อัยการลักไก่ สั่งไม่ฟ้อง นปช.บุกบ้าน"ป๋าเปรม" อ้างชุมนุมสงบ เปิดเผย ไม่มีอาวุธ ใช้สิทธิตามรธน. แต่ยังต้องรอ ความเห็นแย้ง ผบ.ตร. "อภิสิทธิ์-สุเทพ" งงเพิ่งทราบ ระบุขอดูรายละเอียดก่อน ย้ำคดียังไม่ถึงที่สุด "สุริยะใส" ชี้ผิดปกติ เพราะถึงขั้นก่อจลาจล ด้านคดียึดทรัพย์ ศาลชี้"ทักษิณ"ไม่มีเหตุอันควรแถลงเปิดคดีผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เร้นซ์ ส่วนเจ้าตัวพาลไม่เลิกฟ้องหมิ่น"กษิต-เอเอสทีวี" แฉฝันนั่ง ประธานาธิบดี
วานนี้ (27 มี.ค.) นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา เปิดเผยถึงความคืบหน้า คดีที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตกเป็นผู้ต้องหาที่บุกรุกบ้านสี่เสาเทเวศน์ ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ว่า คณะทำงานอัยการได้พิจารณาสำนวนหลักฐาน และข้อเท็จจริงที่ปรากฏแล้ว เห็นว่าลักษณะการชุมนุมดังกล่าวเป็นไปอย่างเปิดเผย ไม่มีอาวุธ ซึ่งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ จึงมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งหลังจากอัยการมีความเห็นเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา ก็ส่งความเห็นพร้อมสำนวนกลับไปให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. พิจารณาว่า จะมีความเห็นแย้งกับทางอัยการหรือไม่หาก ผบ.ตร. มีความเห็นแย้งก็ต้องให้นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาด
ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงในส่วนอื่นยังปรากฏว่ามีผู้ต้องหา 2 ราย ได้ทำร้ายร่างกายบุคคลอื่นในการชุมนุม อัยการจึงมีความเห็นสั่งฟ้อง นอกจากนี้ อัยการยังพิจารณาสั่งฟ้องนายโชคชัย คำลือ ชาวจ.นครพนม กลุ่มคนเสื้อแดงที่ทุบรถส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ บริเวณหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.51 ด้วย เนื่องจากการกระทำดังกล่าวสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้อื่น ซึ่งไม่ใช่เงื่อนไขการใช้สิทธิการชุมนุมตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
นายกายสิทธ์ กล่าวอีกว่า การพิจารณาสำนวนคดีที่เกี่ยวกับการชุมนุม โดยหลักใหญ่ที่อัยการใช้พิจารณา ต้องดูว่า เป็นการใช้สิทธิตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้หรือไม่ แต่ไม่ได้หมายความว่า อัยการจะมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องการชุมนุมในทุกคดี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน และข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าเป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ไม่ได้ทำร้ายบุคคล หรือทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น เหมือนกับการพิจารณาสำนวน คดี 9 แกนนำพันธมิตรฯ ก่อความวุ่นวาย ที่จะต้องพิจารณาว่า นอกจากเรื่องการใช้สิทธิการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญแล้ว ยังมีการทำลายทรัพย์สิน และทำร้ายร่างกายบุคคลหรือไม่ อย่างไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีก่อความไม่สงบที่หน้าบ้านสี่เสาเทเวศน์ เกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 22 ก.ค. 50 โดยมีแกนนำนปช.10 คน คือนายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ , นายจักรภพ เพ็ญแข , นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ , นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย ,นพ.