ASTV ผู้จัดการรายวัน- เอกชน 3 รายแจ้งชะลอการลงทุนรวม 4 หมื่นล้านบาทเพื่อขอดูความชัดเจนอีไอเอใหม่ หลังประกาศเขตควบคุมมลพิษในมาบตาพุด เอกชนเตรียมใช้เวทีกรอ.ที่มีนายกฯเป็นประธานแจงผลกระทบเชื่อมั่นยื่นข้อเสนอให้สรุปแผนอีไอเอใหม่ภายใน 6 เดือนหากไม่เช่นนั้นจะกระทบความเชื่อมั่นและการลงทุนในอนาคต ขณะที่ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯก.พ.ดิ่งต่ำกว่า 100 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 35 เหตุศก.ทั้งในและนอกชะลอ
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.)ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในเร็วๆ นี้ภาคเอกชนจะได้รายงานถึงข้อกังวลของภาคเอกชนต่อผลกระทบการประกาศพื้นที่บริเวณมาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษเนื่องจากนักลงทุนสอบถามค่อนข้างมากถึงแผนการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอใหม่ว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งเรื่องดังกล่าวต้องการให้รัฐมีการกำหนดแผนให้ชัดเจนภายในไม่เกิน 6 เดือนหากไม่เช่นนั้นจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและภาวะการลงทุนในระยะยาว
เบื้องต้นความไม่ชัดเจนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการลงทุนระดับหนึ่งแล้วโดยผลการสำรวจเบื้องต้น เอกชนแจ้งการชะลอการลงทุนแล้วในบริเวณมาบตาพุด 3 รายมูลค่าการลงทุนประมาณ 4 หมื่นล้านบาทเพื่อขอดูความชัดเจนแผนอีไอเอก่อน ได้แก่ โครงการโรงแยกก๊าซของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มูลค่าลงทุน 20,000 ล้านบาท โครงการน้ำมันยูโร 4 บริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟนิ่ง(SPRC) วงเงินลงทุนประมาณ 18,000 ล้านบาท และโครงการขยายกำลังผลิตอีพร็อคซี เลซิน ของกลุ่มเบอร์รากรุ๊ป มูลค่า 2,000 ล้านบาท เป็นโครงการที่จะลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช
“ โครงการเหล่านี้บางคนมองว่าชะลอเพราะภาวะเศรษฐกิจหรือไม่ ซึ่งต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจที่ชะลอตัวสำหรับบางโครงการอาจจะมีผลจริงแต่โครงการเหล่านี้เขาต้องอาศัยเวลา 1-2 ปีในการก่อสร้างและเริ่มผลิตและจังหวะนี้เป็นช่วงการก่อสร้างต้นทุนต่ำสุดเขาก็ต้องเดินหน้าเพื่อรองรับเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัว”นายสันติกล่าว
ประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า การประกาศเขตควบคุมมลพิษนั้นได้ส่งผลต่อความวิตกกังวลเอกชนซึ่งขณะนี้นักลงทุนสอบถามค่อนข้างมากโดยเฉพาะส่วนที่ขยายการลงทุนและส่วนใหญ่ผ่านอีไอเอไปแล้ว 3 แสนล้านบาท แต่หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนหรือแม้แต่ส.อ.ท.ก็ตอบไม่ได้เพราะต้องรอการจัดทำอีไอเอของจังหวัดระยองเช่นกัน โดยเอกชนเองต้องการเข้าไปร่วมในส่วนนี้รวมไปถึงการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อที่จะกำหนดแผนร่วมกันเพราะต้องการให้อีไอเอใหม่เป็นรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากลไม่ใช่มีใครไปร้องเรียนก็จะต้องปรับใหม่อีก
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า นักลงทุนค่อนข้างสับสนและสอบถามมามากบางรายเห็นว่ามาตรฐานสิ่งแวดล้อมภาพรวมของไทยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสากล มีการกำกับดูแลในคณะกรรมการระดับชาติเมื่อเปลี่ยนไปอยู่ที่ท้องถิ่นเอกชนต่างก็วิตกว่าจะมีการปรับเปลี่ยนบ่อยๆ หรือไม่ ทุกอย่างควรจะตอ้งให้ชัดเจนโดยเร็วหากไม่เช่นนั้นจะฉุดความเชื่อมั่นได้เพราะบรรยากาศการลงทุนเช่นนี้ก็ลำบากอยู่แล้วที่จะดึงการลงทุน
