ที่ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง วานนี้ (20 มี.ค.) ได้ออกคำสั่ง ให้เพิกถอนสิทธิ เลือกตั้ง นายนพดล พลซื่อ ส.ส.ร้อยเอ็ด เขต 3 กรรมการบริหารพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นเวลา 5 ปี และให้มีการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ร้อยเอ็ด เขต 3 ใหม่ 1 ตำแหน่ง ตามที่ กกต. ยื่นคำร้อง
คดีนี้ กกต.ผู้ร้อง ยื่นคำร้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2550 มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง พ.ศ.2550 ในวันที่ 23 ธ.ค. นายนพดล และนายกิตติพงษ์ พรหมช่วยอนันต์ ผู้คัดค้านที่ 1-2 เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.ร้อยเอ็ด เขต 3 สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน ผลปรากฎว่าผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับการเลือกตั้ง และผู้ร้องคือ กกต.ได้ประกาศรับรองให้เป็น ส.ส.
ต่อมา นายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ ผู้สมัคร ส.ส.ร้อยเอ็ด เขต 3 พรรคพลังประชาชน ร้องคัดค้านการเลือกตั้งว่าไม่สุจริต ผู้ร้องสืบสวนแล้วพบประเด็นใหม่ว่า ผู้คัดค้านทั้งสองร่วมกับ นายเอกภาพ ซึ่งเป็นผู้แทนหรือหัวคะแนน ใช้รถกระบะรับประชาชนไปฟังการปราศรัยที่บ้านของนายเอกภาพ วันที่ 20 และ 28 ต.ค. 2551 ภายหลังเสร็จสิ้นการปราศรัยแล้วมีการให้เงินกับเจ้าของรถและผู้ฟังปราศรัย อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการมา ซึ่ง ส.ว. พ.ศ. 2550 ให้ทรัพย์สิน จูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนให้กับตนเอง ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต ซึ่งมีความผิดตามรัฐธรรมนูญ 2550 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นค้านอ้างว่า ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้อง การตั้งกรรมการสืบสวน สอบสวนใหม่ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ว่าด้วย กกต. ผู้คัดค้านไม่มีพฤติการณ์เป็นผู้ก่อ สนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจชักจูงประชาชนให้มาฟังการปราศรัย และไม่มีการจ่ายเงิน
ศาลพิเคราะห์แล้วฝ่ายผู้ร้องมีชาวบ้านใน จ.ร้อยเอ็ด หลายปากเป็นพยาน เบิกความสอดคล้องกันว่า มีผู้แทนชักจูงให้เจ้าของรถนำประชาชนในหมู่บ้านต่างๆ ไปฟังการปราศรัยที่บ้านของนายเอกภาพ ซึ่งนายเอกภาพได้ขึ้นเวทีปราศรัยและแนะนำผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลาน และผู้คัดค้านที่ 2 ในการลงสมัครรับเลือกตั้ง หลังเสร็จสิ้นการปราศรัย นายเอกภาพ ยังได้พูดคุยและจ่ายเงินให้ค่ารถ และค่าฟังให้กับพยาน เห็นว่าพยานหลายปากเบิกความสอดคล้องต้องกันในสาระสำคัญ
มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของผู้คัดค้านทั้งสอง เป็นผู้ก่อ รู้เห็นเป็นใจหรือสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งไม่สุจริตหรือไม่ เห็นว่า การเลือกตั้ง ส.ส. จะต้องมีทีมงานตระเตรียมการด้านต่างๆ โดยการปราศรัยจัดขึ้นที่บ้านของนายเอกภาพ ซึ่งเป็นอดีต ส.ส.หลายสมัย เป็นผู้ปราศรัยช่วยเหลือเปิดตัว ผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลาน และผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นนักการเมืองใหม่ ให้ประชาชนรู้จัก โดยขอให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้การสนับสนุนผู้คัดค้านทั้งสองเพื่อปูทางสู่การเป็น ส.ส. เห็นว่า ผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้ก่อ รู้เห็นเป็นใจหรือสนับสนุน พาประชาชนไปฟังปราศรัย และจ่ายเงินจูงใจให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนให้แก่ตนเอง ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธเลือกตั้งดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปี
