มีคนบอกว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับพรรคประชาธิปัตย์กำลังเดินไปสู่ความขัดแย้ง
ผมคิดว่า คำพูดนั้นมีโอกาสผิดหรือถูกก็ได้ แต่อยากจะบอกว่า การชี้ถูกชี้ผิดนั้นมีปัจจัยอยู่ที่ประชาธิปัตย์ไม่ใช่พันธมิตรฯ
อยู่ที่ว่า ประชาธิปัตย์จะมองพันธมิตรฯ ในฐานะมิตรหรือศัตรู
แต่ถ้าถามว่า พันธมิตรฯ มีความเกี่ยวข้องกับประชาธิปัตย์หรือไม่ คำตอบก็คือ แม้จะมีแนวทางและเป้าหมายร่วมกันอยู่บ้าง แต่พันธมิตรฯ และประชาธิปัตย์ไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย
แม้ว่า อาจารย์สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ หนึ่งในแกนนำพันธมิตรฯจะเป็น ส.ส.สัดส่วนของประชาธิปัตย์ และอดีตผู้สมัครประชาธิปัตย์หลายคนมายืนอยู่บนเวทีพันธมิตรฯ แต่ผมคิดว่า คนเหล่านั้น ยืนอยู่ในฐานะประชาชนที่มีจิตสำนึกที่ดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ที่จะสัมพันธ์กันอยู่บ้างก็อาจเป็นเพราะพันธมิตรฯ และประชาธิปัตย์มีศัตรูร่วมกันคือ ทักษิณ แม้ว่าความหมายของศัตรูของพันธมิตรฯ และประชาธิปัตย์จะมีความเลื่อมกัน
เพราะพันธมิตรฯ มองทักษิณและองคาพยพของทักษิณที่เรียกว่า ระบอบทักษิณนั้นกำลังกลายเป็นภัยมหันต์ต่อชาติบ้านเมือง แต่ประชาธิปัตย์คงมองทักษิณง่ายๆ ว่า เป็นก้างขวางทางในการเข้าสู่อำนาจรัฐ
และสิ่งที่อาจจะสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันมากที่สุดก็คือ มวลชนของพันธมิตรฯซึ่งมีตัวตนที่แท้จริงนั้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นผู้สนับสนุนประชาธิปัตย์
พรรคประชาธิปัตย์นั้นได้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ อย่างแน่นอน เพราะถ้าไม่มีพันธมิตรฯ ไม่มีปรากฏการณ์สนธิที่พัฒนามาเป็นพันธมิตรฯ ก็ไม่มีวันเลยที่ประชาธิปัตย์จะโค่นล้มระบอบทักษิณเพื่อเข้าสู่อำนาจรัฐได้
การกล่าวเช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่า เราจะทวงบุญคุณประชาธิปัตย์ แต่เพื่อตอกย้ำว่า พันธมิตรฯ กับประชาธิปัตย์นั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกัน แบบเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทย เพียงแต่ประชาธิปัตย์ได้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ เท่านั้นเอง
ผมเชื่อว่า ความต้องการของพันธมิตรฯ ทุกคนไม่ได้ต่อสู้แค่เพื่อให้ประชาธิปัตย์เข้าสู่อำนาจรัฐ หรือแค่การเปลี่ยนขั้วทางการเมือง แต่พวกเราต้องการการเมืองใหม่ที่แท้จริง
พันธมิตรฯ คงไม่ต้องการเพียงแต่ให้ประชาธิปัตย์เข้ามามีอำนาจแล้วก็สร้างนโยบายประชานิยมเลียนแบบระบอบทักษิณเพื่อซื้อเสียงจากคนรากหญ้า และหาประโยชน์จากโครงการเมกะโปรเจกต์
แต่พันธมิตรฯ ต้องการการเมืองที่โปร่งใส สังคมที่เป็นธรรม และอนาคตที่ประชาชนมีความหวังที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี และประชาธิปไตยที่แท้จริงด้วย