เหวง โตจิราการ ,พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย, นายจรัล ดิษฐาอภิชัย , นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ และนายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล ข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย หรือ กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก และร่วมกันเดินแถว เดินเป็นขบวนใดๆในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร และร่วมกันกระทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน
ส่วนที่ผู้ต้องหากลุ่มที่ 2 จำนวน 5 คน ประกอบด้วย นายบรรธง สมคำ , ม.ล.วีระยุทธ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา , นายศราวุธ หลงเส็ง , นายวีระศักดิ์ เหมธุริน และนายวันชัย นาพุทธา ข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง และข้อหาอื่นๆ
สำหรับคดีนี้หลังพนักงานสอบสวนส่งสำนวน พร้อมความเห็นสั่งฟ้องให้อัยการแล้ว ต่อมานายเจษฎา จันทร์ดี ทนายความของกลุ่มนปช.ได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อสำนักงานอัยการสูงสุด ให้มีการสอบสวนพยานบุคคลฝ่ายผู้ต้องหาเพิ่มเติม จำนวน 52 ปาก จนทางอัยการได้พิจารณา และสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบปากคำพยานบุคคลเพิ่มเติมตามที่ร้องขอ
โดยนายเสริมเกียรติ วรดิษฐ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญาในขณะนั้น พร้อมคณะทำงานของอัยการได้ตรวจสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน พบว่า พนักงานสอบสวนยังทำความเห็นในส่วนของนายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล และม.ล.วีระยุทธ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ในข้อหาทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานยังไม่ครบถ้วน
นอกจากนั้น นายวีระ มุสิกพงศ์, นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายจักรภพ เพ็ญแข, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท, นพ.เหวง โตจิราการ, พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย, นายจรัล ดิษฐาอภิชัย และนายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ผู้ต้องหาที่ 7-15 ได้ส่งทนายยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการ ขอให้สอบพยานบุคคลเพิ่มเติมอีก 52 ปาก ทำให้ทางอัยการ จึงพิจารณาสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติม และสุดท้ายนายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญาคนปัจจุบัน สั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาในระดับแกนนำถึง 13 คน โดยปิดข่าวเป็นความลับ เรื่อยมา และเมื่อผู้สื่อข่าวโทรสอบถาม ก็ได้รับคำตอบว่าอยู่ระหว่างการพิจารณา จนกระทั่งนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำนปช. ออกมาให้ข่าวว่าอัยการสั่งไม่ฟ้องในคดีดังกล่าวไปแล้วกว่า 2 เดือน
"อภิสิทธิ์-สุเทพ"ขอดูรายละเอียด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า คงต้องไปดูรายละเอียดของคำวินิจฉัย ซึ่งตนเพิ่งทราบเพียงว่าไม่ส่งฟ้อง และไม่แน่ใจว่า ตรงนี้ถึงที่สุดแล้วหรือยัง หรือต้องส่งกลับไปที่ตำรวจอีก