นายนพดล ให้สัมภาษณ์ว่า การถูกเพิกถอนสิทธิคงไม่ส่งผลกระทบไปถึงการยุบพรรค และไม่ทำให้รัฐบาลสั่นคลอน ส่วนตัวยังคิดไม่ออกว่าจะกลับไปรับราชการเหมือนเดิมได้หรือไม่ หรือจะอยู่เบื้องหลังการเมือง อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งครั้งใหม่ขอให้ประชาชนให้การสนับสนุนตระกูลพลซื่อต่อไป
นางสดศรี สัตยธรรม กกต. กล่าวว่า กรณีนายนพดล ซึ่งเป็น รองเลขาธิการ พรรคเพื่อแผ่นดิน ถูกศาลฎีกาฯให้ใบแดงจะเป็นเหตุให้ยุบพรรคเพื่อแผ่นดินหรือไม่นั้น ยังเป็นปัญหาอยู่ เพราะจากที่ได้รับรายงานเบื้องต้นทราบว่านายนพดล ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคเพื่อแผ่นดินให้เป็นกรรมการบริหารพรรค ในวันที่ 25 ต.ค.2550 จากนั้นได้มีการส่งเรื่องต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง ซึ่งมีการตอบรับการเปลี่ยนแปลงในวันที่ 19 ธ.ค.2550 แต่ในช่วงวันที่ 10-3 ธ.ค.2550 เป็นช่วงที่นายนพดลทำความผิด จึงเป็นปัญหาว่า ขณะที่มีการกระทำผิด นายนพด ลถือเป็นกรรมการบริหารพรรคหรือยัง ซึ่งเรื่องนี้อาจต้องนำเข้าที่ประชุมที่ปรึกษากฎหมายของ กกต. เพื่อพิจารณาและเสนอที่ประชุมกกต.เพื่อวินิจฉัย
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการกกต. กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่น่าจะมีปัญหาเพราะความเป็นกรรมการบริหารพรรคจะสมบูรณ์ต่อเมื่อนายทะเบียนประกาศรับรอง ไม่เหมือนกับกรณีการลาออกจาการเป็นสมาชิกพรรค ที่การลาออกจะสมบูรณ์ทันทีเมื่อนายทะเบียนสมาชิกพรรคนั้นได้รับหนังสือ โดยไม่ต้องรอการตอบรับจากนายทะเบียนพรรคการเมือง อย่างไรก็ตามเรื่องนี้จะมีความชัดเจนในวันที่ 23 มี.ค.นี้ เนื่องจากประธานกกต.ได้เชิญประชุมกกต.นัดพิเศษ เพื่อพิจารณากรณีดังกล่าว เพราะจะต้องมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งต้องเสนอเรื่องไปยังครม. เพื่อให้ทูลเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ที่คาดว่าจะมีขึ้นช่วงปลายเดือนเม.ย.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกรณีของนายนพดล หากมีการตีความว่า นายนพดล เป็นกรรมการบริหารพรรคนับตั้งแต่วันที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ของพรรคในวันที่ 25 ต.ค.50 ไม่เพียงมีผลให้พรรคเพื่อแผ่นดินต้องถูกยุบพรรคเท่านั้น แต่อาจมีผลให้รัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ที่มาจากพรรคเพื่อแผ่นดินต้องพ้นจากตำแหน่ง อาทิ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รคเพื่อแผ่นดิน นายและนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตามม. 41 วรรคสอง พ.ร.บ.พรรคการเมืองระบุว่า การเปลี่ยนแปลง ตาม ม. 12(5) คือ ชื่อ อาชีพ ที่อยู่และรายมือชื่อของกรรมการบริหารพรรคการเมือง จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้รับการตอบรับจากนายทะเบียนพรรคการเมือง รวมทั้งที่ผ่านมา ในการยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคการเมือง ที่มีการยื่นยุบพรรคนั้น อัยการจะระบุขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งเพิกถอนสิทธิ กรรมการบริหารพรรคตามวันที่นายทะเบียนตอบรับการเปลี่ยนแปลง ดั้งนั้น หากยึดตามหลักดังกล่าวถือว่า นายนพดลกระทำความผิดก่อนที่นายทะเบียนจะตอบรับให้นายนพดลเป็นกรรมการบริหารพรรค จึงไม่เป็นเหตุให้ยุบพรรคเพื่อแผ่นดิน
คดีนี้ กกต.ผู้ร้อง ยื่นคำร้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2550 มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง พ.ศ.2550 ในวันที่ 23 ธ.ค. นายนพดล และนายกิตติพงษ์ พรหมช่วยอนันต์ ผู้คัดค้านที่ 1-2 เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.ร้อยเอ็ด เขต 3 สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน ผลปรากฎว่าผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับการเลือกตั้ง และผู้ร้องคือ กกต.ได้ประกาศรับรองให้เป็น ส.ส.