แต่วันนี้ท่าทีและน้ำเสียงของประชาธิปัตย์ต่อพันธมิตรฯ นั้น แทบไม่ต่างกับที่พรรคไทยรักไทย พลังประชาชน เพื่อไทยเคยมองพันธมิตรฯ เลย
โดยเฉพาะคำพูดของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ทั้งในที่ลับและที่แจ้งในหลายๆครั้ง
“ขณะนี้ถือเป็นวิกฤตทางการเมืองที่เลวร้ายที่สุดของการเมืองไทย มีกระบวนการแบ่งคนในประเทศให้ทะเลาะและเป็นศัตรูกัน โดยเฉพาะกลุ่มเสื้อแดงและเหลือง ซึ่งเป็นอันตรายต่อประเทศ ดังนั้น ผมเห็นว่าเป็นภารกิจของข้าราชการ ที่ต้องทำตัวให้เป็นข้าราชการของประชาชน ไม่ใช่รับใช้นักการเมือง หากใครมีปัญหา ก็โทรศัพท์สายตรงถึงผมได้ตลอดเวลา”
ในสังคมประชาธิปไตยนายสุเทพย่อมมีสิทธิจะกล่าวท้วงติงวิจารณ์ต่อแนวทางของพันธมิตรฯ ได้ แต่ไม่ใช่ด้วยน้ำเสียงเช่นนั้น เพราะย่อมเป็นการชี้ให้เห็นว่า นายสุเทพวางน้ำหนักของกลุ่มเสื้อแดงและเสื้อเหลืองอย่างไร
ไม่ว่า ใครจะเห็นด้วยไม่เห็นด้วยกับแนวทางของพันธมิตรฯ ก็ตาม แต่พลังสีเหลืองที่ยืนหยัดต่อสู้กับรัฐบาลนอมินีของระบอบทักษิณ 193 วันนั้น เกิดจากจิตสำนึกร่วมกันที่จะสร้างการเมืองใหม่ แตกต่างกับพลังเสื้อแดงที่ส่วนใหญ่นั้น เกิดจากการระดมด้วยระบบหัวคะแนนและอำนาจเงิน
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า พันธมิตรฯ ส่วนใหญ่เข้าใจว่า โอกาสในการทำงานของประชาธิปัตย์นั้นจะต้องพบกับอุปสรรคขวากหนามต่างๆ นานา เพราะระบอบทักษิณได้เข้าไปฝังรากลึกในระบบราชการในทุกระดับชั้น
และเชื่อว่าพันธมิตรฯ ส่วนใหญ่เอาใจช่วย และต้องการให้โอกาสประชาธิปัตย์ทำงานเพื่อพิสูจน์ตัวเอง เพื่อนำพาประเทศชาติให้ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และรู้อยู่เต็มอกว่า ถ้าพันธมิตรฯ ขัดแย้งกับประชาธิปัตย์แล้ว ฝ่ายที่ได้ประโยชน์ก็คือ ระบอบทักษิณ
แต่คำถามก็คือ นายสุเทพเข้าใจในสิ่งนั้นหรือไม่
นายสุเทพรู้ไหมว่า เขากำลังทำลายมิตรซึ่งเป็นพลังมวลชนที่ทัดทานกับระบอบทักษิณอยู่ และถ้าไม่มีพันธมิตรฯ ระบอบทักษิณก็จะกลับมา และไม่มีวันที่ประชาธิปัตย์จะรับมือได้เลย
หรือนายสุเทพคิดเพียงว่า การอยู่ในอำนาจรัฐของเขาและประชาธิปัตย์นั้นก็เพียงแต่การประสานผลประโยชน์ของนักการเมือง การช่วงชิงจำนวนเสียงในสภาด้วยการประสานผลประโยชน์กับกลุ่มเนวิน
หรือนายสุเทพคิดว่า เมื่อเข้ามามีอำนาจแล้ว ก็จะพยายามรักษาอำนาจเอาไว้ ด้วยวิถีทางแบบเดียวกับที่ระบอบทักษิณพยายามรักษาอำนาจเอาไว้ โดยไม่ใส่ใจกับเสียงทักทานของการเมืองภาคประชาชน
ซึ่งขัดแย้งกับที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไปพูดที่อังกฤษไว้ว่า ความมุ่งมั่นของเขาเพื่อประชาธิปไตยนั้น จะเน้นเรื่องความโปร่งใส มีรัฐบาลที่ดี เคารพในสิทธิมนุษยชน และเคารพต่อกฎหมาย
“เราไม่จำเป็นต้องไปแลกเปลี่ยนระหว่างความเป็นเสียงข้างมากกับความโปร่งใสและรัฐบาลที่ดี”
