จากการที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เริ่มกระบวนการสรรหา คณะกรรมการสิทธิแห่งชาติชุดใหม่ แทนชุดเดิมที่หมดวาระนั้น รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งไม่ได้กำหนดวิธีการสรรหาเอาไว้ และระบุไว้เพียงให้ทำตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งหมายถึง ต้องออกพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับใหม่มาใช้แทน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ปี 2542 แต่ต่อมามีผู้ไปฟ้องร้องศาลปกครอง ขอให้มีการสรรหาคณะกรรมการสิทธิฯ ทันที ตุลาการศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัย และมีคำสั่งให้เริ่มการสรรหา โดยไม่ต้องรอกฎหมายฉบับใหม่ และให้ใช้กฎหมายฉบับเดิมไปพลาง ทำให้การสรรหาครั้งนี้ ต้องใช้ทั้งรัฐธรรมนูญปี2550 และ พ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิฯ ปี2542
ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิฯ ปี 2542 มาตรา 8 (1) ระบุให้ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิฯ เป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหา และต่อมาได้มีการเปิดรับสมัครผู้ประสงค์จะดำรงตำแหน่งคณะกรรมการสิทธิฯ ตั้งแต่วันที่12-14 มี.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่าในรายชื่อผู้สมัครหมายเลข 99 กลับปรากฏชื่อของนางอรินณพงศ์ สูตรสุคนธ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิฯ คนปัจจุบัน เป็นหนึ่งในผู้สมัครด้วย จึงทำให้เกิดคำถามว่า การลงสมัครของนางอรินณพงศ์ ทำได้หรือไม่ เพราะตามกฎหมาย นางอรินณพงศ์ เป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหา จึงไม่น่าที่จะมีสิทธิลงสมัคร
ขณะที่นางอรินณพงศ์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ยอมรับว่าตนไปสมัครเป็นคณะกรรมการสิทธิฯชุดใหม่จริง และยืนยันว่า มีสิทธิที่จะลงสมัครฯ เพราะตามรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดว่า เลขาธิการกรรมการสิทธิฯ เป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหา และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิฯ ก็ทำหน้าที่เป็นเพียงฝ่ายธุรการของคณะกรรมการสรรหาเท่านั้น ไม่มีส่วนได้เสีย กับการสรรหา ซึ่งก็ได้แจ้งกับกรรมการสรรหาถึงกระบวนการแล้ว และในขณะนี้คณะกรรมการสรรหา ก็ไม่มีเลขานุการแต่อย่างใด
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบพบอีกว่า ปรากฏชื่อของนางปวีณา หงสกุล อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่อยู่ระหว่างการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง เป็นหนึ่งในผู้สมัครเช่นกัน ซึ่งได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า นางปวีณาจะมีสิทธิลงสมัครหรือไม่
ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 256 ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติใดๆของผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิฯ เอาไว้เลย และเขียนเพียงว่า "ทั้งนี้คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การถอดถอน และการกำหนดค่าตอบแทนกรรมกรรสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้เป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ" ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายฉบับใหม่มารองรับ จึงจำเป็นต้องใช้พ.ร.บ.กรรมการสิทธิฯปี 2542 ซึ่งก็ไม่ได้กำหนดห้าม ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิฯ แต่อย่างใด
เรื่องนี้ นางสดศรี สัตยธรรม ในฐานะอดีต ส.ส.ร. กล่าวยอมรับว่า ส.ส.ร. ลืมบัญญัติ เรื่องดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะช่วงนั้นการร่างรัฐธรรมนูญทำอย่างเร่งรีบ เพื่อให้เสร็จโดยเร็ว จึงมีการหลงลืมบ้าง แต่ก็กำหนดให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบที่จะออกมา และยอมรับว่ามีอีกหลายเรื่องที่เราลืมบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น เรื่องคุณสมบัติของส.ส. สัดส่วน หากถูกยุบพรรค
ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิฯ ปี 2542 มาตรา 8 (1) ระบุให้ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิฯ เป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหา และต่อมาได้มีการเปิดรับสมัครผู้ประสงค์จะดำรงตำแหน่งคณะกรรมการสิทธิฯ ตั้งแต่วันที่12-14 มี.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่าในรายชื่อผู้สมัครหมายเลข 99 กลับปรากฏชื่อของนางอรินณพงศ์ สูตรสุคนธ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิฯ คนปัจจุบัน เป็นหนึ่งในผู้สมัครด้วย จึงทำให้เกิดคำถามว่า การลงสมัครของนางอรินณพงศ์ ทำได้หรือไม่ เพราะตามกฎหมาย นางอรินณพงศ์ เป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหา จึงไม่น่าที่จะมีสิทธิลงสมัคร
ขณะที่นางอรินณพงศ์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ยอมรับว่าตนไปสมัครเป็นคณะกรรมการสิทธิฯชุดใหม่จริง และยืนยันว่า มีสิทธิที่จะลงสมัครฯ เพราะตามรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดว่า เลขาธิการกรรมการสิทธิฯ เป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหา และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิฯ ก็ทำหน้าที่เป็นเพียงฝ่ายธุรการของคณะกรรมการสรรหาเท่านั้น ไม่มีส่วนได้เสีย กับการสรรหา ซึ่งก็ได้แจ้งกับกรรมการสรรหาถึงกระบวนการแล้ว และในขณะนี้คณะกรรมการสรรหา ก็ไม่มีเลขานุการแต่อย่างใด
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบพบอีกว่า ปรากฏชื่อของนางปวีณา หงสกุล อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่อยู่ระหว่างการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง เป็นหนึ่งในผู้สมัครเช่นกัน ซึ่งได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า นางปวีณาจะมีสิทธิลงสมัครหรือไม่
ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 256 ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติใดๆของผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิฯ เอาไว้เลย และเขียนเพียงว่า "ทั้งนี้คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การถอดถอน และการกำหนดค่าตอบแทนกรรมกรรสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้เป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ" ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายฉบับใหม่มารองรับ จึงจำเป็นต้องใช้พ.ร.บ.กรรมการสิทธิฯปี 2542 ซึ่งก็ไม่ได้กำหนดห้าม ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิฯ แต่อย่างใด
เรื่องนี้ นางสดศรี สัตยธรรม ในฐานะอดีต ส.ส.ร. กล่าวยอมรับว่า ส.ส.ร. ลืมบัญญัติ เรื่องดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะช่วงนั้นการร่างรัฐธรรมนูญทำอย่างเร่งรีบ เพื่อให้เสร็จโดยเร็ว จึงมีการหลงลืมบ้าง แต่ก็กำหนดให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบที่จะออกมา และยอมรับว่ามีอีกหลายเรื่องที่เราลืมบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น เรื่องคุณสมบัติของส.ส. สัดส่วน หากถูกยุบพรรค