ต่อมา นายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ ผู้สมัคร ส.ส.ร้อยเอ็ด เขต 3 พรรคพลังประชาชน ร้องคัดค้านการเลือกตั้งว่าไม่สุจริต ผู้ร้องสืบสวนแล้วพบประเด็นใหม่ว่า ผู้คัดค้านทั้งสองร่วมกับ นายเอกภาพ ซึ่งเป็นผู้แทนหรือหัวคะแนน ใช้รถกระบะรับประชาชนไปฟังการปราศรัยที่บ้านของนายเอกภาพ วันที่ 20 และ 28 ต.ค. 2551 ภายหลังเสร็จสิ้นการปราศรัยแล้วมีการให้เงินกับเจ้าของรถและผู้ฟังปราศรัย อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการมา ซึ่ง ส.ว. พ.ศ. 2550 ให้ทรัพย์สิน จูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนให้กับตนเอง ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต ซึ่งมีความผิดตามรัฐธรรมนูญ 2550 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นค้านอ้างว่า ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้อง การตั้งกรรมการสืบสวน สอบสวนใหม่ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ว่าด้วย กกต. ผู้คัดค้านไม่มีพฤติการณ์เป็นผู้ก่อ สนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจชักจูงประชาชนให้มาฟังการปราศรัย และไม่มีการจ่ายเงิน
ศาลพิเคราะห์แล้วฝ่ายผู้ร้องมีชาวบ้านใน จ.ร้อยเอ็ด หลายปากเป็นพยาน เบิกความสอดคล้องกันว่า มีผู้แทนชักจูงให้เจ้าของรถนำประชาชนในหมู่บ้านต่างๆ ไปฟังการปราศรัยที่บ้านของนายเอกภาพ ซึ่งนายเอกภาพได้ขึ้นเวทีปราศรัยและแนะนำผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลาน และผู้คัดค้านที่ 2 ในการลงสมัครรับเลือกตั้ง หลังเสร็จสิ้นการปราศรัย นายเอกภาพ ยังได้พูดคุยและจ่ายเงินให้ค่ารถ และค่าฟังให้กับพยาน เห็นว่าพยานหลายปากเบิกความสอดคล้องต้องกันในสาระสำคัญ
มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของผู้คัดค้านทั้งสอง เป็นผู้ก่อ รู้เห็นเป็นใจหรือสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งไม่สุจริตหรือไม่ เห็นว่า การเลือกตั้ง ส.ส. จะต้องมีทีมงานตระเตรียมการด้านต่างๆ โดยการปราศรัยจัดขึ้นที่บ้านของนายเอกภาพ ซึ่งเป็นอดีต ส.ส.หลายสมัย เป็นผู้ปราศรัยช่วยเหลือเปิดตัว ผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลาน และผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นนักการเมืองใหม่ ให้ประชาชนรู้จัก โดยขอให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้การสนับสนุนผู้คัดค้านทั้งสองเพื่อปูทางสู่การเป็น ส.ส. เห็นว่า ผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้ก่อ รู้เห็นเป็นใจหรือสนับสนุน พาประชาชนไปฟังปราศรัย และจ่ายเงินจูงใจให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนให้แก่ตนเอง ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธเลือกตั้งดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปี
นายนพดล ให้สัมภาษณ์ว่า การถูกเพิกถอนสิทธิคงไม่ส่งผลกระทบไปถึงการยุบพรรค และไม่ทำให้รัฐบาลสั่นคลอน ส่วนตัวยังคิดไม่ออกว่าจะกลับไปรับราชการเหมือนเดิมได้หรือไม่ หรือจะอยู่เบื้องหลังการเมือง อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งครั้งใหม่ขอให้ประชาชนให้การสนับสนุนตระกูลพลซื่อต่อไป
