ตลาดหุ้นไทยรูดหลุด 800 จุด หลังราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงเกือบ 10% มาแตะระดับ 100 เหรียญต่อบาร์เรลอีกครั้ง ขณะที่ปัจจัยในประเทศระอุอีกครั้งหลังศาลฎีกามีคำสั่งรับฟ้องคดีในแดง "ยุทธตู้เย็น" ด้านฝรั่งกระหน่ำทิ้งเพิ่มอีก 3 พันล้านบาท โบรกเกอร์แนะจับตาทิศทางตลาดหุ้นดาวโจนส์ ระบุยังต้องรอลุ้นกนง.พิจารณาปรับลดดอกเบี้ย 9 เม.ย.นี้ ขณะที่ตลาดหุ้นรอครม. ไฟเขียวตั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (20 มี.ค.) ดัชนีปรับตัวอยู่ในแดนลบตลอดทั้งวัน จากแรงขายหุ้นกลุ่มน้ำมัน หลังราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง เนื่องจากตัวเลขสต็อกน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น บวกกับกรณีที่ศาลฎีการับคำฟ้องคดีใบแดงนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาการลงทุน โดยดัชนีปรับตัวลดลงปิดที่ 798.11 จุด ลดลง 9.56 จุด หรือลดลง 1.18% โดยระหว่างวันมีจุดสูงสุดที่ 801.64 จุด ต่ำสุด 796.23 จุด มูลค่าการซื้อขาย 15,484.35 ล้านบาท
ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลดลงมากที่สุด 2.07% โดยบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU ปรับตัวลดลงมาปิดที่ 390 บาท ลดลง 18 บาท คิดเป็น 4.41% ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,979.02 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 113.59 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,865.43 ล้านบาท
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้(20 มี.ค.) ปรับตัวลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันมีการปรับตัวลดลงมาประมาณ 8-9% มาอยู่ที่ระดับ100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากการที่ตัวเลขน้ำมันสำรองปรับตัวสูงขึ้น จึงทำให้นักลงทุนมีการขายทำกำไรหุ้นกลุ่มพลังงานออกมา โดยหุ้นกลุ่มน้ำมันมีการปรับตัวลดลง 2% เชื่อว่าเป็นนักลงทุนต่างประเทศที่เป็นนักลงทุนระยะยาวที่มีตุ้นทุนในการลงทุนต่ำ มีการขายหุ้นเพิ่มทำกำไรออกมา
ทั้งนี้ในช่วง1-2 เดือนที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยได้รับปัจจัยบวกจากการที่รัฐบาลมีการกระตุ้นการลงทุนซึ่งผลดีต่อตลาดหุ้น โดยในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยถือว่ามีการปรับตัวลดลงต่ำกว่าภูมิภาค จึงทำให้นักลงทุนมีการขายหุ้นในตลาดหุ้นไทยออกมา ซึ่งถือว่าเป็นการปรับฐานของตลาดหุ้นไทย ส่วนการที่ราคาทองคำปรับตัวดลงมา 100 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ มาอยู่ที่ระดับ 900 เหรียญสหรัฐฯต่อออนซ์ ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมัน
ส่วนปัจจัยการเมืองนั้นจากการที่ศาลฎีการับคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ขอให้ศาลเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง นายยงยุทธ ติยะไพรัช ซึ่งกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ( ส.ว.) พ.ศ.2550 ในการกระทำทุจริตการเลือกตั้ง ส่วนในกรณีการยุบพรรคชาติไทยและมัชฌิมาธิปไตยนั้นถือว่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่จะสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนว่าจะมีการยุบพรรคการเมือง 2 บริษัท รวมทั้งยังมีการพิจารณายุบพรรคพลังประชาชนเพิ่มอีก 1 แห่งหรือไม่ ทำให้การเมืองไทยขาดเสถียรภาพ จึงกดดันตลาดหุ้นไทยต่อไป
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทย วันนี้ (21 มี.ค.) คาดว่าดัชนีฯจะยังคงปรับตัวลดลง เพราะยังมีสัญญาแรงขายทางเทคนิคออกมา และปัจจัยการเมืองยังคงกดดันตลาดหุ้นไทย และเชื่อว่านักลงทุนต่างประเทศยังคงมีแรงขายหุ้นไทยออกมาต่อเนื่องจากที่ผ่านมานักลงทุนต่างประเทศมีการเข้ามาลงทุนในหุ้นไทยจำนวนมาก จึงมีการเทขายทำกำไร โดยมองแนวรับที่ระดับ 785 จุด แนวต้านที่ระดับ 805 จุด