ขณะที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง กล่าวว่า รู้สึกไม่สบายใจในความเห็นของอัยการต่อเรื่องนี้ แต่คดียังไม่ถือว่าสิ้นสุด เนื่องจากทางอัยการต้องส่งสำนวนกลับมายังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) อีกครั้ง โดยทางสตช. จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อพิจารณาว่าเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของอัยการหรือไม่ หากไม่เห็นด้วย ก็สามารถนำความเห็นดังกล่าวแย้งไปยังอัยการสูงสุดให้พิจารณาตัดสินใจในชั้นอัยการสูงสุดได้อีก โดยทางอัยการสูงสุด จะวินิจฉัยว่าส่งฟ้องคดีนี้หรือไม่ ฉะนั้นคดีนี้ยังมีขั้นตอนซึ่งการดำเนินการต่อไปเป็นหน้าที่ของ สตช.ที่จะต้องดำเนินการตามกฎหมาย ยืนยันว่ารัฐบาลไม่เข้าไปแทรกแซงความเห็นของอัยการ เพราะอัยการถือเป็นองค์กรอิสระ
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงกรณี อัยการสั่งไม่ฟ้องแกนนำนปช.โดยย้ำว่า ถือเป็นเรื่องผิดปกติมาก เพราะเหตุการณ์วันนั้น ถึงขั้นก่อจลาจลย่อยๆ ยังสั่งไม่ฟ้องอีก และเกิดเหตุเกือบสองปีแล้ว แต่อัยการเพิ่งมาสั่งคดีในวันนี้ ซึ่งวันที่ นปช. กำลังคิดจะบุกบ้านสี่เสาฯ อีกรอบนั้น ตนไม่แน่ใจเหมือนกันว่า เรื่องนี้มีเบื้องหน้าเบื้องหลังหรือไม่ คงต้องไปตรวจสอบดู
ตร.ยันใช้มาตรฐานเดียว**
ทางด้าน พล.ต.ท.วัชรพล ประสานราชกิจ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ในฐานะโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่ายังไม่ทราบรายละเอียดเรื่องนี้ ซึ่งคงต้องขอเวลาตรวจสอบอีกครั้งว่า เรื่องมาถึงขั้นตอนไหนแล้ว แต่ยืนยันว่าการพิจารณาสำนวนทุกสำนวน จะใช้มาตรฐานเดียวกันหมดไม่มีแบ่งแยก
ศาลไม่ให้"ทักษิณ"เปิดคดีผ่านวีดีโอ**
วันเดียวกัน ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นายสมศักดิ์ เนตรมัย ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เจ้าของสำนวนคดีพร้อมองค์คณะรวม 9 คน ออกนั่งบัลลังก์ นัดตรวจพยานหลักฐานและฟังคำสั่งคดีหมายเลขดำที่ 14 / 2551 ที่อัยการสูงสุด (อสส.) ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ และได้มา เนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จำนวน 76,621,603,061.05 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดิน
ทั้งนี้ หลังจากที่คู่ความหารือกันแล้ว ฝ่ายอัยการขอนำพยานขึ้นไต่สวนรวม 58 ปาก ซึ่งศาลให้เวลาในการพิจารณา 6 นัด ส่วนฝ่ายผู้คัดค้านและผู้ถูกกล่าวหา ขอนำพยานขึ้นไต่สวน 56 ปาก ศาลให้เวลาในการพิจารณา 25 นัด โดยกำหนดวันนัดพร้อมเพื่อกำหนดแนวทางการไต่สวนคดีในวันที่ 28 พ.ค. เวลา 09.30 น. และให้นัดวันไต่สวนพยานฝ่ายผู้คัดค้านและผู้ถูกกล่าวหาครั้งแรกในวันที่ 26 ก.ค. เวลา 09.30 น.
นอกจากนี้ ศาลยังมีคำสั่งถึงกรณีที่ ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหา ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ถูกกล่าวหา แถลงเปิดคดีโดยระบบการประชุมทางจอภาพ (VIDEO CONFERENCE) นั้น ศาลเห็นว่า กรณียังไม่มีเหตุอันควร จึงให้ยกคำร้อง โดยให้ผู้ถูกกล่าวหาจัดทำแถลงเปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อศาลแทน ภายใน 15 วัน ก่อนวันนัดพิจารณาคดีครั้งแรก
"แม้ว"พาลไม่เลิกฟ้อง"กษิต-เอเอสทีวี"
วันเดียวกันนี้ ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก นายอุดม โปร่งฟ้า ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ, บริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม และสถานีโทรทัศน์ ASTV ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-3 ในความผิดฐานร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา โดยศาลรับเป็นคดีดำที่ 1037/2552 และนัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์วันที่ 1 มิ.ย.52 เวลา 09.00 น.
