ASTVผู้จัดการรายวัน - ธสน.จับมือ 10 แบงก์ค้ำประกันส่งออกช่วยผู้ประกอบการลดความเสี่ยงขายสินค้าแล้วไม่ได้เงิน พร้อมขอลดการดำรงเงินกองทุนชั่วคราว 3 ปี หวังดันส่งออกได้กว่า 1.5 แสนล้านบาทต่อปี เล็งขอเพิ่มทุนอีก 5 พัน-1หมื่นล้าน ให้ลูกค้าต่างประเทศกู้ซื้อสินค้าไทย
นายอภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ เอ็กซิมแบงก์ เปิดเผยภายหลังการร่วมลงในความร่วมมือเพื่อกระตุ้นให้ผู้ส่งออกไทยใช้บริการประกันการส่งออก กับสถาบันการเงินจำนวน 10 แห่งว่า ถือเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศท่ามกลางวิกฤตการเงินโลก หลังจากที่ ธสน.ได้รับการเพิ่มทุนจากกระทรวงการคลัง 5 พันล้านบาททำให้ผู้ส่งออกที่เป็นลูกค้าของธนาคารนั้นๆ สามารถเข้าถึงบริการประกันส่งออกได้สะดวกขึ้น
อีกทั้งยังมีโอกาสได้รับการขยายสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเงินทุน 5 พันล้านบาท ธสน.สามารถค้ำประกันได้ 5 เท่าหรือ 2.5 หมื่นล้านบาทและจะช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของเงิน 4 รอบแต่เนื่องจากมองว่าขณะนี้มีความจำเป็นต้องช่วยเหลือผู้ส่งออกให้ได้มากที่สุดจึงจะเสนอกระทรวงการคลังให้ออกกฎกระทรวงปรับลดการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงลงจากปัจจุบันที่ กำหนดให้ธุรกิจค้ำประกันการส่งออกต้องดำรงไว้ 20% ซึ่งสูงกว่าการปล่อยสินเชื่อปกติที่ดำรงเพียง 8.5% โดยจะขอลดลงเหลือ 15% เป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งจะช่วยให้ค้ำประกันนการส่งออกได้เพิ่มขึ้นเป็น 6 เท่าหรือคิดเป็นมูลค่าสินค้าที่ค้ำประกันเป็นเงินประมาณ 1.5 แสนล้านบาทต่อปี
“ยอมรับว่าการลดการกันสำรองในกองทุนลงเหลือ 15% ทำให้ธนาคารมีความเสี่ยงมากขึ้น แต่ภาวะเศรษฐกิจและการส่งออกของไทยในปัจจุบันมีความจำเป็นที่สถาบันการเงินของรัฐจะเข้าไปมีบทบาทช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ได้มากที่สุด จึงขอลดชั่วคราวเพียง 3 ปีหลังจากนั้นเชื่อว่าสถานการณ์การส่งออกของไทยน่าจะดีขึ้น” นายอภิชัย กล่าวและว่านอกจากการลดความเสี่ยงในการค้าขายแล้ว ธสน.ยังมองว่าขณะนี้ผู้ซื้อในต่างประเทศมีกำลังซื้อลดลงทำให้ยอดสั่งซื้อสินค้าจากไทยลดลงอย่างมาก จึงจะเสนอบริการรูปแบบใหม่ บายเออร์ เครดิต ให้สำหรับผู้ซื้อในต่างประเทศด้วย ซึ่งถือเป็นบริการใหม่ จึงต้องนำเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดเพื่อขออนุมัติก่อน
นอกจากนั้นเพื่อรองรับธุรกรรมใหม่ดังกล่าวจึงจะเสนอเรื่องมายังกระทรวงการคลังเพื่อขอเพิ่มทุนอีก 5 พัน- 1 หมื่นล้านบาท โดยเบื้องต้นปีแรกนี้อาจทำในวงเงิน 5 พันล้านบาทก่อน เพราะส่วนหนึ่งจะใช้เงินกู้ที่สามารถกู้ได้ 2 -5 เท่า หากรวมเงินกู้แล้วมีเงินอีก 3 หมื่นล้านบาทก็ค้ำประกันผู้ซื้อได้มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะเน้นผู้ซื้อในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจน้อย แต่ก็ยังจำเป็นต้องให้กลุ่มที่ยังมีเครดิตดีแต่ขาดสภาพคล่องในประเทศสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่นที่ลูกค้าหลักของสินค้าส่งอกไทยด้วย ซึ่งรูปแบบคงต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจะปล่อยกู้ผ่านผู้ซื้อโดยตรงหรือผ่านสถาบันการเงินท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ ซึ่งกรณีหลังน่าจะมีความเสียงน้อยกว่า และเน้นสินค้าส่งออกประเภทอาหาร สินค้าเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มและมีผลต่อการจ้างงาน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการดำเนินงานของธสน.จะมีส่วนช่วยภาพรวมการส่งออกของไทยได้ไม่มากนัก เพราะมีข้อจำกัดด้านเงินทุน แต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลยเพราะจะยิ่งทำให้การส่งออกติดลบและผู้ประกอบการมีปัญหามากขึ้น ซึ่งมองว่ารัฐบาลควรให้ธสน.เข้ามามีบทบาทสนับสนุนการส่งออกของประเทศมากกว่าที่ผ่านมาเหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่ใช้เอ็กซิมแบงก์ให้เกิดประโยชน์ในภาวะที่ตลาดไม่ปกติเหมือนขณะนี้ แต่คงต้องเพิ่มทุนให้ ธสน. ถึงระดับ 3 หมื่นล้านบาทจากปัจจุบันที่มี 9.3 พันล้านบาท เพื่อให้สามารถค้ำประกันการส่งออกได้ 2 แสนล้านบาทและปล่อยสินเชื่อได้อีก 2 แสนล้านบาทต่อปี
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)KBANK กล่าวว่า การบริการประกันการส่งออกระหว่างธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(EXIM BANK) กับสถาบันการเงิน 10 แห่ง เป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้ผู้ส่งออกมีความมั่นใจมากขึ้น โดยปัจจุบันการส่งออกจำนวน 2 ล้านล้านบาท มีการเปิดแอลซีเพียง 20 % และมีจำนวน 1 แสนล้านบาท ที่มีการซื้อประกันการส่งออก ในส่วนของธนาคารกสิกรไทยมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 23 % ของยอดส่งออกดังนั้นเชื่อว่าจะมีลูกค้าของธนาคารมาใช้บริการของการประกันการส่งออกในครั้งนี้คิดเป็นมูลค่า 2-3 หมื่นล้านบาท โดยจะเสียค่าธรรมเนียม 0.5 % ของมูลค่าที่ส่งออก
สำหรับ 10 สถาบันการเงินที่ร่วมอัดฉีดผู้ประกอบการส่งออก ประกอบด้วยธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย กสิกรไทย ทหารไทย ไทยธนาคาร ไทยพาณิชย์ นครหลวงไทย ออมสิน เอสเอ็มอีแบงก์ และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
นายอภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ เอ็กซิมแบงก์ เปิดเผยภายหลังการร่วมลงในความร่วมมือเพื่อกระตุ้นให้ผู้ส่งออกไทยใช้บริการประกันการส่งออก กับสถาบันการเงินจำนวน 10 แห่งว่า ถือเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศท่ามกลางวิกฤตการเงินโลก หลังจากที่ ธสน.ได้รับการเพิ่มทุนจากกระทรวงการคลัง 5 พันล้านบาททำให้ผู้ส่งออกที่เป็นลูกค้าของธนาคารนั้นๆ สามารถเข้าถึงบริการประกันส่งออกได้สะดวกขึ้น
อีกทั้งยังมีโอกาสได้รับการขยายสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเงินทุน 5 พันล้านบาท ธสน.สามารถค้ำประกันได้ 5 เท่าหรือ 2.5 หมื่นล้านบาทและจะช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของเงิน 4 รอบแต่เนื่องจากมองว่าขณะนี้มีความจำเป็นต้องช่วยเหลือผู้ส่งออกให้ได้มากที่สุดจึงจะเสนอกระทรวงการคลังให้ออกกฎกระทรวงปรับลดการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงลงจากปัจจุบันที่ กำหนดให้ธุรกิจค้ำประกันการส่งออกต้องดำรงไว้ 20% ซึ่งสูงกว่าการปล่อยสินเชื่อปกติที่ดำรงเพียง 8.5% โดยจะขอลดลงเหลือ 15% เป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งจะช่วยให้ค้ำประกันนการส่งออกได้เพิ่มขึ้นเป็น 6 เท่าหรือคิดเป็นมูลค่าสินค้าที่ค้ำประกันเป็นเงินประมาณ 1.5 แสนล้านบาทต่อปี
