บอร์ด กบข.สู้ ลุยตั้งเอง กรรมการเฉพาะะกิจตรวจสอบ กบข. "สมพล เกียรติไพบูลย์" เป็นประธาน ที่เหลือจากคลัง-อสส.-ธปท. เปิดทาง ป.ป.ท. ตัวแทนสมาชิกครู ข้าราชการพลเรือนเข้ามาเป็นกรรมการ ลั่น หาก ป.ป.ท. ดึงดันเข้ามาสอบเองจะเสนอกฤษฎีกาตีความว่ามีอำนาจตามกฎหมายหรือไม่ “วิสิฐ” ยังมั่นใจทำถูกขั้นตอน ไม่ถอดใจลาออก ขณะที่ ป.ป.ท.ประกาศไม่ร่วมสังฆกรรม เหตุบอร์ด กบข.แต่งตั้งไม่เป็นกลาง พร้อมเดินหน้าตรวจสอบในสัปดาห์หน้า
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวสรุปผลการประชุมคณะกรรมการกบข. ว่า คณะกรรมการกบข.ได้มีข้อสรุปให้ตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของ กบข.ในปี2551 จนถึงปัจจุบัน โดยคณะกรรมการเฉพาะกิจดังกล่าวจะมีอำนาจตรวจสอบใน 3 ส่วน คือ 1. ตรวจสอบการลงทุนและการดำเนินงานอื่นของกบข. ตั้งแต่ปี2551 จนถึงปัจจุบันว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ และเป็นไปตามมติของคณะกรรมการกบข.ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ 2. ตรวจสอบการดำเนินงานของกบข.ว่าได้บริหารเงินลงทุนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางการดูแลเงินออมเพื่อการเกษียณอายุของสมาชิกแล้วหรือไม่ และ 3.ตรวจสอบแนวทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของกบข. และการชี้แจงสมาชิกว่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพียงใด
คณะกรรมการเฉพาะกิจดังกล่าว จะต้องเสนอรายงานผลผลการตรวจสอบของคณะกรรมการเฉพาะกิจต่อคณะกรรมการกบข.ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค. 2552 เพื่อจะพิจารณาเสนอรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต่อไป โดยให้กบข.และบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการเฉพาะกิจในการดำเนินการอย่างเต็มที่
นายศุภรัตน์เปิดเผยว่า คณะกรรมการเฉพาะกิจมีนายสมพล เกียรติไพบูลย์ เป็นประธานกรรมการ โดยนายสมพลถือเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นที่ยอมรับ นอกจากนี้ยังเคยเป็นข้าราชการพลเรือนมาโดยตำแหน่งสุดท้ายคือปลัดกระทรวงพาณิชย์มานั่งเป็นประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจดังกล่าว นอกจากนี้ จะมีองค์ประกอบจากตัวแทนของหน่วยงานต่างๆ ทั้งกระทรวงการคลัง สำนักงานอัยการสูงสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) น.ส.บุญชู มั่งคั่ง ผู้แทนสมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นายอภิชาติ จีรวุฒิ ผู้แทนสมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือน และผู้อำนวยการสำนักกฎหมายกบข.
