นายกฯ เร่งผู้เกี่ยวข้องร่วมตรวจสอบ กบข.พ่วงกองทุนประกันสังคม ไฟเขียวข้าราชการเกษียณอายุ หากเดือดร้อนให้ร้องเรียนมา เลขาฯ ป.ป.ท.ให้โอกาสบอร์ด กบข.ประชุมวันนี้ก่อน หากยังไม่ยอมให้ตรวจสอบ จะเสนอ รมว.ยุติธรรมออกคำสั่ง สมาชิก กบข.ครูใต้หนุนองค์กรอิสระตรวจสอบทุจริต
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการติดตามการแก้ปัญหาภาวะขาดทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) วานนี้ (19 มี.ค.) ว่า ส่วนของการขาดทุนและมีข้อสงสัยว่ามีการบริหารผิดพลาดโปร่งใสหรือไม่ ต้องมีการตรวจสอบ ซึ่งคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) และกระทรวงการคลังจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบความเสียหายของ กบข. ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสมาชิกนั้นได้มอบหมายให้ไปดูแล้ว หากกระทบสิทธิจริงๆ ต้องพยายามดูว่าจะมีวิธีการอย่างไร แต่เบื้องต้น สิทธิของผู้ที่เกษียณอายุในช่วงนี้จะไม่ได้รับผลกระทบ หากมีก็ต้องร้องเรียนเข้ามา รัฐบาลก็พร้อมที่จะดูแล
ส่วนกรณีที่ข้อมูลระหว่าง ป.ป.ท. กับ กบข. ไม่ตรงกัน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เข้าใจว่า กบข. เป็นผู้เสนอให้ ป.ป.ท. เข้ามาสอบ ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังก็อยากจะสอบด้วย เลยเชิญ ป.ป.ท. เข้าไป และป.ป.ท. ก็บอกว่าถ้าจะสอบ เขาจะสอบของเขาเอง ขณะที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ กบข. ว่า นำเงินไปซื้อหุ้นจนขาดทุนนั้น มีการแก้ไขกฎหมายในช่วงก่อนนี้ว่าให้สามารถที่จะเพิ่มในเรื่องของการลงทุนในส่วนของหุ้นได้ แต่กฎหมายก็จะกำหนดเพดานเอาไว้ว่าต้องเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ ซึ่งถือเป็นบทเรียนหนึ่งที่คงจะคล้ายๆ กับทุกกองทุน ทั้งของรัฐของเอกชนว่า ถ้าผลตอบแทนดีในช่วงที่บูมมาก ๆ ก็ต้องระวังอย่าไปคิดว่าจะเป็นอย่างนั้นตลอดไป
"กฎหมายมีการจำกัดเพดานอยู่ และจะดูเรื่องสิทธิประโยชน์ในบัญชีรวมว่าต้องเป็นอย่างไร ก็มีการทำทั้งบัญชีในส่วนของกองรวม และในส่วนที่นำไปลงทุน อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นทาง ป.ป.ท. กับกระทรวงการคลัง จะเร่งตรวจสอบ" นายกรัฐมนตรีกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นผลพวงมาจากที่การเมืองนำเงินลงทุนดังกล่าวไปปั่นหุ้น จนเกิดปัญหาการขาดทุนหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กำลังให้ผู้เกี่ยวข้องไปตรวจสอบตรงนี้ รวมทั้งในส่วนของกองทุนประกันสังคม ตนจึงพยายามผลักดันให้สำนักงานประกันสังคมออกมาเป็นองค์กรอิสระ
เมื่อวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมานายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม แสดงความพอใจผลการดำเนินงานของปีที่ผ่านมา โดยอ้างว่า ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะวิกฤต นักลงทุนทั่วโลกพากันเทขายสินทรัพย์เสี่ยงแล้วนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้ที่มีความมั่นคงสูง ทำให้ราคาพันธบัตรต่างประเทศที่สำนักงานประกันสังคมลงทุนปรับตัวสูงขึ้น วงเงินลงทุนจำนวน 24,301 ล้านบาทข้างต้นจึงมูลค่าตามราคาตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 24,523 ล้านบาท ทำให้กองทุนประกันสังคมมีกำไรที่ยังไม่รับรู้จากการลงทุนในต่างประเทศจำนวน 222 ล้านบาท เมื่อรวมกับเงินปันผลสะสมอีกจำนวน 145 ล้านบาท สำนักงานประกันสังคมจึงมีกำไรสะสมจากการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศจำนวน 367 ล้านบาท