***นักลงทุนไม่คลายกังวลพิษซับไพรม์
นางภรณี ทองเย็น ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บล.เอเชียพลัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง จาก 2 ปัจจัย คือ แรงขายจากนักลงทุนต่างชาติที่ยังมีความกังวลกับปัญหาซับไพรม์ แม้เฟดจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ที่ผ่ามา ลงอีก 0.75% เหลือ 2.25%
ส่วนปัจจัยอีกส่วน คือ สถานการณ์ทางการเมืองหลังศาลฎีกาประทับรับฟ้องกรณี นายยงยุทธ ติยะไพรัช ทำให้หมดสิทธิ์ทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรจนกว่าศาลฎีกาจะมีคำพิพากษา ซึ่งกรณีนี้สะท้อนไปถึงแนวทางการยุบพรรคพลังประชาชนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นปัจจัยลบต่อตลาดในระยะสั้น
สำหรับดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ ยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยการเมืองในประเทศอยู่ เพราะกรณีการยุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย รวมถึงกรณีนายยงยุทธ ที่ศาลฎีการับคำฟ้อง ต้องใช้เวลาในการตัดสินค่อนข้างนาน โดยคาดว่าดัชนีจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ มีแนวรับสำคัญที่ 790 จุด มูลค่าการซื้อขายคงมีไม่มาก แต่มองเป็นโอกาสที่นักลงทุนจะเข้าไปเก็บหุ้น เพราะโดยส่วนตัวคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 9 เมษายนนี้
***นักลงทุนทิ้งหุ้นพลังงาน
นายอนุพนธ์ ศรีอาจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.บีฟิท กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับลงตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นจีน และตลาดหุ้นไต้หวัน ที่กลับมาเป็นบวก โดยที่สาเหตุหลักยังมาจากความกังวลในเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงผลประกอบการของสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ที่ออกมาไม่ดีจากผลกระทบซับไพรม์ ซึ่งตรงกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้
ขณะที่หุ้นพลังงานถูกแรงเทขายทำกำไรออกมา กดดันดัชนีตลาดหุ้นไทย โดยมีเหตุผลมาจากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นกับตลาด เนื่องจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยการเมืองในประเทศที่ไม่ชัดเจน ในขณะเดียวกันราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เริ่มไม่สอดคล้องกับราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยเมื่อราคาน้ำมันปรับลดลงจึงส่งผลทำให้มีแรงเทขายหุ้นน้ำมันออกมา
ส่วนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง ในระยะสั้นเงินทุนคงยังไม่ไหลเข้ามาในตลาดหุ้น เนื่องจากในตลาดหุ้นก็ยังคงผันผวน และยังมีปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกอยู่ ทั้งนี้ประเมินตลาดหุ้นไทยในวันนี้จะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยเฉพาะดัชนีดาวโจนส์ โดยมีกรอบแนวรับที่ 790-795 จุด และแนวต้านที่ 807-810 จุด
นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนลบตลอดทั้งวัน โดยมีแรงขายในหุ้นกลุ่มพลังงานออกมา หลังราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายอย่างปรับลดลงมาค่อนข้างมาก จึงเป็นเหตุทำให้มีเงินทุนออกไปพักที่ตราสารหนี้ หรืออัตราแลกเปลี่ยนมากกว่าจะไหลเข้ามาในตลาดหุ้นในทันที โดยคาดว่าคงใช้เวลาสักระยะหนึ่งกว่าเงินทุนจะไหลเข้าตลาดหุ้น ขณะที่คาดว่านักลงทุนยังคงรอดูความชัดเจนเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของทาง กนง.ก่อน
สำหรับทิศทางตลาดหุ้นไทยในวันนี้ คาดว่าดัชนีจะแกว่งตัวลงอีก แต่คงไม่มากเนื่องจากตลาดหุ้นเอเชียบางส่วนหยุดทำการซื้อขาย ได้แก่ ตลาดหุ้นฮ่องกง สิงค์โปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ขณะที่การเคลื่อนไหวของดัชนีดาวโจนส์คาดว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยวันนี้จะแกว่งตัวลงในกรอบแนวรับที่ 790-792 จุด และแนวต้านที่ 801-803 จุด
