ASTVผู้จัดการรายวัน - ผู้บริหารเอ็กซิมแบงก์ ประเมินจีดีพีปีนี้ยังโตได้ 1% หลังรัฐบาลทยอย เข็นหลากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา และยังมีช่องในการก่อหนี้เพิ่มทั้งใน-นอกประเทศไทยอีกเกือบ 6 แสนล้าน แนะมาตรการ ในระยะต่อไปต้องเน้นภาคการลงทุน หลัง ในช่วงก่อนที่กระตุ้นในด้านการใช้จ่ายไปแล้ว โดยรัฐจะเป็นผู้นำในการลงทุนเพื่อชดเชยด้านการส่งออกที่หดตัว
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า อัตราการเติบโต ทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้มีโอกาสที่จะเติบโตประมาณ 1% เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของภาครัฐที่ได้ทยอยออกมา รวมถึงมาตรการที่กำลังจะออกมาเพิ่มเติม น่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้จีดีพีของไทยมีโอกาสเป็นบวกได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการดำเนินการหากสามารถปฏิบัติได้อย่างรวดเร็วก็จะเป็นผลดี แต่หากมีการดำเนินการที่ล่าช้า ก็มีโอกาสน้อยลงที่จะมีการเติบโตในระดับดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจีดีพีของไทยไม่น่าจะติดลบเหมือนที่มีหลายฝ่ายคาดการณ์
'การเติบโตของจีดีพีคงไม่ติดลบมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหลายของรัฐที่ออกมาจะสามารถเห็นผลได้หากสามารถ ปฏิบัติได้เร็วขนาดไหน ซึ่งหากเศรษฐกิจไทยปีนี้อยู่ในระดับทรงตัวหรือเป็นบวกนิดหน่อย ก็ถือว่าเป็นระดับที่พอใจแล้ว' นายณรงค์ชัยกล่าว
ส่วนกรณีการกู้เงินเพิ่มของรัฐบาลนั้น จาก ตัวเลขในปัจจุบันนั้น รัฐบาลไทยยังสามารถก่อหนี้สาธารณะเพิ่มได้อีก เนื่องจากยังมีฐานะทาง การเงินที่แข็งแกร่ง เพื่อนำมาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจสำหรับมาตรการต่อๆ ไป ทั้งนี้ รัฐบาล สามารถกู้เงินจากในประเทศได้อีกกว่า 4 แสนล้านบาท อีกทั้งยังสามารถกู้เงินจากต่างประเทศ ได้ 1.8 แสนล้านบาท ซึ่งหากรวมกันแล้วการก่อหนี้สาธารณะยังไม่เกินเพดานที่ 1.3 ล้านล้าน บาทหรือคิดเป็น 50% ของจีดีพี โดยในจำนวนดังกล่าวจะส่งผลให้ปริมาณหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเป็น 43% ของจีดีพีจากปัจจุบันที่ 37%
นอกจากนี้ สถาบันการเงินในประเทศยังมีสภาพคล่องอยู่มากพร้อมที่จะให้กู้กับรัฐบาล และหากรัฐบาลออกพันธบัตรก็พร้อมที่จะซื้อ เนื่องจากพันธบัตรที่ออกมามีความมั่นคง
อย่างไรก็ตาม มาตรการที่จะออกมากระตุ้น เศรษฐกิจในครั้งต่อไป จะต้องมีมาตรการที่เน้นกระตุ้นการลงทุนเป็นหลัก เนื่องจากมาตรการในรอบแรกที่ออกมาเป็นส่วนที่เน้นกระตุ้นการใช้จ่ายเป็นหลัก และมาตรการที่จะออกมาใหม่นี้ ควรจะมีมาตรการที่สามารถปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ โดยเน้นการพึ่งตนเองมากขึ้นและมีการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งมาตรการกระตุ้นการลงทุนจะส่งผลดีต่อการลงทุนในระยะยาวที่จะสามารถสร้างรายได้คืนมาในอนาคต โดยมาตรการดังกล่าวจะต้องมีการสนับสนุนใน 5 ส่วนดังต่อไปนี้ คือ
1. มีการเพิ่มศักยภาพการบริหารองค์กรส่วนท้องถิ่นที่รัฐธรรมนูญระบุให้มีงบประมาณคิดเป็น 25% ของจีดีพี 2. ควรส่งเสริมในการเพิ่มพลังงานทดแทนเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ 3. ควรมีมาตรการเพิ่มกลไกในการ รักษาสภาพแวดล้อม 4. ต้องมีมาตรการส่งเสริม ธุรกิจที่มีศิลปและธรรมชาติมาจากในประเทศ และ 5. ควรเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในการให้บริการด้านลอจิสติกส์
นอกจากนี้ รัฐบาลควรมีการเบิกจ่ายงบ-ประมาณแผ่นดินจำนวน 1.8 ล้านล้านบาทให้มีความรวดเร็ว ซึ่งเป็นงบประมาณที่มีอยู่แล้วนอกเหนือจากงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาการเบิกจ่ายงบประมาณ ดังกล่าวมีความล่าช้ามาก จึงไม่สามารถใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่
'จากผลของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงส่งผลให้ประเทศที่เคยเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยมีเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งจะส่งผลกระทบให้การส่งออกของไทยปีนี้ไม่ขยายตัว อีกทั้งอัตราการเติบโตของจีดีพีไทยมีสัดส่วนจากการส่งออกถึง 70% ขณะที่การบริโภคภายในประเทศไม่สามารถทดแทนการส่งออกได้ การลงทุนของทางภาครัฐและเอกชนจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ' นายณรงค์ชัยกล่าว