**** ศก.ชะลอฉุดดัชนีเชื่อมั่นอุตฯก.พ.ดิ่งต่อ
นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานส.อ.ท. เปิดเผยถึงผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือนก.พ. 52 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,215 ตัวอย่างครอบคลุม 39 กลุ่มอุตสาหกรรมพบว่า ดัชนีฯอยู่ที่ 63.0 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากม.ค.ที่ระดับ 64.1 และยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 35 นับตั้งแต่เม.ย. 2549 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่อยู่ระดับไม่ดีมาอย่างต่อเนื่อง
“ ดัชนีฯที่ลดลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศที่ชะลอตัวส่งผลให้ยอดจำหน่าย และการผลิตลดต่ำลง “นายสันติกล่าว
สำหรับดัชนีใน 3 เดือนข้างหน้ายังคงต่ำกว่า 100 เพราะกังวลภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการในอีก 3 เดือนข้างหน้าเอกชนเริ่มกลับมากังวลต่อระดับราคาน้ำมันอีกหนึ่งเนื่องจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศเริ่มกลับมาปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉลี่ยตั้งแต่ 25 ม.ค.จนถึงปัจจุบันน้ำมันกลุ่มเบนซินขึ้นไปกว่า 3 บาทต่อลิตร ดีเซล 1.25 บาทต่อลิตร ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินอยู่ในระดับที่ทรงตัว ส่วนผลกระทบจากการเมืองในประเทศมีความกังวลน้อยลง
******ผลิตรถยนต์2เดือนวูบ50.57%
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท.กล่าวว่า 2 เดือนแรก(ม.ค.-ก.พ.52) การผลิตรถยนต์รวมลดลง 50.57% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งยอมรับว่าเป็นห่วงยอดขายรถในประเทศที่ 2 เดือนแรกลดลงไปถึง 50.43% โดยมากกว่าที่คิดไว้ดังนั้นคงจะต้องติดตามสถานการณ์กันเดือนต่อเดือนหากยอดการผลิตและจำหน่ายยังลดลงอีกยอมรับว่าก็คงจะกระทบต่อการรักษาระดับแรงงานไว้
“ ต้องการให้รัฐบาลเร่งรัดผลสรุปการค้ำประกันเงินดาวนื 20% ที่เอกชนเสนอไปหรือไม่ก็จัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำผ่านสถาบันการเงินเพื่อปล่อยสินเชื่อการซื้อรถได้ดีขึ้นเพราะเวลานี้มีคนต้องการซื้อรถแต่ปัญหาคือเงินดาวน์เรียกสูงมาก”นายสุรพงษ์กล่าว
******เล็งทำฐานข้อมูลค่าจ้างแรงงาน
นายทวีศักดิ์ หมัดเนาะ รองประธานกรรมการบริหารสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ ส.อ.ท.กล่าวว่าได้ร่วมมือกับมหาวิทยาศรีปทุม ดำเนินโครงการสำรวจค่าจ้าง และสวัสดิการ ประจำปี 52/53 เพื่อเป็นฐานข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์โดยอาศัยข้อมูลจากสมาชิก 6 พันแห่งโดยรายงานจะวิเคราะห์เสร็จกลางเดือนมิ.ย. 52 ได้แก่ อัตรากำลังคนในภาคอุตสาหกรรม ค่าจ้าง เงินเดือน การจ่ายโบนัสและสวัสดิการต่างๆ
**คสช.เสนอชะลอขยายมาบตาพุด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2552 โดยใช้เวลาประมาณ 1 .30 ชั่วโมงว่า คสช.ได้ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ อีกทั้งเห็นชอบมอบให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)ใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพแก้ปัญหาในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งได้เสนอให้รัฐบาลชะลอการขยายและก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉาง
นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าว สช.จะเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาคการเมือง หน่วยงานของรัฐ ภาคธุรกิจ นักวิชาการและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษตามหลักการทำนโยบายสาธารณะที่ดี เนื่องจากหากไม่มีการเชิญทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย เมื่อนำสู่การปฏิบัติจะเกิดความขัดแย้งขึ้น.
