ASTVผู้จัดการรายวัน - ป.ป.ช.มีมติส่งอัยการฟ้อง วัฒนา เมืองสุข พร้อมพวกต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ฐานทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทร ขณะเดียวกันมีมติฟันอาญาอดีต นายก อบจ.สกลนคร และพวกทุจริตซื้อมุ้งให้ชาวบ้าน
นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงหลังการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ว่า ที่ประชุมได้พิจารณา ข้อไม่สมบูรณ์ในเรื่องกล่าวหา นายวัฒนา เมืองสุข เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กับพวก ร่วมกันกระทำทุจริตเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างเอกชน โดยการเคหะแห่งชาติ ในโครงการบ้านเอื้ออาทรตามที่คณะกรรมการ ตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้ส่งสำนวน การตรวจสอบไต่สวน ไปให้อัยการสูงสุดยื่นฟ้ องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่องกล่าวหา นายวัฒนา เมืองสุข เมื่อครั้งดำรง ตำแหน่ง รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กับพวก กระทำความผิด ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา กรณีร่วมกันเรียก รับเงิน จากผู้ประกอบการซึ่งเป็นเอกชนในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการบ้านเอื้อาทรของการเคหะแห่งชาติ
ซึ่ง ต่อมา คตส. ได้ส่งมอบสำนวนและเรื่องต่างๆ มาให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ตามพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 30 เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 ก.ย. 2549 พ.ศ. 2550 นั้นปรากฏว่า เรื่องนี้อัยการสูงสุด มีความเห็นว่า สำนวนการตรวจสอบไต่สวนดังกล่าวยังมีข้อไม่สมบูรณ์พอที่จะฟ้องคดี และได้มีหนังสือ ลงวันที่ 29 ก.ค. 2551 แจ้งข้อไม่สมบูรณ์มายังคณะกรรมการ ป.ป.ช. พร้อมแต่งตั้ง คณะทำงานผู้แทนฝ่ายอัยการสูงสุด จำนวน 10 คนมาให้พิจารณา
โดย คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาในการประชุม เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2551 แล้วมีมติให้ตั้ง คณะทำงานผู้แทนฝ่ายคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยมี นายประสาท พงษ์ศิวาภัย และน.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ ป.ป.ช. พร้อมเจ้าหน้าที่และผู้ทรงคุณวุฒิ รวม 10 คนเป็นคณะทำงาน เพื่อให้คณะทำงานของทั้ง สองฝ่ายร่วมกัน พิจารณาพยานหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์และรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์
บัดนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับรายงานว่า คณะทำงานร่วมระหว่างผู้แทน ฝ่ายคณะกรรมการ ป.ป.ช. และฝ่ายอัยการสูงสุด ได้ดำเนินการพิจารณาพยานหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์และรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว และได้ส่งเรื่อง ให้อัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญา
ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 มาตรา 11 ต่อไปแล้ว
นานกล้านรงค์ กล่าวว่า นอกจากนี้ที่ประชุม คณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังได้พิจารณาข้อกล่าวหา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร กับพวกทุจริต ในการจัดซือ้ วัสดุป้องกันโรคไข้เลือดออก (มุ้ง)ตามที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติ แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง เรื่องกล่าวหา นายสุวิทย์ เดชภูมี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร กับพวก กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่กรณีเข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นในการจัดซื้อวัสดุป้องกันโรคไข้เลือดออก (มุ้ง) ในเขตพืนที่ อ.วานรนิวาส จ.สกลนครโดยมี นายประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาสำนวนการไต่สวน ข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการไต่สวนแล้ว
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2542 ขณะที่ นายสุวิทย์ เดชภูมี ดำรงตำแหน่ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารราชการ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ใช้ อำนาจในตำแหน่งเสนอญัตติจ่ายขาดเงินสะสมในการจัดทำโครงการจัดหาวัสดุในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในเขต อ.วานรนิวาส (มุ้ง) จำนวน 9,250 หลัง วงเงิน 1,850,000 บาท ต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร และเมื่อได้รับอนุมัติจากสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครแล้ว นายสุวิทย์ เดชภูมี ได้ร่วมกับ นายวีระศักดิ์ หล้าพิศาล อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสกลนคร กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร จัดซือ้ มุ้งขนาด 2x2 เมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่มีจำหน่ายตามร้านค้าทั่วไป