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ ป.ป.ท. จะตั้งคณะกรรมการขึ้นตรวจสอบด้วย คณะกรรมการกบข. ก็จะขอดูอำนาจตามกฎหมายก่อน ซึ่งหาก ทั้งนี้ ระหว่างที่คณะกรรมการเฉพาะกิจทำการตรวจสอบ นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการกบข.ยังคงปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ เพราะไม่ใช่เป็นการตรวจสอบเลขาธิการกบข.แต่ประการใด แต่เป็นการตรวจสอบใน 3 ประเด็นหลักดังกล่าวเพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้นมา
ส่วนกรณีที่มีการพูดถึงอำนาจการเข้ามาตรวจการทำงานของ ป.ป.ท.นั้น นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด กล่าวว่า ตามกฏหมายแล้วผู้ที่มีอำนาจเข้ามาตรวจสอบคือ คณะกรรมการ ป.ป.ท. ไม่ใช่สำนักงานคือเลขาธิการ ซึ่งในส่วนของคณะกรรมการเอง ปัจจุบันยังไม่มีการแต่งตั้ง ดังนั้น เราจึงเห็นว่าจะเสนอเรื่องดังกล่าวผ่านกระทรวงการคลัง เพื่อให้กฤษฎีกาพิจารณาดีความว่า ป.ป.ท. มีอำนาจเข้ามาตรวจสอบการทำงานของ กบข. ตามกฎหมายหรือไม่
อย่างไรก็ตาม หากทาง ป.ป.ท. มั่นใจว่า มีอำนาจถูกต้อง เราก็จะเสนอให้คณะกรรมการ กบข. พิจารณาอีกครั้ง หากคณะกรรมการเห็นด้วยก็พร้อมให้เข้ามาตรวจสอบว่ามีการลงทุนที่ถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่
“หากหน่วยงานที่จะเข้ามาตรวจสอบ ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย แล้วเราเปิดเผยข้อมูลให้ทราบ อาจจะเกิดปัญหาตามมาได้ ซึ่งเราเองก็คงไม่เปิดเผยข้อมูลให้หน่วยงานที่ไม่มีอำนาจตามกฏหมายเช่นกัน”นายชัยเกษมกล่าว
ทั้งนี้ ในส่วนของป.ป.ท ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ จะแสดงความจำนงว่าจะไม่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการพิเศษที่ตั้งขึ้นดังกล่าว แต่เราก็เปิดโอกาศให้ และหากจะเข้ามาก็ยินดี อย่างไรก็ตาม หาก ป.ป.ท. ไม่ส่งตัวแทนเข้ามานั่งเป็นคณะกรรมการ ขั้นตอนของการตรวจสอบก็สามารถเดินต่อไปได้
ด้านนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กบข.กล่าวว่า เรื่องที่จะชี้แจงให้คณะกรรมการชุดพิเศษได้ทราบ คงเป็นเรื่องของเงินลงทุนที่ลดลงในปี 2551 ว่าจริงๆ แล้ว เป็นการลดลงตามมูลค่าของหุ้นที่ลดลงไป เพราะปีก่อนหน้านี้ ราคาหุ้นปรับขึ้นไปค่อนข้างเยอะก่อนจะลดลงอย่างรุนแรงในปีดังกล่าว ซึ่งหุ้นที่ กบข. ลงทุนอยู่ ก็ไม่ได้ขาดทุนอะไร ยังอยู่ในพอร์ต เพราะเป็นการลงทุนระยะยาว ส่วนกรณีที่หุ้นบางส่วน ไปเกี่ยวข้องกับการปั่นหุ้นสร้างราคานั้น ในส่วนนี้จะขอชี้แจงกับคณะกรรมการตรวจสอบเอง ซึ่งในส่วนนี้ ก็ไม่ได้กังวลอะไร เนื่องจากเป็นการลงทุนตั้งแต่ยังไม่เข้าจดทะเบียนในตลาด และกองทุนขนาดใหญ่เองก็ลงทุนในหุ้นดังกล่าวเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม นายวิสิฐกล่าวว่า กบข.เองมั่นใจว่าการลงทุนทั้งหมดเป็นไปตามกฏหมาย และพร้อมให้คณะกรรมการตรวยสอบ ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นเอง ก็ไม่ได้ทำให้ท้อใจ จนต้องคิดลาออกจากตำแหน่งแต่อย่างใด
ป.ป.ท.ยืนยันเดินหน้าเข้าสอบ
แหล่งข่าว ป.ป.ท.ยืนยันว่าจะไม่เข้าร่วมกับคณะกรรมการเฉพาะกิจดังกล่าว เพราะถือว่าไม่เป็นอิสระเพราะแต่งตั้งโดยบอร์ด กบข.และยังไม่เป็นกลางอีกด้วย เห็นได้จาก นายสมพลซึ่งเป็นประธานบอร์ดธนาคารซึ่งมีส่วนได้เสียกับ กบข. เนื่องจากมีธนาคารนครหลวงไทยมีการได้ปล่อยสินเชื่อให้สมาชิก กบข.ด้วย การแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจครั้งนี้จึงเป็นการตั้งโดยบอร์ด กบข.แล้วยังดึงคนนอกที่ไม่ใช่คนนอก เพราะมีส่วนได้เสียดังกล่าว จริงอยู่แม้มองผิวเผินอาจจะดูเหมือนว่านายสมพลจะปกป้องผลประโยชน์ของสมาชิก กบข.ซึ่งเป็นลูกหนี้ แต่ในทางปฏิบัติไม่มีใครรับประกันได้
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการ ป.ป.ท. เปิดเผยว่าตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป ป.ป.ท.จะร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เข้าตรวจสอบการลงทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข.