นางสดศรี สัตยธรรม กกต. กล่าวว่า กรณีนายนพดล ซึ่งเป็น รองเลขาธิการ พรรคเพื่อแผ่นดิน ถูกศาลฎีกาฯให้ใบแดงจะเป็นเหตุให้ยุบพรรคเพื่อแผ่นดินหรือไม่นั้น ยังเป็นปัญหาอยู่ เพราะจากที่ได้รับรายงานเบื้องต้นทราบว่านายนพดล ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคเพื่อแผ่นดินให้เป็นกรรมการบริหารพรรค ในวันที่ 25 ต.ค.2550 จากนั้นได้มีการส่งเรื่องต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง ซึ่งมีการตอบรับการเปลี่ยนแปลงในวันที่ 19 ธ.ค.2550 แต่ในช่วงวันที่ 10-3 ธ.ค.2550 เป็นช่วงที่นายนพดลทำความผิด จึงเป็นปัญหาว่า ขณะที่มีการกระทำผิด นายนพด ลถือเป็นกรรมการบริหารพรรคหรือยัง ซึ่งเรื่องนี้อาจต้องนำเข้าที่ประชุมที่ปรึกษากฎหมายของ กกต. เพื่อพิจารณาและเสนอที่ประชุมกกต.เพื่อวินิจฉัย
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการกกต. กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่น่าจะมีปัญหาเพราะความเป็นกรรมการบริหารพรรคจะสมบูรณ์ต่อเมื่อนายทะเบียนประกาศรับรอง ไม่เหมือนกับกรณีการลาออกจาการเป็นสมาชิกพรรค ที่การลาออกจะสมบูรณ์ทันทีเมื่อนายทะเบียนสมาชิกพรรคนั้นได้รับหนังสือ โดยไม่ต้องรอการตอบรับจากนายทะเบียนพรรคการเมือง อย่างไรก็ตามเรื่องนี้จะมีความชัดเจนในวันที่ 23 มี.ค.นี้ เนื่องจากประธานกกต.ได้เชิญประชุมกกต.นัดพิเศษ เพื่อพิจารณากรณีดังกล่าว เพราะจะต้องมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งต้องเสนอเรื่องไปยังครม. เพื่อให้ทูลเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ที่คาดว่าจะมีขึ้นช่วงปลายเดือนเม.ย.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกรณีของนายนพดล หากมีการตีความว่า นายนพดล เป็นกรรมการบริหารพรรคนับตั้งแต่วันที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ของพรรคในวันที่ 25 ต.ค.50 ไม่เพียงมีผลให้พรรคเพื่อแผ่นดินต้องถูกยุบพรรคเท่านั้น แต่อาจมีผลให้รัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ที่มาจากพรรคเพื่อแผ่นดินต้องพ้นจากตำแหน่ง อาทิ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รคเพื่อแผ่นดิน นายและนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตามม. 41 วรรคสอง พ.ร.บ.พรรคการเมืองระบุว่า การเปลี่ยนแปลง ตาม ม. 12(5) คือ ชื่อ อาชีพ ที่อยู่และรายมือชื่อของกรรมการบริหารพรรคการเมือง จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้รับการตอบรับจากนายทะเบียนพรรคการเมือง รวมทั้งที่ผ่านมา ในการยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคการเมือง ที่มีการยื่นยุบพรรคนั้น อัยการจะระบุขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งเพิกถอนสิทธิ กรรมการบริหารพรรคตามวันที่นายทะเบียนตอบรับการเปลี่ยนแปลง ดั้งนั้น หากยึดตามหลักดังกล่าวถือว่า นายนพดลกระทำความผิดก่อนที่นายทะเบียนจะตอบรับให้นายนพดลเป็นกรรมการบริหารพรรค จึงไม่เป็นเหตุให้ยุบพรรคเพื่อแผ่นดิน