***รอไฟเขียวตั้งบอร์ดพัฒนาตลาดทุน
ด้านนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการส่งร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยไปยังกระทรวงการคลังแล้ว และขณะนี้ทางกระทรวงการคลังได้มีการส่งเรื่องไปสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อที่จะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณาในการประชุมในวันที่ 25 มีนาคม 2551
ทั้งนี้ ร่างแต่งตั้งคณะกรรมการฯดังกล่าวได้มีการเสนอชื่อ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง เป็นประธานคณะกรรมการฯชุดนี้ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการหารือกับรมว.คลังซึ่งท่านก็ให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาของตลาดทุน และเห็นชอบที่จะเข้ามาเป็นประธานคณะกรรมการฯเพื่อเข้ามาช่วยในการพัฒนาตลาดทุนไทย
นายปกรณ์ กล่าวว่า จากการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการยื่นหนังสือปกขาว และข้อเสนอแนะของสถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) ในเรื่องทิศทางการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์อีก 5 ปีข้างหน้าแก่กระทรวงการคลังในช่วงที่ผ่านมานั้นเชื่อว่าคณะกรรมการชุดนี้จะมีการนำข้อเสนอในหนังสือปกขาวและข้อเสนอแนะของสถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) เพื่อนำมาจัดทำเป็นแผนพัฒนาตลาดทุนไทย(มาสเตอร์แพลน)
ทั้งนี้ ผลการศึกษาในเรื่องการแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ฯนั้นซึ่งอยุ่ระหว่างการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา ในเรื่องแนวโน้มทิศทางของตลาดหลักทรัพย์ฯในอีก 5 ปีข้างหน้า และวิธีการดำเนินงานจะเป็นอย่างไร ส่วนในเรื่องการปรับโครงสร้างของตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น จะต้องมีการดำเนินการอยู่แล้วส่วนที่จะมีการแปรรูปหรือไม่นั้นต้องรอผลการศึกษาก่อน
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (20 มี.ค.) ดัชนีปรับตัวอยู่ในแดนลบตลอดทั้งวัน จากแรงขายหุ้นกลุ่มน้ำมัน หลังราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง เนื่องจากตัวเลขสต็อกน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น บวกกับกรณีที่ศาลฎีการับคำฟ้องคดีใบแดงนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาการลงทุน โดยดัชนีปรับตัวลดลงปิดที่ 798.11 จุด ลดลง 9.56 จุด หรือลดลง 1.18% โดยระหว่างวันมีจุดสูงสุดที่ 801.64 จุด ต่ำสุด 796.23 จุด มูลค่าการซื้อขาย 15,484.35 ล้านบาท
ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลดลงมากที่สุด 2.07% โดยบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU ปรับตัวลดลงมาปิดที่ 390 บาท ลดลง 18 บาท คิดเป็น 4.41% ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,979.02 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 113.59 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,865.43 ล้านบาท
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้(20 มี.ค.) ปรับตัวลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันมีการปรับตัวลดลงมาประมาณ 8-9% มาอยู่ที่ระดับ100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากการที่ตัวเลขน้ำมันสำรองปรับตัวสูงขึ้น จึงทำให้นักลงทุนมีการขายทำกำไรหุ้นกลุ่มพลังงานออกมา โดยหุ้นกลุ่มน้ำมันมีการปรับตัวลดลง 2% เชื่อว่าเป็นนักลงทุนต่างประเทศที่เป็นนักลงทุนระยะยาวที่มีตุ้นทุนในการลงทุนต่ำ มีการขายหุ้นเพิ่มทำกำไรออกมา