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.)ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในเร็วๆ นี้ภาคเอกชนจะได้รายงานถึงข้อกังวลของภาคเอกชนต่อผลกระทบการประกาศพื้นที่บริเวณมาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษเนื่องจากนักลงทุนสอบถามค่อนข้างมากถึงแผนการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอใหม่ว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งเรื่องดังกล่าวต้องการให้รัฐมีการกำหนดแผนให้ชัดเจนภายในไม่เกิน 6 เดือนหากไม่เช่นนั้นจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและภาวะการลงทุนในระยะยาว
เบื้องต้นความไม่ชัดเจนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการลงทุนระดับหนึ่งแล้วโดยผลการสำรวจเบื้องต้น เอกชนแจ้งการชะลอการลงทุนแล้วในบริเวณมาบตาพุด 3 รายมูลค่าการลงทุนประมาณ 4 หมื่นล้านบาทเพื่อขอดูความชัดเจนแผนอีไอเอก่อน ได้แก่ โครงการโรงแยกก๊าซของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มูลค่าลงทุน 20,000 ล้านบาท โครงการน้ำมันยูโร 4 บริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟนิ่ง(SPRC) วงเงินลงทุนประมาณ 18,000 ล้านบาท และโครงการขยายกำลังผลิตอีพร็อคซี เลซิน ของกลุ่มเบอร์รากรุ๊ป มูลค่า 2,000 ล้านบาท เป็นโครงการที่จะลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช
“ โครงการเหล่านี้บางคนมองว่าชะลอเพราะภาวะเศรษฐกิจหรือไม่ ซึ่งต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจที่ชะลอตัวสำหรับบางโครงการอาจจะมีผลจริงแต่โครงการเหล่านี้เขาต้องอาศัยเวลา 1-2 ปีในการก่อสร้างและเริ่มผลิตและจังหวะนี้เป็นช่วงการก่อสร้างต้นทุนต่ำสุดเขาก็ต้องเดินหน้าเพื่อรองรับเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัว”นายสันติกล่าว
ประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า การประกาศเขตควบคุมมลพิษนั้นได้ส่งผลต่อความวิตกกังวลเอกชนซึ่งขณะนี้นักลงทุนสอบถามค่อนข้างมากโดยเฉพาะส่วนที่ขยายการลงทุนและส่วนใหญ่ผ่านอีไอเอไปแล้ว 3 แสนล้านบาท แต่หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนหรือแม้แต่ส.อ.ท.ก็ตอบไม่ได้เพราะต้องรอการจัดทำอีไอเอของจังหวัดระยองเช่นกัน โดยเอกชนเองต้องการเข้าไปร่วมในส่วนนี้รวมไปถึงการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อที่จะกำหนดแผนร่วมกันเพราะต้องการให้อีไอเอใหม่เป็นรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากลไม่ใช่มีใครไปร้องเรียนก็จะต้องปรับใหม่อีก
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า นักลงทุนค่อนข้างสับสนและสอบถามมามากบางรายเห็นว่ามาตรฐานสิ่งแวดล้อมภาพรวมของไทยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสากล มีการกำกับดูแลในคณะกรรมการระดับชาติเมื่อเปลี่ยนไปอยู่ที่ท้องถิ่นเอกชนต่างก็วิตกว่าจะมีการปรับเปลี่ยนบ่อยๆ หรือไม่ ทุกอย่างควรจะตอ้งให้ชัดเจนโดยเร็วหากไม่เช่นนั้นจะฉุดความเชื่อมั่นได้เพราะบรรยากาศการลงทุนเช่นนี้ก็ลำบากอยู่แล้วที่จะดึงการลงทุน
**** ศก.ชะลอฉุดดัชนีเชื่อมั่นอุตฯก.พ.ดิ่งต่อ
นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานส.อ.ท. เปิดเผยถึงผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือนก.พ. 52 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,215 ตัวอย่างครอบคลุม 39 กลุ่มอุตสาหกรรมพบว่า ดัชนีฯอยู่ที่ 63.0 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากม.ค.ที่ระดับ 64.1 และยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 35 นับตั้งแต่เม.ย. 2549 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่อยู่ระดับไม่ดีมาอย่างต่อเนื่อง