แต่คำพูดข้างบนนั้นของคุณอภิสิทธิ์ช่างสวนทางกับเกมการเมืองแบบเก่าๆ ที่นายสุเทพกำลังดำเนินการอยู่ เพราะเขาคิดเพียงการประสานผลประโยชน์กับกลุ่มการเมืองที่จะทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพในสภา และแกล้งไม่เข้าใจว่า สิ่งที่พันธมิตรฯ ต่อสู้มานั้นคืออะไร
ถึงกระนั้นผมยังเข้าใจว่าพันธมิตรฯ ทุกคน ยังคงคาดหวังในตัวคุณอภิสิทธิ์ และคิดว่า นายสุเทพจะเป็นเพียงก้อนกรวดในรองเท้าที่คุณอภิสิทธิ์รู้ว่าควรจะทำอย่างไร มากกว่าบุญคุณที่เขาเชื่อว่านายสุเทพเป็นคนปั้นให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรี
ผมคิดว่า คุณอภิสิทธิ์ เข้าใจว่า สิ่งที่เขาต้องเดิมพันหากพ่ายแพ้ต่อพลังเสื้อแดงและระบอบทักษิณนั้นคือ เดิมพันของประเทศที่อาจจะไม่สามารถรักษารูปแบบ และสถาบันหลักของชาติอย่างที่เป็นอยู่ได้อีกต่อไป
193 วันของการต่อสู้นั้น คนเสื้อเหลืองได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของพลังการเมืองภาคประชาชนที่สามารถลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสังคมได้ และเข้าใจว่า ประชาธิปไตยที่แท้จริงคืออะไร
พรรคประชาธิปัตย์น่าจะเรียนรู้ว่า ทำไมระบอบทักษิณที่มีอำนาจมหาศาลมากกว่าประชาธิปัตย์จึงไม่อาจทัดทานกับพลังของประชาชนในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้
และรู้ว่า พันธมิตรฯ คงไม่ต้องการนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่เป็นเพียงหุ่นเชิดของการเมืองเก่า
เพียงแต่ตอบสนองในสิ่งที่พันธมิตรฯ เรียกร้องก็คือ ความเป็นธรรม และให้รัฐบาลตระหนักถึงเลือดเนื้อและชีวิตจากการต่อสู้ของพวกเราแค่นั้นเอง
surawhisky@gmail.com
ผมคิดว่า คำพูดนั้นมีโอกาสผิดหรือถูกก็ได้ แต่อยากจะบอกว่า การชี้ถูกชี้ผิดนั้นมีปัจจัยอยู่ที่ประชาธิปัตย์ไม่ใช่พันธมิตรฯ
อยู่ที่ว่า ประชาธิปัตย์จะมองพันธมิตรฯ ในฐานะมิตรหรือศัตรู
แต่ถ้าถามว่า พันธมิตรฯ มีความเกี่ยวข้องกับประชาธิปัตย์หรือไม่ คำตอบก็คือ แม้จะมีแนวทางและเป้าหมายร่วมกันอยู่บ้าง แต่พันธมิตรฯ และประชาธิปัตย์ไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย
แม้ว่า อาจารย์สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ หนึ่งในแกนนำพันธมิตรฯจะเป็น ส.ส.สัดส่วนของประชาธิปัตย์ และอดีตผู้สมัครประชาธิปัตย์หลายคนมายืนอยู่บนเวทีพันธมิตรฯ แต่ผมคิดว่า คนเหล่านั้น ยืนอยู่ในฐานะประชาชนที่มีจิตสำนึกที่ดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ที่จะสัมพันธ์กันอยู่บ้างก็อาจเป็นเพราะพันธมิตรฯ และประชาธิปัตย์มีศัตรูร่วมกันคือ ทักษิณ แม้ว่าความหมายของศัตรูของพันธมิตรฯ และประชาธิปัตย์จะมีความเลื่อมกัน
เพราะพันธมิตรฯ มองทักษิณและองคาพยพของทักษิณที่เรียกว่า ระบอบทักษิณนั้นกำลังกลายเป็นภัยมหันต์ต่อชาติบ้านเมือง แต่ประชาธิปัตย์คงมองทักษิณง่ายๆ ว่า เป็นก้างขวางทางในการเข้าสู่อำนาจรัฐ
และสิ่งที่อาจจะสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันมากที่สุดก็คือ มวลชนของพันธมิตรฯซึ่งมีตัวตนที่แท้จริงนั้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นผู้สนับสนุนประชาธิปัตย์