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า อัตราการเติบโต ทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้มีโอกาสที่จะเติบโตประมาณ 1% เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของภาครัฐที่ได้ทยอยออกมา รวมถึงมาตรการที่กำลังจะออกมาเพิ่มเติม น่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้จีดีพีของไทยมีโอกาสเป็นบวกได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการดำเนินการหากสามารถปฏิบัติได้อย่างรวดเร็วก็จะเป็นผลดี แต่หากมีการดำเนินการที่ล่าช้า ก็มีโอกาสน้อยลงที่จะมีการเติบโตในระดับดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจีดีพีของไทยไม่น่าจะติดลบเหมือนที่มีหลายฝ่ายคาดการณ์
'การเติบโตของจีดีพีคงไม่ติดลบมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหลายของรัฐที่ออกมาจะสามารถเห็นผลได้หากสามารถ ปฏิบัติได้เร็วขนาดไหน ซึ่งหากเศรษฐกิจไทยปีนี้อยู่ในระดับทรงตัวหรือเป็นบวกนิดหน่อย ก็ถือว่าเป็นระดับที่พอใจแล้ว' นายณรงค์ชัยกล่าว
ส่วนกรณีการกู้เงินเพิ่มของรัฐบาลนั้น จาก ตัวเลขในปัจจุบันนั้น รัฐบาลไทยยังสามารถก่อหนี้สาธารณะเพิ่มได้อีก เนื่องจากยังมีฐานะทาง การเงินที่แข็งแกร่ง เพื่อนำมาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจสำหรับมาตรการต่อๆ ไป ทั้งนี้ รัฐบาล สามารถกู้เงินจากในประเทศได้อีกกว่า 4 แสนล้านบาท อีกทั้งยังสามารถกู้เงินจากต่างประเทศ ได้ 1.8 แสนล้านบาท ซึ่งหากรวมกันแล้วการก่อหนี้สาธารณะยังไม่เกินเพดานที่ 1.3 ล้านล้าน บาทหรือคิดเป็น 50% ของจีดีพี โดยในจำนวนดังกล่าวจะส่งผลให้ปริมาณหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเป็น 43% ของจีดีพีจากปัจจุบันที่ 37%
นอกจากนี้ สถาบันการเงินในประเทศยังมีสภาพคล่องอยู่มากพร้อมที่จะให้กู้กับรัฐบาล และหากรัฐบาลออกพันธบัตรก็พร้อมที่จะซื้อ เนื่องจากพันธบัตรที่ออกมามีความมั่นคง
อย่างไรก็ตาม มาตรการที่จะออกมากระตุ้น เศรษฐกิจในครั้งต่อไป จะต้องมีมาตรการที่เน้นกระตุ้นการลงทุนเป็นหลัก เนื่องจากมาตรการในรอบแรกที่ออกมาเป็นส่วนที่เน้นกระตุ้นการใช้จ่ายเป็นหลัก และมาตรการที่จะออกมาใหม่นี้ ควรจะมีมาตรการที่สามารถปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ โดยเน้นการพึ่งตนเองมากขึ้นและมีการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งมาตรการกระตุ้นการลงทุนจะส่งผลดีต่อการลงทุนในระยะยาวที่จะสามารถสร้างรายได้คืนมาในอนาคต โดยมาตรการดังกล่าวจะต้องมีการสนับสนุนใน 5 ส่วนดังต่อไปนี้ คือ
1. มีการเพิ่มศักยภาพการบริหารองค์กรส่วนท้องถิ่นที่รัฐธรรมนูญระบุให้มีงบประมาณคิดเป็น 25% ของจีดีพี 2. ควรส่งเสริมในการเพิ่มพลังงานทดแทนเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ 3. ควรมีมาตรการเพิ่มกลไกในการ รักษาสภาพแวดล้อม 4. ต้องมีมาตรการส่งเสริม ธุรกิจที่มีศิลปและธรรมชาติมาจากในประเทศ และ 5. ควรเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในการให้บริการด้านลอจิสติกส์
นอกจากนี้ รัฐบาลควรมีการเบิกจ่ายงบ-ประมาณแผ่นดินจำนวน 1.8 ล้านล้านบาทให้มีความรวดเร็ว ซึ่งเป็นงบประมาณที่มีอยู่แล้วนอกเหนือจากงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาการเบิกจ่ายงบประมาณ ดังกล่าวมีความล่าช้ามาก จึงไม่สามารถใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่
'จากผลของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงส่งผลให้ประเทศที่เคยเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยมีเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งจะส่งผลกระทบให้การส่งออกของไทยปีนี้ไม่ขยายตัว อีกทั้งอัตราการเติบโตของจีดีพีไทยมีสัดส่วนจากการส่งออกถึง 70% ขณะที่การบริโภคภายในประเทศไม่สามารถทดแทนการส่งออกได้ การลงทุนของทางภาครัฐและเอกชนจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ' นายณรงค์ชัยกล่าว