“ยอมรับว่าการลดการกันสำรองในกองทุนลงเหลือ 15% ทำให้ธนาคารมีความเสี่ยงมากขึ้น แต่ภาวะเศรษฐกิจและการส่งออกของไทยในปัจจุบันมีความจำเป็นที่สถาบันการเงินของรัฐจะเข้าไปมีบทบาทช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ได้มากที่สุด จึงขอลดชั่วคราวเพียง 3 ปีหลังจากนั้นเชื่อว่าสถานการณ์การส่งออกของไทยน่าจะดีขึ้น” นายอภิชัย กล่าวและว่านอกจากการลดความเสี่ยงในการค้าขายแล้ว ธสน.ยังมองว่าขณะนี้ผู้ซื้อในต่างประเทศมีกำลังซื้อลดลงทำให้ยอดสั่งซื้อสินค้าจากไทยลดลงอย่างมาก จึงจะเสนอบริการรูปแบบใหม่ บายเออร์ เครดิต ให้สำหรับผู้ซื้อในต่างประเทศด้วย ซึ่งถือเป็นบริการใหม่ จึงต้องนำเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดเพื่อขออนุมัติก่อน
นอกจากนั้นเพื่อรองรับธุรกรรมใหม่ดังกล่าวจึงจะเสนอเรื่องมายังกระทรวงการคลังเพื่อขอเพิ่มทุนอีก 5 พัน- 1 หมื่นล้านบาท โดยเบื้องต้นปีแรกนี้อาจทำในวงเงิน 5 พันล้านบาทก่อน เพราะส่วนหนึ่งจะใช้เงินกู้ที่สามารถกู้ได้ 2 -5 เท่า หากรวมเงินกู้แล้วมีเงินอีก 3 หมื่นล้านบาทก็ค้ำประกันผู้ซื้อได้มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะเน้นผู้ซื้อในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจน้อย แต่ก็ยังจำเป็นต้องให้กลุ่มที่ยังมีเครดิตดีแต่ขาดสภาพคล่องในประเทศสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่นที่ลูกค้าหลักของสินค้าส่งอกไทยด้วย ซึ่งรูปแบบคงต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจะปล่อยกู้ผ่านผู้ซื้อโดยตรงหรือผ่านสถาบันการเงินท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ ซึ่งกรณีหลังน่าจะมีความเสียงน้อยกว่า และเน้นสินค้าส่งออกประเภทอาหาร สินค้าเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มและมีผลต่อการจ้างงาน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการดำเนินงานของธสน.จะมีส่วนช่วยภาพรวมการส่งออกของไทยได้ไม่มากนัก เพราะมีข้อจำกัดด้านเงินทุน แต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลยเพราะจะยิ่งทำให้การส่งออกติดลบและผู้ประกอบการมีปัญหามากขึ้น ซึ่งมองว่ารัฐบาลควรให้ธสน.เข้ามามีบทบาทสนับสนุนการส่งออกของประเทศมากกว่าที่ผ่านมาเหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่ใช้เอ็กซิมแบงก์ให้เกิดประโยชน์ในภาวะที่ตลาดไม่ปกติเหมือนขณะนี้ แต่คงต้องเพิ่มทุนให้ ธสน. ถึงระดับ 3 หมื่นล้านบาทจากปัจจุบันที่มี 9.3 พันล้านบาท เพื่อให้สามารถค้ำประกันการส่งออกได้ 2 แสนล้านบาทและปล่อยสินเชื่อได้อีก 2 แสนล้านบาทต่อปี
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)KBANK กล่าวว่า การบริการประกันการส่งออกระหว่างธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(EXIM BANK) กับสถาบันการเงิน 10 แห่ง เป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้ผู้ส่งออกมีความมั่นใจมากขึ้น โดยปัจจุบันการส่งออกจำนวน 2 ล้านล้านบาท มีการเปิดแอลซีเพียง 20 % และมีจำนวน 1 แสนล้านบาท ที่มีการซื้อประกันการส่งออก ในส่วนของธนาคารกสิกรไทยมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 23 % ของยอดส่งออกดังนั้นเชื่อว่าจะมีลูกค้าของธนาคารมาใช้บริการของการประกันการส่งออกในครั้งนี้คิดเป็นมูลค่า 2-3 หมื่นล้านบาท โดยจะเสียค่าธรรมเนียม 0.5 % ของมูลค่าที่ส่งออก
สำหรับ 10 สถาบันการเงินที่ร่วมอัดฉีดผู้ประกอบการส่งออก ประกอบด้วยธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย กสิกรไทย ทหารไทย ไทยธนาคาร ไทยพาณิชย์ นครหลวงไทย ออมสิน เอสเอ็มอีแบงก์ และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย