ASTVผู้จัดการรายวัน- “กฟผ”เผยแนวโน้มค่าไฟรอบใหม่จะลดลงแต่หวังลุ้นให้เรกูเรเตอร์ผ่าทางตันหนี้ค่าไฟที่แบกรับอยู่ 1.9 หมื่นล้านบาทด้วยการตรึงค่าไฟไว้ที่เดิมหรือลดลงแค่เล็กน้อยเพื่ออีกส่วนหนึ่งทยอยใช้หนี้ดังกล่าวแทน คาดหากใช้วิธีบริหารดังกล่าวอาจต้องใช้เวลาถึง 2 ปีจึงจะชดเชยได้หมด วงในเผยเอฟทีงวดใหม่จ่อลด 10 สตางค์/หน่วย
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า แนวโน้มอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ที่จะเรียกเก็บในบิลค่าไฟประชาชนรอบใหม่เดือนพ.ค.-ส.ค. 2552 มีทิศทางที่จะปรับลดลงจากราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟลดลงเฉลี่ยจากประมาณ 250 บาทต่อล้านบีทียูมาอยู่ที่ 230 บาทต่อล้านบีทียู แต่ก่อนหน้านี้กฟผ.ยังต้องแบกรับภาระในการชะลอการปรับขึ้นค่าไฟเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนรวมเป็นเงินประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาท ดังนั้นจึงได้รายงานปัญหาดังกล่าวให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกูเรเตอร์)รับทราบเพื่อตัดสินใจกำหนดค่าเอฟทีที่เหมาะสมต่อไป
“ ก็มีวิธีที่จะพิจารณาโดยอาจจะให้ตรึงราคาไว้ที่เดิมก็จะได้เงินมากหน่อย หรืออาจจะใช้วิธีปรับลดลงส่วนหนึ่งและให้อีกส่วนหนึ่งเป็นรายได้ของกฟผ. แต่การทยอยกว่าจะคืนหนี้กฟผ.หมดก็มองไว้ว่าจะอยู่ที่ประมาณ 2 ปีเป็นอย่างต่ำ”นายสมบัติกล่าว
ทั้งนี้ภาพรวมแม้ว่ากฟผ.จะมีภาระหนี้ค่าไฟแต่ไม่มีปัญหาด้านสภาพคล่องเพราะได้ดำเนินการขอรัฐบาลออกพันธบัตรในการเสริมสภาพคล่องและการลงทุนเพิ่มในกรอบวงเงินประมาณ 5 หมื่นล้านบาทแล้วโดยได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) 1 หมื่นล้านบาทซึ่งได้ออกพันธบัตรไปแล้ว 6,000 ล้านบาทและปลายเดือนนี้จะออกอีก 4,000 ล้านบาท และสัปดาห์หน้าเตรียมเสนอครม.ออกพันธบัตรเพิ่มเติมอีก 2 หมื่นล้านบาท
สำหรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าในช่วงนี้เริ่มมีการขยายตัวหลังจากเดือนม.ค. มีการใช้ไฟฟ้าติดลบถึง 13% เดือนก.พ.ติดลบ 0.5% และในช่วง 13 วันแรกของเดือนมี.ค. มีการใช้ที่เป็นบวก ที่ระดับ 2% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มมีการปรับตัวในทางที่ดีขึ้น แต่ประเมินเฉลี่ยทั้งปี ตามตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ระบุไว้ 0 ถึง ติดลบ 1 % นั้น ในปี 2552 จะเป็นครั้งแรกที่มีการใช้ไฟฟ้าติดลบ 2% หลังจากเคยติดลบมาแล้วในปี 2541 ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
ผู้ว่ากฟผ.กล่าวถึงกรณีการประกาศให้นิคมมาบตาพุด เป็นเขตควบคุมมลพิษ์ ว่า ทางน.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน ได้มอบหมายให้ไปติดตามผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเท่าที่มีการตรวจสอบไม่มีโรงไฟฟ้าใดได้รับผลกระทบ เนื่องจากทุกแห่งได้รับการอนุมัติแผนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ไปแล้ว แต่ยอมรับอาจจะมีผลกระทบหากโรงไฟฟ้าใดมีแผนจะขยายการผลิตหรือลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งจะต้องรอรายละเอียดของประกาศฉบับดังกล่าวออกมาให้ชัดเจนก่อนว่าจะมีความเข้มงวดในเรื่องการปฏิบัติที่มีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แนวโน้มค่าเอฟทีงวดใหม่หากคิดเฉพาะต้นทุนจากก๊าซธรรมชาติที่รวมค่าผ่านท่อของปตท.ที่ปรับขึ้นใหม่แล้วจะลดลงประมาณ 12 สตางค์ต่อหน่วยแต่เนื่องจากจะต้องรอคำนวณในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนที่ล่าสุดยอมรับว่ามีการแข็งค่าขึ้นตรงนี้อาจทำให้ค่าเอฟทีปรับลดลงได้ไม่ถึง 12 สตางค์ต่อหน่วยซึ่งหากคำนวณตัวเลขเบื้องต้นน่าจะอยู่ประมาณ 10 สตางค์ต่อหน่วยซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 4,000 กว่าล้านบาทที่จะเป็นรายได้เข้ามาชดเชยหนี้กรณีที่ให้ตรึงราคาไว้ที่เดิมโดยไม่ปรับลดลง
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า แนวโน้มอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ที่จะเรียกเก็บในบิลค่าไฟประชาชนรอบใหม่เดือนพ.ค.-ส.ค. 2552 มีทิศทางที่จะปรับลดลงจากราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟลดลงเฉลี่ยจากประมาณ 250 บาทต่อล้านบีทียูมาอยู่ที่ 230 บาทต่อล้านบีทียู แต่ก่อนหน้านี้กฟผ.ยังต้องแบกรับภาระในการชะลอการปรับขึ้นค่าไฟเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนรวมเป็นเงินประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาท ดังนั้นจึงได้รายงานปัญหาดังกล่าวให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกูเรเตอร์)รับทราบเพื่อตัดสินใจกำหนดค่าเอฟทีที่เหมาะสมต่อไป
“ ก็มีวิธีที่จะพิจารณาโดยอาจจะให้ตรึงราคาไว้ที่เดิมก็จะได้เงินมากหน่อย หรืออาจจะใช้วิธีปรับลดลงส่วนหนึ่งและให้อีกส่วนหนึ่งเป็นรายได้ของกฟผ. แต่การทยอยกว่าจะคืนหนี้กฟผ.หมดก็มองไว้ว่าจะอยู่ที่ประมาณ 2 ปีเป็นอย่างต่ำ”นายสมบัติกล่าว
ทั้งนี้ภาพรวมแม้ว่ากฟผ.จะมีภาระหนี้ค่าไฟแต่ไม่มีปัญหาด้านสภาพคล่องเพราะได้ดำเนินการขอรัฐบาลออกพันธบัตรในการเสริมสภาพคล่องและการลงทุนเพิ่มในกรอบวงเงินประมาณ 5 หมื่นล้านบาทแล้วโดยได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) 1 หมื่นล้านบาทซึ่งได้ออกพันธบัตรไปแล้ว 6,000 ล้านบาทและปลายเดือนนี้จะออกอีก 4,000 ล้านบาท และสัปดาห์หน้าเตรียมเสนอครม.ออกพันธบัตรเพิ่มเติมอีก 2 หมื่นล้านบาท
สำหรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าในช่วงนี้เริ่มมีการขยายตัวหลังจากเดือนม.ค. มีการใช้ไฟฟ้าติดลบถึง 13% เดือนก.พ.ติดลบ 0.5% และในช่วง 13 วันแรกของเดือนมี.ค. มีการใช้ที่เป็นบวก ที่ระดับ 2% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มมีการปรับตัวในทางที่ดีขึ้น แต่ประเมินเฉลี่ยทั้งปี ตามตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ระบุไว้ 0 ถึง ติดลบ 1 % นั้น ในปี 2552 จะเป็นครั้งแรกที่มีการใช้ไฟฟ้าติดลบ 2% หลังจากเคยติดลบมาแล้วในปี 2541 ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
ผู้ว่ากฟผ.กล่าวถึงกรณีการประกาศให้นิคมมาบตาพุด เป็นเขตควบคุมมลพิษ์ ว่า ทางน.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน ได้มอบหมายให้ไปติดตามผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเท่าที่มีการตรวจสอบไม่มีโรงไฟฟ้าใดได้รับผลกระทบ เนื่องจากทุกแห่งได้รับการอนุมัติแผนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ไปแล้ว แต่ยอมรับอาจจะมีผลกระทบหากโรงไฟฟ้าใดมีแผนจะขยายการผลิตหรือลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งจะต้องรอรายละเอียดของประกาศฉบับดังกล่าวออกมาให้ชัดเจนก่อนว่าจะมีความเข้มงวดในเรื่องการปฏิบัติที่มีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แนวโน้มค่าเอฟทีงวดใหม่หากคิดเฉพาะต้นทุนจากก๊าซธรรมชาติที่รวมค่าผ่านท่อของปตท.ที่ปรับขึ้นใหม่แล้วจะลดลงประมาณ 12 สตางค์ต่อหน่วยแต่เนื่องจากจะต้องรอคำนวณในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนที่ล่าสุดยอมรับว่ามีการแข็งค่าขึ้นตรงนี้อาจทำให้ค่าเอฟทีปรับลดลงได้ไม่ถึง 12 สตางค์ต่อหน่วยซึ่งหากคำนวณตัวเลขเบื้องต้นน่าจะอยู่ประมาณ 10 สตางค์ต่อหน่วยซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 4,000 กว่าล้านบาทที่จะเป็นรายได้เข้ามาชดเชยหนี้กรณีที่ให้ตรึงราคาไว้ที่เดิมโดยไม่ปรับลดลง