พรรคประชาธิปัตย์นั้นได้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ อย่างแน่นอน เพราะถ้าไม่มีพันธมิตรฯ ไม่มีปรากฏการณ์สนธิที่พัฒนามาเป็นพันธมิตรฯ ก็ไม่มีวันเลยที่ประชาธิปัตย์จะโค่นล้มระบอบทักษิณเพื่อเข้าสู่อำนาจรัฐได้
การกล่าวเช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่า เราจะทวงบุญคุณประชาธิปัตย์ แต่เพื่อตอกย้ำว่า พันธมิตรฯ กับประชาธิปัตย์นั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกัน แบบเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทย เพียงแต่ประชาธิปัตย์ได้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ เท่านั้นเอง
ผมเชื่อว่า ความต้องการของพันธมิตรฯ ทุกคนไม่ได้ต่อสู้แค่เพื่อให้ประชาธิปัตย์เข้าสู่อำนาจรัฐ หรือแค่การเปลี่ยนขั้วทางการเมือง แต่พวกเราต้องการการเมืองใหม่ที่แท้จริง
พันธมิตรฯ คงไม่ต้องการเพียงแต่ให้ประชาธิปัตย์เข้ามามีอำนาจแล้วก็สร้างนโยบายประชานิยมเลียนแบบระบอบทักษิณเพื่อซื้อเสียงจากคนรากหญ้า และหาประโยชน์จากโครงการเมกะโปรเจกต์
แต่พันธมิตรฯ ต้องการการเมืองที่โปร่งใส สังคมที่เป็นธรรม และอนาคตที่ประชาชนมีความหวังที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี และประชาธิปไตยที่แท้จริงด้วย
แต่วันนี้ท่าทีและน้ำเสียงของประชาธิปัตย์ต่อพันธมิตรฯ นั้น แทบไม่ต่างกับที่พรรคไทยรักไทย พลังประชาชน เพื่อไทยเคยมองพันธมิตรฯ เลย
โดยเฉพาะคำพูดของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ทั้งในที่ลับและที่แจ้งในหลายๆครั้ง
“ขณะนี้ถือเป็นวิกฤตทางการเมืองที่เลวร้ายที่สุดของการเมืองไทย มีกระบวนการแบ่งคนในประเทศให้ทะเลาะและเป็นศัตรูกัน โดยเฉพาะกลุ่มเสื้อแดงและเหลือง ซึ่งเป็นอันตรายต่อประเทศ ดังนั้น ผมเห็นว่าเป็นภารกิจของข้าราชการ ที่ต้องทำตัวให้เป็นข้าราชการของประชาชน ไม่ใช่รับใช้นักการเมือง หากใครมีปัญหา ก็โทรศัพท์สายตรงถึงผมได้ตลอดเวลา”
ในสังคมประชาธิปไตยนายสุเทพย่อมมีสิทธิจะกล่าวท้วงติงวิจารณ์ต่อแนวทางของพันธมิตรฯ ได้ แต่ไม่ใช่ด้วยน้ำเสียงเช่นนั้น เพราะย่อมเป็นการชี้ให้เห็นว่า นายสุเทพวางน้ำหนักของกลุ่มเสื้อแดงและเสื้อเหลืองอย่างไร
ไม่ว่า ใครจะเห็นด้วยไม่เห็นด้วยกับแนวทางของพันธมิตรฯ ก็ตาม แต่พลังสีเหลืองที่ยืนหยัดต่อสู้กับรัฐบาลนอมินีของระบอบทักษิณ 193 วันนั้น เกิดจากจิตสำนึกร่วมกันที่จะสร้างการเมืองใหม่ แตกต่างกับพลังเสื้อแดงที่ส่วนใหญ่นั้น เกิดจากการระดมด้วยระบบหัวคะแนนและอำนาจเงิน
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า พันธมิตรฯ ส่วนใหญ่เข้าใจว่า โอกาสในการทำงานของประชาธิปัตย์นั้นจะต้องพบกับอุปสรรคขวากหนามต่างๆ นานา เพราะระบอบทักษิณได้เข้าไปฝังรากลึกในระบบราชการในทุกระดับชั้น
และเชื่อว่าพันธมิตรฯ ส่วนใหญ่เอาใจช่วย และต้องการให้โอกาสประชาธิปัตย์ทำงานเพื่อพิสูจน์ตัวเอง เพื่อนำพาประเทศชาติให้ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และรู้อยู่เต็มอกว่า ถ้าพันธมิตรฯ ขัดแย้งกับประชาธิปัตย์แล้ว ฝ่ายที่ได้ประโยชน์ก็คือ ระบอบทักษิณ
แต่คำถามก็คือ นายสุเทพเข้าใจในสิ่งนั้นหรือไม่
นายสุเทพรู้ไหมว่า เขากำลังทำลายมิตรซึ่งเป็นพลังมวลชนที่ทัดทานกับระบอบทักษิณอยู่ และถ้าไม่มีพันธมิตรฯ ระบอบทักษิณก็จะกลับมา และไม่มีวันที่ประชาธิปัตย์จะรับมือได้เลย
หรือนายสุเทพคิดเพียงว่า การอยู่ในอำนาจรัฐของเขาและประชาธิปัตย์นั้นก็เพียงแต่การประสานผลประโยชน์ของนักการเมือง การช่วงชิงจำนวนเสียงในสภาด้วยการประสานผลประโยชน์กับกลุ่มเนวิน
หรือนายสุเทพคิดว่า เมื่อเข้ามามีอำนาจแล้ว ก็จะพยายามรักษาอำนาจเอาไว้ ด้วยวิถีทางแบบเดียวกับที่ระบอบทักษิณพยายามรักษาอำนาจเอาไว้ โดยไม่ใส่ใจกับเสียงทักทานของการเมืองภาคประชาชน
ซึ่งขัดแย้งกับที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไปพูดที่อังกฤษไว้ว่า ความมุ่งมั่นของเขาเพื่อประชาธิปไตยนั้น จะเน้นเรื่องความโปร่งใส มีรัฐบาลที่ดี เคารพในสิทธิมนุษยชน และเคารพต่อกฎหมาย
“เราไม่จำเป็นต้องไปแลกเปลี่ยนระหว่างความเป็นเสียงข้างมากกับความโปร่งใสและรัฐบาลที่ดี”
แต่คำพูดข้างบนนั้นของคุณอภิสิทธิ์ช่างสวนทางกับเกมการเมืองแบบเก่าๆ ที่นายสุเทพกำลังดำเนินการอยู่ เพราะเขาคิดเพียงการประสานผลประโยชน์กับกลุ่มการเมืองที่จะทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพในสภา และแกล้งไม่เข้าใจว่า สิ่งที่พันธมิตรฯ ต่อสู้มานั้นคืออะไร
ถึงกระนั้นผมยังเข้าใจว่าพันธมิตรฯ ทุกคน ยังคงคาดหวังในตัวคุณอภิสิทธิ์ และคิดว่า นายสุเทพจะเป็นเพียงก้อนกรวดในรองเท้าที่คุณอภิสิทธิ์รู้ว่าควรจะทำอย่างไร มากกว่าบุญคุณที่เขาเชื่อว่านายสุเทพเป็นคนปั้นให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรี
ผมคิดว่า คุณอภิสิทธิ์ เข้าใจว่า สิ่งที่เขาต้องเดิมพันหากพ่ายแพ้ต่อพลังเสื้อแดงและระบอบทักษิณนั้นคือ เดิมพันของประเทศที่อาจจะไม่สามารถรักษารูปแบบ และสถาบันหลักของชาติอย่างที่เป็นอยู่ได้อีกต่อไป
193 วันของการต่อสู้นั้น คนเสื้อเหลืองได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของพลังการเมืองภาคประชาชนที่สามารถลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสังคมได้ และเข้าใจว่า ประชาธิปไตยที่แท้จริงคืออะไร
พรรคประชาธิปัตย์น่าจะเรียนรู้ว่า ทำไมระบอบทักษิณที่มีอำนาจมหาศาลมากกว่าประชาธิปัตย์จึงไม่อาจทัดทานกับพลังของประชาชนในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้
และรู้ว่า พันธมิตรฯ คงไม่ต้องการนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่เป็นเพียงหุ่นเชิดของการเมืองเก่า
เพียงแต่ตอบสนองในสิ่งที่พันธมิตรฯ เรียกร้องก็คือ ความเป็นธรรม และให้รัฐบาลตระหนักถึงเลือดเนื้อและชีวิตจากการต่อสู้ของพวกเราแค่นั้นเอง
surawhisky@gmail.com