"เราไม่ได้ก้าวก่ายการทำงานของกระทรวงการคลัง ซึ่งส่วนตัวไม่เข้าใจว่าเหตุใดนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กบข. จึงเพิกเฉย ไม่ให้ ป.ป.ท.พร้อมหน่วยงานที่เป็นกลางเข้าตรวจสอบ" นายธาริตกล่าว
ที่มาของคณะกรรมการเฉพาะกิจเกิดขึ้นภายหลัง กบข.ได้รับความเสียหายจากการลงทุน ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐได้รับหนังสือร้องเรียนของข้าราชการในสำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธายา ที่ระบุว่าการบริหารบอร์ดและผู้บริหาร กบข.ชุดปัจจุบันไม่โปร่งใส เห็นได้จากผลประกอบการของกองทุนติดลบ เฉพาะไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 กบข.ขาดทุนถึง 7.4 หมื่นล้านบาท รวมทั้งปีขาดทุน 5.8 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ข้าราชการแต่ละคนมียอดติดลบตั้งแต่หมื่นบาทถึงแสนบาทโดยเฉลี่ย ป.ป.ท.ยังพบด้วยว่าการขาดทุนของ กบข.ส่วนใหญ่เกิดจากการลงทุนในหุ้นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่ใกล้ชิดกลับกลุ่มอำนาจเก่าไม่ว่ากลุ่มแลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH)และบริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ (QH) ของกลุ่มอัศวโภคิน และบริษัทยานภัณฑ์ (YNP) ของ วิชัย ทองแตง อดีตทนายความประจำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กบข.ได้เข้าไปซื้อหุ้นของกลุ่มบริษัทเหล่านี้ตั้งแต่ปี 2550 แต่จากนั้นถัดมาในปี 2551 มูลค่าหุ้นได้ลดลง แต่กลับลงทุนเพิ่มขึ้นไปอีก ที่สำคัญหุ้นบริษัทยานภัณฑ์ถูกขึ้นบัญชีดำหุ้นปั่นจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.).
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวสรุปผลการประชุมคณะกรรมการกบข. ว่า คณะกรรมการกบข.ได้มีข้อสรุปให้ตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของ กบข.ในปี2551 จนถึงปัจจุบัน โดยคณะกรรมการเฉพาะกิจดังกล่าวจะมีอำนาจตรวจสอบใน 3 ส่วน คือ 1. ตรวจสอบการลงทุนและการดำเนินงานอื่นของกบข. ตั้งแต่ปี2551 จนถึงปัจจุบันว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ และเป็นไปตามมติของคณะกรรมการกบข.ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ 2. ตรวจสอบการดำเนินงานของกบข.ว่าได้บริหารเงินลงทุนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางการดูแลเงินออมเพื่อการเกษียณอายุของสมาชิกแล้วหรือไม่ และ 3.ตรวจสอบแนวทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของกบข. และการชี้แจงสมาชิกว่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพียงใด
คณะกรรมการเฉพาะกิจดังกล่าว จะต้องเสนอรายงานผลผลการตรวจสอบของคณะกรรมการเฉพาะกิจต่อคณะกรรมการกบข.ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค. 2552 เพื่อจะพิจารณาเสนอรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต่อไป โดยให้กบข.และบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการเฉพาะกิจในการดำเนินการอย่างเต็มที่
นายศุภรัตน์เปิดเผยว่า คณะกรรมการเฉพาะกิจมีนายสมพล เกียรติไพบูลย์ เป็นประธานกรรมการ โดยนายสมพลถือเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นที่ยอมรับ นอกจากนี้ยังเคยเป็นข้าราชการพลเรือนมาโดยตำแหน่งสุดท้ายคือปลัดกระทรวงพาณิชย์มานั่งเป็นประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจดังกล่าว นอกจากนี้ จะมีองค์ประกอบจากตัวแทนของหน่วยงานต่างๆ ทั้งกระทรวงการคลัง สำนักงานอัยการสูงสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) น.ส.บุญชู มั่งคั่ง ผู้แทนสมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นายอภิชาติ จีรวุฒิ ผู้แทนสมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือน และผู้อำนวยการสำนักกฎหมายกบข.