“ ดัชนีฯที่ลดลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศที่ชะลอตัวส่งผลให้ยอดจำหน่าย และการผลิตลดต่ำลง “นายสันติกล่าว
สำหรับดัชนีใน 3 เดือนข้างหน้ายังคงต่ำกว่า 100 เพราะกังวลภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการในอีก 3 เดือนข้างหน้าเอกชนเริ่มกลับมากังวลต่อระดับราคาน้ำมันอีกหนึ่งเนื่องจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศเริ่มกลับมาปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉลี่ยตั้งแต่ 25 ม.ค.จนถึงปัจจุบันน้ำมันกลุ่มเบนซินขึ้นไปกว่า 3 บาทต่อลิตร ดีเซล 1.25 บาทต่อลิตร ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินอยู่ในระดับที่ทรงตัว ส่วนผลกระทบจากการเมืองในประเทศมีความกังวลน้อยลง
******ผลิตรถยนต์2เดือนวูบ50.57%
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท.กล่าวว่า 2 เดือนแรก(ม.ค.-ก.พ.52) การผลิตรถยนต์รวมลดลง 50.57% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งยอมรับว่าเป็นห่วงยอดขายรถในประเทศที่ 2 เดือนแรกลดลงไปถึง 50.43% โดยมากกว่าที่คิดไว้ดังนั้นคงจะต้องติดตามสถานการณ์กันเดือนต่อเดือนหากยอดการผลิตและจำหน่ายยังลดลงอีกยอมรับว่าก็คงจะกระทบต่อการรักษาระดับแรงงานไว้
“ ต้องการให้รัฐบาลเร่งรัดผลสรุปการค้ำประกันเงินดาวนื 20% ที่เอกชนเสนอไปหรือไม่ก็จัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำผ่านสถาบันการเงินเพื่อปล่อยสินเชื่อการซื้อรถได้ดีขึ้นเพราะเวลานี้มีคนต้องการซื้อรถแต่ปัญหาคือเงินดาวน์เรียกสูงมาก”นายสุรพงษ์กล่าว
******เล็งทำฐานข้อมูลค่าจ้างแรงงาน
นายทวีศักดิ์ หมัดเนาะ รองประธานกรรมการบริหารสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ ส.อ.ท.กล่าวว่าได้ร่วมมือกับมหาวิทยาศรีปทุม ดำเนินโครงการสำรวจค่าจ้าง และสวัสดิการ ประจำปี 52/53 เพื่อเป็นฐานข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์โดยอาศัยข้อมูลจากสมาชิก 6 พันแห่งโดยรายงานจะวิเคราะห์เสร็จกลางเดือนมิ.ย. 52 ได้แก่ อัตรากำลังคนในภาคอุตสาหกรรม ค่าจ้าง เงินเดือน การจ่ายโบนัสและสวัสดิการต่างๆ
**คสช.เสนอชะลอขยายมาบตาพุด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2552 โดยใช้เวลาประมาณ 1 .30 ชั่วโมงว่า คสช.ได้ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ อีกทั้งเห็นชอบมอบให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)ใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพแก้ปัญหาในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งได้เสนอให้รัฐบาลชะลอการขยายและก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉาง
นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าว สช.จะเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาคการเมือง หน่วยงานของรัฐ ภาคธุรกิจ นักวิชาการและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษตามหลักการทำนโยบายสาธารณะที่ดี เนื่องจากหากไม่มีการเชิญทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย เมื่อนำสู่การปฏิบัติจะเกิดความขัดแย้งขึ้น.