองคมนตรี ซึ่งเป็นตัวแทนของสถาบันพระมหากษัตริย์
ฉะนั้นรัฐบาลจึงต้องเข้ามาควบคุมการชุมนุมและแจ้งข้อหากับกลุ่ม นปช.เพราะหากไม่ดำเนินการจะผิดกฎหมายฐานละเลยการปฏิบัติหน้าที่อันจะยิ่งส่งผลให้เกิดการต่อต้านและนำไปสู่ความรุนแรงอีกครั้ง
นอกจากนี้ ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศยังเป็นลบจากข่าวที่รัฐบาลสหรัฐฯ ปฎิเสธแผนปรับโครงสร้างหนี้ของจีเอ็มและไครส์เลอร์ รวมถึงตัวเลขว่างงานและจ้างงานนอกภาคเกษตรที่มีแนวโน้มย่ำแย่จึงแนะนำนักลงทุนระยะสั้นชะลอการลงทุนอย่างไรก็ตาม ประเมินแนวรับ 410 จุด และแนวต้าน 430 จุด
ด้านนาวสาวอาภาภรณ์ แสวงพรรค รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) หรือ DBS เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวลดลงตามตลาดภูมิภาคทั่วโลก เหตุจากความผิดหวังจากคณะทำงานเฉพาะกิจด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ของฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ปฏิเสธแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทเจเนอรัลมอเตอร์ส (GM) และบริษัทไครสเลอร์ ซึ่งจะทำให้มีแรงเทขายในตลาดหุ้นยุโรป และเอเชีย ในขณะที่นักลงทุนบางส่วนเริ่มหันมาให้น้ำหนักกับสถานการณ์การเมืองในประเทศมากขึ้นเมื่อเทียบกับ ช่วงที่ผ่านมา เพราะอาจจะกระทบต่อความเชื่อมั่นและซ้ำเติมภาวะการลงทุนให้ย่ำแย่ลงอีก
“ปัจจัยภายนอกประเทศหลังรัฐบาลสหรัฐฯ คัดค้านแผนการปรับโครงสร้างของ 2 ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ ถือเป็นสัญญาณที่เลวร้ายต่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์สหรัฐฯ อีกทั้งสถานการณ์การเมืองที่ทวีความร้อนแรงขึ้นทุกขณะจากการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ ที่เฝ้ารวมตัวกันเพื่อติดตามวิดีโอลิงค์ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยมีเนื้อหาโจมตีบุคคลสำคัญของประเทศหลายคน”
สำหรับแนวโน้มวันนี้คาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯอาจมีการอ่อนตัวลงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของสหรัฐฯบริษัทเจเนอรัล มอเตอร์ส และบริษัทไครสเลอร์ ว่าจะมีบทสรุปออกมาในรูปแบบใด โดยประเมินกรอบแนวรับที่ 400-410 จุด แนวต้าน 435-440 จุด กลยุทธ์แนะนำนักลงทุนรอซื้อเมื่อดัชนีอ่อนตัว ซื้อหุ้นที่มีพื้นฐานดีและเป็นหุ้นบิ๊กแคปขนาดใหญ่ อาทิ BANPU,CPALL,TUF
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เกิดการผันผวนติดลบจากแรงกดดันตามตลาดต่างประเทศ จากการที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ปฏิเสธแผนฟื้นฟูกิจการของ จีเอ็ม และไครสเลอร์ ส่งผลให้นักลงทุนเทขายในตลาดหุ้นยุโรป และเอเชีย ซึ่งการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นไทยนั้น ปัจจัยหลักมีผลจากตลาดหุ้นทั่วโลกมากกว่าปัจจัยการเมืองภายในประเทศ
โดยปัจจัยการเมืองภายในประเทศที่เกิดจากการชุมนุมของกลุ่มนปช. คงไม่ได้เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความผันผวนกับตลาดหุ้นไทยมากนัก และมองว่าเป็นเพียงสถานการณ์ช่วงสั้นๆที่อาจส่งผลกับความไม่มั่นใจในระยะหนึ่ง ซึ่งปัจจัยหลักๆน่าจะมาจากสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกเป็นส่วนใหญ่ ที่ขณะนี้ถือเป็นสิ่งที่คนทั่วโลกให้ความสนใจกับปากท้องความเป็นอยู่มากกว่าสิ่งอื่นใด อีกทั้งคาดว่ารัฐบาลจะมีวิธีในการเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างดี โดยประเมินกรอบแนวรับที่ 420 จุด แนวต้านที่ 432 จุด แนะนักลงทุนรอซื้อ
ต่างชาติยัน ยังคงไม่ย้ายฐานจากไทย
นายปีเตอร์จอนแวนฮาเรน อดีตประธานหอการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า สถานการณ์ทางการเมือง หลัง กลุ่มนปช. ชุมนุมปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล ขณะที่ในต่างจังหวัดมีการรวมตัวที่ศาลากลางจังหวัดทั่วประเทศว่า เท่าที่ได้พูดคุยกับ นักลงทุนต่างชาติ ส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจการชุมนุมของนปช. ทั้งๆที่ประเทศไทย กำลังเผชิญ กับปัญหาทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลพวงจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก น่าจะหันหน้าช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศมากกว่าอย่างไรก็ตามแม้นักลงทุนต่างประเทศจะไม่เข้าใจ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ยังไม่มีการตัดสินใจ ย้ายฐานการผลิต แต่อาจจะกลับมาทบทวนการลงทุนใหม่หาก สถานการณ์ชุมนุมเรียกร้อง บานปลาย รวมทั้งกำลังรอดูท่าทีของรัฐบาลว่าจะสามารถจัดการปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่
“นักลงทุนต่างประเทศในไทยหลายคนเริ่มรู้สึกเคยชินกับสถานการณ์การเรียกร้องในไทยจากกลุ่มต่างๆ และว่าครั้งนี้นับเป็นโชคดีของประเทศไทย ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้นักลงทุน จึงไม่ได้ให้น้ำหนักกับ ปัญหาในประเทศไทย มากนักเมื่อเทียบกับปัญหาในประเทศของตนเอง”