นายอุดมกล่าวว่า มูลเหตุที่นำมาฟ้องในคดีนี้เกิดจาก เมื่อวันที่ 3, 11 และ 29 พ.ย.51 นายกษิต ได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีพันธมิตรฯ อันมีข้อความพาดพิง พ.ต.ท.ทักษิณว่า “...ทักษิณ โลภนัก อยากจะเป็นเจ้าแห่งการทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างที่มันดีงามในสังคมไทย เพราะฉะนั้นคุณทักษิณอยากจะกลับมาอีก ที่ฝันจะมาเป็นประธานาธิบดี หรือจะมาสถาปนาราชวงศ์ใหม่ของประเทศไทย..” และยังมีข้อความอื่นๆ อีกในทำนองว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการล้มล้างสถาบัน และหวังจะกลับมาเป็นประธานาธิบดี อันเป็นความเท็จทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับความเสียหาย
ต่อข้อถามว่าจะมีการดำเนินคดีทางแพ่งกับนายกษิตกับพวกด้วยหรือไม่ นายอุดมกล่าวว่า ทีมทนายความจะยื่นฟ้องแพ่งอย่างแน่นอนภายในกำหนดอายุความ 1 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินความเสียหาย ส่วนข้อถามที่ว่าทำไมจึงเลือกที่จะฟ้องในช่วงที่มีการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง นายอุดมกล่าวว่า เรื่องการฟ้องครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดง อีกทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกลุ่มเสื้อแดง แต่การโฟนอิน เป็นเพียงต้องการสื่อสารกับกลุ่มผู้ชุมนุมเท่านั้น
2บิ๊กตร.เบี้ยวรับข้อหาสลายม็อบ7ต.ค.
นายวิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช. ให้สัมภาษณ์กรณีการนัดหมายให้ผู้ถูกกล่าวหาในคดีการสั่งสลายกลุ่มผู้ชุมนุมที่บริเวณหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 มารับทราบข้อหาต่อป.ป.ช.ในวันที่ 27 มี.ค.ว่า พล.ต.ต.ลิขิต กลิ่นอวล และ พล.ต.ต.เอกรัตน์ มีปรีชา รองผบช.น. ซึ่งถูกป.ป.ช.แจ้งข้อหามีความผิดทางอาญา และทางวินัย ในคดีสลายม็อบ 7 ต.ค.ไม่ได้มารับทราบข้อกล่าวหาตามที่ป.ป.ช.นัดไว้ โดยไม่แจ้งเหตุผลให้ทราบ แต่ไม่เป็นไร ป.ป.ช.จะส่งข้อกล่าวหาให้ทราบทางไปรษณีย์ต่อไป โดยหลังจากได้รับหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ก็ต้องมาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อป.ป.ช. ภายใน 15 วัน
ส่วนผู้ถูกกล่าวหาอีก 5 คน ที่ต้องมารับทราบข้อหาในวันที่ 30 มี.ค.หากไม่มา ป.ป.ช.ก็จะส่งข้อกล่าวหาไปให้ทางไปรษณีย์เช่นกันหากผู้ถูกกล่าวหาไม่สามารถเดินทางมารับทราบข้อหาด้วยตัวเองได้ ก็สามารถส่งตัวแทนมารับทราบข้อหาแทนได้
วานนี้ (27 มี.ค.) นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา เปิดเผยถึงความคืบหน้า คดีที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตกเป็นผู้ต้องหาที่บุกรุกบ้านสี่เสาเทเวศน์ ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ว่า คณะทำงานอัยการได้พิจารณาสำนวนหลักฐาน และข้อเท็จจริงที่ปรากฏแล้ว เห็นว่าลักษณะการชุมนุมดังกล่าวเป็นไปอย่างเปิดเผย ไม่มีอาวุธ ซึ่งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ จึงมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งหลังจากอัยการมีความเห็นเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา ก็ส่งความเห็นพร้อมสำนวนกลับไปให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. พิจารณาว่า จะมีความเห็นแย้งกับทางอัยการหรือไม่หาก ผบ.ตร. มีความเห็นแย้งก็ต้องให้นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาด
ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงในส่วนอื่นยังปรากฏว่ามีผู้ต้องหา 2 ราย ได้ทำร้ายร่างกายบุคคลอื่นในการชุมนุม อัยการจึงมีความเห็นสั่งฟ้อง นอกจากนี้ อัยการยังพิจารณาสั่งฟ้องนายโชคชัย คำลือ ชาวจ.นครพนม กลุ่มคนเสื้อแดงที่ทุบรถส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ บริเวณหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.51 ด้วย เนื่องจากการกระทำดังกล่าวสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้อื่น ซึ่งไม่ใช่เงื่อนไขการใช้สิทธิการชุมนุมตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
