ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังเปิดทางแบงก์พาณิชย์ยื่นข้อเสนอให้วงเงินกู้ 2 แสนล้านเสริมสภาพคล่องรัฐวิสาหกิจระยะสั้น เน้นเงื่อนไขดี-ดอกเบี้ยถูก คาด 2 สัปดาห์ได้ข้อสรุป เผยเตรียมพิจารณาข้อเสนอ กฟผ.ขอกู้ 2 หมื่นล้านชดเชยรายได้ค่าเอฟที ส่วนการบินไทยต้องรอข้อสรุปที่ชัดเจนของแผนจะแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือไม่
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า สบน.อยู่ในระหว่างเตรียมร่างเอกสารให้ธนาคารพาณิชย์และธนาคารออมสินยื่นเสนอเงื่อนไขตามแผนการจัดตั้งเงินกู้ Short term facility เพื่อให้รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินภาครัฐสามารถกู้เงินในประเทศระยะสั้นได้โดยตรงเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารและจัดการ
กระบวนการพิจารณาเงื่อนไขและข้อเสนอของธนาคารพาณิชย์นั้นคงใช้ระยะเวลาไม่นานนัก ซึ่งหลังจากที่สบน.ส่งเอกสารให้กับธนาคารแล้วจะใช้เวลาไม่เกิน 2 สับดาห์เพื่อเลือกธนาคารที่เสนอเงื่อนไขที่ดีที่สุดให้กับ สนบ.โดยจะเน้นธนาคารที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดเป็นอันดับแรก ซึ่งหากกรอบวงเงินที่ตั้งไว้นั้นรัฐวิสาหกิจกู้จนเต็มเพดานก็จะเลือกสถาบันการเงินที่มีคะแนนในลำดับถัดไป
“แผนการกู้เงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เงินลงทุนและใช้หนี้ของรัฐวิสาหกิจ 11 แห่งในปีนี้ วงเงิน 3.8 แสนล้านบาทก็จะยังคงเดินหน้าไปตามปกติ และหากรัฐวิสาหกิจแห่งใดต้องการกู้เงินเพิ่มและไม่สามารถแทรกการกู้เงินตามตารางการกู้ปกติประจำปีได้ก็สามารถใช้วงเงินที่สบน.ตั้งไว้ 2 แสนล้านบาทนี้ ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโครงการนี้ขึ้นมา” นายจักรกฤศฏิ์กล่าว
**กฟผ.กู้เพิ่มชดเชยค่าเอฟที
สำหรับการขอกู้เงินเพิ่มเติมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อชดเชยการสูญเสียรายได้ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือ เรกกูเรเตอร์ ควบคุมการขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่าเอฟที ที่สูญเสียไป 1.9 หมื่นล้านบาทนั้น นายจักรกฤศฏิ์กล่าวว่า มีการขอกู้เพิ่มเติม 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งตามกระบวนการจะต้องให้คณะอนุกรรมการแผนบริหารหนี้สาธารณะพิจารณา ก่อนเสนอให้คณะกรรมการแผนบริหารหนี้ที่มี รมว.คลังเป็นประธานเป็นผู้พิจารณาเพื่อเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
“การปรับวงเงินกู้เพิ่มเติมของรัฐวิสาหกิจนั้นคณะกรรมการจะตั้งกรอบวงเงินว่าจะมีการใช้เท่าไรตามวงเงินที่มีและความต้องการใช้เงินที่แท้จริง โดยในเบื้องต้นคาดว่าคณะกรรมการจะพอจารณาปรับเพิ่มลดวงเงินอยู่ในกรอบไม่เกิน 3 หมื่นล้านบาท จากกรอบวงเงินเดิม 1.2 ล้านล้านบาทของวงเงินบริหารหนี้รวมทั้งภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ” นายจักรกฤศฏิ์กล่าว
**ขอดูแผนการบินไทยก่อนตัดสินใจ
สำหรับการขอกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) THAI นั้น ในปัจจุบันยังไม่เห็นสภาพความเป็นจริงว่าการขาดสภาพคล่องของการบินไทยอยู่ที่จุดไหน และต้องดูแผนการฟื้นฟูกิจการด้วยว่าเม็ดเงินที่ให้ไปนั้นจะมีผลในทางปฏิบัติออกมาได้ผลที่ดีขึ้นมากน้อยเพียงใดจึงจะสามารถตอบได้ว่ากระทรวงการคลังจะช่วยการบินไทยได้ในระดับใด
“สิ่งที่เราต้องการจะเห็นคือแผนเมื่อให้เงินกู้ไปนั้นเมื่อทำตามแผนแล้วมันจะดีขึ้นไหมและขาดสภาพคล่องตรงจุดไหนก็ยังไม่เห็น ซึ่งหากตรวจสอบรายละเอียดทั้งหมดก็จะสามารถตอบกับแบงก์เจ้าหนี้ที่จะปล่อยกู้ให้การบินไทยได้ว่ากระทรวงการคลังจะค้ำประกันวงเงินกู้การบินไทยได้ในระดับใด” นายจักรกฤศฏิ์กล่าวและว่า ทั้งนี้ขั้นตอนการพิจารณาวงเงินกู้ของการบินไทยก็ต้องดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับ กฟผ.
สำหรับวัตถุประสงค์ของการกู้เงิน 1. เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย/โครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ /ชำระคืนเงินกู้เดิมเพื่อเป็นการบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการบรรจุในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ 2. เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่กระทรวงการคลังในกรณีที่เกิดความเสี่ยงในการผิดชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นของรัฐวิสาหกิจ (Default risk)
ระยะเงินกู้ อายุเงินกู้ระยะไม่เกิน 18 เดือน อัตราดอกเบี้ย ใช้อัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือนประเภทบุคคลธรรมดาของ 4 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) เฉลี่ย (ธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯธนาคารไทยพาณิชย์ฯ และธนาคารกสิกรไทยฯ)เป็นฐานในการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ สำหรับทุกอายุเงินกู้
การเบิกจ่ายเงินกู้ รัฐวิสาหกิจจะขอเบิกจ่ายเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบกิจการในประเทศไทยและ/หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เสนอเงื่อนไขต้นทุนการกู้เงินที่ต่ำที่สุดก่อน โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ การค้ำประกันเงินกู้ (ต้นเงินและดอกเบี้ย) แบบบางส่วน (Partial guarantee) ก่อน และจะพิจารณาค้ำประกันเต็มจำนวนเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น
"วงเงินการค้ำประกันต้องไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้การคิดค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน ตามสัดส่วนของวงเงินที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน และตามประกาศกระทรวงการคลังได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม" รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะกล่าว
การค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจโดยกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการใช้เงินกู้ดังกล่าว ดังนี้ 1. เป็นเงินกู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี รวมถึงการค้ำประกันเงินกู้ 2. เป็นเงินกู้ที่ได้รับการบรรจุในแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีในส่วนการบริหารและจัดการเงินกู้รัฐวิสาหกิจในประเทศ
3. เป็นเงินกู้ระยะสั้นอายุเงินกู้ไม่เกิน 18 เดือน เพื่อเสริมสภาพคล่องและเพื่อเป็นการ Bridge financingในการบริหารและจัดการการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจ และ 4. ในส่วนของการพิจารณาดำเนินการกู้เงิน Short term facility จะอยู่ในการพิจารณาของกระทรวงการคลังตามความเหมาะสม
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า สบน.อยู่ในระหว่างเตรียมร่างเอกสารให้ธนาคารพาณิชย์และธนาคารออมสินยื่นเสนอเงื่อนไขตามแผนการจัดตั้งเงินกู้ Short term facility เพื่อให้รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินภาครัฐสามารถกู้เงินในประเทศระยะสั้นได้โดยตรงเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารและจัดการ
กระบวนการพิจารณาเงื่อนไขและข้อเสนอของธนาคารพาณิชย์นั้นคงใช้ระยะเวลาไม่นานนัก ซึ่งหลังจากที่สบน.ส่งเอกสารให้กับธนาคารแล้วจะใช้เวลาไม่เกิน 2 สับดาห์เพื่อเลือกธนาคารที่เสนอเงื่อนไขที่ดีที่สุดให้กับ สนบ.โดยจะเน้นธนาคารที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดเป็นอันดับแรก ซึ่งหากกรอบวงเงินที่ตั้งไว้นั้นรัฐวิสาหกิจกู้จนเต็มเพดานก็จะเลือกสถาบันการเงินที่มีคะแนนในลำดับถัดไป
“แผนการกู้เงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เงินลงทุนและใช้หนี้ของรัฐวิสาหกิจ 11 แห่งในปีนี้ วงเงิน 3.8 แสนล้านบาทก็จะยังคงเดินหน้าไปตามปกติ และหากรัฐวิสาหกิจแห่งใดต้องการกู้เงินเพิ่มและไม่สามารถแทรกการกู้เงินตามตารางการกู้ปกติประจำปีได้ก็สามารถใช้วงเงินที่สบน.ตั้งไว้ 2 แสนล้านบาทนี้ ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโครงการนี้ขึ้นมา” นายจักรกฤศฏิ์กล่าว
**กฟผ.กู้เพิ่มชดเชยค่าเอฟที
สำหรับการขอกู้เงินเพิ่มเติมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อชดเชยการสูญเสียรายได้ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือ เรกกูเรเตอร์ ควบคุมการขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่าเอฟที ที่สูญเสียไป 1.9 หมื่นล้านบาทนั้น นายจักรกฤศฏิ์กล่าวว่า มีการขอกู้เพิ่มเติม 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งตามกระบวนการจะต้องให้คณะอนุกรรมการแผนบริหารหนี้สาธารณะพิจารณา ก่อนเสนอให้คณะกรรมการแผนบริหารหนี้ที่มี รมว.คลังเป็นประธานเป็นผู้พิจารณาเพื่อเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
“การปรับวงเงินกู้เพิ่มเติมของรัฐวิสาหกิจนั้นคณะกรรมการจะตั้งกรอบวงเงินว่าจะมีการใช้เท่าไรตามวงเงินที่มีและความต้องการใช้เงินที่แท้จริง โดยในเบื้องต้นคาดว่าคณะกรรมการจะพอจารณาปรับเพิ่มลดวงเงินอยู่ในกรอบไม่เกิน 3 หมื่นล้านบาท จากกรอบวงเงินเดิม 1.2 ล้านล้านบาทของวงเงินบริหารหนี้รวมทั้งภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ” นายจักรกฤศฏิ์กล่าว
**ขอดูแผนการบินไทยก่อนตัดสินใจ
สำหรับการขอกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) THAI นั้น ในปัจจุบันยังไม่เห็นสภาพความเป็นจริงว่าการขาดสภาพคล่องของการบินไทยอยู่ที่จุดไหน และต้องดูแผนการฟื้นฟูกิจการด้วยว่าเม็ดเงินที่ให้ไปนั้นจะมีผลในทางปฏิบัติออกมาได้ผลที่ดีขึ้นมากน้อยเพียงใดจึงจะสามารถตอบได้ว่ากระทรวงการคลังจะช่วยการบินไทยได้ในระดับใด
“สิ่งที่เราต้องการจะเห็นคือแผนเมื่อให้เงินกู้ไปนั้นเมื่อทำตามแผนแล้วมันจะดีขึ้นไหมและขาดสภาพคล่องตรงจุดไหนก็ยังไม่เห็น ซึ่งหากตรวจสอบรายละเอียดทั้งหมดก็จะสามารถตอบกับแบงก์เจ้าหนี้ที่จะปล่อยกู้ให้การบินไทยได้ว่ากระทรวงการคลังจะค้ำประกันวงเงินกู้การบินไทยได้ในระดับใด” นายจักรกฤศฏิ์กล่าวและว่า ทั้งนี้ขั้นตอนการพิจารณาวงเงินกู้ของการบินไทยก็ต้องดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับ กฟผ.
สำหรับวัตถุประสงค์ของการกู้เงิน 1. เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย/โครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ /ชำระคืนเงินกู้เดิมเพื่อเป็นการบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการบรรจุในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ 2. เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่กระทรวงการคลังในกรณีที่เกิดความเสี่ยงในการผิดชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นของรัฐวิสาหกิจ (Default risk)
ระยะเงินกู้ อายุเงินกู้ระยะไม่เกิน 18 เดือน อัตราดอกเบี้ย ใช้อัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือนประเภทบุคคลธรรมดาของ 4 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) เฉลี่ย (ธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯธนาคารไทยพาณิชย์ฯ และธนาคารกสิกรไทยฯ)เป็นฐานในการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ สำหรับทุกอายุเงินกู้
การเบิกจ่ายเงินกู้ รัฐวิสาหกิจจะขอเบิกจ่ายเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบกิจการในประเทศไทยและ/หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เสนอเงื่อนไขต้นทุนการกู้เงินที่ต่ำที่สุดก่อน โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ การค้ำประกันเงินกู้ (ต้นเงินและดอกเบี้ย) แบบบางส่วน (Partial guarantee) ก่อน และจะพิจารณาค้ำประกันเต็มจำนวนเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น
"วงเงินการค้ำประกันต้องไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้การคิดค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน ตามสัดส่วนของวงเงินที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน และตามประกาศกระทรวงการคลังได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม" รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะกล่าว
การค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจโดยกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการใช้เงินกู้ดังกล่าว ดังนี้ 1. เป็นเงินกู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี รวมถึงการค้ำประกันเงินกู้ 2. เป็นเงินกู้ที่ได้รับการบรรจุในแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีในส่วนการบริหารและจัดการเงินกู้รัฐวิสาหกิจในประเทศ
3. เป็นเงินกู้ระยะสั้นอายุเงินกู้ไม่เกิน 18 เดือน เพื่อเสริมสภาพคล่องและเพื่อเป็นการ Bridge financingในการบริหารและจัดการการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจ และ 4. ในส่วนของการพิจารณาดำเนินการกู้เงิน Short term facility จะอยู่ในการพิจารณาของกระทรวงการคลังตามความเหมาะสม