ทั้งนี้ สัดส่วนเงินลงทุนจำนวน 567,906 ล้านบาทในปัจจุบัน แบ่งลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน เงินฝากธนาคาร และหุ้นกู้เอกชน 477,694 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 84 ของเงินลงทุน และลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ตราสารหนี้อื่นๆ หน่วยลงทุน และหุ้นสามัญ 90,212 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16 ของเงินลงทุน
"กองทุนประกันสังคมมีรายรับจากการลงทุนจำนวน 24,475 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยดอกเบี้ยรับจากพันธบัตรและหุ้นกู้ จำนวน 22,012 ล้านบาท เงินปันผลและกำไรจากการขายหลักทรัพย์จำนวน 2,463 ล้านบาท โดยสูงกว่าปีก่อนหน้านี้ ซึ่งกองทุนมีรายรับอยู่เพียงจำนวน 21,109 ล้านบาท"
บิ๊ก ป.ป.ท.พร้อมลุยเต็มพิกัด
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการขอเข้าตรวจสอบการขาดทุนของ กบข.ว่า ป.ป.ท.อยู่ระหว่างร่างหนังสือเสนอนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) ให้มีคำสั่งให้ ป.ป.ท.ร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ร่วมกันตรวจสอบ กบข. โดย ป.ป.ท.จะรอฟังผลการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กบข. ในวันนี้ (20 มี.ค.) ก่อน หาก กบข.ยังไม่ยินยอมให้ ป.ป.ท.เข้าตรวจสอบก็จะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้มีคำสั่งให้ ป.ป.ท.เข้าตรวจสอบ
สำหรับกรณีที่ กบข.สงสัยเรื่องอำนาจตรวจสอบของ ป.ป.ท.จึงได้ประสานดีเอสไอตรวจสอบว่ามีการกระทำความผิดในการปั่นหุ้นหรือไม่ และให้ ป.ป.ง.ตรวจสอบกระแสการเงินในการบริหาร กบข. และยังเชิญหน่วยงานนอกร่วมเป็นกรรมการตรวจสอบกับ ป.ป.ท.ด้วย หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีคำสั่งให้เข้าตรวจสอบ กบข.ถือว่าเป็นการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเข้าตรวจสอบตามกฎหมาย หาก กบข.ยังไม่ยินยอมจะมีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน
ครูใต้หนุนองค์กรอิสระสางทุจริต
การเคลื่อนไหวของสมาชิก กบข. ในส่วนที่เป็นข้าราชการครูในภาคใต้นั้น นายวิชาญ อธิกพันธ์ ที่ปรึกษาสมาพันธ์ครูภาคใต้ เปิดเผยว่า มติข้อเรียกข้อที่มีเป็นไปตามที่นายวิศร์ อัตรสันตติกุล นายกสมาคมข้าราชการพลเรือนฯ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานองค์กรเครือข่ายสมาชิก กบข.แห่งประเทศไทย ซึ่งได้เรียกร้องต่อรัฐบาลไปแล้ว ทั้งการขอให้ยุบ กบข. หรือให้นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กบข.ลาออกจากตำแหน่ง พร้อมทั้งแก้ไข พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญช้าราชการ พ.ศ.2539 มาตรา 63 และให้หน่วยงานอื่นสามารถเข้าไปตรวจสอบการใช้เงินของ กบข.ได้ ซึ่งหากนายกรัฐมนตรีไม่ปฎิบัติตามข้อเรียกร้อง สมาชิก กบข.ทั่วประเทศจำนวน 1,180,000 คน จะรวบรวมรายชื่อเพื่อขอลาออกจาก กบข.เอง และไม่จ่ายเงินสมทบอีกต่อไป
"เสียงส่วนใหญ่ของสมาชิกต้องการให้การบริหารกองทุน กบข.นั้นมีความโปร่งใส สมาชิกได้ประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วย เราไม่อยากจะไปปรักปรำใคร แต่ถ้าหากบริหารแล้วขาดทุนก็ต้องชี้แจงสาเหตุว่าเป็นเพราะการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือเพราะผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก เพื่อความสบายใจ ซึ่งนับต่อจากนี้คงต้องให้องค์กรอิสระเข้าไปตรวจสอบถึงจะรู้ว่าแท้จริงแล้วเกิดอะไรขึ้น" นายวิชาญกล่าวต่อและว่า