นายกายสิทธ์ กล่าวอีกว่า การพิจารณาสำนวนคดีที่เกี่ยวกับการชุมนุม โดยหลักใหญ่ที่อัยการใช้พิจารณา ต้องดูว่า เป็นการใช้สิทธิตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้หรือไม่ แต่ไม่ได้หมายความว่า อัยการจะมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องการชุมนุมในทุกคดี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน และข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าเป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ไม่ได้ทำร้ายบุคคล หรือทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น เหมือนกับการพิจารณาสำนวน คดี 9 แกนนำพันธมิตรฯ ก่อความวุ่นวาย ที่จะต้องพิจารณาว่า นอกจากเรื่องการใช้สิทธิการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญแล้ว ยังมีการทำลายทรัพย์สิน และทำร้ายร่างกายบุคคลหรือไม่ อย่างไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีก่อความไม่สงบที่หน้าบ้านสี่เสาเทเวศน์ เกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 22 ก.ค. 50 โดยมีแกนนำนปช.10 คน คือนายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ , นายจักรภพ เพ็ญแข , นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ , นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย ,นพ.เหวง โตจิราการ ,พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย, นายจรัล ดิษฐาอภิชัย , นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ และนายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล ข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย หรือ กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก และร่วมกันเดินแถว เดินเป็นขบวนใดๆในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร และร่วมกันกระทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน
ส่วนที่ผู้ต้องหากลุ่มที่ 2 จำนวน 5 คน ประกอบด้วย นายบรรธง สมคำ , ม.ล.วีระยุทธ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา , นายศราวุธ หลงเส็ง , นายวีระศักดิ์ เหมธุริน และนายวันชัย นาพุทธา ข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง และข้อหาอื่นๆ
สำหรับคดีนี้หลังพนักงานสอบสวนส่งสำนวน พร้อมความเห็นสั่งฟ้องให้อัยการแล้ว ต่อมานายเจษฎา จันทร์ดี ทนายความของกลุ่มนปช.ได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อสำนักงานอัยการสูงสุด ให้มีการสอบสวนพยานบุคคลฝ่ายผู้ต้องหาเพิ่มเติม จำนวน 52 ปาก จนทางอัยการได้พิจารณา และสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบปากคำพยานบุคคลเพิ่มเติมตามที่ร้องขอ
โดยนายเสริมเกียรติ วรดิษฐ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญาในขณะนั้น พร้อมคณะทำงานของอัยการได้ตรวจสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน พบว่า พนักงานสอบสวนยังทำความเห็นในส่วนของนายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล และม.ล.วีระยุทธ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ในข้อหาทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานยังไม่ครบถ้วน