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ ป.ป.ท. จะตั้งคณะกรรมการขึ้นตรวจสอบด้วย คณะกรรมการกบข. ก็จะขอดูอำนาจตามกฎหมายก่อน ซึ่งหาก ทั้งนี้ ระหว่างที่คณะกรรมการเฉพาะกิจทำการตรวจสอบ นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการกบข.ยังคงปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ เพราะไม่ใช่เป็นการตรวจสอบเลขาธิการกบข.แต่ประการใด แต่เป็นการตรวจสอบใน 3 ประเด็นหลักดังกล่าวเพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้นมา
ส่วนกรณีที่มีการพูดถึงอำนาจการเข้ามาตรวจการทำงานของ ป.ป.ท.นั้น นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด กล่าวว่า ตามกฏหมายแล้วผู้ที่มีอำนาจเข้ามาตรวจสอบคือ คณะกรรมการ ป.ป.ท. ไม่ใช่สำนักงานคือเลขาธิการ ซึ่งในส่วนของคณะกรรมการเอง ปัจจุบันยังไม่มีการแต่งตั้ง ดังนั้น เราจึงเห็นว่าจะเสนอเรื่องดังกล่าวผ่านกระทรวงการคลัง เพื่อให้กฤษฎีกาพิจารณาดีความว่า ป.ป.ท. มีอำนาจเข้ามาตรวจสอบการทำงานของ กบข. ตามกฎหมายหรือไม่
อย่างไรก็ตาม หากทาง ป.ป.ท. มั่นใจว่า มีอำนาจถูกต้อง เราก็จะเสนอให้คณะกรรมการ กบข. พิจารณาอีกครั้ง หากคณะกรรมการเห็นด้วยก็พร้อมให้เข้ามาตรวจสอบว่ามีการลงทุนที่ถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่
“หากหน่วยงานที่จะเข้ามาตรวจสอบ ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย แล้วเราเปิดเผยข้อมูลให้ทราบ อาจจะเกิดปัญหาตามมาได้ ซึ่งเราเองก็คงไม่เปิดเผยข้อมูลให้หน่วยงานที่ไม่มีอำนาจตามกฏหมายเช่นกัน”นายชัยเกษมกล่าว
ทั้งนี้ ในส่วนของป.ป.ท ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ จะแสดงความจำนงว่าจะไม่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการพิเศษที่ตั้งขึ้นดังกล่าว แต่เราก็เปิดโอกาศให้ และหากจะเข้ามาก็ยินดี อย่างไรก็ตาม หาก ป.ป.ท. ไม่ส่งตัวแทนเข้ามานั่งเป็นคณะกรรมการ ขั้นตอนของการตรวจสอบก็สามารถเดินต่อไปได้
ด้านนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กบข.กล่าวว่า เรื่องที่จะชี้แจงให้คณะกรรมการชุดพิเศษได้ทราบ คงเป็นเรื่องของเงินลงทุนที่ลดลงในปี 2551 ว่าจริงๆ แล้ว เป็นการลดลงตามมูลค่าของหุ้นที่ลดลงไป เพราะปีก่อนหน้านี้ ราคาหุ้นปรับขึ้นไปค่อนข้างเยอะก่อนจะลดลงอย่างรุนแรงในปีดังกล่าว ซึ่งหุ้นที่ กบข. ลงทุนอยู่ ก็ไม่ได้ขาดทุนอะไร ยังอยู่ในพอร์ต เพราะเป็นการลงทุนระยะยาว ส่วนกรณีที่หุ้นบางส่วน ไปเกี่ยวข้องกับการปั่นหุ้นสร้างราคานั้น ในส่วนนี้จะขอชี้แจงกับคณะกรรมการตรวจสอบเอง ซึ่งในส่วนนี้ ก็ไม่ได้กังวลอะไร เนื่องจากเป็นการลงทุนตั้งแต่ยังไม่เข้าจดทะเบียนในตลาด และกองทุนขนาดใหญ่เองก็ลงทุนในหุ้นดังกล่าวเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม นายวิสิฐกล่าวว่า กบข.เองมั่นใจว่าการลงทุนทั้งหมดเป็นไปตามกฏหมาย และพร้อมให้คณะกรรมการตรวยสอบ ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นเอง ก็ไม่ได้ทำให้ท้อใจ จนต้องคิดลาออกจากตำแหน่งแต่อย่างใด