ที่ผ่านมาสมาพันธ์ครูภาคใต้ได้ร่วมประชุม ได้รวมกันเสนอแนะข้อคิดเห็นต่างๆ ที่ที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก เพราะเมื่อ กบข.มีปัญหาทั้งเรื่องของการบริหารจัดการเงิน และกฎข้อบังคับต่างๆ ข้าราชการครูและพลเรือนจะได้รับผลกระทบโดยตรง ทั้งที่เป็นข้าราชการบำนาญ และเกษียณก่อนอายุ ซึ่งหากในอนาคตมีการร่วมประชุมได้ข้อสรุปอย่างไร สมาชิกในภาคใต้ก็พร้อมที่จะปฎิบัติตามและร่วมต่อสู้จนถึงที่สุดอย่างแน่นอน.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการติดตามการแก้ปัญหาภาวะขาดทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) วานนี้ (19 มี.ค.) ว่า ส่วนของการขาดทุนและมีข้อสงสัยว่ามีการบริหารผิดพลาดโปร่งใสหรือไม่ ต้องมีการตรวจสอบ ซึ่งคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) และกระทรวงการคลังจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบความเสียหายของ กบข. ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสมาชิกนั้นได้มอบหมายให้ไปดูแล้ว หากกระทบสิทธิจริงๆ ต้องพยายามดูว่าจะมีวิธีการอย่างไร แต่เบื้องต้น สิทธิของผู้ที่เกษียณอายุในช่วงนี้จะไม่ได้รับผลกระทบ หากมีก็ต้องร้องเรียนเข้ามา รัฐบาลก็พร้อมที่จะดูแล
ส่วนกรณีที่ข้อมูลระหว่าง ป.ป.ท. กับ กบข. ไม่ตรงกัน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เข้าใจว่า กบข. เป็นผู้เสนอให้ ป.ป.ท. เข้ามาสอบ ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังก็อยากจะสอบด้วย เลยเชิญ ป.ป.ท. เข้าไป และป.ป.ท. ก็บอกว่าถ้าจะสอบ เขาจะสอบของเขาเอง ขณะที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ กบข. ว่า นำเงินไปซื้อหุ้นจนขาดทุนนั้น มีการแก้ไขกฎหมายในช่วงก่อนนี้ว่าให้สามารถที่จะเพิ่มในเรื่องของการลงทุนในส่วนของหุ้นได้ แต่กฎหมายก็จะกำหนดเพดานเอาไว้ว่าต้องเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ ซึ่งถือเป็นบทเรียนหนึ่งที่คงจะคล้ายๆ กับทุกกองทุน ทั้งของรัฐของเอกชนว่า ถ้าผลตอบแทนดีในช่วงที่บูมมาก ๆ ก็ต้องระวังอย่าไปคิดว่าจะเป็นอย่างนั้นตลอดไป
"กฎหมายมีการจำกัดเพดานอยู่ และจะดูเรื่องสิทธิประโยชน์ในบัญชีรวมว่าต้องเป็นอย่างไร ก็มีการทำทั้งบัญชีในส่วนของกองรวม และในส่วนที่นำไปลงทุน อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นทาง ป.ป.ท. กับกระทรวงการคลัง จะเร่งตรวจสอบ" นายกรัฐมนตรีกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นผลพวงมาจากที่การเมืองนำเงินลงทุนดังกล่าวไปปั่นหุ้น จนเกิดปัญหาการขาดทุนหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กำลังให้ผู้เกี่ยวข้องไปตรวจสอบตรงนี้ รวมทั้งในส่วนของกองทุนประกันสังคม ตนจึงพยายามผลักดันให้สำนักงานประกันสังคมออกมาเป็นองค์กรอิสระ
เมื่อวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมานายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม แสดงความพอใจผลการดำเนินงานของปีที่ผ่านมา โดยอ้างว่า ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะวิกฤต นักลงทุนทั่วโลกพากันเทขายสินทรัพย์เสี่ยงแล้วนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้ที่มีความมั่นคงสูง ทำให้ราคาพันธบัตรต่างประเทศที่สำนักงานประกันสังคมลงทุนปรับตัวสูงขึ้น วงเงินลงทุนจำนวน 24,301 ล้านบาทข้างต้นจึงมูลค่าตามราคาตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 24,523 ล้านบาท ทำให้กองทุนประกันสังคมมีกำไรที่ยังไม่รับรู้จากการลงทุนในต่างประเทศจำนวน 222 ล้านบาท เมื่อรวมกับเงินปันผลสะสมอีกจำนวน 145 ล้านบาท สำนักงานประกันสังคมจึงมีกำไรสะสมจากการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศจำนวน 367 ล้านบาท
ทั้งนี้ สัดส่วนเงินลงทุนจำนวน 567,906 ล้านบาทในปัจจุบัน แบ่งลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน เงินฝากธนาคาร และหุ้นกู้เอกชน 477,694 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 84 ของเงินลงทุน และลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ตราสารหนี้อื่นๆ หน่วยลงทุน และหุ้นสามัญ 90,212 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16 ของเงินลงทุน