นอกจากนั้น นายวีระ มุสิกพงศ์, นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายจักรภพ เพ็ญแข, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท, นพ.เหวง โตจิราการ, พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย, นายจรัล ดิษฐาอภิชัย และนายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ผู้ต้องหาที่ 7-15 ได้ส่งทนายยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการ ขอให้สอบพยานบุคคลเพิ่มเติมอีก 52 ปาก ทำให้ทางอัยการ จึงพิจารณาสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติม และสุดท้ายนายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญาคนปัจจุบัน สั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาในระดับแกนนำถึง 13 คน โดยปิดข่าวเป็นความลับ เรื่อยมา และเมื่อผู้สื่อข่าวโทรสอบถาม ก็ได้รับคำตอบว่าอยู่ระหว่างการพิจารณา จนกระทั่งนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำนปช. ออกมาให้ข่าวว่าอัยการสั่งไม่ฟ้องในคดีดังกล่าวไปแล้วกว่า 2 เดือน
"อภิสิทธิ์-สุเทพ"ขอดูรายละเอียด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า คงต้องไปดูรายละเอียดของคำวินิจฉัย ซึ่งตนเพิ่งทราบเพียงว่าไม่ส่งฟ้อง และไม่แน่ใจว่า ตรงนี้ถึงที่สุดแล้วหรือยัง หรือต้องส่งกลับไปที่ตำรวจอีก
ขณะที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง กล่าวว่า รู้สึกไม่สบายใจในความเห็นของอัยการต่อเรื่องนี้ แต่คดียังไม่ถือว่าสิ้นสุด เนื่องจากทางอัยการต้องส่งสำนวนกลับมายังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) อีกครั้ง โดยทางสตช. จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อพิจารณาว่าเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของอัยการหรือไม่ หากไม่เห็นด้วย ก็สามารถนำความเห็นดังกล่าวแย้งไปยังอัยการสูงสุดให้พิจารณาตัดสินใจในชั้นอัยการสูงสุดได้อีก โดยทางอัยการสูงสุด จะวินิจฉัยว่าส่งฟ้องคดีนี้หรือไม่ ฉะนั้นคดีนี้ยังมีขั้นตอนซึ่งการดำเนินการต่อไปเป็นหน้าที่ของ สตช.ที่จะต้องดำเนินการตามกฎหมาย ยืนยันว่ารัฐบาลไม่เข้าไปแทรกแซงความเห็นของอัยการ เพราะอัยการถือเป็นองค์กรอิสระ
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงกรณี อัยการสั่งไม่ฟ้องแกนนำนปช.โดยย้ำว่า ถือเป็นเรื่องผิดปกติมาก เพราะเหตุการณ์วันนั้น ถึงขั้นก่อจลาจลย่อยๆ ยังสั่งไม่ฟ้องอีก และเกิดเหตุเกือบสองปีแล้ว แต่อัยการเพิ่งมาสั่งคดีในวันนี้ ซึ่งวันที่ นปช. กำลังคิดจะบุกบ้านสี่เสาฯ อีกรอบนั้น ตนไม่แน่ใจเหมือนกันว่า เรื่องนี้มีเบื้องหน้าเบื้องหลังหรือไม่ คงต้องไปตรวจสอบดู
ตร.ยันใช้มาตรฐานเดียว**
ทางด้าน พล.ต.ท.วัชรพล ประสานราชกิจ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ในฐานะโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่ายังไม่ทราบรายละเอียดเรื่องนี้ ซึ่งคงต้องขอเวลาตรวจสอบอีกครั้งว่า เรื่องมาถึงขั้นตอนไหนแล้ว แต่ยืนยันว่าการพิจารณาสำนวนทุกสำนวน จะใช้มาตรฐานเดียวกันหมดไม่มีแบ่งแยก
ศาลไม่ให้"ทักษิณ"เปิดคดีผ่านวีดีโอ**
วันเดียวกัน ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นายสมศักดิ์ เนตรมัย ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เจ้าของสำนวนคดีพร้อมองค์คณะรวม 9 คน ออกนั่งบัลลังก์ นัดตรวจพยานหลักฐานและฟังคำสั่งคดีหมายเลขดำที่ 14 / 2551 ที่อัยการสูงสุด (อสส.) ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ และได้มา เนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จำนวน 76,621,603,061.05 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดิน
ทั้งนี้ หลังจากที่คู่ความหารือกันแล้ว ฝ่ายอัยการขอนำพยานขึ้นไต่สวนรวม 58 ปาก ซึ่งศาลให้เวลาในการพิจารณา 6 นัด ส่วนฝ่ายผู้คัดค้านและผู้ถูกกล่าวหา ขอนำพยานขึ้นไต่สวน 56 ปาก ศาลให้เวลาในการพิจารณา 25 นัด โดยกำหนดวันนัดพร้อมเพื่อกำหนดแนวทางการไต่สวนคดีในวันที่ 28 พ.ค. เวลา 09.30 น. และให้นัดวันไต่สวนพยานฝ่ายผู้คัดค้านและผู้ถูกกล่าวหาครั้งแรกในวันที่ 26 ก.ค. เวลา 09.30 น.