ป.ป.ท.ยืนยันเดินหน้าเข้าสอบ
แหล่งข่าว ป.ป.ท.ยืนยันว่าจะไม่เข้าร่วมกับคณะกรรมการเฉพาะกิจดังกล่าว เพราะถือว่าไม่เป็นอิสระเพราะแต่งตั้งโดยบอร์ด กบข.และยังไม่เป็นกลางอีกด้วย เห็นได้จาก นายสมพลซึ่งเป็นประธานบอร์ดธนาคารซึ่งมีส่วนได้เสียกับ กบข. เนื่องจากมีธนาคารนครหลวงไทยมีการได้ปล่อยสินเชื่อให้สมาชิก กบข.ด้วย การแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจครั้งนี้จึงเป็นการตั้งโดยบอร์ด กบข.แล้วยังดึงคนนอกที่ไม่ใช่คนนอก เพราะมีส่วนได้เสียดังกล่าว จริงอยู่แม้มองผิวเผินอาจจะดูเหมือนว่านายสมพลจะปกป้องผลประโยชน์ของสมาชิก กบข.ซึ่งเป็นลูกหนี้ แต่ในทางปฏิบัติไม่มีใครรับประกันได้
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการ ป.ป.ท. เปิดเผยว่าตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป ป.ป.ท.จะร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เข้าตรวจสอบการลงทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข.
"เราไม่ได้ก้าวก่ายการทำงานของกระทรวงการคลัง ซึ่งส่วนตัวไม่เข้าใจว่าเหตุใดนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กบข. จึงเพิกเฉย ไม่ให้ ป.ป.ท.พร้อมหน่วยงานที่เป็นกลางเข้าตรวจสอบ" นายธาริตกล่าว
ที่มาของคณะกรรมการเฉพาะกิจเกิดขึ้นภายหลัง กบข.ได้รับความเสียหายจากการลงทุน ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐได้รับหนังสือร้องเรียนของข้าราชการในสำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธายา ที่ระบุว่าการบริหารบอร์ดและผู้บริหาร กบข.ชุดปัจจุบันไม่โปร่งใส เห็นได้จากผลประกอบการของกองทุนติดลบ เฉพาะไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 กบข.ขาดทุนถึง 7.4 หมื่นล้านบาท รวมทั้งปีขาดทุน 5.8 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ข้าราชการแต่ละคนมียอดติดลบตั้งแต่หมื่นบาทถึงแสนบาทโดยเฉลี่ย ป.ป.ท.ยังพบด้วยว่าการขาดทุนของ กบข.ส่วนใหญ่เกิดจากการลงทุนในหุ้นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่ใกล้ชิดกลับกลุ่มอำนาจเก่าไม่ว่ากลุ่มแลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH)และบริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ (QH) ของกลุ่มอัศวโภคิน และบริษัทยานภัณฑ์ (YNP) ของ วิชัย ทองแตง อดีตทนายความประจำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กบข.ได้เข้าไปซื้อหุ้นของกลุ่มบริษัทเหล่านี้ตั้งแต่ปี 2550 แต่จากนั้นถัดมาในปี 2551 มูลค่าหุ้นได้ลดลง แต่กลับลงทุนเพิ่มขึ้นไปอีก ที่สำคัญหุ้นบริษัทยานภัณฑ์ถูกขึ้นบัญชีดำหุ้นปั่นจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.).