หากเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรต้องเผชิญกับภาวะถดถอยดังเช่นหลายฝ่ายคาดการณ์ ท่ามกลางปัญหาเงินเฟ้อรุมเร้า มีความเป็นไปได้สูงที่ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนจะเพิ่มความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งในที่สุดจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงความต้องการนำเข้าสินค้าที่จะชะลอลง
นับตั้งแต่เกิดวิกฤตสินเชื่อในสหรัฐฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2550 เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลกล้วนได้รับผลกระทบ ไม่เว้นแม้กระทั่งสหราชอาณาจักร ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ามีแนวโน้มจะเข้าสู่ภาวะถดถอยค่อนข้างชัดเจนจากปัญหารุมเร้าหลายด้าน
โดยจะเห็นได้จากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ภาคอสังหาริมทรัพย์ส่อแววชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้ตลาดการเงินขาดสภาพคล่องและเกิดปัญหาสินเชื่อตึงตัว (Credit Crunch) เนื่องจากสถาบันการเงินส่วนใหญ่มีตราสารทางการเงินที่มีสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ค้ำประกัน (Mortgage-backed Securities) จำนวนมาก ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์จึงส่งผลกระทบต่อตลาดเงินในส่วนนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อตลาดเงินเท่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคด้วย นั่นคือ ปัญหาเริ่มลุกลามไปถึงภาคครัวเรือนซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของประเทศ เนื่องจากการใช้จ่ายของประชาชนมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติทีเดียว ไม่เพียงเท่านี้เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรยังเผชิญปัญหาใหญ่เช่นเดียวกับนานาประเทศ นั่นคือ ปัญหาเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดธนาคารกลางอังกฤษ (Bank of England : BoE) ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.0% เพื่อรอดูสถานการณ์เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ท่ามกลางเศรษฐกิจเริ่มส่อแววถดถอย คำถามต่อไปก็คือ เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรจะเข้าสู่ภาวะถดถอยดังเช่นที่คาดกันไว้ หรือจะเป็นเพียงความวิตกกังวลกันเท่านั้น
ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหราชอาณาจักรอยู่ในระดับสูงมาโดยตลอด โดยราคาบ้านที่แท้จริงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 140% เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้นประกอบกับชาวอังกฤษนิยมจำนองอสังหาริมทรัพย์เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายเพื่อการบริโภค (ส่วนหนึ่งเนื่องจากชาวอังกฤษนิยมถือสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์) ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์แข่งขันกันดึงดูดลูกค้าโดยการปล่อยสินเชื่อจำนวนมากโดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์
เมื่อเกิดปัญหาวิกฤตสินเชื่อในสหรัฐฯ ลุกลาม จึงส่งผลต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหราชอาณาจักร ทำให้ราคาบ้านเริ่มลดลงตั้งแต่ปลายปี 2550 และลดลงต่อเนื่องมาโดยตลอด กระทั่งล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2551 ราคาบ้านในสหราชอาณาจักรลดลง 6.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (ต่ำสุดในรอบ 15 ปี) ขณะที่ยอดจำนองบ้านและที่อยู่อาศัยเดือนมิถุนายน 2551 ลดลงถึง 64%
ทั้งนี้ Capital Economics บริษัทที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจชั้นนำของโลกประเมินว่า ราคาบ้านในสหราชอาณาจักรอาจลดลงถึง 15% ภายในสิ้นปี 2551 และจะยังคงลดลงต่อเนื่องราว 12% ในปี 2552 นอกจากนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ยังเตือนว่า สหราชอาณาจักรมีความเสี่ยงสูงที่จะเผชิญภาวะวิกฤตภาคอสังหาริมทรัพย์ต่อจากสหรัฐฯ