นอกจากนี้ ศาลยังมีคำสั่งถึงกรณีที่ ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหา ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ถูกกล่าวหา แถลงเปิดคดีโดยระบบการประชุมทางจอภาพ (VIDEO CONFERENCE) นั้น ศาลเห็นว่า กรณียังไม่มีเหตุอันควร จึงให้ยกคำร้อง โดยให้ผู้ถูกกล่าวหาจัดทำแถลงเปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อศาลแทน ภายใน 15 วัน ก่อนวันนัดพิจารณาคดีครั้งแรก
"แม้ว"พาลไม่เลิกฟ้อง"กษิต-เอเอสทีวี"
วันเดียวกันนี้ ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก นายอุดม โปร่งฟ้า ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ, บริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม และสถานีโทรทัศน์ ASTV ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-3 ในความผิดฐานร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา โดยศาลรับเป็นคดีดำที่ 1037/2552 และนัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์วันที่ 1 มิ.ย.52 เวลา 09.00 น.
นายอุดมกล่าวว่า มูลเหตุที่นำมาฟ้องในคดีนี้เกิดจาก เมื่อวันที่ 3, 11 และ 29 พ.ย.51 นายกษิต ได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีพันธมิตรฯ อันมีข้อความพาดพิง พ.ต.ท.ทักษิณว่า “...ทักษิณ โลภนัก อยากจะเป็นเจ้าแห่งการทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างที่มันดีงามในสังคมไทย เพราะฉะนั้นคุณทักษิณอยากจะกลับมาอีก ที่ฝันจะมาเป็นประธานาธิบดี หรือจะมาสถาปนาราชวงศ์ใหม่ของประเทศไทย..” และยังมีข้อความอื่นๆ อีกในทำนองว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการล้มล้างสถาบัน และหวังจะกลับมาเป็นประธานาธิบดี อันเป็นความเท็จทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับความเสียหาย
ต่อข้อถามว่าจะมีการดำเนินคดีทางแพ่งกับนายกษิตกับพวกด้วยหรือไม่ นายอุดมกล่าวว่า ทีมทนายความจะยื่นฟ้องแพ่งอย่างแน่นอนภายในกำหนดอายุความ 1 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินความเสียหาย ส่วนข้อถามที่ว่าทำไมจึงเลือกที่จะฟ้องในช่วงที่มีการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง นายอุดมกล่าวว่า เรื่องการฟ้องครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดง อีกทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกลุ่มเสื้อแดง แต่การโฟนอิน เป็นเพียงต้องการสื่อสารกับกลุ่มผู้ชุมนุมเท่านั้น
2บิ๊กตร.เบี้ยวรับข้อหาสลายม็อบ7ต.ค.
นายวิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช. ให้สัมภาษณ์กรณีการนัดหมายให้ผู้ถูกกล่าวหาในคดีการสั่งสลายกลุ่มผู้ชุมนุมที่บริเวณหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 มารับทราบข้อหาต่อป.ป.ช.ในวันที่ 27 มี.ค.ว่า พล.ต.ต.ลิขิต กลิ่นอวล และ พล.ต.ต.เอกรัตน์ มีปรีชา รองผบช.น. ซึ่งถูกป.ป.ช.แจ้งข้อหามีความผิดทางอาญา และทางวินัย ในคดีสลายม็อบ 7 ต.ค.ไม่ได้มารับทราบข้อกล่าวหาตามที่ป.ป.ช.นัดไว้ โดยไม่แจ้งเหตุผลให้ทราบ แต่ไม่เป็นไร ป.ป.ช.จะส่งข้อกล่าวหาให้ทราบทางไปรษณีย์ต่อไป โดยหลังจากได้รับหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ก็ต้องมาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อป.ป.ช. ภายใน 15 วัน
ส่วนผู้ถูกกล่าวหาอีก 5 คน ที่ต้องมารับทราบข้อหาในวันที่ 30 มี.ค.หากไม่มา ป.ป.ช.ก็จะส่งข้อกล่าวหาไปให้ทางไปรษณีย์เช่นกันหากผู้ถูกกล่าวหาไม่สามารถเดินทางมารับทราบข้อหาด้วยตัวเองได้ ก็สามารถส่งตัวแทนมารับทราบข้อหาแทนได้