ทั้งนี้ในช่วง1-2 เดือนที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยได้รับปัจจัยบวกจากการที่รัฐบาลมีการกระตุ้นการลงทุนซึ่งผลดีต่อตลาดหุ้น โดยในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยถือว่ามีการปรับตัวลดลงต่ำกว่าภูมิภาค จึงทำให้นักลงทุนมีการขายหุ้นในตลาดหุ้นไทยออกมา ซึ่งถือว่าเป็นการปรับฐานของตลาดหุ้นไทย ส่วนการที่ราคาทองคำปรับตัวดลงมา 100 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ มาอยู่ที่ระดับ 900 เหรียญสหรัฐฯต่อออนซ์ ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมัน
ส่วนปัจจัยการเมืองนั้นจากการที่ศาลฎีการับคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ขอให้ศาลเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง นายยงยุทธ ติยะไพรัช ซึ่งกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ( ส.ว.) พ.ศ.2550 ในการกระทำทุจริตการเลือกตั้ง ส่วนในกรณีการยุบพรรคชาติไทยและมัชฌิมาธิปไตยนั้นถือว่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่จะสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนว่าจะมีการยุบพรรคการเมือง 2 บริษัท รวมทั้งยังมีการพิจารณายุบพรรคพลังประชาชนเพิ่มอีก 1 แห่งหรือไม่ ทำให้การเมืองไทยขาดเสถียรภาพ จึงกดดันตลาดหุ้นไทยต่อไป
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทย วันนี้ (21 มี.ค.) คาดว่าดัชนีฯจะยังคงปรับตัวลดลง เพราะยังมีสัญญาแรงขายทางเทคนิคออกมา และปัจจัยการเมืองยังคงกดดันตลาดหุ้นไทย และเชื่อว่านักลงทุนต่างประเทศยังคงมีแรงขายหุ้นไทยออกมาต่อเนื่องจากที่ผ่านมานักลงทุนต่างประเทศมีการเข้ามาลงทุนในหุ้นไทยจำนวนมาก จึงมีการเทขายทำกำไร โดยมองแนวรับที่ระดับ 785 จุด แนวต้านที่ระดับ 805 จุด
***นักลงทุนไม่คลายกังวลพิษซับไพรม์
นางภรณี ทองเย็น ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บล.เอเชียพลัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง จาก 2 ปัจจัย คือ แรงขายจากนักลงทุนต่างชาติที่ยังมีความกังวลกับปัญหาซับไพรม์ แม้เฟดจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ที่ผ่ามา ลงอีก 0.75% เหลือ 2.25%
ส่วนปัจจัยอีกส่วน คือ สถานการณ์ทางการเมืองหลังศาลฎีกาประทับรับฟ้องกรณี นายยงยุทธ ติยะไพรัช ทำให้หมดสิทธิ์ทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรจนกว่าศาลฎีกาจะมีคำพิพากษา ซึ่งกรณีนี้สะท้อนไปถึงแนวทางการยุบพรรคพลังประชาชนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นปัจจัยลบต่อตลาดในระยะสั้น
สำหรับดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ ยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยการเมืองในประเทศอยู่ เพราะกรณีการยุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย รวมถึงกรณีนายยงยุทธ ที่ศาลฎีการับคำฟ้อง ต้องใช้เวลาในการตัดสินค่อนข้างนาน โดยคาดว่าดัชนีจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ มีแนวรับสำคัญที่ 790 จุด มูลค่าการซื้อขายคงมีไม่มาก แต่มองเป็นโอกาสที่นักลงทุนจะเข้าไปเก็บหุ้น เพราะโดยส่วนตัวคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 9 เมษายนนี้
***นักลงทุนทิ้งหุ้นพลังงาน
นายอนุพนธ์ ศรีอาจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.บีฟิท กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับลงตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นจีน และตลาดหุ้นไต้หวัน ที่กลับมาเป็นบวก โดยที่สาเหตุหลักยังมาจากความกังวลในเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงผลประกอบการของสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ที่ออกมาไม่ดีจากผลกระทบซับไพรม์ ซึ่งตรงกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้