ดังเช่นที่ทราบกันว่าทุกวันนี้ ปัญหาเงินเฟ้อนับเป็นปัญหาของทุกประเทศทั่วโลก เนื่องจากต้นทุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและราคาอาหารในตลาดโลกสูงขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อในสหราชอาณาจักรสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2550 จนกระทั่งล่าสุดอัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน 2551 อยู่ที่ 3.8% สูงสุดในรอบ 11 ปี และสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ระดับ 2.0% ซึ่ง BoE คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 อัตราเงินเฟ้อจะพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นกว่า 4.0% โดยมีแรงผลักดันจากราคาน้ำมันในตลาดโลก ที่มีส่วนทำให้ดัชนีราคาผู้ผลิตสูงขึ้น ทั้งนี้ ล่าสุดดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนมิถุนายน 2551 อยู่ที่ 10.0% สูงสุดในรอบ 22 ปี อันเป็นผลจากน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตมีราคาสูงขึ้น
ประเด็นที่น่าวิตกคือ การคาดการณ์ล่วงหน้าของประชาชน ทั้งนี้ หากทุกคนต่างคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะไม่สามารถลดลงมาอยู่ที่ระดับอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายได้แล้ว จะทำให้สหภาพแรงงานเรียกร้องขอปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงาน ขณะที่ผู้ผลิตขอปรับขึ้นราคาสินค้า ซึ่งจะเป็นการซ้ำเติมภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบันให้เป็นไปในทิศทางที่ตึงเครียดยิ่งขึ้นดังเช่นที่คาดการณ์กันในที่สุด
จากปัจจัยที่รุมเร้าแต่ละด้านได้ส่งผลกดดันให้ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจมากขึ้น โดยบริษัท GfK ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยชั้นนำของเยอรมนี เปิดเผยว่า Gauge of Sentiment ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรเดือนพฤษภาคม 2551 ลดลง 5 จุด จากเดือนก่อน เหลือ -34 จุด ซึ่งใกล้ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำดัชนีดังกล่าวในปี 2533 (ระดับต่ำสุดคือ -35) เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่เชื่อว่าเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย รวมทั้งกังวลเรื่องราคาน้ำมันและราคาอาหารที่อยู่ในระดับสูงและยังมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไปอีก
ตั้งแต่กลางปี 2550 เป็นต้นมา เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรขยายตัวในอัตราชะลอลงอย่างต่อเนื่องจาก 0.7% (q-o-q) ในไตรมาส 3 ปี 2550 เหลือ 0.3% (q-o-q) ในไตรมาสแรกปี 2551 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากการลงทุนก่อสร้างที่อยู่อาศัยและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง ขณะที่แรงกดดันจากราคาบ้านที่ลดลงส่งผลให้การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ยังมีรายงานว่าบริษัทชั้นนำหลายแห่ง โดยเฉพาะบริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์ ประกาศปลดพนักงานมากขึ้นเพื่อเตรียมรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่มีสัญญาณชะลอลง
จากดัชนีทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ ที่สะท้อนว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มแย่ลง ทำให้สถาบันการเงินชั้นนำหลายแห่งทยอยปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ซึ่งกระทรวงการคลังสหราชอาณาจักรได้รวบรวมและประมาณการอัตราการขยายตัวเฉลี่ยของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรปี 2551 ว่าจะชะลอการขยายตัวลงเหลือราว 1.75-2.25% ในปี 2551 และ 2.5-3.0% ในปี 2552 ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักคาดว่าเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรจะชะลอการขยายตัวลงเหลือเพียง 1.3% ในปี 2551
ในภาวะเช่นนี้ จึงเป็นการยากลำบากสำหรับ BoE ในการดำเนินนโยบายการเงินว่าจะเลือกให้ความสำคัญกับประเด็นเงินเฟ้อดังเช่นหลายประเทศในยุโรปหรือจะเลือกกระตุ้นเศรษฐกิจให้พ้นจากภาวะถดถอย แต่ดูเหมือนทางเลือกจะมีไม่มากนัก เพราะอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ BoE ยังไม่กล้าที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในทางกลับกันหากจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อบรรเทาภาวะชะลอตัวอย่างรุนแรงในตลาดอสังหาริมทรัพย์และกระตุ้นเศรษฐกิจก็เป็นไปได้ยาก ดังนั้น ในขณะที่แรงกดดันยังรุมเร้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้ หนทางที่ดีที่สุดน่าจะเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยโดยติดตามภาวะเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด
อย่างไรก็ตาม นอกจากปัจจัยทางเศรษฐกิจจะเป็นตัวกำหนดทิศทางเศรษฐกิจแล้ว การคาดการณ์ (Expectation) ตลอดจนความวิตกกังวลของประชาชนยังเป็นตัวกำหนดทิศทางเศรษฐกิจที่สำคัญอีกด้วย เพราะเมื่อประชาชนวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย อาจยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้เศรษฐกิจถดถอยเร็วขึ้นไปอีก ล่าสุดจากการสำรวจความคิดเห็นของหนังสือพิมพ์ Sunday Times ในเดือนมิถุนายน 2551 พบว่าประชาชน 46% คาดว่าเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรจะเข้าสู่ภาวะถดถอยภายใน 12 เดือน เพิ่มขึ้นจากการสำรวจ
ในเดือนพฤษภาคม 2551 ถึง 15% จึงเป็นประเด็นที่น่าจับตามองว่า เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรจะเป็นเช่นไร และทางการจะมีมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างไรต่อไป
เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรจะเป็นเช่นไรต่อไปนับเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยควรจับตามองอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 2 ของไทยในสหภาพยุโรป รองจากเนเธอร์แลนด์ โดยในช่วง 5 เดือนแรกปี 2551 การส่งออกของไทยไปสหราชอาณาจักรขยายตัว 7.5% ด้วยมูลค่า 1,521 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม หากเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรต้องเผชิญกับภาวะถดถอยดังเช่นหลายฝ่ายคาดการณ์ ท่ามกลางปัญหาเงินเฟ้อรุมเร้า มีความเป็นไปได้สูงที่ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนจะเพิ่มความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งในที่สุดจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงความต้องการนำเข้าสินค้าที่จะชะลอลง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันควรเตรียมปรับกลยุทธ์ในการส่งออกเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าว
ที่มา : ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)
นับตั้งแต่เกิดวิกฤตสินเชื่อในสหรัฐฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2550 เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลกล้วนได้รับผลกระทบ ไม่เว้นแม้กระทั่งสหราชอาณาจักร ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ามีแนวโน้มจะเข้าสู่ภาวะถดถอยค่อนข้างชัดเจนจากปัญหารุมเร้าหลายด้าน
โดยจะเห็นได้จากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ภาคอสังหาริมทรัพย์ส่อแววชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้ตลาดการเงินขาดสภาพคล่องและเกิดปัญหาสินเชื่อตึงตัว (Credit Crunch) เนื่องจากสถาบันการเงินส่วนใหญ่มีตราสารทางการเงินที่มีสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ค้ำประกัน (Mortgage-backed Securities) จำนวนมาก ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์จึงส่งผลกระทบต่อตลาดเงินในส่วนนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อตลาดเงินเท่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคด้วย นั่นคือ ปัญหาเริ่มลุกลามไปถึงภาคครัวเรือนซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของประเทศ เนื่องจากการใช้จ่ายของประชาชนมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติทีเดียว ไม่เพียงเท่านี้เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรยังเผชิญปัญหาใหญ่เช่นเดียวกับนานาประเทศ นั่นคือ ปัญหาเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดธนาคารกลางอังกฤษ (Bank of England : BoE) ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.0% เพื่อรอดูสถานการณ์เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ท่ามกลางเศรษฐกิจเริ่มส่อแววถดถอย คำถามต่อไปก็คือ เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรจะเข้าสู่ภาวะถดถอยดังเช่นที่คาดกันไว้ หรือจะเป็นเพียงความวิตกกังวลกันเท่านั้น
ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหราชอาณาจักรอยู่ในระดับสูงมาโดยตลอด โดยราคาบ้านที่แท้จริงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 140% เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้นประกอบกับชาวอังกฤษนิยมจำนองอสังหาริมทรัพย์เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายเพื่อการบริโภค (ส่วนหนึ่งเนื่องจากชาวอังกฤษนิยมถือสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์) ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์แข่งขันกันดึงดูดลูกค้าโดยการปล่อยสินเชื่อจำนวนมากโดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์
เมื่อเกิดปัญหาวิกฤตสินเชื่อในสหรัฐฯ ลุกลาม จึงส่งผลต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหราชอาณาจักร ทำให้ราคาบ้านเริ่มลดลงตั้งแต่ปลายปี 2550 และลดลงต่อเนื่องมาโดยตลอด กระทั่งล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2551 ราคาบ้านในสหราชอาณาจักรลดลง 6.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (ต่ำสุดในรอบ 15 ปี) ขณะที่ยอดจำนองบ้านและที่อยู่อาศัยเดือนมิถุนายน 2551 ลดลงถึง 64%
ทั้งนี้ Capital Economics บริษัทที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจชั้นนำของโลกประเมินว่า ราคาบ้านในสหราชอาณาจักรอาจลดลงถึง 15% ภายในสิ้นปี 2551 และจะยังคงลดลงต่อเนื่องราว 12% ในปี 2552 นอกจากนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ยังเตือนว่า สหราชอาณาจักรมีความเสี่ยงสูงที่จะเผชิญภาวะวิกฤตภาคอสังหาริมทรัพย์ต่อจากสหรัฐฯ
ดังเช่นที่ทราบกันว่าทุกวันนี้ ปัญหาเงินเฟ้อนับเป็นปัญหาของทุกประเทศทั่วโลก เนื่องจากต้นทุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและราคาอาหารในตลาดโลกสูงขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อในสหราชอาณาจักรสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2550 จนกระทั่งล่าสุดอัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน 2551 อยู่ที่ 3.8% สูงสุดในรอบ 11 ปี และสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ระดับ 2.0% ซึ่ง BoE คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 อัตราเงินเฟ้อจะพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นกว่า 4.0% โดยมีแรงผลักดันจากราคาน้ำมันในตลาดโลก ที่มีส่วนทำให้ดัชนีราคาผู้ผลิตสูงขึ้น ทั้งนี้ ล่าสุดดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนมิถุนายน 2551 อยู่ที่ 10.0% สูงสุดในรอบ 22 ปี อันเป็นผลจากน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตมีราคาสูงขึ้น
ประเด็นที่น่าวิตกคือ การคาดการณ์ล่วงหน้าของประชาชน ทั้งนี้ หากทุกคนต่างคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะไม่สามารถลดลงมาอยู่ที่ระดับอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายได้แล้ว จะทำให้สหภาพแรงงานเรียกร้องขอปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงาน ขณะที่ผู้ผลิตขอปรับขึ้นราคาสินค้า ซึ่งจะเป็นการซ้ำเติมภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบันให้เป็นไปในทิศทางที่ตึงเครียดยิ่งขึ้นดังเช่นที่คาดการณ์กันในที่สุด
จากปัจจัยที่รุมเร้าแต่ละด้านได้ส่งผลกดดันให้ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจมากขึ้น โดยบริษัท GfK ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยชั้นนำของเยอรมนี เปิดเผยว่า Gauge of Sentiment ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรเดือนพฤษภาคม 2551 ลดลง 5 จุด จากเดือนก่อน เหลือ -34 จุด ซึ่งใกล้ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำดัชนีดังกล่าวในปี 2533 (ระดับต่ำสุดคือ -35) เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่เชื่อว่าเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย รวมทั้งกังวลเรื่องราคาน้ำมันและราคาอาหารที่อยู่ในระดับสูงและยังมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไปอีก
ตั้งแต่กลางปี 2550 เป็นต้นมา เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรขยายตัวในอัตราชะลอลงอย่างต่อเนื่องจาก 0.7% (q-o-q) ในไตรมาส 3 ปี 2550 เหลือ 0.3% (q-o-q) ในไตรมาสแรกปี 2551 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากการลงทุนก่อสร้างที่อยู่อาศัยและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง ขณะที่แรงกดดันจากราคาบ้านที่ลดลงส่งผลให้การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ยังมีรายงานว่าบริษัทชั้นนำหลายแห่ง โดยเฉพาะบริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์ ประกาศปลดพนักงานมากขึ้นเพื่อเตรียมรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่มีสัญญาณชะลอลง
จากดัชนีทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ ที่สะท้อนว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มแย่ลง ทำให้สถาบันการเงินชั้นนำหลายแห่งทยอยปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ซึ่งกระทรวงการคลังสหราชอาณาจักรได้รวบรวมและประมาณการอัตราการขยายตัวเฉลี่ยของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรปี 2551 ว่าจะชะลอการขยายตัวลงเหลือราว 1.75-2.25% ในปี 2551 และ 2.5-3.0% ในปี 2552 ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักคาดว่าเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรจะชะลอการขยายตัวลงเหลือเพียง 1.3% ในปี 2551
ในภาวะเช่นนี้ จึงเป็นการยากลำบากสำหรับ BoE ในการดำเนินนโยบายการเงินว่าจะเลือกให้ความสำคัญกับประเด็นเงินเฟ้อดังเช่นหลายประเทศในยุโรปหรือจะเลือกกระตุ้นเศรษฐกิจให้พ้นจากภาวะถดถอย แต่ดูเหมือนทางเลือกจะมีไม่มากนัก เพราะอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ BoE ยังไม่กล้าที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในทางกลับกันหากจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อบรรเทาภาวะชะลอตัวอย่างรุนแรงในตลาดอสังหาริมทรัพย์และกระตุ้นเศรษฐกิจก็เป็นไปได้ยาก ดังนั้น ในขณะที่แรงกดดันยังรุมเร้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้ หนทางที่ดีที่สุดน่าจะเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยโดยติดตามภาวะเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด
อย่างไรก็ตาม นอกจากปัจจัยทางเศรษฐกิจจะเป็นตัวกำหนดทิศทางเศรษฐกิจแล้ว การคาดการณ์ (Expectation) ตลอดจนความวิตกกังวลของประชาชนยังเป็นตัวกำหนดทิศทางเศรษฐกิจที่สำคัญอีกด้วย เพราะเมื่อประชาชนวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย อาจยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้เศรษฐกิจถดถอยเร็วขึ้นไปอีก ล่าสุดจากการสำรวจความคิดเห็นของหนังสือพิมพ์ Sunday Times ในเดือนมิถุนายน 2551 พบว่าประชาชน 46% คาดว่าเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรจะเข้าสู่ภาวะถดถอยภายใน 12 เดือน เพิ่มขึ้นจากการสำรวจ
ในเดือนพฤษภาคม 2551 ถึง 15% จึงเป็นประเด็นที่น่าจับตามองว่า เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรจะเป็นเช่นไร และทางการจะมีมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างไรต่อไป
เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรจะเป็นเช่นไรต่อไปนับเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยควรจับตามองอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 2 ของไทยในสหภาพยุโรป รองจากเนเธอร์แลนด์ โดยในช่วง 5 เดือนแรกปี 2551 การส่งออกของไทยไปสหราชอาณาจักรขยายตัว 7.5% ด้วยมูลค่า 1,521 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม หากเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรต้องเผชิญกับภาวะถดถอยดังเช่นหลายฝ่ายคาดการณ์ ท่ามกลางปัญหาเงินเฟ้อรุมเร้า มีความเป็นไปได้สูงที่ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนจะเพิ่มความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งในที่สุดจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงความต้องการนำเข้าสินค้าที่จะชะลอลง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันควรเตรียมปรับกลยุทธ์ในการส่งออกเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าว
ที่มา : ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)