"กองทุนประกันสังคมมีรายรับจากการลงทุนจำนวน 24,475 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยดอกเบี้ยรับจากพันธบัตรและหุ้นกู้ จำนวน 22,012 ล้านบาท เงินปันผลและกำไรจากการขายหลักทรัพย์จำนวน 2,463 ล้านบาท โดยสูงกว่าปีก่อนหน้านี้ ซึ่งกองทุนมีรายรับอยู่เพียงจำนวน 21,109 ล้านบาท"
บิ๊ก ป.ป.ท.พร้อมลุยเต็มพิกัด
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการขอเข้าตรวจสอบการขาดทุนของ กบข.ว่า ป.ป.ท.อยู่ระหว่างร่างหนังสือเสนอนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) ให้มีคำสั่งให้ ป.ป.ท.ร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ร่วมกันตรวจสอบ กบข. โดย ป.ป.ท.จะรอฟังผลการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กบข. ในวันนี้ (20 มี.ค.) ก่อน หาก กบข.ยังไม่ยินยอมให้ ป.ป.ท.เข้าตรวจสอบก็จะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้มีคำสั่งให้ ป.ป.ท.เข้าตรวจสอบ
สำหรับกรณีที่ กบข.สงสัยเรื่องอำนาจตรวจสอบของ ป.ป.ท.จึงได้ประสานดีเอสไอตรวจสอบว่ามีการกระทำความผิดในการปั่นหุ้นหรือไม่ และให้ ป.ป.ง.ตรวจสอบกระแสการเงินในการบริหาร กบข. และยังเชิญหน่วยงานนอกร่วมเป็นกรรมการตรวจสอบกับ ป.ป.ท.ด้วย หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีคำสั่งให้เข้าตรวจสอบ กบข.ถือว่าเป็นการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเข้าตรวจสอบตามกฎหมาย หาก กบข.ยังไม่ยินยอมจะมีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน
ครูใต้หนุนองค์กรอิสระสางทุจริต
การเคลื่อนไหวของสมาชิก กบข. ในส่วนที่เป็นข้าราชการครูในภาคใต้นั้น นายวิชาญ อธิกพันธ์ ที่ปรึกษาสมาพันธ์ครูภาคใต้ เปิดเผยว่า มติข้อเรียกข้อที่มีเป็นไปตามที่นายวิศร์ อัตรสันตติกุล นายกสมาคมข้าราชการพลเรือนฯ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานองค์กรเครือข่ายสมาชิก กบข.แห่งประเทศไทย ซึ่งได้เรียกร้องต่อรัฐบาลไปแล้ว ทั้งการขอให้ยุบ กบข. หรือให้นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กบข.ลาออกจากตำแหน่ง พร้อมทั้งแก้ไข พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญช้าราชการ พ.ศ.2539 มาตรา 63 และให้หน่วยงานอื่นสามารถเข้าไปตรวจสอบการใช้เงินของ กบข.ได้ ซึ่งหากนายกรัฐมนตรีไม่ปฎิบัติตามข้อเรียกร้อง สมาชิก กบข.ทั่วประเทศจำนวน 1,180,000 คน จะรวบรวมรายชื่อเพื่อขอลาออกจาก กบข.เอง และไม่จ่ายเงินสมทบอีกต่อไป
"เสียงส่วนใหญ่ของสมาชิกต้องการให้การบริหารกองทุน กบข.นั้นมีความโปร่งใส สมาชิกได้ประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วย เราไม่อยากจะไปปรักปรำใคร แต่ถ้าหากบริหารแล้วขาดทุนก็ต้องชี้แจงสาเหตุว่าเป็นเพราะการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือเพราะผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก เพื่อความสบายใจ ซึ่งนับต่อจากนี้คงต้องให้องค์กรอิสระเข้าไปตรวจสอบถึงจะรู้ว่าแท้จริงแล้วเกิดอะไรขึ้น" นายวิชาญกล่าวต่อและว่า
ที่ผ่านมาสมาพันธ์ครูภาคใต้ได้ร่วมประชุม ได้รวมกันเสนอแนะข้อคิดเห็นต่างๆ ที่ที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก เพราะเมื่อ กบข.มีปัญหาทั้งเรื่องของการบริหารจัดการเงิน และกฎข้อบังคับต่างๆ ข้าราชการครูและพลเรือนจะได้รับผลกระทบโดยตรง ทั้งที่เป็นข้าราชการบำนาญ และเกษียณก่อนอายุ ซึ่งหากในอนาคตมีการร่วมประชุมได้ข้อสรุปอย่างไร สมาชิกในภาคใต้ก็พร้อมที่จะปฎิบัติตามและร่วมต่อสู้จนถึงที่สุดอย่างแน่นอน.