ป.ป.ช.มีมติส่งอัยการสูงสุด ฟ้อง “วัฒนา เมืองสุข” อดีต รมว.พัฒนาสังคมฯ ทุจริต จัดซื้อจัดจ้างบริษัทเอกชน โดยการเคหะแห่งชาติในโครงการบ้านเอื้ออาทร ขณะเดียวฟันอาญา “สุวิทย์ เดชภูมี” อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ทุจริตในการจัดซื้อ วัสดุป้ องกันโรคไข้เลือดออก
วันนี้ (18 มี.ค.) นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงว่า ได้มีการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยมีเรื่องสำคัญที่ควรแถลงให้สื่อมวลชนทราบ จำนวน 2 เรื่อง ดังนี้ 1. เรื่องการพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์ในเรื่องกล่าวหา นายวัฒนา เมืองสุข เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กับพวก ร่วมกันกระทำทุจริตเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างเอกชน โดยการเคหะแห่งชาติ ในโครงการบ้านเอื้ออาทรตามที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้ส่งสำนวนการตรวจสอบไต่สวน ไปให้อัยการสูงสุดยื่นฟ้ องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่องกล่าวหา นายวัฒนา เมืองสุข เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กับพวก กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา กรณีร่วมกันเรียก รับเงินจากผู้ประกอบการซึ่งเป็นเอกชนในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการบ้านเอื้อาทรของการเคหะแห่งชาติ
ต่อมา คตส. ได้ส่งมอบสำนวนและเรื่องต่าง ๆ มาให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับที่ 30 เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 พ.ศ. 2550 นั้นปรากฏว่า เรื่องนี้อัยการสูงสุด มีความเห็นว่าสำนวนการตรวจสอบไต่สวนดังกล่าวยังมีข้อไม่สมบูรณ์พอที่จะฟ้องคดี และได้มีหนังสือลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 แจ้งข้อไม่สมบูรณ์มายังคณะกรรมการ ป.ป.ช. พร้อมแต่งตั้ง คณะทำงานผู้แทนฝ่ายอัยการสูงสุด จำนวน 10 คนมาให้พิจารณาซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาในการประชุม เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2551 แล้วมีมติให้ตั้ง คณะทำงานผู้แทนฝ่ายคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยมี นายประสาท พงษ์ศิวาภัย และนางสาวสมลักษณ์ จัดกระบวนพลกรรมการ ป.ป.ช. พร้อมเจ้าหน้าที่และผู้ทรงคุณวุฒิ รวม 10 คนเป็นคณะทำงาน เพื่อให้คณะทำงานของทั้ง สองฝ่ายร่วมกัน พิจารณาพยานหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์และรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์
บัดนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับรายงานว่า คณะทำงานร่วมระหว่างผู้แทนฝ่ายคณะกรรมการ ป.ป.ช. และฝ่ายอัยการสูงสุด ได้ดำเนินการพิจารณาพยานหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์และรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว และได้ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 มาตรา 11 ต่อไปแล้ว
2. เรื่องกล่าวหา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร กับพวกทุจริตในการจัดซือ้ วัสดุป้ องกันโรคไข้เลือดออก (มุ้ง)ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง เรื่องกล่าวหา นายสุวิทย์ เดชภูมี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร กับพวก กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่กรณีเข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นในการจัดซื้อ วัสดุป้องกันโรคไข้เลือดออก (มุ้ง) ในเขตพืน้ ที่อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนครโดยมี นายประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน นั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการไต่สวนแล้ว
ซึ่งข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2542 ขณะที่ นายสุวิทย์ เดชภูมี ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ใช้ อำนาจในตำแหน่งเสนอญัตติจ่ายขาดเงินสะสมในการจัดทำโครงการจัดหาวัสดุในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในเขตอำเภอวานรนิวาส (มุ้ง) จำนวน 9,250 หลัง วงเงิน 1,850,000 บาท ต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร และเมื่อได้รับอนุมัติจากสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครแล้วนายสุวิทย์ เดชภูมี ได้ร่วมกับ นายวีระศักดิ์ หล้าพิศาล อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร จัดซือ้ มุ้งขนาด 2x2 เมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่มีจำหน่ายตามร้านค้าทั่วไป
จากนั้น นายสุวิทย์ เดชภูมี กับพวก ได้ติดต่อร้านค้าที่รับผลิตและจำหน่ายมุ้งแห่งหนึ่งให้ผลิตมุ้งขนาด 2x2 เมตร จำนวน 9,250 หลัง ในราคาหลังละ 88.50 บาท รวมเป็นเงิน818,625 บาท และให้พิมพ์ข้อความในกระดาษว่า “ด้วยรักและห่วงใยจากนายวีระศักดิ์ หล้าพิศาล”ใส่เข้าไปในถุงบรรจุมุ้งดังกล่าวด้วย แล้วให้พรรคพวกของตนไปดำเนินการจดทะเบียนร้านค้าเพื่อนำหลักฐานไปใช้ในการยื่นซองสอบราคาต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร อีกทัง้ ได้แอบอ้างใช้ชื่อและเอกสารหลักฐานของร้านอื่น ๆ อีกจำนวน 2 ร้านไปร่วมยื่นเสนอราคาด้วย ซึ่งปรากฏว่า ร้านค้าของนายสุวิทย์ เดชภูมี กับพวก ได้รับการพิจารณาในการเสนอราคาขายวัสดุป้ องกันโรคไข้เลือดออก (มุ้ง)ในวงเงิน 1,831,500 บาท (หลังละ 198 บาท) และได้ทำสัญญาซื้อ ขายกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร โดยนายสุวิทย์ เดชภูมี กับพวก ได้รับประโยชน์จากราคาส่วนต่างของมุ้งที่ตนกับพวกได้ดำเนินการจ้างผลิตไว้ล่วงหน้าแล้ว และเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายจากการจัดซื้อ มุ้งในราคาสูงกว่าความเป็นจริง (หลังจากหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว) เป็นเงิน 994,560 บาท
คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติว่า การกระทำของ นายสุวิทย์ เดชภูมี มีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซือ้ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนัน้ และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 152 และมาตรา 157ส่วนนายวีระศักดิ์ หล้าพิศาล มีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของนายสุวิทย์ เดชภูมี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 152 และมาตรา 157ประกอบมาตรา 86ให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญากับนายสุวิทย์ เดชภูมี และนายวีระศักดิ์ หล้าพิศาล ในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542มาตรา 97 ต่อไป