จากนั้น นายสุวิทย์ เดชภูมี กับพวก ได้ติดต่อร้านค้าที่รับผลิตและจำหน่ายมุ้ง แห่งหนึ่งให้ผลิตมุ้งขนาด 2x2 เมตร จำนวน 9,250 หลัง ในราคาหลังละ 88.50 บาท รวมเป็นเงิน818,625 บาท และให้พิมพ์ข้อความในกระดาษว่า ด้วยรักและห่วงใยจากนายวีระศักดิ์ หล้าพิศาล ใส่เข้าไปในถุงบรรจุมุ้งดังกล่าวด้วย แล้วให้พรรคพวกของตนไปดำเนินการจดทะเบียนร้านค้าเพื่อนำหลักฐานไปใช้ในการ ยื่นซองสอบราคาต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร อีกทั้งได้แอบอ้างใช้ชื่อและเอกสารหลักฐานของร้านอื่น ๆ อีกจำนวน 2 ร้านไปร่วมยื่นเสนอราคาด้วย
ซึ่งปรากฏว่า ร้านค้าของนายสุวิทย์ เดชภูมี กับพวก ได้รับการพิจารณา ในการเสนอราคาขายวัสดุป้องกันโรคไข้เลือดออก (มุ้ง) ในวงเงิน 1,831,500 บาท (หลังละ 198 บาท) และได้ทำสัญญาซื้อขายกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร โดยนายสุวิทย์ เดชภูมี กับพวก ได้รับประโยชน์จากราคาส่วนต่างของมุ้งที่ตนกับพวก ได้ดำเนินการจ้างผลิตไว้ล่วงหน้าแล้ว และเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย จากการจัดซือ้ มุ้งในราคาสูงกว่าความเป็นจริง (หลังจากหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว) เป็นเงิน 994,560 บาท
นายกล้านรงค์ กล่าวว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติว่า การกระทำของ นายสุวิทย์ เดชภูมี มีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 152 และมาตรา 157
ส่วนนายวีระศักดิ์ หล้าพิศาล มีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุน การกระทำความผิดของนายสุวิทย์ เดชภูมี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 152 และมาตรา 157ประกอบมาตรา 86 และให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญากับนายสุวิทย์ เดชภูมี และนายวีระศักดิ์ หล้าพิศาล ในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542มาตรา 97 ต่อไป
นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงหลังการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ว่า ที่ประชุมได้พิจารณา ข้อไม่สมบูรณ์ในเรื่องกล่าวหา นายวัฒนา เมืองสุข เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กับพวก ร่วมกันกระทำทุจริตเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างเอกชน โดยการเคหะแห่งชาติ ในโครงการบ้านเอื้ออาทรตามที่คณะกรรมการ ตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้ส่งสำนวน การตรวจสอบไต่สวน ไปให้อัยการสูงสุดยื่นฟ้ องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่องกล่าวหา นายวัฒนา เมืองสุข เมื่อครั้งดำรง ตำแหน่ง รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กับพวก กระทำความผิด ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา กรณีร่วมกันเรียก รับเงิน จากผู้ประกอบการซึ่งเป็นเอกชนในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการบ้านเอื้อาทรของการเคหะแห่งชาติ
ซึ่ง ต่อมา คตส. ได้ส่งมอบสำนวนและเรื่องต่างๆ มาให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ตามพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 30 เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 ก.ย. 2549 พ.ศ. 2550 นั้นปรากฏว่า เรื่องนี้อัยการสูงสุด มีความเห็นว่า สำนวนการตรวจสอบไต่สวนดังกล่าวยังมีข้อไม่สมบูรณ์พอที่จะฟ้องคดี และได้มีหนังสือ ลงวันที่ 29 ก.ค. 2551 แจ้งข้อไม่สมบูรณ์มายังคณะกรรมการ ป.ป.ช. พร้อมแต่งตั้ง คณะทำงานผู้แทนฝ่ายอัยการสูงสุด จำนวน 10 คนมาให้พิจารณา
โดย คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาในการประชุม เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2551 แล้วมีมติให้ตั้ง คณะทำงานผู้แทนฝ่ายคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยมี นายประสาท พงษ์ศิวาภัย และน.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ ป.ป.ช. พร้อมเจ้าหน้าที่และผู้ทรงคุณวุฒิ รวม 10 คนเป็นคณะทำงาน เพื่อให้คณะทำงานของทั้ง สองฝ่ายร่วมกัน พิจารณาพยานหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์และรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์
บัดนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับรายงานว่า คณะทำงานร่วมระหว่างผู้แทน ฝ่ายคณะกรรมการ ป.ป.ช. และฝ่ายอัยการสูงสุด ได้ดำเนินการพิจารณาพยานหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์และรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว และได้ส่งเรื่อง ให้อัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญา
ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 มาตรา 11 ต่อไปแล้ว
นานกล้านรงค์ กล่าวว่า นอกจากนี้ที่ประชุม คณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังได้พิจารณาข้อกล่าวหา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร กับพวกทุจริต ในการจัดซือ้ วัสดุป้องกันโรคไข้เลือดออก (มุ้ง)ตามที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติ แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง เรื่องกล่าวหา นายสุวิทย์ เดชภูมี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร กับพวก กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่กรณีเข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นในการจัดซื้อวัสดุป้องกันโรคไข้เลือดออก (มุ้ง) ในเขตพืนที่ อ.วานรนิวาส จ.สกลนครโดยมี นายประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาสำนวนการไต่สวน ข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการไต่สวนแล้ว
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2542 ขณะที่ นายสุวิทย์ เดชภูมี ดำรงตำแหน่ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารราชการ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ใช้ อำนาจในตำแหน่งเสนอญัตติจ่ายขาดเงินสะสมในการจัดทำโครงการจัดหาวัสดุในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในเขต อ.วานรนิวาส (มุ้ง) จำนวน 9,250 หลัง วงเงิน 1,850,000 บาท ต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร และเมื่อได้รับอนุมัติจากสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครแล้ว นายสุวิทย์ เดชภูมี ได้ร่วมกับ นายวีระศักดิ์ หล้าพิศาล อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสกลนคร กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร จัดซือ้ มุ้งขนาด 2x2 เมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่มีจำหน่ายตามร้านค้าทั่วไป
จากนั้น นายสุวิทย์ เดชภูมี กับพวก ได้ติดต่อร้านค้าที่รับผลิตและจำหน่ายมุ้ง แห่งหนึ่งให้ผลิตมุ้งขนาด 2x2 เมตร จำนวน 9,250 หลัง ในราคาหลังละ 88.50 บาท รวมเป็นเงิน818,625 บาท และให้พิมพ์ข้อความในกระดาษว่า ด้วยรักและห่วงใยจากนายวีระศักดิ์ หล้าพิศาล ใส่เข้าไปในถุงบรรจุมุ้งดังกล่าวด้วย แล้วให้พรรคพวกของตนไปดำเนินการจดทะเบียนร้านค้าเพื่อนำหลักฐานไปใช้ในการ ยื่นซองสอบราคาต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร อีกทั้งได้แอบอ้างใช้ชื่อและเอกสารหลักฐานของร้านอื่น ๆ อีกจำนวน 2 ร้านไปร่วมยื่นเสนอราคาด้วย
ซึ่งปรากฏว่า ร้านค้าของนายสุวิทย์ เดชภูมี กับพวก ได้รับการพิจารณา ในการเสนอราคาขายวัสดุป้องกันโรคไข้เลือดออก (มุ้ง) ในวงเงิน 1,831,500 บาท (หลังละ 198 บาท) และได้ทำสัญญาซื้อขายกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร โดยนายสุวิทย์ เดชภูมี กับพวก ได้รับประโยชน์จากราคาส่วนต่างของมุ้งที่ตนกับพวก ได้ดำเนินการจ้างผลิตไว้ล่วงหน้าแล้ว และเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย จากการจัดซือ้ มุ้งในราคาสูงกว่าความเป็นจริง (หลังจากหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว) เป็นเงิน 994,560 บาท
นายกล้านรงค์ กล่าวว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติว่า การกระทำของ นายสุวิทย์ เดชภูมี มีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 152 และมาตรา 157
ส่วนนายวีระศักดิ์ หล้าพิศาล มีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุน การกระทำความผิดของนายสุวิทย์ เดชภูมี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 152 และมาตรา 157ประกอบมาตรา 86 และให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญากับนายสุวิทย์ เดชภูมี และนายวีระศักดิ์ หล้าพิศาล ในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542มาตรา 97 ต่อไป