ขณะที่หุ้นพลังงานถูกแรงเทขายทำกำไรออกมา กดดันดัชนีตลาดหุ้นไทย โดยมีเหตุผลมาจากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นกับตลาด เนื่องจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยการเมืองในประเทศที่ไม่ชัดเจน ในขณะเดียวกันราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เริ่มไม่สอดคล้องกับราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยเมื่อราคาน้ำมันปรับลดลงจึงส่งผลทำให้มีแรงเทขายหุ้นน้ำมันออกมา
ส่วนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง ในระยะสั้นเงินทุนคงยังไม่ไหลเข้ามาในตลาดหุ้น เนื่องจากในตลาดหุ้นก็ยังคงผันผวน และยังมีปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกอยู่ ทั้งนี้ประเมินตลาดหุ้นไทยในวันนี้จะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยเฉพาะดัชนีดาวโจนส์ โดยมีกรอบแนวรับที่ 790-795 จุด และแนวต้านที่ 807-810 จุด
นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนลบตลอดทั้งวัน โดยมีแรงขายในหุ้นกลุ่มพลังงานออกมา หลังราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายอย่างปรับลดลงมาค่อนข้างมาก จึงเป็นเหตุทำให้มีเงินทุนออกไปพักที่ตราสารหนี้ หรืออัตราแลกเปลี่ยนมากกว่าจะไหลเข้ามาในตลาดหุ้นในทันที โดยคาดว่าคงใช้เวลาสักระยะหนึ่งกว่าเงินทุนจะไหลเข้าตลาดหุ้น ขณะที่คาดว่านักลงทุนยังคงรอดูความชัดเจนเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของทาง กนง.ก่อน
สำหรับทิศทางตลาดหุ้นไทยในวันนี้ คาดว่าดัชนีจะแกว่งตัวลงอีก แต่คงไม่มากเนื่องจากตลาดหุ้นเอเชียบางส่วนหยุดทำการซื้อขาย ได้แก่ ตลาดหุ้นฮ่องกง สิงค์โปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ขณะที่การเคลื่อนไหวของดัชนีดาวโจนส์คาดว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยวันนี้จะแกว่งตัวลงในกรอบแนวรับที่ 790-792 จุด และแนวต้านที่ 801-803 จุด
***รอไฟเขียวตั้งบอร์ดพัฒนาตลาดทุน
ด้านนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการส่งร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยไปยังกระทรวงการคลังแล้ว และขณะนี้ทางกระทรวงการคลังได้มีการส่งเรื่องไปสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อที่จะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณาในการประชุมในวันที่ 25 มีนาคม 2551
ทั้งนี้ ร่างแต่งตั้งคณะกรรมการฯดังกล่าวได้มีการเสนอชื่อ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง เป็นประธานคณะกรรมการฯชุดนี้ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการหารือกับรมว.คลังซึ่งท่านก็ให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาของตลาดทุน และเห็นชอบที่จะเข้ามาเป็นประธานคณะกรรมการฯเพื่อเข้ามาช่วยในการพัฒนาตลาดทุนไทย
นายปกรณ์ กล่าวว่า จากการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการยื่นหนังสือปกขาว และข้อเสนอแนะของสถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) ในเรื่องทิศทางการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์อีก 5 ปีข้างหน้าแก่กระทรวงการคลังในช่วงที่ผ่านมานั้นเชื่อว่าคณะกรรมการชุดนี้จะมีการนำข้อเสนอในหนังสือปกขาวและข้อเสนอแนะของสถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) เพื่อนำมาจัดทำเป็นแผนพัฒนาตลาดทุนไทย(มาสเตอร์แพลน)
ทั้งนี้ ผลการศึกษาในเรื่องการแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ฯนั้นซึ่งอยุ่ระหว่างการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา ในเรื่องแนวโน้มทิศทางของตลาดหลักทรัพย์ฯในอีก 5 ปีข้างหน้า และวิธีการดำเนินงานจะเป็นอย่างไร ส่วนในเรื่องการปรับโครงสร้างของตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น จะต้องมีการดำเนินการอยู่แล้วส่วนที่จะมีการแปรรูปหรือไม่นั้นต้องรอผลการศึกษาก่อน